ผู้เล่นในตลาดจะรอติดตามรายงานข้อมูลเศรษฐกิจสำคัญของสหรัฐฯ อย่าง ดัชนี ISM PMI ภาคการบริการ รวมถึง ยอดผู้ขอรับสวัสดิการการว่างงาน นอกจากนี้ ควรรอติดตาม รายงานข้อมูลเศรษฐกิจจีน อย่าง ยอดการส่งออก-นำเข้า รวมถึงอัตราเงินเฟ้อ CPI
**ราคาทองคำ = สัญญาทองคำตลาด COMEX ส่งมอบเดือน ส.ค.
FX Highlight
- สัปดาห์ที่ผ่านมา เงินดอลลาร์เคลื่อนไหวผันผวน โดยมีจังหวะแข็งค่าขึ้นตามความต้องการสินทรัพย์ปลอดภัย ก่อนที่จะย่อตัวลง หลังผู้เล่นในตลาดเปิดรับความเสี่ยงมากขึ้นและเริ่มกลับมามองว่า เฟดอาจคงดอกเบี้ยในการประชุมเดือนมิถุนายน จากที่เคยมองว่า เฟดจะเดินหน้าขึ้นดอกเบี้ยต่อ
- เรามองว่า เงินดอลลาร์ยังพอมีโมเมนตัมแข็งค่าต่อได้บ้าง หลังจากปรับตัวแข็งค่าขึ้นตามยอดการจ้างงานสหรัฐฯ ที่ออกมาดีกว่าคาดไปมาก แต่เราคงมุมมองเดิมว่า การแข็งค่าของเงินดอลลาร์อาจเริ่มจำกัดลง เนื่องจากผู้เล่นในตลาดเริ่มมองว่าเฟดอาจคงอัตราดอกเบี้ย อีกทั้งปัจจัยเสี่ยงในระยะสั้นอย่างประเด็นเพดานหนี้ก็คลี่คลายลง ทำให้ผู้เล่นในตลาดอาจรอจังหวะทยอยขายทำกำไรสถานะ Long USD
- ในช่วงนี้ เรามองว่า ค่าเงินบาทเคลื่อนไหวสอดคล้องกับค่าเงินหยวนของจีนมากขึ้น ทำให้รายงานข้อมูลเศรษฐกิจของจีน รวมถึงทิศทางตลาดหุ้นจีนและตลาดหุ้นฮ่องกง ก็อาจส่งผลต่อทิศทางเงินบาทได้ ผ่านการเคลื่อนไหวของเงินหยวน
- แม้ว่า ความไม่แน่นอนของการจัดตั้งรัฐบาลจะเป็นปัจจัยที่กดดันให้นักลงทุนต่างชาติยังไม่รีบกลับเข้ามาซื้อหุ้นไทยชัดเจน แต่ทว่า แรงขายหุ้นไทยจากนักลงทุนต่างชาติก็อาจเริ่มลดลง (ล่าสุดนักลงทุนต่างชาติกลับมาเป็นฝั่งซื้อสุทธิ)
- สำหรับฟันด์โฟลว์นักลงทุนต่างชาติในส่วนตลาดบอนด์ เราคงมองว่า นักลงทุนต่างชาติอาจทยอยกลับเข้ามาซื้อบอนด์ระยะกลาง-ระยะยาวได้บ้าง ในจังหวะที่บอนด์ยีลด์ปรับตัวขึ้น (รอ Buy on dip)
- อนึ่ง ปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อทิศทางค่าเงินบาท คือ โฟลว์ธุรกรรมทองคำ โดยหากราคาทองคำย่อตัวลงทดสอบโซนแนวรับ ก็อาจมีโฟลว์ซื้อทองคำในจังหวะย่อตัว ซึ่งจะเป็นปัจจัยกดดันเงินบาทฝั่งอ่อนค่าได้
