การแฮ็ก (Hacking) หรือการเข้าถึงข้อมูลในระบบคอมพิวเตอร์โดยไม่ได้รับอนุญาต ถูกใช้เพื่อหาประโยชน์จากจุดอ่อนในระบบคอมพิวเตอร์หรือระบบเครือข่าย เพื่อขโมยทรัพย์สินออนไลน์โดยไม่ทำอันตรายทางกายภาพต่อองค์กรหรือหน่วยงานของรัฐบาล ในปี 2021 การแฮ็กส่งผลกระทบต่อระบบท่อส่งน้ำมันในเมืองฮุสตัน รัฐเท็กซัส ซึ่งเป็นระบบขนส่งน้ำมันเบนซินและน้ำมันเครื่องบินไปยังภาคตะวันออกเฉียงใต้ของสหรัฐฯ การโจมตีทางไซเบอร์ของแรนซัมแวร์ปิดอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ที่ควบคุมท่อส่งน้ำมัน ในตอนนั้น อเมริกาถึงกับต้องจ่ายเงินให้กับแฮ็กเกอร์ ในเครือ DarkSide กลุ่มอาชญากรไซเบอร์ที่เชื่อมโยงกับรัสเซีย คิดเป็นเงินค่าไถ่ 4.4 ล้านดอลลาร์
การโจมตีทางอินเทอร์เน็ตอีกครั้งในปีนั้นส่งผลกระทบกับบริษัท JBS SA (OTC:JBSAY) บริษัทแปรรูปเนื้อสัตว์ในบราซิล จนทำให้โรงฆ่าสัตว์ไม่สามารถดำเนินกิจการได้ตามปกติ การโจมตีครั้งนั้นส่งผลกระทบต่อโรงงานในสหรัฐอเมริกา แคนาดา และออสเตรเลีย และทำให้ JBS ต้องจ่ายค่าไถ่ 11 ล้านดอลลาร์
แม้ว่าอาชญากรรมข้างต้นจะไม่ส่งผลกระทบใดๆ ต่อสินทรัพย์สกุลเงินดิจิทัล แต่ความปลอดภัย การดูแล และการถูกใช้เป็นเครื่องมือด้านอาชญากรรมยังคงเป็นปัญหาสำคัญสำหรับสกุลเงินดิจิทัลเสมอมา ความเสรีที่สกุลเงินดิจิทัลมีอยู่บนโลกออนไลน์ ทำให้พวกมันเสี่ยงต่อการโจมตีทางกฎหมาย และเสี่ยงต่อการถูกโจรกรรมทางไซเบอร์โดยแฮกเกอร์ที่ต้องการขโมยเหรียญดิจิทัลอันมีค่า
การแฮ็กเคยประสบความสำเร็จในการล้มยักษ์ใหญ่มาแล้ว
ในอดีต แพลตฟอร์มแลกเปลี่ยนสกุลเงินดิจิทัลที่ใหญี่ที่สุดเคยมีชื่อว่า Mount Goxเคยเป็นสถานที่แลกเปลี่ยนบิทคอยน์มากกว่า 70% ในระบบทั้งหมด ความโดดเด่นของ Mt. Gox ทำให้มันเป็นเป้าหมายหลักสำหรับแฮ็กเกอร์ ที่ทำให้เกิดปัญหาด้านความปลอดภัยมากกว่าสองสามครั้ง จนนำไปสู่การพังทลายของมหานครบาลิโลนแห่งสกุลเงินดิจิทัลในยุคนั้น
ในปี 2011 แฮกเกอร์ใช้ข้อมูลประจำตัวที่ถูกขโมยมาเพื่อโอนบิทคอยน์ ส่งผลให้มีการขโมยบิทคอยน์หลายพันเหรียญ อย่างไรก็ตามมูลค่าของบิทคอยน์ในตอนนั้นยังไม่สูงมาก ณ ตอนั้นบิทคอยน์ยังมีมูลค่าอยู่ที่ 4.19 ดอลลาร์ต่อหนึ่งเหรียญ จึงทำให้การขสูญเสียนั้นยังอยู่ต่ำกว่าระดับ 100,000 ดอลลาร์ แต่ในเดือนกุมภาพันธ์ 2014 แพลตฟอร์ม Mt. Gox ก็ต้องเจอกับการโจมตีร้ายแรง เมื่อแฮกเกอร์สามารถขโมยบิทคอยน์จำนวน 650,000 ถึง 850,000 เหรียญได้สำเร็จ และนำมาสู่การล่มสลายของแพลตฟอร์มแลกเปลี่ยนสกุลเงินดิจิทัลที่ใหญ่ที่สดในเวลาต่อมา
