รับส่วนลด 40%
ใหม่! 💥 รับ ProPicks เพื่อดูกลยุทธ์ที่ให้ผลตอบแทน ชนะดัชนี S&P 500 มากกว่า 1,183% รับส่วนลด 40%

ราคาน้ำมันจะขึ้นถึง $200 ต่อบาร์เรลหรือไปไกลกว่านั้นได้อย่างไร? (ภาค 2)

เผยแพร่ 17/03/2565 10:37
อัพเดท 09/07/2566 17:31

เมื่อวานนี้ Investing.com ได้ลงบทความวิเคราะห์ “ราคาน้ำมันจะขึ้นถึง $200 ต่อบาร์เรลหรือไปไกลกว่านั้นได้อย่างไร?” ซึ่งในบทความนั้นได้พูดถึงประเด็นซัพพลายน้ำมันขาดแคลนฉับพลัน ความสำคัญของรัสเซียที่ตะวันตกตัดไม่ขาด และภาพรวมปริมาณน้ำมันดิบคงคลัง ในบทความนี้จะเป็นส่วนที่ 2 ต่อจากเมื่อวาน เราจะมาดูตลาดน้ำมันในประเด็นอื่นๆ กันต่อว่าทำไมถึงมีโอกาสที่ราคาน้ำมันจะกลับมาเป็นขาขึ้นได้อีกครั้ง…

ระดับความต้องการน้ำมันกับการสร้างจุดสูงสุดตลอดกาลใหม่

เมื่อปลายปี 2021 ความคิดเห็นจากนักลงทุนวอลล์สตรีทกล่าวว่า “ความต้องการน้ำมันพุ่งสูงสุดด้วยโรคระบาด และมันก็ตกลงจากโรคระบาดด้วยเช่นกัน” ผู้จัดการสินทรัพย์ที่มีชื่อเสียงคนหนึ่ง ซึ่งดูแลเงินหลายหมื่นล้านเหรียญ ให้คำนิยามการเคลื่อนไหวของราคาน้ำมันดิบว่า “เป็นไปตามความต้องการของเหล่าปลาวาฬในโลกน้ำมัน”

Cathie Wood Oil 'Call'

ต้องอธิบายก่อนว่า Whale หรือปลาวาฬนั่นเป็นศัพท์มาจากวงการสกุลเงินดิจิทัล ที่ใช้เรียกเหล่าผู้ที่ถือครองสกุลเงินดิจิทัลเอาไว้มากที่สุด เปรียบเหมือนปลาตัวใหญ่ที่สุดในมหาสมุทรคริปโต ฯ กลับมาที่ตลาดน้ำมัน 18 เดือนต่อมา หลังจากที่วิกฤโควิดดูเหมือนจะเริ่มหลุดออกไปจากหน้าข่าวหนังสือพิมพ์แล้ว แต่อุปสงค์ของสหรัฐฯ ยังคงสูงกว่าระดับก่อนเกิดโควิด-19 อย่างต่อเนื่อง จนล่าสุดสามารถทำลายสถิติสูงสุดเมื่อเดือนที่แล้ว


US Oil Consumption 2019 vs 2022

ที่น่าตกใจยิ่งกว่า คือจุดสูงสุดใหม่เหล่านี้ปรากฏขึ้นก่อนที่ความต้องการใช้น้ำมันสูงสุดตามฤดูกาลจะเริ่มต้นขึ้น (ในช่วงฤดูร้อน) ซึ่งอาจทำให้มีแรงหนุนขาขึ้นจากประเด็นนี้ เมื่อมองไปในอนาคต แหล่งที่มาของอุปสงค์อีกแห่งหนึ่งอาจมาจากการเดินทางทางอากาศ ที่ฟื้นตัวกลับขึ้นมาอีกครั้ง กราฟด้านล่างแสดงให้เห็นว่าการเดินทางทางอากาศของสหรัฐฯ ยังคงต่ำกว่าระดับก่อนเกิดโควิด-19 ประมาณ 15% US Air Travel 2019 vs 2022

เพราะข้อจำกัดเกี่ยวกับโควิด-19 ค่อยๆ ลดลง นักวิเคราะห์หลายคนจึงคาดว่าการเดินทางทางอากาศของสหรัฐฯ จะฟื้นตัวเต็มที่ในปี 2022 หากเป็นจริง สิ่งนี้อาจช่วยสร้างจุดสูงสุดใหม่ในระดับความต้องการน้ำมันดิบของสหรัฐฯ

