Economic Highlight
ปัจจัยภายนอกที่ควรจับตา คือ รายงานดัชนี PMI ภาคการผลิตและภาคการบริการของบรรดาเศรษฐกิจหลัก อาทิ สหรัฐฯ ยุโรป และญี่ปุ่น ส่วนปัจจัยการเมืองสหรัฐฯ ในประเด็นการเจรจาเพดานหนี้ (Debt Ceiling) และถ้อยแถลงของบรรดาเจ้าหน้าที่ธนาคารกลางหลัก ก็อาจส่งผลกระทบต่อตลาดการเงินได้เช่นกัน ในขณะที่ปัจจัยภายในประเทศที่สำคัญ คือ แนวโน้มหรือโอกาสในการประสบความสำเร็จในการจัดตั้งรัฐบาลผสม
**ราคาทองคำ = สัญญาทองคำตลาด COMEX ส่งมอบเดือน มิ.ย.
FX Highlight
- เงินดอลลาร์แข็งค่าขึ้นต่อเนื่องในสัปดาห์ที่ผ่านมา หลังผู้เล่นในตลาดเริ่มมองว่าเฟดอาจคงอัตราดอกเบี้ยนโนบายที่ระดับสูงได้นานกว่าคาด ขณะเดียวกัน ผู้เล่นในตลาดต่างก็คาดหวังว่า การเจรจาขยายเพดานหนี้อาจประสบความสำเร็จได้เร็ว
- ดังนั้น หากเงินดอลลาร์จะแข็งค่าขึ้นต่อได้ ในกรณีที่ ข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐฯ ออกมาดีกว่าคาด และสภาคองเกรสได้มีมติขยายเพดานหนี้สหรัฐฯ
- อย่างไรก็ดี เราพบว่า ผู้เล่นในตลาดส่วนใหญ่ยังคงสถานะ Net Short USD หรือมองว่าเงินดอลลาร์มีโอกาสอ่อนค่าลง ทำให้เงินดอลลาร์มีโอกาสผันผวนสูง และอาจแข็งค่าขึ้นได้เร็ว หากผู้เล่นในตลาดลดสถานะ Net Short จากโมเมนตัมการแข็งค่าขึ้นต่อเนื่องของเงินดอลลาร์ ในทางกลับกัน เงินดอลลาร์ก็พลิกกลับมาอ่อนค่าลงได้เช่นกัน หากปัจจัยที่เคยสนับสนุนการแข็งค่าเปลี่ยนไปและผู้เล่นเพิ่มสถานะ Short USD
- นอกจากนี้ ควรจับตาทิศทางของสกุลเงินหลักอื่นๆ อาทิ เงินยูโร (EUR) เงินปอนด์ (GBP) และเงินเยนญี่ปุ่น (JPY) ซึ่งมีโอกาสแข็งค่าขึ้นได้ หากรายงานข้อมูลเศรษฐกิจออกมาดีกว่าคาดหรือตลาดหุ้นฝั่งยุโรป/เอเชียปรับตัวขึ้นได้ดีกว่าตลาดหุ้นฝั่งสหรัฐฯ
- ปัจจัยการเมืองในประเทศ จะยังคงเป็นปัจจัยสำคัญที่อาจส่งผลต่อทิศทางฟันด์โฟลว์นักลงทุนต่างชาติได้ โดยจะเห็นได้ว่า นักลงทุนต่างชาติยังคงเป็นฝั่งขายสุทธิสินทรัพย์ไทย ท่ามกลางความไม่แน่นอนของการจัดตั้งรัฐบาลผสม ทำให้เงินบาทขาดปัจจัยหนุนฝั่งแข็งค่าจากฟันด์โฟลว์นักลงทุนต่างชาติ
- นอกจากนี้ หากราคาทองคำย่อตัวลงทดสอบโซนแนวรับ ก็อาจมีโฟลว์ซื้อทองคำในจังหวะย่อตัว ซึ่งจะเป็นปัจจัยกดดันเงินบาทฝั่งอ่อนค่าได้
- ในเชิงเทคนิคัล การอ่อนค่าลงของเงินบาทในสัปดาห์ก่อน ทำให้สัญญาณจาก RSI และ MACD ยังคงชี้ว่า เงินบาทมีโอกาสแกว่งตัว sideways up หรืออ่อนค่าลงได้บ้าง ซึ่งเรามองว่า แนวต้านสำคัญคือ โซน 34.50-34.60 บาทต่อดอลลาร์ และมีเส้นค่าเฉลี่ย EMA 50 วัน แถว 34.20 บาทต่อดอลลาร์ เป็นโซนแนวรับหลัก โดยเรามองว่า ผู้เล่นในตลาดบางส่วนอาจรอจังหวะเงินบาทอ่อนค่าลงบ้าง ในการเพิ่มสถานะ Long THB ส่วนผู้ส่งออกบางส่วนก็รอทยอยขายเงินดอลลาร์ในช่วงใกล้โซนแนวต้าน
Gold Highlight
- ราคาทองคำแกว่งตัว sideways down จริงตามที่คาดในสัปดาห์ก่อน ทำให้เราประเมินว่า ในสัปดาห์นี้ ราคาทองคำอาจแกว่งตัว sideways ในกรอบราคาใหม่
- เรามองว่า ผู้เล่นในตลาดต่างก็ใช้จังหวะการรีบาวด์ของราคาทองคำใกล้โซนแนวต้านทยอย เช่น โซน 1,990-2,000 ดอลลาร์ต่อออนซ์ในการขายทำกำไร ทำให้การปรับตัวขึ้นของราคาทองคำอาจเป็นไปอย่างจำกัดในช่วงนี้
- อย่างไรก็ดี ต้องรอจับตา 1) ความคืบหน้าการเจรจาขยายเพดานหนี้สหรัฐฯ 2) รายงานข้อมูลเศรษฐกิจสำคัญสหรัฐฯ 3) ถ้อยแถลงของบรรดาเจ้าหน้าที่เฟด และ 4) บรรยากาศในตลาดการเงิน
- เราคงมุมมองเดิมว่า หากตลาดกลับมากังวลปัญหาเพดานหนี้สหรัฐฯ มากขึ้น ก็อาจหนุนให้ราคาทองคำปรับตัวสูงขึ้นได้ แต่การปรับตัวขึ้นของราคาทองคำก็อาจยังคงถูกจำกัดอยู่
- โดยเรามองว่า หลังการปรับตัวลดลงของราคาทองคำในสัปดาห์ก่อน ทำให้โซนแนวต้านของราคาทองคำอาจอยู่ในช่วง 2,000 ดอลลาร์ต่อออนซ์ ส่วนโซนแนวรับอาจอยู่ในช่วง 1,940 ดอลลาร์ต่อออนซ์
- ในเชิงเทคนิคัล สัญญาณจาก RSI และ MACD ยังคงชี้ว่า ราคาทองคำอาจมีโอกาสแกว่งตัวลดลง sideways down หรือ sideways ในกรอบใหม่
- เราคงเป้าราคาทองคำไว้ที่ 2,100 ดอลลาร์ต่อออนซ์ ทำให้เรายังคงมองว่า ผู้เล่นในตลาดอาจรอจังหวะราคาทองคำปรับฐานในการทยอยเข้าซื้อได้ แต่หากราคาหลุดแนวรับถัดไปแถว 1,950 ดอลลาร์ต่อออนซ์ ผู้เล่นในตลาดอาจชะลอการ เพื่อประเมินภาพตลาดอีกครั้ง