รับส่วนลด 40%
ใหม่! 💥 รับ ProPicks เพื่อดูกลยุทธ์ที่ให้ผลตอบแทน ชนะดัชนี S&P 500 มากกว่า 1,183% รับส่วนลด 40%

ขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีกเพียงเปอร์เซ็นต์เดียว สามารถเพิ่มความเสี่ยงให้กับตลาดหุ้นได้อีกมหาศาล

เผยแพร่ 22/06/2565 14:13
อัพเดท 09/07/2566 17:31

ปี 2022 ถือเป็นช่วงเวลาที่ยากลำบากสำหรับนักลงทุนในตลาดหุ้นสหรัฐฯ หุ้นมีช่วงเวลาที่ยากลำบาก นับตั้งแต่วันที่ 31 ธันวาคม 2021 ดัชนีหลักของสหรัฐอเมริกาทั้งสามไม่ว่าจะเป็นดัชนีแนสแด็ก ดาวโจนส์และเอสแอนด์พี 500ล้วนแล้วแต่ปรับตัวลดลง เทียบกับปีที่ผ่านมาที่ผู้บริโภคและตลาดหุ้นต่างเฟื่องฟู เพราะการปล่อยอัตราดอกเบี้ยให้อยู่ในระดับ และตัวเลขเงินเฟ้อที่ยังไม่ได้เกินระดับราคาเป้าหมายของธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) ขึ้นมาเป็น 2% อย่างเช่นทุกวันนี้

แม้ว่าเงินเฟ้อจะเริ่มปรับตัวขึ้นมาตั้งแต่ปีที่แล้ว แต่เฟดและกระทรวงการคลังสหรัฐเรียกอัตราเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้นนั้นเป็นเหตุการณ์ "ชั่วคราว" มาตลอดทั้งปี 2021 ส่วนใหญ่แล้ว พวกเขาโทษว่าเป็นเพราะราคาที่สูงขึ้นจากปัญหาห่วงโซ่อุปทานคอขวดที่เกิดจากการระบาดใหญ่ แม้ผู้กำหนดนโยบายเหล่านี้จะยอมรับผิดแบบอ้อมๆ ในปีนี้ว่าประเมินผิดไป แต่ธนาคารกลางและเจ้าหน้าที่ของรัฐกลับไม่ต้องรับผลของการกระทำและไม่ต้องรับผิดชอบต่อภาวะเงินเฟ้อที่เกิดขึ้นในปัจจุบันแต่อย่างใดด้วย

ในปี 2020 อัตราดอกเบี้ยที่ต่ำเกินจริงและการผ่อนปรนเชิงปริมาณ (QE) ทำให้สภาพคล่องทางการเงินในตลาดมีสูงมาก รัฐบาลได้ออกนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจในช่วงการแพร่ระบาดในปริมาณที่อย่างไม่เคยมีมาก่อน ถึงแม้ว่ามีความจำเป็น แต่ก็กินเวลานานเกินไป และเริ่มหว่านเมล็ดพันธุ์แห่งเงินเฟ้อที่งอกขึ้นในช่วงครึ่งหลังของปี 2020 ออกดอกในปี 2021 และเบ่งบานเหมือนวัชพืชที่โตเต็มที่แล้วในปี 2022

ข้อมูลตัวเลขดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) และดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI) ที่เพิ่มขึ้นและตลาดตราสารหนี้ที่ปรับตัวลดลงคือการส่งสัญญาณเตือนภัย ซึ่งความจริงอย่างหนึ่งที่เราต้องยอมรับคือเฟดไม่ได้ประเมินว่าจะมีประเด็นอย่างสงครามใหญ่ครั้งแรกในยุโรป นับตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่สอง และการแตกแยกระหว่างมหาอำนาจนิวเคลียร์จะเข้ามา และทำให้เกิดแรงผลักดันให้เงินเฟ้อแข็งแกร่งมากยิ่งขึ้น

