ถึงแม้ว่าในภาพรวมแล้วตลาดหุ้นสหรัฐฯ ในสัปดาห์นี้จะไม่ได้ขยับไปไหนมากนัก แต่ถ้าดูกราฟเปรียบเทียบค่าเงินดอลลาร์สหรัฐกับสกุลเงินเยนของญี่ปุ่นแล้วจะเห็นว่ากราฟได้ปรับตัวขึ้นสูงที่สุดในรอบมากกว่าสองทศวรรษ กราฟ USD/JPY กลับมาปรับตัวขึ้นเจ็ดจากแปดวันล่าสุด โดยปกติ สกุลเงินเยนก็มักที่จะอ่อนค่าลงภายใต้สภาวะตลาดที่เปราะบางอยู่แล้ว การทะยานขึ้นของ USD/JPY ยิ่งทำให้ทุกคู่สกุลเงินที่จับคู่กับ JPY ล้วนแล้วแต่ปรับตัวขึ้นสู่จุดสูงสุดในรอบหลายปีตามด้วยเช่นกัน
เชื่อว่านักลงทุนทุกคนน่าจะเดากันได้ไม่ยากว่าสาเหตุหลักของการแข็งค่าของดอลลาร์สหรัฐมาจากนโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐฯ ที่ตั้งใจจะทำนโยบายการเงินให้มีความตึงตัวมากขึ้น เพื่อต่อสู้กับเงินเฟ้อ ความตั้งใจดังกล่าวทำให้ดอลลาร์สหรัฐกลายเป็นที่ต้องการมากขึ้น การทำนโยบายการเงินเชิงควบคุมปริมาณ (QT) นั้นทำให้ตลาดลงทุนไม่จำเป็นต้องใส่ใจกับตัวเลขเศรษฐกิจมากนัก และเข้าถือดอลลาร์มากขึ้น
ในการประชุมครั้งล่าสุดของธนาคารกลางสหรัฐฯ เมื่อเดือนที่แล้ว พวกเขาได้เปิดเผยแผนที่จะลดบัญชีงบดุลของธนาคารกลางฯ ลงมา ซึ่งแผนนี้เริ่มต้นดำเนินการมาตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน กระบวนการ QT เกี่ยวข้องกับการกำหนดจำนวนเงินต้นของการชำระเงินต้น ที่นำกลับมาลงทุนใหม่ ซึ่งช่วยให้พันธบัตร ที่จะครบกำหนดสามารถไถ่ถอนมากขึ้น ในวันที่กำหนด แต่เพราะว่าวันกำหนดชำระหนี้ครั้งแรกจะเกิดขึ้นในวันที่ 15 มิถุนายนนี้ ซึ่งหมายความว่าตอนนี้เราจะยังไม่เห็นผลกระทบของการทำ QT จนกว่าจะถึงกลางสัปดาห์หน้า ผลกระทบที่ตามมาอีกประการหนึ่งจากการทำ QT คือการลดสภาพคล่องในตลาดพันธบัตร ซึ่งจะทำให้อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ และดอลลาร์สหรัฐยิ่งปรับตัวสูงขึ้น
สำหรับการลงทุนในสัปดาห์นี้ ถ้าไม่นับการประชุมของธนาคารกลางยุโรปในวันนี้ ไฮไลท์สำคัญก็คงหนีไม่พ้นการประกาศดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ของสหรัฐอเมริกาในวันพรุ่งนี้ และนักลงทุนทุกคนต่างก็ยังเป็นกังวลว่าตัวเลขดังกล่าวยังจะสามารถเติบโตเพิ่มขึ้นได้อีกหรือไม่ ก่อนหน้านี้ รัฐมนตรีกระทรวงการคลังของสหรัฐฯ นางเจเน็ต เยลเลน ก็ได้ออกมาพูดว่าการเห็นเงินเฟ้ออยู่ที่ระดับ 8% คือเรื่องที่ไม่อาจยอมรับได้ และตัวเลข CPI นี้ก็จะส่งผลต่อการประชุมอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐฯ ในสัปดาห์หน้า หากตัวเลขที่ออกมาสูงขึ้น เฟดก็ไม่มีทางเลือกมากนักนอกจากต้องขึ้นอัตราดอกเบี้ย (ซึ่งอาจจะถึง 0.75%) และนั่นก็จะยิ่งทำให้เศรษฐกิจอเมริกามีความเสี่ยงเข้าสู่ภาวะเศรษฐกิจถดถอยได้ง่ายขึ้น
