รับส่วนลด 40%
ใหม่! 💥 รับ ProPicks เพื่อดูกลยุทธ์ที่ให้ผลตอบแทน ชนะดัชนี S&P 500 มากกว่า 1,183% รับส่วนลด 40%

จับตารายงานประชุมเฟดล่าสุด และความตึงเครียดระหว่างรัสเซียกับยูเครน/นาโต้

เผยแพร่ 14/02/2565 09:25
อัพเดท 09/07/2566 17:32
  • สัปดาห์ที่ผ่านมา ตลาดการเงินพลิกกลับมาผันผวนหนักในช่วงท้ายสัปดาห์จากความกังวลเฟดเร่งขึ้นดอกเบี้ยมากกว่าคาดและความเสี่ยงที่รัสเซียจะบุกโจมตียูเครน

  • ติดตามรายงานการประชุมเฟดล่าสุด และปัญหาความขัดแย้งระหว่างรัสเซีย-ยูเครน/นาโต้ ซึ่งอาจส่งผลต่อบรรยากาศการลงทุนในสัปดาห์นี้ได้

  • ตลาดการเงินอาจปิดรับความเสี่ยงและผันผวนหนัก หากรัสเซียเปิดฉากโจมตียูเครน ซึ่งภาวะดังกล่าวจะหนุนให้เงินดอลลาร์แข็งค่าขึ้นตามความต้องการสินทรัพย์ปลอดภัย นอกจากนี้ เงินดอลลาร์อาจได้แรงหนุนเพิ่ม หากรายงานประชุมเฟดล่าสุดย้ำโอกาสเฟดเร่งใช้นโยบายการเงินที่เข้มงวดมากขึ้น ส่วนเงินบาทมีแนวโน้มผันผวนและอ่อนค่าลง โดยเฉพาะในกรณีที่ตลาดปิดรับความเสี่ยง ทั้งนี้ เงินบาทจะไม่อ่อนค่าไปมาก หากผู้เล่นในตลาดก็ทยอยขายทำกำไรทองคำที่อาจปรับตัวสูงขึ้นตามภาวะปิดรับความเสี่ยง นอกจากนี้ เราคาดว่าผู้ส่งออกจะรอขายเงินดอลลาร์ในช่วง 33.00 บาทต่อดอลลาร์ ซึ่งอาจเป็นแนวต้านสำคัญในระยะนี้ ส่วนแนวรับสำคัญยังเป็นโซน 32.50-32.60 บาทต่อดอลลาร์ จนกว่าปัจจัยพื้นฐานในประเทศจะฟื้นตัวดีขึ้นชัดเจน

  • มองกรอบเงินบาทสัปดาห์นี้
    32.50-33.00
    บาท/ดอลลาร์

  • มุมมองเศรษฐกิจทั่วโลก

    • ฝั่งสหรัฐฯ – ตลาดคาดว่า เศรษฐกิจสหรัฐฯ ยังคงฟื้นตัวต่อเนื่อง หลังสถานการณ์การระบาดของโอมิครอนไม่ได้น่ากังวลมากนัก สะท้อนผ่านยอดค้าปลีก (Retail Sales) เดือนมกราคมที่อาจปรับตัวขึ้นถึง +2.0%m/m ทั้งนี้แนวโน้มเศรษฐกิจที่ฟื้นตัวดีขึ้นต่อเนื่อง กอปรกับแนวโน้มเงินเฟ้อที่เร่งตัวสูงขึ้นและอาจอยู่ในระดับสูงนานกว่าคาด จะส่งผลให้เฟดสามารถใช้นโยบายการเงินที่เข้มงวดมากขึ้น โดยล่าสุดผู้เล่นในตลาดต่างคาดว่า เฟดอาจขึ้นดอกเบี้ยได้ถึง 6 ครั้งในปีนี้ ดังนั้นในสัปดาห์นี้ ผู้เล่นในตลาดจะจับตารายงานการประชุมของเฟดในเดือนมกราคมที่ผ่านมา ว่าเฟดมีความกังวลปัญหาเงินเฟ้อขนาดไหน รวมถึงแนวโน้มการใช้นโยบายการเงินที่เข้มงวดมากขึ้นของเฟด อาทิ การขึ้นดอกเบี้ยและการลดงบดุล นอกจากนี้ ผู้เล่นในตลาดจะรอติดตามถ้อยแถลงของบรรดาเจ้าหน้าที่เฟด ซึ่งเรามองว่าควรติดตามถ้อยแถลงของบรรดาเจ้าหน้าที่ซึ่งสนับสนุนนโยบายการเงินที่ผ่อนคลายมาโดยตลอดหรือไม่ได้สนับสนุนการเร่งขึ้นดอกเบี้ย อาทิ John Williams ว่าจะเริ่มปรับมุมมองมาสนับสนุนการใช้นโยบายการเงินที่เข้มงวดมากขึ้นหรือไม่ หลังเงินเฟ้อสหรัฐฯ ยังคงเร่งตัวสูงขึ้นต่อเนื่องและอาจอยู่ในระดับสูงนานกว่าคาด