นั่นจึงทำให้ภาพรวมการลงทุนในปี 2022 จึงเปลี่ยนแปลงไป ตลาดหุ้นที่เคยปรับตัวขึ้นในขณะที่อัตราดอกเบี้ยอยู่ในระดับต่ำนั้นไม่มีอีกแล้ว มีแต่การเผชิญหน้ากับความเสี่ยงที่จะไล่เงินเฟ้อให้ทัน ซึ่งอาจจะต้องแลกมากับภาวะเศรษฐกิจถดถอยอย่างน้อยหนึ่งปี เงินทุนไหลจากหุ้นไปสู่การลงทุนแบบตราสารหนี้ และแนวโน้มตลาดหุ้นในเดือนมิถุนายน 2022 ก็สะท้อนความเป็นจริงออกมาตามนั้น

CPI เดือนพฤษภาคมเละเทะ PPI ไม่ได้เลวร้ายไปมากกว่ากันเท่าไหร่

ดัชนีราคาผู้บริโภคสหรัฐฯ ประจำเดือนพฤษภาคมปรับตัวขึ้นสูงสุดนับตั้งแต่ธันวาคม 1981 ตัวเลข CPI ในเดือนที่แล้วเพิ่มขึ้น 8.6% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันในปีก่อนหน้า ในขณะที่ตัวเลข CPI พื้นฐานปรับตัวพิ่มขึ้น 6% ตัวเลขทั้งสองสูงกว่าที่ตลาดคาดไว้ เมื่อไปดูที่รายงานตัวเลข PPI ก็พบว่าดัชนีราคาผู้ผลิตปรับตัวเพิ่มขึ้น 10.8% ต่อเนื่อง จนขึ้นมาอยู่ในตัวเลขสองหลัก

ราคาอาหาร ก๊าซ และพลังงานที่พุ่งสูงขึ้นกลายเป็นปัจจัยสนับสนุนเงินเฟ้อ ส่งผลต่อราคาสินค้าและบริการทั้งหมด อัตราเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้นเป็นการเรียกร้องให้ธนาคารกลางของโลกต้องจำใจดำเนินนโยบายทางการเงินทั้งๆ ที่ตัวเองยังไม่พร้อมมากเท่าที่ควร เมื่อเร็ว ๆ นี้ธนาคารกลางยุโรปกล่าวว่าจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยออกจากแดนลบ แต่อัตราเงินเฟ้อจะยังคงทำให้อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงอยู่ต่ำกว่าศูนย์เนื่องจากอัตราเงินเฟ้อกำลังกัดเซาะมูลค่าของเงินยูโร เช่นเดียวกับธนาคารกลางสหรัฐฯ ที่เริ่มขึ้นอัตราดอกเบี้ยและทำนโยบายการเงินแบบตึงตัวก่อน ECB แล้ว

แม้เฟดจะเร่งขึ้นอัตราดอกเบี้ย แต่ก็ยังตามหลังเงินเฟ้ออยู่อีกไกล

ในวันพุธที่ 15 มิถุนายน ธนาคารกลางสหรัฐฯ ได้ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 0.75% ทำให้อัตราดอกเบี้ยขึ้นมาอยู่ีในกรอบ 1.50% ถึง 1.75% เฟดไม่ได้ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยขึ้นมามากขนาดนี้มาตั้งแต่ปี 1994 พวกเขาพิจารณา CPI พื้นฐานเป็นข้อมูลอ้างอิงเงินเฟ้อที่น่าเชื่อถือที่สุด เนื่องจากตัวเลขดังกล่าวรวมราคาอาหารและพลังงาน ที่มีความผันผวนสูงเข้ามาร่วมคำนวณด้วย

มาตรการที่เฟดกำลังทำอยู่อาจเป็นภาพลวงตา เพราะสภาพแวดล้อมปัจจุบันเราจะเห็นได้ว่าราคาอาหารและพลังงานเพิ่มขึ้นอย่างมากเนื่องมาจากสงครามในยูเครนที่เปลี่ยนธรรมชาติของตลาดเหล่านี้ สงครามทำให้เกิดปัญหาด้านอุปทานด้านเศรษฐกิจ ในขณะที่เครื่องมือของธนาคารกลางมี มักจะส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงทางเด้านอุปสงค์มากกว่า ดังนั้น แม้กรอบอัตราดอกเบี้ยในระยะสั้นจะขึ้นมาเป็น 1.50% -1.75% แล้ว แต่บรรดาธนาคารกลางทั้งหลาย ก็ยังอยู่ห่างไกลกับคำว่าการควบคุมเงินเฟ้อ และถ้าเร่งขึ้นอัตราดอกเบี้ยมากเกินไป ก็อาจทำให้สภาพเศรษฐกิจแย่ลงมากกว่าเดิม

