ตลาดหุ้น Nasdaq ขยับขึ้นได้ร้อนแรง และทำจุดสูงสุดในรอบ 1 ปี จากความ คาดหวัง Fed มีโอกาสคงดอกเบี้ยที่ 5.25% เป็นครั้งแรก หลังจากขึ้นดอกเบี้ย มาแล้ว 10 ครั้งติดต่อกัน และยังหนุนด้วยมูลค่าซื้อขาย Call Options ในสหรัฐที่ สูงสุดในรอบ 14 เดือน อย่างไรก็ตามในภาพระยะกลาง - ยาว อาจต้องระมัดระวัง มากขึ้น เนื่องจาก Bloomberg ปรับโอกาสการเกิด Recession ในระยะเวลา 1 ปี ของสหรัฐขึ้นจาก 60% เป็น 65% ต่างกับยุโรปที่ลดลงจาก 54% เป็น 40% ซึ่ง สอดคล้องกับดีล UBS ได้เข้าซื้อ Credit Suisse เสร็จสิ้นแล้ว ภายใต้ข้อตกลง มูลค่า 3.2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ
ในทางกลับกันตลาดหุ้นไทย อาจถูกกกดดัน ทั้งจากราคาน้ำมันที่ย่อตัวเกือบ 4% ในวานนี้ หลังโกลด์แมน แซคส์ ปรับลดคาดการณ์ราคาน้ำมันดิบ WTI ปีนี้ จาก 89 เหรียญ/บาร์เรล สู่ระดับ 81 เหรียญ/บาร์เรล รวมถึงประเด็นการเมืองยัง ไม่นิ่ง ส่งผลให้มูลค่าซื้อขายวานนี้ลดลงเหลือ 3.1 หมื่นล้านบาท (ต่ำสุดของปี) หลักๆ เป็นการลดลงจากนักลงทุนต่างชาติที่เหลือมูลค่าซื้อขายเพียง 1.5 หมื่น ล้านบาท (ลดลงกว่า 50% เมื่อเทียบกับค่าเฉลี่ย ytd 3.0 หมื่นล้านบาท) ทำให้ วันนี้ประเมิน SET เคลื่อนไหวในกรอบแคบ 1545 – 1558 จุด Top picks แนะนำ หุ้นเลือกพื้นฐาน มีปัจจัยบวกเฉพาะตัว อย่าง BEM, IVL และ SC
เกร็งเงินเฟ้อสหรัฐฯ ชะลอตัว หนุน Fed คงดอกเบี้ย 5.25%
วานนี้ตลาดหุ้นสหรัฐฯ Outperform ได้ค่อนข้างดี เฉพาะอย่างยิ่งกลุ่มเทคโนโลยีที่ ดัชนี NASDAQ +1.5% จากความคาดหวังว่าเงินเฟ้อสหรัฐฯ เดือน พ.ค. ที่จะ รายงานในวันนี้ (13 มิ.ย. เวลา 19.30 น. ตามเวลาประเทศไทย) ปรับตัวลงมาอยู่ที่ +4.1%YoY ทั้งนี้ หากเงินเฟ้อออกมาต่ำกว่าคาด ก็มีโอกาสที่ Fed จะชะลอการขึ้น ดอกเบี้ยในการประชุมครั้งนี้ (หลังขึ้นดอกเบี้ยมา 10 ครั้งติด) และรอบถัดไป หลัง ดอกเบี้ยปัจจุบันอยู่สูงกว่าระดับเงินเฟ้อ รวมถึงยังมีแรงหนุนจากมูลค่าซื้อขาย Call Options ในสหรัฐที่สูงสุดในรอบ 14 เดือน
ส่วนตลาดได้คาดการณ์ไว้ว่า Fed จะคงดอกเบี้ยไว้ที่ 5.25% ในการประชุมวันที่ 14 มิ.ย. นี้ โดย Fed Watch Tool ให้นำหนักสูงถึง 80% อย่างไรก็ตาม การประชุม FOMC ในสัปดาห์นี้ยังต้องติดตามถ้อยแถลงของ ประธาน Fed อย่างใกล้ชิด ในทิศทางการ ดำเนินนโยบายการเงินสหรัฐในระยะถัดไป