    • ฝั่งยุโรป – ตลาดมองว่า แนวโน้มอัตราเงินเฟ้อทั่วไป (CPI Inflation) ของอังกฤษในเดือนมกราคมที่จะยังคงอยู่ในระดับสูงถึง 5.4% และยอดค้าปลีกในเดือนมกราคมที่จะโตขึ้น +1.2% จากเดือนก่อนหน้า จะยิ่งหนุนโอกาสธนาคารกลางอังกฤษ (BOE) ใช้นโยบายการเงินที่เข้มงวดมากขึ้น อาทิ BOE อาจขึ้นดอกเบี้ยต่อเนื่องในการประชุมเดือนมีนาคม นอกจากนี้ ตลาดจะจับตาถ้อยแถลงของประธานธนาคารกลางยุโรป (ECB) Christine Lagarde ถึงมุมมองต่อแนวโน้มเงินเฟ้อยุโรปและโอกาสที่ ECB อาจขึ้นดอกเบี้ยได้ในปีนี้ หลังจากที่ผ่านมาประธาน ECB ได้ย้ำมาตลอดว่า ECB ยังไม่รีบขึ้นดอกเบี้ย อย่างไรก็ดี เรามองว่า ควรระวังและติดตามปัญหาความขัดแย้งระหว่างรัสเซียกับยูเครนและชาติพันธมิตร NATO อย่างใกล้ชิด หลังการเจรจาล่าสุดระหว่างผู้นำสหรัฐฯและผู้นำรัสเซียยังไม่ประสบความสำเร็จในการลดความตึงเครียด ทำให้ยังมีความเสี่ยงที่ความขัดแย้งอาจบานปลายสู่สงครามและกดดันให้ตลาดการเงินปิดรับความเสี่ยงได้ อนึ่ง ควรจับตาการเจรจาระหว่างผู้นำรัสเซียกับผู้นำเยอรมนีในวันอังคารนี้ ว่าจะสามารถช่วยลดความตึงเครียดได้หรือไม่

    • ฝั่งเอเชีย – ผลกระทบจากการระบาดของโอมิครอนในญี่ปุ่นอาจทำให้การบริโภคในประเทศยังฟื้นตัวได้ไม่ดีนัก สะท้อนผ่านอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานที่ไม่รวมราคาสินค้าพลังงานและอาหารสด ของเดือนมกราคมที่จะลดลงสู่ระดับ -1.0% ขณะที่อัตราเงินเฟ้อทั่วไปจะอยู่ที่ระดับ 0.6% หนุนโดยการปรับตัวขึ้นของราคาสินค้าพลังงานและอาหารสดเป็นหลัก ซึ่งแนวโน้มเงินเฟ้อที่ยังไม่ได้เร่งตัวขึ้นมากและยังห่างไกลจากเป้าหมายที่ 2% ของธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) จะทำให้ BOJ ยังคงใช้นโยบายการเงินที่ผ่อนคลายต่อและยังไม่มีแนวโน้มที่จะขึ้นดอกเบี้ยได้ในปีนี้ ส่วนในฝั่งฟิลิปปินส์ แนวโน้มเศรษฐกิจที่เริ่มฟื้นตัวดีขึ้นอาจช่วยหนุนให้ธนาคารกลางฟิลิปปินส์ (BSP) สามารถทยอยขึ้นดอกเบี้ยได้ในช่วงครึ่งหลังของปีนี้ ส่วนในช่วงครึ่งแรกของปี BSP จะเลือกคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ระดับ 2.00% จนกว่าเศรษฐกิจจะฟื้นตัวได้ดีหรือเผชิญแรงกดดันจากเงินเฟ้อเร่งตัวขึ้น