ตลาดหุ้นไม่ได้ลง แต่ร่วง

ดัชนีตลาดหุ้นหลักของสหรัฐอเมริกาในปี 2022 ได้ปรับตัวลดลงมาตลอด แต่แรงกดดันด้านลบเริ่มทวีความรุนแรงขึ้นในช่วงกลางเดือนมิถุนายน S&P 500 Daily Chart

Source: Barchart

ภาพนี้แสดงกราฟของดัชนี S&P 500 ที่สามารถขึ้นไปแตะระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ที่ 4,818.62 เมื่อวันที่ 4 มกราคม แต่เมื่อวันที่ 20 มิถุนายน หลังจากตลาดได้ทราบข้อมูลตัวเลข CPI ครั้งล่าสุดแล้ว เอสแอนด์พี 500 ได้ปรับตัวลดลงมา 24% มีราคาซื้อขายอยู่ที่ 3,675 NASDAQ Composite Daily Chart

Source: Barchart

ในขณะเดียวกัน ดัชนีศูนย์กลางของหุ้นกลุ่มเทคโนโลยีอย่าง NASDAQ Composite ได้ขึ้นไปทำจุดสูงสุดที่ 16,212.23 เมื่อวันที่ 22 พ.ย. 2021 ก่อนที่จะปรับตัวลดลงมา 33.3% มีราคาซื้อขายเมื่อวันที่ 20 มิถุนายนอยู่ที่ 10,798 คิดเป็นการปรับตัวลดลงหนึ่งในสามของมูลค่าทั้งหมดของดัชนี

Dow Jones Daily Chart

Source: Barchart

ดัชนีดาวโจนส์ (DJIA) อาจเป็นดัชนีที่ปรับตัวลดลงได้น้อยที่สุดจาก 36,952.65 เมื่อวันที่ 5 มกราคม เป็น 29,889 เมื่อวันที่ 20 มิถุนายน คิดเป็นการปรับตัวลดลง 19.1% 

ในขณะเดียวกัน ตลาดฟิวเจอร์สของพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐอายุ 30 ปี ที่จะส่งมอบในเดือนกันยายนได้ปรับตัวลดลงสู่จุดต่ำสุดที่ 131-01 เมื่อวันที่ 16 มิถุนายน ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดนับตั้งแต่มกราคม 2014 อัตราการจำนองแบบปกติรุ่นอายุ 30 ปี ณ ช่วงสิ้นปี 2021 มีตัวเลขต่ำกว่า 3% และสูงกว่า 6% ในช่วงกลางเดือนมิถุนายน 2020 การจำนอง 300,000 ดอลลาร์มีค่าใช้จ่ายมากกว่า 750 ดอลลาร์ มากกว่าค่าใช้จ่ายเมื่อหกเดือนก่อน

VIX ปรับตัวขึ้นแต่ยังไม่ถึงกับพุ่งปรี๊ด

ในอดีต แนวโน้มตลาดหุ้นขาลงมักจะสิ้นสุดลงหลังจากที่นักลงทุนผู้ซึ่งหมดหวังออกจากตลาดไปเป็นส่วนใหญ่แล้ว อันที่จริงก่อนที่ตัวเลข CPI จะออกมา ตลาดหุ้นก็ได้ปรับตัวลดลงอยู่ก่อนแล้ว 