หลังจากนั้น ประเทศอื่นๆ ในโลกก็จะดำเนินตามรอยของอเมริกา การประมาณการล่าสุดขององค์การพลังงานระหว่างประเทศ (IEA) บ่งชี้ว่าอุปสงค์น้ำมันทั่วโลกจะเพิ่มขึ้น 3.2 ล้านบาร์เรลต่อวันในปี 2022 เป็น 100.6 ล้านบาร์เรลต่อวัน ในขณะเดียวกัน สำนักงานสารสนเทศด้านการพลังงานของรัฐบาลสหรัฐ (EIA) คาดการณ์ว่าอุปสงค์ทั่วโลกจะสูงขึ้นเป็นประวัติการณ์ภายในไตรมาสที่ 3 ของปีนี้ โดยจะทำสถิติสูงสุดใหม่อีกในปี 2023 และปีต่อๆ ไปGlobal Oil Demand 2019-2023 (est.)

กล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ จุดสูงสุดของความต้องการน้ำมันในตอนนี้ไม่ได้อยู่ในจุดที่สามารถมองเห็นในกราฟได้ และด้วยการกลับมาเปิดเมืองเปิดพื้นที่ทางเศรษฐกิจใหม่ทั่วโลก ปีนี้โลกจะต้องการซัพพลายน้ำมันใหม่มากกว่า 3 ล้านบาร์เรลต่อวัน

เมื่อกำลังการผลิตน้ำมันสหรัฐฯ หยุดชะงัก ราคาน้ำมันแพงอาจไม่ช่วยอะไร

แม้ว่าสหรัฐอเมริกากำลังจะอยู่ในช่วงเวลาที่เหมาะจะทำกำไรจากราคาน้ำมันได้มากที่สุดในทศวรรษที่ผ่านมา แต่การผลิตน้ำมันของสหรัฐยังคงหยุดชะงักอยู่ที่ 11.6 ล้านบาร์เรลต่อวัน คิดเป็นประมาณหนึ่งล้านบาร์เรลต่อวัน หรือเกือบเป็นระดับการผลิตเดียวกันก่อนเกิดโรคระบาด US Oil Production Stalled

สิ่งนี้สะท้อนถึงการเปลี่ยนแปลงแบบ 180 องศา เมื่อเทียบกับทศวรรษที่ผ่านมา ในวันที่เครื่องเจาะหินดินดานเคยมีส่วนกับระดับการเติบโตของการผลิตน้ำมัน WTI หลายล้านบาร์เรล ที่เคยมีราคาอยู่ที่ 50–60 ดอลลาร์

สาเหตุของการเปลี่ยนแปลงนี้มีสองอย่าง หนึ่งคือการขาดเงินลงทุน และสองคือระดับน้ำมันดิบคงคลังที่หายไป ซึ่งมีความสำคัญกว่า ในอดีต สหรัฐฯ เคยมีแหล่งขุดเจาะน้ำมัน ที่สามารถใช้วิธีทำชั้นหินให้ระเบิดเป็นน้ำมันได้เช่นที่ Eagle Ford และ Bakken shales แต่ปัจจุบันสหรัฐฯ เหลือเพียงแอ่งเปอร์เมียนในเท็กซัสเป็นปราการสุดท้าย สำหรับการเติบโตของการผลิตน้ำมันในสหรัฐฯ นับตั้งแต่กลางปี ​​2021 แม้จะมีการเพิ่มกำลังการผลิตจากแหล่งใหม่ มากกว่าครึ่งล้านบาร์เรลต่อวัน แต่แอ่งเปอร์เมียน ก็ยังคงเป็นสถานที่หลัก ที่ใช้ผลิตน้ำมันเพื่อชดเชยการกำลังการผลิตที่หายไป และพยายามชดเชยกำลังการผลิตจากแหล่งหินดินดานในพื้นที่อื่นๆ ของสหรัฐฯUS Shale: Permian vs All Other Production