    • ฝั่งไทย – แม้จะไม่มีรายงานข้อมูลเศรษฐกิจที่น่าสนใจ แต่ควรติดตามทิศทางฟันด์โฟลว์ของนักลงทุนต่างชาติที่อาจผันผวนได้ในสัปดาห์นี้เนื่องจากตลาดยังคงเผชิญความไม่แน่นอนของสถานการณ์ความขัดแย้งระหว่างรัสเซีย-ยูเครน/นาโต้ ซึ่งในกรณีรัสเซียเปิดฉากโจมตียูเครน อาจกดดันให้ตลาดปิดรับความเสี่ยง อาจส่งผลให้เงินดอลลาร์แข็งค่าขึ้นและนักลงทุนต่างชาติทยอยขายทำกำไรหุ้นไทย กดดันให้เงินบาทอ่อนค่าลงได้บ้าง

    Weekahead carlendar

ความคิดเห็นล่าสุด

การเปิดเผยความเสี่ยง: การซื้อขายตราสารทางการเงินและ/หรือเงินดิจิตอลจะมีความเสี่ยงสูงที่รวมถึงความเสี่ยงต่อการสูญเสียจำนวนเงินลงทุนของคุณบางส่วนหรือทั้งหมดและอาจไม่เหมาะสมกับนักลงทุนทั้งหมด ราคาของเงินดิจิตอลแปรปรวนอย่างมากและอาจได้รับผลกระทบจากปัจจัยภายนอกต่าง ๆ เช่น เหตุการณ์ทางการเงิน กฎหมายกำกับดูแล หรือ เหตุการณ์ทางการเมือง การซื้อขายด้วยมาร์จินทำให้ความเสี่ยงทางการเงินเพิ่มขึ้น
ก่อนการตัดสินใจซื้อขายตราสารทางการเงินหรือเงินดิจิตอล คุณควรตระหนักดีถึงความเสี่ยงและต้นทุนที่เกี่ยวข้องกับการซื้อขายในตลาดการเงิน ควรพิจารณาศึกษาอย่างรอบคอบในด้านวัตถุประสงค์การลงทุน ระดับประสบการณ์ และ การยอมรับความเสี่ยงและแสวงหาคำแนะนำทางวิชาชีพหากจำเป็น
Fusion Media อยากเตือนความจำคุณว่าข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้ไม่ใช่แบบเรียลไทม์หรือเที่ยงตรงแม่นยำเสมอไป ข้อมูลและราคาที่แสดงไว้บนเว็บไซต์ไม่ใช่ข้อมูลที่ได้รับจากตลาดหรือตลาดหลักทรัพย์เสมอไปแต่อาจได้รับจากผู้ดูแลสภาพคล่องและดังนั้นราคาจึงอาจไม่เที่ยงตรงแม่นยำและอาจแตกต่างจากราคาจริงในตลาดซึ่งหมายความว่าราคานี้เป็นเพียงราคาชี้นำและไม่เหมาะสมสำหรับวัตถุประสงค์เพื่อการซื้อขาย Fusion Media และผู้ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้จะไม่รับผิดชอบใด ๆ สำหรับความเสียหายหรือการสูญเสียที่เป็นผลมาจากการซื้อขายของคุณหรือการพึ่งพาของคุณในข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้
ห้ามใช้ จัดเก็บ ทำซ้ำ แสดงผล ดัดแปลง ส่งผ่าน หรือ แจกจ่ายข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้โดยไม่ได้รับการอนุญาตล่วงหน้าอย่างชัดแจ้งแบบเป็นลายลักษณ์อักษรจาก Fusion Media และ/หรือจากผู้ให้ข้อมูล ผู้ให้ข้อมูลขอสงวนสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาและ/หรือการแลกเปลี่ยนข้อมูลที่ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้
Fusion Media อาจได้รับผลตอบแทนจากผู้โฆษณาที่ปรากฎบนเว็บไซต์โดยอิงจากปฏิสัมพันธ์ของคุณที่มีกับโฆษณาหรือผู้โฆษณา
เวอร์ชั่นภาษาอังกฤษของเอกสารฉบับนี้เป็นเวอร์ชั่นหลักซึ่งจะเป็นเวอร์ชั่นที่เหนือกว่าเมื่อใดก็ตามที่มีข้อขัดแย้งไม่สอดคล้องตรงกันระหว่างเอกสารเวอร์ชั่นภาษาอังกฤษกับเอกสารเวอร์ชั่นภาษาไทย