ยอดผู้ขอสวัสดิการว่างงานสหรัฐออกมาสูงสุดในรอบ 20 เดือน 2.61 แสน ตำแหน่ง ตอกย้ำFed มีโอกาสคงดอกเบี้ยในวันที่ 14 มิ.ย. สวนทางกลับฝั่งยุโรป ที่ตัวเลข GDP งวด 1Q66 ถูกปรับลงจาก 0% เป็น -0.1% ส่งผลให้ GDP ยุโรป เข้าสู่ Technical Recession (ติดลบ 2 ไตรมาสติด) แต่ในสัปดาห์หน้า 15 มิ.ย. ตลาดคาดว่า ECB ขึ้นดอกเบี้ยอีก 0.25% เป็น 4% เพื่อสกัดกั้นเงินเฟ้อที่ยังสูง อยู่ ถือเป็นแรงกดดันตลาดหุ้นยุโรปในช่วงถัดไป ส่วนในฝั่งเอเชียดูมีสัญญาณดี ขึ้นจากจีนมีการกระตุ้นเศรษฐกิจ โดยให้ธ.พ. ขนาดใหญ่ปรับลดดอกเบี้ย (ดีต่อ หุ้นไทยกลุ่ม ปิโตร พลังงาน แพคเกจ ฯลฯ) ส่วนในไทย มีการรายงานดัชนีเชื่อมั่น ผู้บริโภค เดือน พ.ค. 66 อยู่ที่55.7จุด (ดีต่อหุ้นกลุ่มค้าปลีก)
ขณะที่ตลาดหุ้นไทยวานนี้ ปรับตัวขึ้น 26.29 จุด (สูงสุดเป็นอันดับ 3 ของปีนี้) พร้อมกับนักลงทุนต่างชาติและสถาบันฯ ซื้อสุทธิพร้อมกันที่ 1.8 และ 2.2 พันล้าน บาท ตามลำดับ ถือเป็น Momentum ที่ดีต่อตลาดหุ้นไทยในระยะถัดไป เพราะใน อดีตเวลานักลงทุน 2 กลุ่มนี้ซื้อพร้อมกัน หุ้นมักขึ้นได้ดีเฉลี่ย 0.65% ต่อวัน และมี โอกาสให้ผลตอบแทนเป็นบวกเกือบ 90% โดยวันนี้ประเมิน SET เคลื่อนไหวใน กรอบ 1550 – 1570 จุด Top picks แนะนำหุ้นพื้นฐานลงมาลึกมีปัจจัยบวก เฉพาะตัว อย่าง SCGP (จีนกระตุ้นเศรษฐกิจ), IVL (ต่างชาติกลับมาซื้อ), CRC (ตัวเลขความเชื่อมั่นผู้บริโภค เดือน พ.ค. ขึ้นเด่น)
เศรษฐกิจสหรัฐฯ-ยุโรป ส่งสัญญาณอ่อนแอ หวังมาตรการ กระตุ้นเศรษฐกิจจีนเข้าช่วยหนุน
วานนี้กระทรวงแรงงานสหรัฐเผยตัวเลขผู้ยื่นขอสวัสดิการว่างงาน ล่าสุดพุ่งขึ้นแรงสู่ ระดับ 261,000 ราย (สูงกว่าตลาดคาดที่ระดับ 235,000 ราย) ปรับตัวเพิ่มขึ้นจาก สัปดาห์ก่อนที่ 233,000ราย และยังทำจุดสูงสุดในรอบ 20 เดือน นับตั้งแต่ ต.ค. 2564 ซึ่งอาจส่งผลให้อัตราการว่างงานเริ่มปรับตัวสูงขึ้นในระยะถัดไป (Lag Time ราว 1Q) โดยปัจจัยดังกล่าวคาดว่าจะเป็นอีกหนึ่งองค์ประกอบที่ Fed นำไปพิจารณาการคง ดอกเบี้ยไว้ที่ 5.25% ในการประชุมวันที่ 14 มิ.ย. นี้ ขณะที่ผลการสำรวจของ Fed Watch Tool ให้นำหนักสูงถึง 72%
