นับตั้งแต่ธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) เริ่มประกาศขึ้นอัตราดอกเบี้ยเป็นครั้งแรกตั้งแต่ปี 2018 หลังจากนั้นสินค้าโภคภัณฑ์อันดับหนึ่งอย่างทองคำก็ถูกกดดันให้ปรับตัวลดลงอย่างต่อเนื่อง ยิ่งเฟดพร้อมที่จะขึ้นดอกเบี้ย หรือพร้อมที่จะขึ้นดอกเบี้ยมากเท่าไหร่ ราคาทองคำก็ยิ่งปรับตัวลดลงเร็วมากเท่านั้น
แม้กระทั่งการประชุมครั้งล่าสุดในวันที่ 4-5 พฤษภาคม เมื่อสถานการณ์การเติบโตของเงินเฟ้อยังไม่ลดลง เฟดจึงได้ตัดสินใจขึ้นอัตราดอกเบี้ยแรงขึ้นเป็น 0.50% นับเป็นการขึ้นอัตราดอกเบี้ยแรงที่สุดตั้งแต่ปี 2000 ซึ่งนี่จะไม่ใช่ครั้งแรกและครั้งสุดท้าย เพราะเฟดเคยประกาศแผนแล้วว่าจะขึ้นอัตราดอกเบี้ยไปตลอดทั้งปี 2022 แต่อาจจะเป็นเพราะถูกขาลงกดดันมาตลอดทั้งปี เมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา เราจึงเห็นการดีดตัวกลับขึ้นมาของทองคำ แม้ว่าดอลลาร์สหรัฐจะแข็งค่าอยู่ก็ตาม
เชื่อว่านักลงทุนคงเห็นภาพกราฟรายวันกันมาบ่อยแล้ว ในบทความนี้เราจะพาไปดูภาพรวมของราคาทองคำในมุมมองที่กว้างขึ้น
จากรูปนี้สามารถเห็นได้ว่าปัจจัยที่สร้างผลกระทบต่อราคาทองคำในตอนนี้มีสองประการ หนึ่งคือความต้องการทองคำในฐานะสินทรัพย์คานเงินเฟ้อ ที่รุนแรงที่สุดในรอบสี่ทศวรรษ ความต้องการนี้มาพร้อมกับความกังวลว่าการขึ้นอัตราดอกเบี้ยมากเกินไปของเฟดจะทำให้เศรษฐกิจอเมริกาเข้าสู่สภาวะถดถอย
สองคือระดับทองคำในระบบยังคงมีมากกว่าความต้องการ ถามว่าทำไมเราถึงคิดเช่นนั้น? เพราะจุดสูงสุด (Peak) ล่าสุดที่เกิดขึ้นในเดือนมีนาคมปีนี้ ยังถือว่าต่ำกว่าจุดสูงสุดในเดือนสิงหาคมปี 2020 ในกรณีเช่นนี้สามารถพิจารณาได้ว่าเป็นรูปแบบ double-top และขาลงที่เกิดขึ้นมาตลอดทั้งปีก็ถือว่าเป็นการลงไปตามรูปแบบ อย่างไรก็ตาม แนวโน้มในระยะยาวของทองคำยังคงเป็นขาขึ้น และจะเป็นเช่นนี้ไปจนหว่าจุดต่ำสุดที่กำลังสร้างนี้อยู่ต่ำกว่าจุดต่ำสุดของเดือนมีนาคมปีที่แล้ว จึงจะได้ชื่อว่าเป็นขาลงที่แท้จริง
เมื่อหันมาพิจารณาอินดิเคเตอร์ ทั้ง RSI และ MACD ซึ่งเป็นที่สุดของการวัดโมเมนตัมและความเคลื่อนไหวของราคา ได้ปรับตัวลดลงต่ำกว่าระดับแนวรับของตัวเอง แสดงให้เห็นความเป็นไปได้ที่กรอบขาขึ้นครั้งนี้อาจถูกเจาะ และเพิ่มโอกาสที่ขาลงครั้งนี้จะสามารถลงไปวิ่งต่ำกว่าจุดต่ำสุดของเดือนมีนาคมได้ ถ้าเป็นเช่นนั้น ขาลงตาม double-top ก็จะยิ่งสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น
กลยุทธ์การเทรด
เทรดเดอร์ที่ไม่ชอบความเสี่ยง จะรอวางคำสั่งซื้อ โดยราคาทองคำต้องสา่มารถขึ้นยืนเหนือจุดสูงสุดตลอดกาลในเดือนสิงหาคมปี 2020 ให้ได้ก่อน หรือไม่ก็ถ้าสร้างจุดต่ำสุดใหม่ (ในกราฟระยะยาว) ก็จะวางคำสั่งขาย
เทรดเดอร์ที่รับความเสี่ยงได้ปานกลาง จะวางคำสั่งซื้อหากพบว่าในกราฟรายวันมีการสร้างจุดสูงสุดใหม่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง เหตุผลข้อนี้สอดคล้องกับกราฟรายสัปดาห์ ที่ยังคงอยู่ในกรอบราคาขาขึ้น
เทรดเดอร์ที่รับความเสี่ยงได้สูง จะวางคำสั่งซื้อ โดยอ้างอิงจากกรอบราคาขาขึ้นและแท่งเทียนรูปค้อนในกราฟรายชั่วโมง ทั้งนี้ทั้งนั้นขึ้นอยู่กับแท่งเทียนในสัปดาห์นี้ ว่าจะทำราคาปิดสูงขึ้นได้ด้วยหรือไม่
ตัวอย่างการเทรด
- จุดเข้า: $1,800
- Stop-Loss: $1,775
- ความเสี่ยง: $25
- เป้าหมายในการทำกำไร:$2,000
- ผลตอบแทน: $200
- อัตราความเสี่ยงต่อผลตอบแทน: 1:8