หุ้นของแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียชื่อดังทวิตเตอร์ (NYSE:TWTR) เติบโตอย่างโดดเด่นเมื่อต้นสัปดาห์นี้ หลังจากมีข่าวว่าอีลอน มัสก์เศรษฐีที่รวยที่สุดในโลกซื้อหุ้น 9.2% ในบริษัทไมโครบล็อก ความเคลื่อนไหวดังกล่าวทำให้ผู้ก่อตั้งเทสลา (NASDAQ:TSLA) กลายเป็นผู้ถือหุ้นทวิตเตอร์รายใหญ่ที่สุด
การประกาศว่าอีลอน มัสก์จะเข้าร่วมคณะกรรมการของทวิตเตอร์ทำให้หุ้นบริษัทเมื่อวันจันทร์ปรับตัวสูงขึ้น 27% สร้างสถิติหนึ่งในวันที่สร้างขาขึ้นได้ดีที่สุดครั้งหนึ่งของทวิตเตอร์ ข่าวดีดังกล่าวยังทำให้หุ้นทวิตเตอร์ในวันอังคารสามารถรักษาแนวโน้มขาขึ้นต่อเนื่องจากวันจันทร์ด้วยขาขึ้นอีก 2% ได้อีกด้วย ก่อนที่ราคาหุ้นจะปรับตัวลดลงในวันถัดมา 5.7% มีราคาปิดล่าสุดเมื่อวันพฤหัสบดีที่ 48.03 ดอลลาร์
อ้างอิงข้อมูลจาก VandaTrack ขาขึ้นสองวันนั้นดึงดูดกระแสเงินจากนักลงทุนรายย่อยไหลเข้าสู่หุ้นทวิตเตอร์มากถึง 348 ล้านดอลลาร์ สร้างสถิติขาขึ้นสองวันติดที่ดีที่สุดเท่าที่เคยมีมา ส่วนหนึ่งของนักลงทุนที่มาซื้อหุ้นตัวนี้เพราะเป็นแฟนคลับของอีลอน มัสก์
แม้ว่าจะเป็นปัจจัยเชิงบวกในระยะสั้น แต่เหตุการณ์นี้ชี้ให้เห็นว่าหุ้นทวิตเตอร์มีแนวโน้มที่จะปรับตัวสูงขึ้นจริง แต่ก็จะมีความเสี่ยงเพิ่มขึ้นในอนาคต โดยเฉพาะอย่างยิ่งความเสี่ยงที่มาจากการทวีตของเขา อย่างที่มักจะปรากฎอยู่บ่อยๆ กับหุ้นของบริษัทเทสลา นักวิเคราะห์ของ VandaTrack ให้ความเห็นว่า
“เนื่องจากอีลอน มัสก์เป็นคนที่มีบุคลิกค่อนข้างพิเศษ คำพูดหรือการทวิตของเรามีอิทธิพลอย่างมากโดยเฉพาะอย่างยิ่งในหมู่นักลงทุนรายย่อย (และนักลงทุนคริปโตฯ) เราสามารถจินตนาการได้เลยว่าหุ้น TWTR ต่อจากนี้ไปจะผันผวนได้ง่ายขึ้น เพราะการขึ้นลงของราคาจะอ้างอิงจากการสื่อสารของอีลอน มัสก์ (เช่นเดียวกับที่เกิดขึ้นในหุ้นเทสลา)”
การเปลี่ยนแปลงที่มีนัยสำคัญ
อีลอน มัสก์ เป็นบุคคลผู้ร่วมก่อตั้งกิจการต่างๆ เช่น SpaceX และ The Boring Company เขาได้ทวีตเมื่อวันอังคารถึงผู้ติดตามมากกว่า 80 ล้านคนว่ากำวางแผนที่จะทำงานร่วมกับ CEO ของทวิตเตอร์คนปัจจุบันปาราก อักร้าวอล (Parag Agrawal) และคณะกรรมการ เพื่อทำการปรับปรุงเว็บไซต์ทวิตเตอร์ครั้งสำคัญในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้า