ทั้งนี้ ฝ่ายวิจัยฯ ประเมินว่าในกรณี Dot-Pot ยังคงคาดการณ์เดิม โดยค่ากลาง ดอกเบี้ยอยู่ที่ 5.1% ไปจนถึงสิ้นปี 2023 อาจเป็นปัจจัยหนุนให้ตลาดหุ้นดีดตัวขึ้นมา ได้อีกเล็กน้อย เนื่องจากปัจจุบันตลาดได้ Price in ไปแล้วว่า Fed อาจขยับขึ้นดอกเบี้ย ไปที่ 5.50% ในเดือน ก.ค.-ต.ค. ขณะที่ในกรณั้ Fed ส่งสัญญาณขยับขึ้นดอกเบี้ยต่อ อาจทำให้ตลาดหุ้นทรงตัวหรือปรับลดลงจากการ Sell on Fact
สรุป ตลาดหุ้นสหรัฐเข้าสู่โหมด Risk on เฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มเทคฯ จากความ คาดหวังการชะลอตัวลงของเงินเฟ้อสหรัฐฯ บวกกับการคงดอกเบี้ยของไว้ที่ 5.25% ในการประชุม FOMC สัปดาห์นี้ ทั้งนี้ หาก Fed มีท่าทีหยุดขึ้นดอกเบี้ยในปีนี้ อาจจะ เป็นแรงหนุนต่อสินทรัพย์เสี่ยงได้เต่อเนื่อง
ราคาดิบร่วงลงแรง หลัง Supply ดีดตัว
วานนี้ราคาน้ำมันดิบร่วงลงมาแรง โดยสัญญาน้ำมันดิบ WTI ดิ่งลงกว่า 4% ทำจุด ต่ำสุดในรอบ 3 เดือน หลังได้รับแรงกดดันจากการที่รัสเซียเพิ่มการส่งออกน้ำมันไป ยังจีนและอินเดีย สะท้อน Supply ที่กำลังเพิ่มขึ้น สวนทางกับฝั่ง Demand ที่ยังอ่อนแอ บวกกับความกังวลต่อเศรษฐกิจจีนที่ฟื้นตัวได้ช้ากว่าคาด กระทบต่อการบริโภคน้ำมัน
ขณะเดียวกัน Goldman Sachs ยังได้ปรับลดคาดการณ์ราคาน้ำมันช่วงปลายปีนี้ลง เกือบ 10% โดยราคาน้ำมันดิบ WTI มีแนวโน้มลดลงสู่ระดับ 81 ดอลลาร์/บาร์เรล (เดิมคาด 89 ดอลลาร์/บาร์เรล) และยังบอกว่า แม้ในปี 2567 กลุ่ม OPEC+ จะปรับลด การผลิตลงอีก ก็ไม่น่าจะช่วยให้ราคาน้ำมันสูงขึ้นถึงระดับที่ผู้ผลิตน้ำมันพอใจ
ราคาน้ำมันดิบร่วงลงมาแรง แม้ OPEC+ เพิ่งจะประกาศลดกำลังการผลิตนำมันดิบ ไปก่อนหน้านี้ แต่กลับได้รับแรงกดดันจากการที่รัสเซียเพิ่มการส่งออกน้ำมันไปยังจีน และอินเดีย บวกกับการชะลอตัวลงของ Demand กดดันหุ้นน้ำมันในไทย ในทาง กลับกัน ถือเป็น Sentiment บวกต่อ หุ้น Anti-Commodity อย่าง GULF GPSC BGRIM BCPG เป็นต้น
SET Volume หด เน้น Selective หุ้น
ตลาดหุ้นที่อยู่ในช่วง Risk On นอกจากจะหนุนตลาดหุ้นสหรัฐฯแล้ว ตลาดหุ้นโซน เอเชียก็ได้รับ Sentiment ดังกล่าวเช่นกัน สังเกตได้จาก Fund Flow ในช่วง 2 – 3 เดือนที่ผ่านมา ต่างชาติที่ซื้อสุทธิตลาดเอเชียเหนือเด่น อาทิ ตลาดหุ้นญี่ปุ่น, ไต้หวัน, เกาหลีใต้เป็นต้น แต่ยังชะลอการไหลเข้า ตลาดหุ้นอินโดนีเซีย, ฟิลิปปินส์รวมถึงไทย ที่ถูกขายสุทธิสูงสุดในภูมิภาค และปัจจุบันยังขาดความไม่ชัดเจนของการจัดตั้งรัฐบาล ใหม่ และความกังวลต่อนโยบายของพรรคก้าวไกลที่ได้หาเสียงไว้ ซึ่งกระทบต่อบริษัท จดทะเบียนขนาดใหญ่ (SET50)