เพราะทุกวันนี้ปริมาณน้ำมันดิบคงคลังจากที่สต็อกน้ำมันนอกแอ่งเปอร์เมียนร่อยหรอ จึงไม่อาจสรุปได้ชัดเจนว่าราคาน้ำที่สูงขึ้นจะสามารถแก้ปัญหานี้ได้ ในขณะเดียวกัน แม้ว่าบริษัทผู้ผลิตจะต้องการวางแท่นขุดเจาะเพื่อทำงาน แต่พวกเขาก็ต้องเผชิญกับปัญหาการขาดแคลนวัตถุดิบอย่างฉับพลัน อันเป็นผลมาจากซัพพลายเชนทั่วโลกขาดแคลน ปัญหาเล็กๆ ในเชิงรายละเอียดนี้ย่อยไปตั้งแต่แรงงาน ท่อเหล็กไปจนถึงการขาดเศษหิน เศษทราย

ข้อจำกัดของห่วงโซ่อุปทานแบบเดียวกันนี้มีส่วนทำให้การผลิตรถยนต์และการสร้างบ้านช้าลง และไม่มีวิธีแก้ไขได้ง่ายๆ ในทันที การบรรจบกันของปัญหาต่างๆ นี้อธิบายว่าทำไม ถึงแม้ว่าราคาน้ำมันดิบจะเพิ่มขึ้นรายสัปดาห์ และเพิ่มขึ้นมากที่สุดที่เคยมีมา แต่จำนวนแท่นขุดเจาะน้ำมันของสหรัฐฯ กลับลดลง 3 เท่าในเวลาเดียวกัน ถึงแม้ว่าเมื่อเร็วๆ นี้ จะมีรายงานจำนวนแท่นขุดเจาะน้ำมันเพิ่มขึ้นอีกครั้ง แต่ก็ยังคงต่ำกว่าระดับก่อนเกิดโควิดประมาณ 24%US Oil Rig Count

สุดท้าย แม้จะได้ความร่วมมือจากกลุ่ม OPEC+ แต่ก็ยังไม่สามารถเพิ่มกำลังการผลิตน้ำมันได้ง่ายอยู่ดี

ความสามารถในการผลิตน้ำมันของ OPEC+ ถูกท้าทายเมื่อเงินทุนทั่วโลกหายไป

จากการระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ทำให้กลุ่ม OPEC+ ตัดสินใจสร้างสมดุลให้กับตลาดน้ำมันโดยลดการผลิตลง 9.7 ล้านบาร์เรลต่อวัน เมื่ออุปสงค์ฟื้นตัว กลุ่ม OPCR+ ก็ตกลงที่จะปล่อยอุปทานใหม่ 400,000 บาร์เรลต่อวันในแต่ละเดือน เริ่มมาตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2021 จนถึงปัจจุบัน

แต่ในช่วงหลายเดือนที่ผ่านมา หลายประเทศสมาชิกพยายามดิ้นรนเพื่อให้บรรลุเป้าหมายการผลิตน้ำมันต่อเดือน IEA คาดการณ์ในเดือนมกราคมว่ากลุ่ม OPEC+ ได้ลดโควตาการผลิต 900,000 บาร์เรลต่อวัน

ส่วนหนึ่งที่สามารถอธิบายได้ว่าทำไมถึงไม่สามารถผลิตได้ถึงเป้าเป็นเพราะประเทศตะวันตกที่เริ่มต่อต้านการพัฒนาเชื้อเพลิงฟอสซิล และหันไปใช้พลังงานสะอาด ในอดีต การผลิตน้ำมันส่วนใหญ่ของกลุ่ม OPEC+ ได้รับการพัฒนาและช่วยเหลือโดยตะวันตก ซึ่งส่วนใหญ่เป็นประเทศมหาอำนาจระดับโลก แต่ตอนนี้ งบประมาณ หรือทุนในหมู่บริษัทน้ำมันของตะวันตกที่ลดลงกำลังสร้างผลกระทบไปทั่วโลก ตามที่ผู้เชี่ยวชาญด้านพลังงาน Julian Lee อธิบายกับสำนักข่าว Bloomberg ว่า:

“การขาดแคลนการผลิตน้ำมันอย่างต่อเนื่องในประเทศอย่างไนจีเรียและแองโกลาไม่ได้เป็นเพราะต้องปิดโรงงานเพื่อบำรุงรักษา…แต่สะท้อนถึงกำลังการผลิตที่ลดน้อยลง อันเป็นผลมาจากการขาดเงินลงทุนในการสำรวจและพัฒนา ดังนั้นตราบใดที่ความขาดแคลนยังคงอยู่ สถานการณ์จะเลวร้ายลง เนื่องจากจะมีประเทศจำนวนมากขึ้นเรื่อยๆ ที่ต้องเผชิญกับข้อจำกัดด้านกำลังการผลิตพลังงานและพยายามดิ้นรนเพื่อยกระดับการผลิต”

