สัปดาห์นี้ ผู้เล่นในตลาดจะรอติดตามแนวโน้มเศรษฐกิจหลัก อาทิ สหรัฐฯ ยุโรป และญี่ปุ่น ผ่านรายงานดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคการผลิตอุตสาหกรรมและภาคการบริการ รวมถึงข้อมูลเศรษฐกิจสำคัญรายเดือนของจีน เช่น ยอดค้าปลีก และ GDP ไตรมาสที่ 1 ของปีนี้ นอกจากนี้ ผู้เล่นในตลาดจะรอติดตามถ้อยแถลงของบรรดาเจ้าหน้าที่เฟด เพื่อประเมินแนวโน้มดอกเบี้ยนโยบาย และนอกเหนือจากรายงานข้อมูลเศรษฐกิจ ผู้เล่นในตลาดจะรอลุ้นรายงานผลประกอบการของบรรดาบริษัทจดทะเบียน
**ราคาทองคำ = สัญญาทองคำตลาด COMEX ส่งมอบเดือน มิ.ย.
FX Highlight
-
ผู้เล่นในตลาดจะรอลุ้นรายงานข้อมูลเศรษฐกิจสำคัญ อย่าง ดัชนี PMI ของบรรดาเศรษฐกิจหลัก โดยเฉพาะ สหรัฐฯ เพื่อใช้ประเมินแนวโน้มการดำเนินนโยบายการเงินของเฟด ซึ่งล่าสุดผู้เล่นในตลาดเริ่มกลับมาเชื่อว่าเฟดจะเดินหน้าขึ้นดอกเบี้ยต่อในการประชุมเดือนพฤษภาคมและอาจคงอัตราดอกเบี้ยในระดับสูงได้นานกว่าคาด
-
ทั้งนี้ ปัจจัยที่ควรจับตามอง คือ บรรยากาศในตลาดการเงิน (Risk Appetite/Sentiment) เพราะหากผู้เล่นในตลาดกล้าเปิดรับความเสี่ยงมากขึ้น (เช่น รายงานข้อมูลเศรษฐกิจหลักรวมถึงจีนดีกว่าคาด หรือ รายงานผลประกอบการบริษัทจดทะเบียนออกมาดี) ก็อาจช่วยหนุนให้สินทรัพย์ฝั่ง EM Asia ปรับตัวขึ้นต่อได้ หรือ สกุลเงินฝั่ง EM Asia อาจแข็งค่าขึ้น
-
อย่างไรก็ดี ในส่วนของค่าเงินบาท เรามองว่า ในสัปดาห์นี้ปัจจัยกดดันฝั่งอ่อนค่าอาจมาจากโฟลว์ธุรกรรมจ่ายเงินปันผลให้กับนักลงทุนต่างชาติ ซึ่งเราประเมินว่าอาจสูงกว่า 300 ล้านดอลลาร์
-
โฟลว์ธุรกรรมซื้อ ขายทองคำก็ยังมีผลต่อเงินบาทพอสมควร โดยเรามองว่า หากราคาทองคำย่อตัวใกล้โซนแนวรับ ผู้เล่นส่วนใหญ่ก็พร้อมทยอยเข้าซื้อ ซึ่งโฟลว์ธุรกรรมดังกล่าวจะเป็นปัจจัยกดดันให้เงินบาทอ่อนค่าลงได้
-
ในเชิงเทคนิคัล ทั้งสัญญาณจาก RSI และ MACD ยังคงสะท้อนว่า เงินบาทมีโอกาสแกว่งตัว sideways (แต่เริ่มมีโอกาสทยอยอ่อนค่าลงมากขึ้น) ซึ่ง หากเงินบาทอ่อนค่าทะลุโซนแนวต้านสำคัญ อย่างเส้นค่าเฉลี่ย EMA 50 วัน ได้ ก็อาจเป็นสัญญาณที่ชี้ว่า เงินบาทมีโอกาสอ่อนค่าต่อ ทดสอบโซน 34.50-34.60 บาทต่อดอลลาร์
Gold Highlight
-
ราคาทองคำมีความเสี่ยงที่จะย่อลงทดสอบโซนแนวรับได้ ซึ่งต้องรอลุ้น 1) บรรยากาศในตลาดการเงิน ที่อาจขึ้นกับรายงานผลประกอบการของบรรดาบริษัทจดทะเบียน รวมถึงรายงานข้อมูลเศรษฐกิจสำคัญ และ 2) มุมมองของผู้เล่นในตลาดต่อแนวโน้มดอกเบี้ยนโยบายของเฟด ซึ่งอาจขึ้นกับรายงานข้อมูลเศรษฐกิจสำคัญของสหรัฐฯ และถ้อยแถลงของบรรดาเจ้าหน้าที่เฟด
-
อนึ่ง แม้ราคาทองคำอาจมีความเสี่ยงที่จะย่อตัวลง แต่เราประเมินว่า ผู้เล่นในตลาดส่วนใหญ่ก็อาจรอจังหวะดังกล่าว เพื่อรอทยอยเข้าซื้อสะสมทองคำ โดยเฉพาะในช่วงโซน 1,990-2,000 ดอลลาร์ต่อออนซ์
-
ในเชิงเทคนิคัล สัญญาณจาก RSI และ MACD เริ่มชี้ว่า ราคาทองคำมีโอกาสย่อตัวลงได้ในระยะสั้น หรืออย่างน้อย ราคาทองคำก็อาจเคลื่อนไหว sideways ในช่วงนี้ นอกจากนี้ในส่วนของ RSI อาจเริ่มเกิด Bearish Divergence ใน time frame Daily
-
อย่างไรก็ตาม เราคงมุมมองที่เป็นบวกต่อราคาทองคำ (เป้าใหม่ 2,100 ดอลลาร์ต่อออนซ์) ทำให้เรายังคงมองว่า ผู้เล่นในตลาดอาจรอจังหวะราคาทองคำปรับฐานในการทยอยเข้าซื้อได้ โดยถ้าหากมีจุดเข้าซื้อแถวแนวรับ 2,000 ดอลลาร์ต่อออนซ์ จุดตัดขาดทุนก็ควรไม่ลึกไปกว่า 1,950 ดอลลาร์ต่อออนซ์ หากประเมินเป้าที่ 2,100 ดอลลาร์ต่อออนซ์