แม้วานนี้ตลาดหุ้นสหรัฐจะขึ้นแรง แต่หุ้นกลุ่ม Defensive, พลังงาน, ธพ. ส่วนใหญ่ยัง ย่อตัวลงราว -1% ถึง -4% ขณะที่กลุ่ม Technology, ICT ,Utilities ปรับตัวขึ้นแรง ราว 1%-10%
ดังนั้น Fund Flow ต่างชาติที่ไม่ไหลเข้า บวกกับ FundFlow ในประเทศไม่สนับสนุน จึง ทำให้วานนี้ SET Index มีมูลค่าซื้อขายต่ำเพียง 3.17 หมื่นล้านบาท (ต่ำสุดของปีนี้) ซึ่งหากพิจารณาในแต่ละนักลงทุน จะเห็นได้ว่า มูลค่าซื้อขายของทั้ง 4 ประเภทนัก ลงทุนต่ำกว่าค่าเฉลี่ยตั้งแต่ต้นปีทั้งสิ้น
• ต่างชาติมูลค่าซื้อขาย 1.5 หมื่นล้านบาท ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยตั้งแต่ต้นปี 49%
• รายย่อย มูลค่าซื้อขาย 1.1 หมื่นล้านบาท ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยตั้งแต่ต้นปี 40%
• สถาบัน มูลค่าซื้อขาย 3.2 พันล้านบาท ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยตั้งแต่ต้นปี 32%
• บัญชี บล. มูลค่าซื้อขาย 2.3 พันล้านบาท ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยตั้งแต่ต้นปี 45%
และฝ่ายวิจัยฯ ยังทำการศึกษาสถิติผลตอบแทนดัชนีหุ้นไทย แต่ละดัชนี เทียบกับ มูลค่าซื้อขายในระดับต่างๆ ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา ผลลัพธ์แสดงให้เห็นว่า เมื่อมูลค่าซื้อ ขายหุ้นไทยอยู่ระดับต่ำ (3-5 หมื่นล้านบาท) ดัชนีหุ้นไทยขนาดใหญ่มักตอบสนองเชิง ลบมากกว่าดัชนีหุ้นไทยขนาดเล็ก แต่ไม่เสมอไปที่ดัชนีหุ้นไทยขนาดเล็กจะสร้าง ผลตอบแทนเป็นบวก และหากมูลค่าซื้อขายหุ้นไทยอยู่ระดับสูง (มากกว่า 5 หมื่นล้าน บาท) ดัชนีหุ้นไทยขนาดใหญ่มักตอบสนองเชิงบวกมากกว่าดัชนีหุ้นไทยขนาดเล็ก
ดังนั้น ในยามที่มูลค่าซื้อขายของ SET Index ช่วงนี้เบาบางเหลือเกิน กลยุทธ์การ ลงทุนในวันนี้ แนะนำ หุ้นที่มีปัจจัยขับเคลื่อนเฉพาะตัว และมีสัญญาณที่ดีเชิงเทคนิค เสริม เพื่อช่วยลดความผันผวนของราคาหุ้น ขณะที่ Toppicks เลือก IVL SC BEM
บทความนี้จัดทำและเผยแพร่ครั้งแรกบนเว็บไซต์ ASIA Plus Securities