เมื่อคริปโตฯ กลายเป็นกระแสหลัก ความปลอดภัยและการดูแลทรัพย์สินยังคงเป็นส่วนประกอบสำคัญสำหรับการลงทุนหรือการถือครอง เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นกับ Mt. Gox ยังคงเป็นเครื่องเตือนใจว่าให้กับแพลตฟอร์มคริปโตฯ ในปัจจุบัน ให้เห็นถึงความสำคัญในการรักษาความปลอดภัยของแพลตฟอร์ม และเป็นเหตุผลว่าทำไมผู้ให้บริการแลกเปลี่ยนคริปโตฯ ในปัจจุบันจึงมีระบบที่ป้องกันแฮกเกอร์ยุ่งยาก และหลายขั้นตอน
ใครบ้างเป็นผู้นำในโลกของการแฮ็กคริปโตฯ
อ้างอิงข้อมูลจากปี 2019 สิบประเทศแรกที่ได้ชื่อว่าแฮกคริปโตฯ มากที่สุดในโลกได้แก่
อ้างอิง: cyberkite.com.au
จีน รัสเซีย และอิหร่านอยู่ใน 5 อันดับแรก แต่ในขณะเดียวกันนั้น เกาหลีเหนือก็กำลังขยับเพื่อก้าวขึ้นสู่ 10 อันดับแรก เมื่อวันที่ 19 เมษายน 2022 บทความในเว็บไซต์ Cryptoslate.com ได้เน้นย้ำถึงการเติบโตที่เพิ่มขึ้นของเกาหลีเหนือ ในฐานะสถานที่ที่อาชญากรไซเบอร์ใช้เป็นฐานที่มั่นเพื่อโจมตีแพลตฟอร์มสกุลเงินดิจิทัล
ตามรายงานดังกล่าว Arthur Cheong ผู้ก่อตั้ง DeFiance Capital ซึ่งเป็นกองทุนร่วมลงทุนที่เน้นการลงทุนในคริปโตฯ เชื่อว่าแฮ็กเกอร์ชาวเกาหลีเหนือที่ได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาล และพวกเขาก็กำลังมองหาวิธีประนีประนอมกับองค์กรชั้นนำด้านคริปโต Cheong ทวีตเกี่ยวกับเรื่องนี้ในช่วงกลางเดือนเมษายน
ในทวีตของเขา เขากล่าวเน้นถึง BlueNorOff โดยเฉพาะว่าเป็นหนึ่งในกลุ่มแฮ็คของเกาหลีเหนือ ที่เพิ่งสร้างการโจมตีทางโซเชียล ผ่านการทำแผนที่กราฟเชื่อมโยงความสัมพันธ์ของแพลตฟอร์มผู้ให้บริการแลกเปลี่ยนคริปโตฯ ทั้งหมด วิธีการของกลุ่มคนร้ายนี้คือการส่งอีเมลฟิชชิ่ง ที่หากคลิกไปแล้วมีโอกาสสูงที่จะผ่านกำแพงความปลอดภัยในบัญชี จนสามารถเข้าไปถึงตัวสกุลเงินดิจิทัลได้
โจรกรรมในโลกคริปโตฯ เป็นธุรกิจที่ได้กำไร
ดูเหมือนว่าเกาหลีเหนือจะประสบความสำเร็จทางด้านธุรกิจด้วยการสนับสนุนการแฮ็กข้อมูลมากขึ้น เมื่อเร็ว ๆ นี้สหรัฐฯ สามารถหาหลักฐานเชื่อมโยงแฮ็กเกอร์ ที่ได้รับการสนับสนุนจากรัฐในทวีปเอเชีย กับการขโมยเงินดิจิทัลจำนวน 615 ล้านดอลลาร์ จากผู้เล่นเกมออนไลน์ยอดนิยม Axie Infinity ในเดือนมีนาคมได้
คณะกรรมการสหประชาชาติ ที่เป็นผู้ออกมาตรการคว่ำบาตรเกาหลีเหนือ ได้กล่าวหาเปียงยางว่าใช้เงินที่ถูกขโมยมาและการแฮ็กคริปโตเพื่อสนับสนุนโครงการนิวเคลียร์และขีปนาวุธของตนเอง เพื่อหลีกเลี่ยงการคว่ำบาตรจากนานาชาติ ในปี 2020 รายงานของกองทัพสหรัฐฯ ระบุว่ากิจกรรมการแฮ็กของเกาหลีเหนือเกิดขึ้นได้อย่างไรในช่วงกลางทศวรรษ 1990 และตอนนี้มีรายงานว่าแฮ็กเกอร์จำนวน 6,000 ราย ที่เพิ่มขึ้นมามีฐานปฏิบัติการจากเบลารุส จีน อินเดีย มาเลเซีย และรัสเซีย