ส่วนเศรษฐกิจยุโรปได้เข้าสู่ภาวะ Technical Recession เป็นที่เรียบร้อย (GDP ติด ลบ 2 ไตรมาสติดต่อกัน) ซึ่งนับครั้งแรกตั้งแต่ช่วงเกิดโรคระบาดโควิด-19 โดย GDP ใน 4Q22 และ 1Q23 อยู่ที่ระดับ -0.1%QoQ หลังอัตราเงินเฟ้อโรปที่อยู่ในระดับสูง ทำ ให้ ECB จำเป็นต้องเร่งปรับขึ้นดอกเบี้ยต่อเนื่องในช่วงปีที่ผ่านมา (ปัจจุบันอยู่ที่ 3.75%) จนทำให้ภาคการบริโภคและการลงทุนหดตัว ขณะที่หลังจากนี้ ECB มีโอกาส ขยับขึ้นดอกเบี้ยอีกราว 1-2 ครั้ง เพื่อให้เงินเฟ้อเข้าสู่กรอบเป้าหมายที่ 2% ซึ่งจะ กดดันให้ดอลลาห์อ่อนค่าลง
ภาพรวมเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัวลงมา สะท้อนจากภาคการค้าที่ไม่ค่อยสดใส ทำให้ รัฐบาลจีนเริ่มออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจออกมามากขึ้น โดยล่าสุด ธ.พ. ขนาด ใหญ่ของจีน (Industrial & Commercial Bank of China Ltd. , Agricultural Bank of China Ltd., Bank of China ltd., Bank of Communications Co.) ได้มีการปรับลด อัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำลงเป็นครั้งที่ 2 ภายใน 1 ปีนอกจากนี้ตลาดยังคาดหวัง ให้ทาง PBOC ปรับลด RRR ลง 0.5% เพื่อช่วยหนุนภาคการเงินและกระตุ้นเศรษฐกิจ เป็นวงกว้างได้ต่อเนื่อง ทั้งนั้ปัจจัยดังกล่าวมีแนวโน้มที่ Demand จะกลับมาสูงขึ้น และ ดึงดูดให้เม็ดเงินไหลเข้าสู่ฝั่งเอเชียหรือ EM มากขึ้นในระยะถัดไป
สรุป เศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัว ทำให้ภาพรวมใน สหรัฐฯ-ยุโรป ส่งสัญญาณอ่อนแอ สวนทางกับเศรษฐกิจจีนที่อยู่ในช่วงฟื้นตัว บวกกับเห็นความพยายามของรัฐบาลจีน ที่ออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจต่อเนื่อง จึงมีแนวโน้มที่ Demand จะกลับมาสูงขึ้น และช่วยหนุนให้เม็ดเงินไหลเข้าสู่ฝั่งเอเชียหรือ EM มากขึ้นในระยะถัดไป
ตลาดหุ้นไทยมีเสน่ห์ในหลายมุม ดึงดูด Flow ต่างชาติไหลเข้า ระยะถัดไป
หลัง World bank และ OECD ปรับประมาณการ GDP โลกปี 2023ขึ้น ขณะเดียวกัน ประมาณการ GDP Growth ประเทศฝั่ง Developed Market น้อยกว่าฝั่ง Emerging Market ชัดเจน (รายละเอียดเพิ่มเติม Market Talk วันที่ 8 มิ.ย.66) ขณะที่ตัวเลข เศรษฐกิจอื่นๆ ของประเทศไทยยังดูดี อาทิ
• ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไป (CPI) เดือน พ.ค. + 0.53%YoY (ต่ำกว่าตลาดคาด อย่างมากที่ 1.6%YoY และเดือนก่อนหน้า 2.67%YoY) อยู่ในระดับต่ำสุดใน รอบ 21 เดือน ทำให้อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงในปัจจุบันพลิกกลับมาเป็นบวกที่ 1.47% (ดอกเบี้ย 2.0% - เงินเฟ้อ 0.53%)ขณะเดียวกัน CPI ล่าสุดยังอยู่ต่ำ กว่ากรอบเป้าหมายของ ธปท. ที่ 1-3% จึงมีโอกาสหนุนให้ กนง. คงดอกเบี้ย นโยบายไว้ที่ 2.00% ในการประชุมวันที่ 2 ส.ค. นี้ • ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคของกระทรวงพาณิชย์ เดือน พ.ค.66 อยู่ที่ 56.6 จุด สูงกว่าเดือนก่อนหน้าที่อยู่ระดับ 53.5 จุด ขณะที่วานนี้ดัชนีเชื่อมั่น ผู้บริโภคของ ม.หอการค้าฯ เดือน พ.ค. อยู่ที่ 55.7 จุด ปรับตัวดีขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ระดับ 55 จุด และอยู่ในระดับสูงสุดรอบ 39 เดือนนับตั้งแต่เดือน มีนาคม 2563 หลังการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทย เฉพาะอย่างยิ่งภาคการ ท่องเที่ยว-การบริโภคภาคเอกชน รวมถึงราคาพลังงานปรับตัวลดลง ปัจจัย บวกดังกล่าว เชื่อว่าจะช่วยหนุนให้หุ้นกลุ่มค้าปลีก (Commerce) ให้ Outperform SET ได้หลังจากนี้ ส่วนหนึ่งสะท้อนจากค่า Correlation ระหว่างดัชนี CCI และดัชนีหุ้นกลุ่ม Commerce ที่สูงถึง 0.71 แนะนำ CRC CPALL (BK:CPALL) COM7 HMPRO MAKRO COM7
ซึ่งประเด็นดังกล่าว ทำให้ SET Index มีโอกาส Outperform ตลาดหุ้นอื่นๆ และ เป็นที่ หมายปองของนักลงทุนอีกครั้ง สังเกตจากวานนี้ต่างชาติและสถาบันในประเทศซื้อ สุทธิทั้งคู่กว่า 1.8 พันล้านบาท และ 2.2 พันล้านบาท ตามลำดับ ซึ่งจากสถิติในอดีต ตั้งแต่ปี 2021- ปัจจุบัน ถ้าต่างชาติและสถาบันซื้อสุทธิหุ้นไทยพร้อมกัน SET Index มักสร้างผลตอบแทนเป็นบวกเสมอ(โอกาสที่ Return จะเป็นบวก 88.7%) โดยมี ค่าเฉลี่ยต่อวันอยู่ที่ 0.65%
ดังนั้น กลยุทธ์การลงทุนในวันนี้ เน้นหุ้นขนาดใหญ่ปรับฐานลงมาลึกกว่า SET Index หลังเลือกตั้ง อาทิ CBG CRC SCGP GULF BEM PTTGC IVL เป็นต้น
สรุป ตลาดหุ้นไทยเริ่มมีเสน่ห์จากปัจจัยภายในสู่ภายนอก เริ่มเห็นสัญญาณที่ดีของ Flow ที่จะไหลเข้า ซึ่งสถิติในอดีต ถ้า Flow ต่างชาติ + สถาบันเข้าหุ้นไทย หุ้นไทยมัก ปรับตัวขึ้นเสมอ ดังนั้น กลยุทธ์การลงทุน เน้นหุ้นที่ปรับตัวลงมาลึกกว่า SET Index หลักเลือกตั้ง และมีกำไรเติบโตในอนาคต อย่าง IVL SCGP CRC เป็น Top picks วันนี้
บทความนี้จัดทำและเผยแพร่ครั้งแรกบนเว็บไซต์ ASIA Plus Securities