เมื่อพูดถึงความวิตกกังวลของนักลงทุน ในตลาดจะมีดัชนีวัดความกลัวของนักลงทุนอยู่ ซึ่งมีชื่อว่า VIX index ดัชนีตัวนี้จะสะท้อนถึงความผันผวนอย่างมีนัยสำคัญของตลาดหุ้น ความผันผวนของ S&P 500 เป็นตัวกำหนดหลักของการ put หรือ call ในออปชั่น VIX จะปรับตัวเพิ่มขึ้นเมื่อหุ้นลดลงเนื่องจากผู้เข้าร่วมตลาดต่างพากันปกป้องพอร์ตลงทุนของตัวเองด้วยการประกันราคา

นี่คือโฆษณาของบุคคลที่สาม ไม่ใช่ข้อเสนอหรือคำแนะนำจาก Investing.com ดูการเปิดเผยข้อมูลที่นี่หรือ หรือลบโฆษณา

แม้ว่าในช่วงหลายเดือนที่ผ่านมา พฤติกรรมการวิ่งของ VIX จะปรับตัวสูงขึ้น แต่ก็ยังไม่ได้ขึ้นมากนัก มีความหมายว่าว่าตลาดหุ้นยังไม่เจอกับการเทขายจากภาคการค้าส่งVIX Weekly Chart

Source: Barchart

กราฟรูปนี้แสดงให้เห็นพฤติกรรมของตลาดหุ้นในเดือนมีนาคม 2020 ที่การกลัวโควิดนำไปสู่การพุ่งขึ้นของ VIX สู่ระดับ 85.47 ดังนั้น เมื่อเทียบกับ VIX ที่ 30.36 ในวันที่ 20 มิถุนายน แสดงให้เห็นว่าดัชนีได้ปรับตัวขึ้นจริง แต่ยังไม่ถึงจุดที่บ่งชี้ว่าตลาดหุ้นอยู่ใกล้จุดต่ำสุด

การขึ้นอัตราดอกเบี้ยเป็นแค่ส่วนหนึ่งของแนวโน้มขาลงในตลาดหุ้น

เฟดและธนาคารกลางอื่นๆ กำลังอยู่ในช้วงเวลาที่ท้าทาย เนื่องจากต้องเผชิญกับภาวะเงินเฟ้อด้านซัพพลายแต่กลับมีเครื่องมือที่สามารถช่วยแก้ปัญหาฝั่งอุปสงค์ได้เท่านั้น นอกจากนี้ ตลาดหุ้นที่ร่วงลงและตัวเลข GDP ในไตรมาสที่ 1 ที่หดตัวไปแล้ว ยิ่งเพิ่มโอกาสของภาวะถดถอย ในขณะที่อัตราเงินเฟ้อยังคงผลักดันราคาราคาสินค้าพุ่งสูงขึ้น Stagflation อาจเป็นสิ่งที่สหรัฐอเมริกาไม่อาจหลีกเลี่ยงได้

อัตราดอกเบี้ยที่เพิ่มขึ้นส่งผลกระทบต่อตลาดหุ้น สงครามในยุโรป ความตึงเครียดระหว่างพลังงานนิวเคลียร์ของโลก การเลือกตั้งมิดเทอมของสหรัฐฯ และเศรษฐกิจหลักของโลก ที่กำลังแบ่งแยกตามแนวทางการเมือง ทำให้เกิดความไม่แน่นอนอย่างมากในตลาดในสินทรัพย์ทุกประเภท การลดลงของตลาดหุ้นและตลาดตราสารหนี้อาจเป็นปัจจัยขาลง ที่รุ่นแรงที่สุดที่ตลาดต้องเผชิญ การที่ VIX วิ่งอยู่ในช่วง 30+ ไม่ได้บ่งชี้ว่านักลงทุนไม่มีความตื่นตระหนก