Chainalysis บริษัทรักษาความปลอดภัยในโลกไซเบอร์และวิเคราะห์บล็อกเชนในสหรัฐฯ กล่าวว่าแฮกเกอร์ชาวเกาหลีเหนือขโมยทรัพย์สินดิจิทัลในปี 2021 ไปราว 400 ล้านดอลลาร์ จากการโจมตี 7 ครั้ง
สงครามเศรษฐกิจจะยิ่งเพิ่มความเสี่ยงให้กับโลกคริปโตฯ
เมื่อวันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2022 ประธานาธิบดีจีนสี จิ้นผิงและประธานาธิบดีรัสเซียปูตินได้จับมือกันในข้อตกลง "ความร่วมมือไม่จำกัด" ระหว่างสองประเทศ หลังจากนั้น เมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ ทหารรัสเซียก็เริ่มแผนบุกยูเครน ก่อให้เกิดความเสี่ยงที่ว่าจีนจะมีแผนการบุกไต้หวันด้วยหรือไม่
ข้อตกลงจีน-รัสเซียแบ่งโลกทางภูมิรัฐศาสตร์ออกเป็นสองส่วน ทางตะวันตกจะมีกสหรัฐฯ ยุโรปและพันธมิตร ในขณะที่ฝั่งตะวันออกจะมี จีน รัสเซีย เกาหลีเหนือและอิหร่านเป็นพันธมิตรที่สำคัญ การแบ่งแยกครั้งนี้ทำลายภาพของโลกาภิวัตน์และความร่วมมือทางเศรษฐกิจลงอย่างชัดเจน โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังจากการคว่ำบาตรอย่างรุนแรงในรัสเซีย ที่บังคับใช้กับรัสเซียเนื่องจากการโจมตียูเครน
การดำเนินการจากโลกตะวันตกยิ่งเพิ่มแรงจูงใจให้กับอาชญากรรมในการหาวิธีหลบเลี่ยงการคว่ำบาตร การแฮ็กที่ได้รับการสนับสนุนจากรัฐจึงมีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้นในรัสเซีย จีน เกาหลีเหนือ และอิหร่าน ที่สนับสนุนแฮ็กเกอร์อย่างเงียบๆ อยู่แล้ว และยิ่งทำให้ฝั่งตะวันตกมีเหตุผลให้ยกระดับความจำเป็นที่รัฐบาลจะต้องคิดหาวิธีใหม่ในการปกป้องตนเองและพลเมืองของตน
ณ จุดนี้ เกาหลีเหนือได้กลายเป็นศูนย์กลางการแฮ็กข้อมูล แฮกเกอร์ได้รวบรวมกำไรที่ผิดกฎหมายมากกว่า 1 พันล้านดอลลาร์ในช่วงปี 2021 และ 2022 เอาไว้ที่นั่น ซึ่งยิ่งทำให้แพลตฟอร์มคริปโตฯ การเงินอื่นจะต้องยกระดับความปลอดภัย เพื่อหลีกเลี่ยงการสูญเสียทรัพย์สินของพวกเขาไปยังแฮ็กเกอร์
การแฮ็กยังคงจะนำหน้านวัตกรรมด้านความปลอดภัยหนึ่งก้าวเสมอ สร้างความเสี่ยงอย่างมากให้กับผู้ที่อยู่ในแวดวงสกุลเงินดิจิทัล ผู้ใช้งานคอมพิวเตอร์ที่มีทักษะสูงได้กลายเป็นพวกล้วงกระเป๋าเงินเดิจิทัล จากเมื่อก่อนคนเดินถนน ต้องเคยกังวลกับการล้วงกระเป๋าเงิน แต่ตอนนี้แม้ว่าจะนั่งอยู่ที่บ้านเฉยๆ ก็สามารถถูกล้วงกระเป๋าเงินดิจิทัลได้ง่ายๆ หากไม่รู้จักระมัดระวังตัวเอง