นักวิเคราะห์บางกลุ่มเชื่อว่าส่วนหนึ่งของปัญหาเป็นเพราะการปรับลดประมาณความสามารถในการผลิตของกลุ่ม OPEC+ มอร์แกน สแตนลีย์คาดการณ์ว่ากำลังการผลิตน้ำมันสำรองของโลกจะลดลงจาก 6.5 ล้านบาร์เรลต่อวันในปีที่แล้วเหลือต่ำกว่า 2 ล้านบาร์เรลต่อวันภายในกลางปี 2022OPEC+ Spare Capacity

ที่สำคัญ การประเมินความจุของพื้นที่จัดเก็บน้ำมันเหล่านี้เกิดขึ้นก่อนรัสเซียจะบุกยูเครน ดังนั้น แม้จะรัสเซียจะไม่หยุดส่งน้ำมัน ตลาดพลังงานก็ต้องเผชิญกับปัญหาการผลิตน้ำมันลดลงเหลือต่ำกว่า 2 ล้านบาร์เรลต่อวันภายในสิ้นปี 2022 อยู่ดี

ส่วนสุดท้ายของบทความ เราจะมาดูผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นกับตลาด หากว่ารัสเซียยังคงไม่สามารถส่งออกพลังงานไปยังพื้นที่อื่นๆ ทั่วโลกได้ตามปกติ

การทำลายอุปสงค์โดยอัตโนมัติอาจส่งให้ราคาน้ำมันขึ้นยืนเหนือ $200 ต่อบาร์เรล

ความไม่สมดุลของระดับอุปสงค์อุปทานเป็นสิ่งที่ทำให้ราคาของสินค้าโภคภัณฑ์ทั้งหมดปรับตัวเพิ่มขึ้นตลอดมา ซึ่งมนุษย์เราก็พยายามแก้ไขความไม่สมดุลด้วยกลไกราคาจากหนึ่งในสองวิธีนี้ หนึ่งคือจูงใจอุปทานให้เพิ่มขึ้น หรือสองคือลดระดับอุปสงค์ลง

ในปีที่ผ่านมา ตลาดน้ำมันได้ส่งสัญญาณถึงความต้องการอุปทานที่มากขึ้น (หรืออุปสงค์ที่น้อยลง) ผ่านราคาสินค้าที่สูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง และถึงแม้น้ำมันจะแตะระดับสูงสุดในรอบหลายปีเหนือ 90 ดอลลาร์ แต่ผู้ผลิตก็ยังพยายามดิ้นรนที่จะเพิ่มอุปทานให้เพียงพอ ทั้งๆ ที่ปัญหาด้านการผลิตจำนวนมากไม่สามารถแก้ไขได้ด้วยการขึ้นราคาในระยะสั้น

นี่คือโฆษณาของบุคคลที่สาม ไม่ใช่ข้อเสนอหรือคำแนะนำจาก Investing.com ดูการเปิดเผยข้อมูลที่นี่หรือ หรือลบโฆษณา

แต่จะทำอย่างไรเมื่อความต้องการทั่วโลกยังคงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง?

ยิ่งไปกว่านั้น เมื่อการส่งออกพลังงานของรัสเซียที่มีมากถึง 4.8 ล้านบาร์เรลต่อวันหายไป ก็ยิ่งทำให้สมดุลด้านอุปทานน้ำมันเสียหาย ในกรณีที่ต้องสูญเสียการส่งออกพลังงานทั้งหมดของรัสเซีย และต่อสมาชิก OPEC ทุกประเทศจะช่วยกันเพิ่มกำลังการผลิตอย่างเต็มที่แล้วก็ตาม โลกก็ยังคงต้องเผชิญกับอุปทานขาดดุลเกินหนึ่งล้านบาร์เรลต่อวัน

ในสถานการณ์นั้น จะเกิดการทำลายอุปสงค์ในวงกว้าง ซึ่งจะเป็นกลไกเดียวที่มีอยู่ในตลาด เพื่อสร้างสมดุลให้กับตลาดน้ำมันโลก ไม่มีใครเดาได้ว่าราคาจะสูงแค่ไหน อาจจะรุนแรงถึงขนาดที่ว่าราคาน้ำมันดิบ WTI และเบรนท์ที่ 200 ดอลลาร์อาจเป็นเพียงจุดเริ่มต้น