สำหรับนักลงทุน ตอนนี้คงจะเข้าใจได้แล้วว่าทำไมตลาดหุ้นสหรัฐฯ ถึงไม่มีความเคลื่อนไหวมากนักมาตลอดทั้งสัปดาห์นี้ ตลาดหุ้น และแม้แต่ตลาดคริปโตฯ เองต่างก็อ่อนไหวกับการทำนโยบายการเงินเชิงควบคุมปริมาณและการขึ้นอัตราดอกเบี้ย และสำหรับนักลงทุนในตลาดฟอเร็กซ์ QT + การขึ้นอัตราดอกเบี้ย หมายถึงการส่งเสริมสกุลเงินดอลลาร์ และเป็นการกดสกุลเงินหลักอื่นๆ ให้อ่อนค่าลง
มาถึงไฮไลท์สำคัญของการลงทุนในวันนี้คือการประชุมและวางนโยบายทางการเงินของธนาคารกลางยุโรป (ECB) ที่จะเกิดขึ้นในเวลา 18.45 น. ตามเวลาประเทศไทย ก่อนหน้านี้ ECB ได้ประกาศอย่างชัดเจนแล้วว่าพวกเขามีแผนจะขึ้นอัตราดอกเบี้ยในเดือนกรกฎาคม ดังนั้นสิ่งที่เราคาดว่าจะได้เห็นในการประชุมวันนี้คือแผนการทำนโยบายการเงินแบบตึงตัวอย่างเป็นรูปธรรม
สาเหตุหนึ่งที่ ECB เลือกที่จะขึ้นอัตราดอกเบี้ยในเดือนหน้าแทนที่จะเป็นวันนี้เพราะต้องประกาศตัวเลขคาดการณ์การเติบโตทางเศรษฐกิจในเดือนนี้ก่อน ซึ่งจะช่วยบรรเทาความตกใจของตลาดจากผลการตัดสินใจการวางอัตราดอกเบี้ยในเดือนหน้าได้ในระดับหนึ่ง ตัวเลขเงินเฟ้อในเดือนพฤษภาคมที่ออกมา 8.1% ทำให้ ECB ไม่อาจนิ่งเฉยได้อีกต่อไป เท่ากับว่าวันนี้เราอาจจะได้เห็น ECB คาดการณ์การเติบโตของเงินเฟ้อในยุโรปด้วย
จริงอยู่ว่าตอนนี้มีปัจจัยกดดันสกุลเงินยูโรอยู่มากมาย ทั้งการคาดการณ์การเติบโตทางเศรษฐกิจ ปัญหาซัพพลายเชนคาดแคลน สงครามระหว่างรัสเซียยูเครน และการขึ้นอัตราดอกเบี้ย แต่ถึงอย่างนั้นเราก็เชื่อว่าการตัดสินใจจะสู้เงินเฟ้อกลับของ ECB ในครั้งนี้จะทำให้นักลงทุนมีความต้องการสกุลเงินยูโรมากขึ้น เป็นไปได้ว่าในระยะสั้น กราฟ EUR/USD มีโอกาสขึ้นทดสอบระดับราคา 1.08 ได้ แต่ไม่อาจไปไกลมากว่านั้นเพราะอย่างไรเสีย ดอลลาร์ก็ยังแข็งค่ามากกว่าสกุลเงินยูโร
การประกาศตัวเลขดุลบัญชีการค้าของประเทศจีนในช่วงเช้าของวันนี้ไม่ได้สร้างผลกระทบต่อสกุลเงินดอลลาร์ออสเตรเลียและนิวซีแลนด์มากนัก จริงอยู่ว่าการล็อกดาวน์ได้สร้างผลกระทบกับภาคการส่งออก แต่การแข็งค่าของดอลลาร์และเงินยูโรก็มีส่วนช่วยทางอ้อมกับการเพิ่มมูลค่าการส่งออกสินค้าจากจีนทางทะเลอยู่แล้ว
ความต้องการสกุลเงินดอลลาร์ออสเตรเลียมีน้อยมากหลังจากทราบผลการประชุมอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางออสเตรเลียไปตั้งแต่ต้นสัปดาห์ สกุลเงินดอลลาร์ออสเตรเลียและนิวซีแลนด์มีแต่จะอ่อนค่าลง ตราบใดที่ตลาดหุ้นภายในประเทศยังคงเป็นขาลง และดอลลาร์สหรัฐยังแข็งค่า สุดท้าย สกุลเงินดอลลาร์แคนาดามีแต่จะแข็งค่าขึ้นตามขาขึ้นของราคาน้ำมัน และตัวเลขตลาดแรงงานจาก PMI IVEY ที่จะประกาศในวันพรุ่งนี้