อัตราดอกเบี้ยที่เพิ่มขึ้นเป็นเพียงปัญหาเดียวที่ตลาดหุ้นสหรัฐเผชิญในช่วงกลางเดือนมิถุนายน 2022 ตลาดหมีมีแนวโน้มที่จะกลายเป็นเทรนด์หลักของตลาดไปจนกว่านักลงทุนจะกลับมาร่วมใจกันสร้างจุดต่ำสุดได้ มิเช่นนั้น ราคาก็มีแต่จะปรับตัวลดลงต่อไปเรื่อยๆ การลงทุนในตลาดหุ้นตอนนี้ต้องใช้ความระมัดระวังเป็นอย่างมาก อัตราดอกเบี้ยที่เพิ่มขึ้นเป็นหนึ่งในปัญหามากมายที่เรายังมองไม่เห็น และจะส่งผลต่อตลาดลงทุนอย่างมีนัยสำคัญไปตลอดทั้งปี 2022

ความคิดเห็นล่าสุด

การเปิดเผยความเสี่ยง: การซื้อขายตราสารทางการเงินและ/หรือเงินดิจิตอลจะมีความเสี่ยงสูงที่รวมถึงความเสี่ยงต่อการสูญเสียจำนวนเงินลงทุนของคุณบางส่วนหรือทั้งหมดและอาจไม่เหมาะสมกับนักลงทุนทั้งหมด ราคาของเงินดิจิตอลแปรปรวนอย่างมากและอาจได้รับผลกระทบจากปัจจัยภายนอกต่าง ๆ เช่น เหตุการณ์ทางการเงิน กฎหมายกำกับดูแล หรือ เหตุการณ์ทางการเมือง การซื้อขายด้วยมาร์จินทำให้ความเสี่ยงทางการเงินเพิ่มขึ้น
ก่อนการตัดสินใจซื้อขายตราสารทางการเงินหรือเงินดิจิตอล คุณควรตระหนักดีถึงความเสี่ยงและต้นทุนที่เกี่ยวข้องกับการซื้อขายในตลาดการเงิน ควรพิจารณาศึกษาอย่างรอบคอบในด้านวัตถุประสงค์การลงทุน ระดับประสบการณ์ และ การยอมรับความเสี่ยงและแสวงหาคำแนะนำทางวิชาชีพหากจำเป็น
Fusion Media อยากเตือนความจำคุณว่าข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้ไม่ใช่แบบเรียลไทม์หรือเที่ยงตรงแม่นยำเสมอไป ข้อมูลและราคาที่แสดงไว้บนเว็บไซต์ไม่ใช่ข้อมูลที่ได้รับจากตลาดหรือตลาดหลักทรัพย์เสมอไปแต่อาจได้รับจากผู้ดูแลสภาพคล่องและดังนั้นราคาจึงอาจไม่เที่ยงตรงแม่นยำและอาจแตกต่างจากราคาจริงในตลาดซึ่งหมายความว่าราคานี้เป็นเพียงราคาชี้นำและไม่เหมาะสมสำหรับวัตถุประสงค์เพื่อการซื้อขาย Fusion Media และผู้ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้จะไม่รับผิดชอบใด ๆ สำหรับความเสียหายหรือการสูญเสียที่เป็นผลมาจากการซื้อขายของคุณหรือการพึ่งพาของคุณในข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้
ห้ามใช้ จัดเก็บ ทำซ้ำ แสดงผล ดัดแปลง ส่งผ่าน หรือ แจกจ่ายข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้โดยไม่ได้รับการอนุญาตล่วงหน้าอย่างชัดแจ้งแบบเป็นลายลักษณ์อักษรจาก Fusion Media และ/หรือจากผู้ให้ข้อมูล ผู้ให้ข้อมูลขอสงวนสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาและ/หรือการแลกเปลี่ยนข้อมูลที่ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้
Fusion Media อาจได้รับผลตอบแทนจากผู้โฆษณาที่ปรากฎบนเว็บไซต์โดยอิงจากปฏิสัมพันธ์ของคุณที่มีกับโฆษณาหรือผู้โฆษณา
เวอร์ชั่นภาษาอังกฤษของเอกสารฉบับนี้เป็นเวอร์ชั่นหลักซึ่งจะเป็นเวอร์ชั่นที่เหนือกว่าเมื่อใดก็ตามที่มีข้อขัดแย้งไม่สอดคล้องตรงกันระหว่างเอกสารเวอร์ชั่นภาษาอังกฤษกับเอกสารเวอร์ชั่นภาษาไทย