แน่นอนว่าสถานการณ์นั้นจะไม่ใช่เรื่องดีกับมนุษยชาติ ถึงผมจะวิเคราะห์สถานการณ์ได้ดูน่ากลัว แต่มันก็เป็นเพียงความเป็นไปได้หนึ่ง เพื่อประโยชน์ของทุกคนบนโลกใบนี้ ผมก็หวังว่าสถานการณ์รัสเซีย-ยูเครนจะได้รับการแก้ไขโดยเร็วที่สุด สำหรับนักลงทุน บทความทั้งสองชิ้นนี้ถูกเขียนขึ้นเพื่อชี้ให้เห็นถึงความเสี่ยง ที่อาจกระทบต่อสินทรัพย์การลงทุนทั่วโลก และความเสี่ยงนี้มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นในแต่ละวันที่ผ่านไป

ความคิดเห็นล่าสุด

การเปิดเผยความเสี่ยง: การซื้อขายตราสารทางการเงินและ/หรือเงินดิจิตอลจะมีความเสี่ยงสูงที่รวมถึงความเสี่ยงต่อการสูญเสียจำนวนเงินลงทุนของคุณบางส่วนหรือทั้งหมดและอาจไม่เหมาะสมกับนักลงทุนทั้งหมด ราคาของเงินดิจิตอลแปรปรวนอย่างมากและอาจได้รับผลกระทบจากปัจจัยภายนอกต่าง ๆ เช่น เหตุการณ์ทางการเงิน กฎหมายกำกับดูแล หรือ เหตุการณ์ทางการเมือง การซื้อขายด้วยมาร์จินทำให้ความเสี่ยงทางการเงินเพิ่มขึ้น
ก่อนการตัดสินใจซื้อขายตราสารทางการเงินหรือเงินดิจิตอล คุณควรตระหนักดีถึงความเสี่ยงและต้นทุนที่เกี่ยวข้องกับการซื้อขายในตลาดการเงิน ควรพิจารณาศึกษาอย่างรอบคอบในด้านวัตถุประสงค์การลงทุน ระดับประสบการณ์ และ การยอมรับความเสี่ยงและแสวงหาคำแนะนำทางวิชาชีพหากจำเป็น
Fusion Media อยากเตือนความจำคุณว่าข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้ไม่ใช่แบบเรียลไทม์หรือเที่ยงตรงแม่นยำเสมอไป ข้อมูลและราคาที่แสดงไว้บนเว็บไซต์ไม่ใช่ข้อมูลที่ได้รับจากตลาดหรือตลาดหลักทรัพย์เสมอไปแต่อาจได้รับจากผู้ดูแลสภาพคล่องและดังนั้นราคาจึงอาจไม่เที่ยงตรงแม่นยำและอาจแตกต่างจากราคาจริงในตลาดซึ่งหมายความว่าราคานี้เป็นเพียงราคาชี้นำและไม่เหมาะสมสำหรับวัตถุประสงค์เพื่อการซื้อขาย Fusion Media และผู้ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้จะไม่รับผิดชอบใด ๆ สำหรับความเสียหายหรือการสูญเสียที่เป็นผลมาจากการซื้อขายของคุณหรือการพึ่งพาของคุณในข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้
ห้ามใช้ จัดเก็บ ทำซ้ำ แสดงผล ดัดแปลง ส่งผ่าน หรือ แจกจ่ายข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้โดยไม่ได้รับการอนุญาตล่วงหน้าอย่างชัดแจ้งแบบเป็นลายลักษณ์อักษรจาก Fusion Media และ/หรือจากผู้ให้ข้อมูล ผู้ให้ข้อมูลขอสงวนสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาและ/หรือการแลกเปลี่ยนข้อมูลที่ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้
Fusion Media อาจได้รับผลตอบแทนจากผู้โฆษณาที่ปรากฎบนเว็บไซต์โดยอิงจากปฏิสัมพันธ์ของคุณที่มีกับโฆษณาหรือผู้โฆษณา
เวอร์ชั่นภาษาอังกฤษของเอกสารฉบับนี้เป็นเวอร์ชั่นหลักซึ่งจะเป็นเวอร์ชั่นที่เหนือกว่าเมื่อใดก็ตามที่มีข้อขัดแย้งไม่สอดคล้องตรงกันระหว่างเอกสารเวอร์ชั่นภาษาอังกฤษกับเอกสารเวอร์ชั่นภาษาไทย