เป็นการยากที่จะคาดการณ์ว่าการมีส่วนร่วมอย่างจริงจังของมัสก์ในกิจการของทวิตเตอร์จะเป็นประโยชน์ต่อ บริษัทมากน้อยเพียงใด แม้จะเป้นเรื่องน่ายินดี แต่อีกทางหนึ่งบริษัททวิตเตอร์ก็กำลังโน้มน้าวให้นักลงทุนที่ไม่เชื่อมั่นในแนวทางของมัสก์ และยังภักดีกับอดีต CEO และผู้ร่วมก่อตั้งอย่างแจ็ค ดอร์ซีย์
นอกจากนี้ ทวิตเตอร์ยังต้องเผชิญกับแรงกดดัน ให้ต้องเดินหน้าอย่างรวดเร็วในการสร้างผลิตภัณฑ์ใหม่ ถือเป็นความท้าทายในการดึงดูดผู้ใช้งานใหม่ ที่สำคัญ บริษัทผู้เป็นเจ้าของแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียในยุคนี้มักจะต้องเผชิญกับการตรวจสอบทางกฎระเบียบที่เข้มงวด ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการผลักดันเพื่อควบคุมข้อมูลที่ผิด และการใช้ข้อมูลของผู้ใช้ในทางที่ผิดทั่วโลก
ในเดือนกุมภาพันธ์ ปารากและประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายการเงินเน็ต ซีกอล (Ned Segal) บอกกับนักลงทุนว่าบริษัทยังคงรักษาเป้าหมายการเพิ่มรายรับต่อปีเป็น 7.5 พันล้านดอลลาร์ และมียอดผู้ใช้งานเพิ่มขึ้นเป็น 315 ล้านคนต่อวันภายในสิ้นปี 2023 ที่ตั้งไว้เมื่อปีที่แล้วเอาไว้อยู่ เป็นเป้าหมายที่ดูมีความทะเยอทะยานอยู่พอสมควร นักวิเคราะห์บางคนเชื่อว่าแม้จะได้มัสก์มาร่วมทัพ แต่การจะบรรลุเป้าหมายนี้ไม่ใช่ว่าจะทำได้ง่ายๆ
MKM Partners ปรับลดระดับความน่าเชื่อถือของหุ้นทวิตเตอร์ในสัปดาห์นี้ โดยกล่าวว่าเป้าหมายการเติบโตของอัตราการเติบโตของยอดผู้ใช้งานทวิตเตอร์นั้น "สูงส่ง" เกินไปเมื่อเทียบกับมูลค่าความเป็นจริงในสัปดาห์นี้
"ในขณะที่เรารู้สึกตื่นเต้นและทึ่งกับความคาดหวังของอีลอน มัสก์ ที่อาจมีบทบาทในการพัฒนาทวิตเตอร์เป็นอย่างมาก เราเชื่อว่าความเสี่ยงเมื่อเทียบกับอัตราผลตอบแทนในระยะสั้นในปัจจุบันนั้นค่อนข้างสมดุล อย่างไรก็ตาม เรามองว่าเป้าหมายผู้ใช้เฉลี่ยรายวันที่สร้างรายได้ (mDAU) ในปี 2023 ที่ 315 ล้านครั้งนั้นสูงมาก (อ้างอิงจากแบบจำลองของเราที่ทำได้ประมาณ 290 ล้าน mDAU) ที่สำคัญ ปัญหาในพื้นที่ยุโรปและรัสเซียอาจมีส่วนชะลอการเติบโตในระยะสั้น" - MKM Partners กล่าว
ในทำนองเดียวกัน ตามแบบจำลองทางการเงินหลายๆ แบบ เช่น ที่ให้ความสำคัญกับบริษัทโดยพิจารณาจากค่า P/E หรือ P/S มูลค่าโดยเฉลี่ยของราคาหุ้นทวิตเตอร์ที่ควรจะเป็นบน InvestingPro ระบุว่ามีความเสี่ยงที่จะปรับตัวลดลง 5.2%
อ้างอิง: InvestingPro