- ในเชิงเทคนิคัล เรามองว่า โมเมนตัมการอ่อนค่าลงของเงินบาทแผ่วลงมากขึ้น สะท้อนจาก RSI ที่ปรับตัวลดลง และ อาจเกิด RSI Divergence ขึ้น พร้อมกับ Shooting star pattern ในกราฟรายวัน อย่างไรก็ดี การพลิกกลับมาอ่อนค่าของเงินบาทในวันศุกร์ที่ผ่านมา อาจเกิด Bullish engulfing pattern ทำให้โดยรวมสัญญาณเชิงเทคนิคัลชี้ว่า เงินบาทมีโอกาสแกว่งตัว sideway หรือ sideway down ได้
- เราคงมองว่า แนวต้านสำคัญคือ โซน 34.80-34.90 บาทต่อดอลลาร์ ซึ่งผู้เล่นในตลาดบางส่วนอาจรอจังหวะเงินบาทอ่อนค่าลงบ้าง ในการเพิ่มสถานะ Long THB หรือทยอยขายเงินดอลลาร์ ในส่วนของแนวรับนั้น จะยังคงอยู่ในช่วง 34.40-34.50 บาทต่อดอลลาร์ ในระยะสั้นนี้ จนกว่าจะเห็นฟันด์โฟลว์นักลงทุนต่างชาติกลับเข้ามาตลาดทุนไทยที่ชัดเจน
Gold Highlight
- ราคาทองคำรีบาวด์ขึ้นจากโซนแนวรับ ตามที่เราประเมินไว้ ก่อนที่จะย่อตัวลงในวันศุกร์ที่ผ่านมา ตามการปรับตัวขึ้นของทั้งเงินดอลลาร์และบอนด์ยีลด์ 10 ปี สหรัฐฯ หลังยอดการจ้างงานสหรัฐฯ ออกมาดีกว่าคาดมาก
- เราประเมินว่า การปรับฐานของราคาทองคำอาจยังดำเนินต่อไปได้ โดยต้องจับตาว่า ราคาทองคำจะสามารถรีบาวด์ขึ้น หากมีการย่อตัวลงทดสอบโซนแนวรับ 1,950 ดอลลาร์ต่อออนซ์ได้หรือไม่
- ทั้งนี้ เราคาดว่า การย่อตัวลงของราคาทองคำอาจเริ่มจำกัด หลังโมเมนตัมการแข็งค่าขึ้นของเงินดอลลาร์ก็แผ่วลง ส่วนบอนด์ยีลด์ 10 ปี สหรัฐฯ ก็อาจปรับตัวขึ้นไม่ได้ไกลมากนัก เพราะผู้เล่นในตลาดต่างก็รอจังหวะทยอยเข้าซื้อบอนด์ เมื่อบอนด์ยีลด์ปรับตัวสูงขึ้น ซึ่งคงมองว่าบอนด์ยีลด์ 10 ปี สหรัฐฯ อาจติดโซนแนวต้านแถว 3.80%-3.90%
- อย่างไรก็ดี ทิศทางราคาทองคำในระยะสั้น จะขึ้นกับ รายงานข้อมูลเศรษฐกิจสำคัญสหรัฐฯ รวมถึง บรรยากาศในตลาดการเงิน เพราะหากข้อมูลเศรษฐกิจออกมาดีกว่าคาดและบรรยากาศในตลาดการเงินเปิดรับความเสี่ยง ราคาทองคำก็อาจเผชิญแรงกดดันและย่อตัวลงทดสอบแนวรับได้
- ในเชิงเทคนิคัล สัญญาณจาก RSI และ MACD ยังคงชี้ว่า ราคาทองคำอาจมีโอกาสแกว่งตัว sideway down หรือ sideway ซึ่งเราจะรอจับตาว่า จะเกิดสัญญาณการกลับตัวบ้างจากโซนแนวรับบ้างหรือไม่
- เราคงเป้าราคาทองคำไว้ที่ 2,100 ดอลลาร์ต่อออนซ์ ทำให้เรายังคงมองว่า ผู้เล่นในตลาดอาจรอจังหวะราคาทองคำปรับฐานในการทยอยเข้าซื้อได้ ซึ่งอาจรอสัญญาณการกลับตัวที่ชัดเจนก่อนทยอยเข้าซื้อได้เช่นกัน