หากเป็นคนทั่วไปที่มองเข้ามาในโลกสกุลเงินดิจิทัล พวกเขาอาจจะเข้าใจว่าโลกใบนี้มีแต่ความผันผวน ไม่ว่าจะเป็นสกุลเงินขนาดเล็กหรือใหญ่อย่างบิทคอยน์หรืออีเธอเรียมต่างก็ผันผวนขึ้นลงอย่างรุนแรง แต่รู้หรือไม่ว่าในโลกของสกุลเงินดิจิทัลนั้นยังมีสกุลเงินที่พยายามจะทำหน้าที่เป็นตัวกลางการแลกเปลี่ยนระหว่างสกุลเงินปกติและสกุลเงินดิจิทัล นักลงทุนคริปโตฯ เรียกสกุลเงินเหล่านี้ว่า 'สเตเบิลคอยน์ (Stablecoin)'
สเตเบิลคอยน์คือสกุลเงินดิจิทัลที่ไม่มีการผันผวนขึ้นลงเหมือนสกุลเงินทั่วไป เพราะบริษัทผู้สร้างอ้างว่าหนึ่งสเตเบิลคอยน์มีค่าเท่ากับหนึ่งดอลลาร์สหรัฐ หากไม่ผูกมูลค่าติดกับดอลลาร์ ก็จะพูดมูลค่าคิดเอาไว้กับสินทรัพย์สำรองปลอดภัยอย่างเช่นทองคำ
แต่ในปัจจุบันไม่ได้มีเพียงสเตเบิลคอยน์ที่ผูกติดมูลค่าอยู่กับเงินเฟียตเท่านั้น แต่ยังมีสเตเบิลคอยน์ที่ผูกติดมูลค่าเอาไว้กับสกุลเงินดิจิทัล และสเตเบิลคอยน์ที่ไม่ผูกติดมูลค่ากับสินทรัพย์ใดๆ หลักการของสเตเบิลคอยน์ที่ติดอยู่กับสกุลเงินดิจิทัลคือการใช้สกุลเงินดิจิทัลจำนวนมาก มาผูกติดกับสกุลเงินเพื่อลดความผันผวน ในขณะที่สเตเบิลคอยน์ที่ไม่อ้างอิงกับสินทรัพย์ใดๆ นั้นอาศัยกลไกการทำงานที่โปร่งใส่ ตรวจสอบได้ เป็นตัวยืนยันความมั่นคงของสกุลเงินดิจิทัลนั้น เมื่อต้องการเงิน ระบบจะทำการนำเงินออก และปรับสมดุลของปริมาณเหรียญในระบบโดยอัตโนมัติ
ในวงการสเตเบิลคอยน์ สกุลเงินที่ได้รับความนิยมมากที่สุดคือ ‘เธเตอร์’ (USDT) สกุลเงินนี้ถือเป็นผู้นำในกลุ่มสเตเบิลคอยน์เพราะมีมูลค่าราคาตามตลาดสูงที่สุด เธเตอร์กล่าวว่าอ้างอิงมูลค่าติดกับสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐ แต่ในโลกที่กำลังโอบรับเทคโนโลยีมากขึ้่นเรื่อยๆ เธเตอร์ไม่ใช่สกุลเงินที่รัฐบาลกลางเป็นผู้สร้าง ดังนั้นธนาคารกลางสหรัฐฯ จึงกำลังพยายามสร้างดอลลาร์ดิจิทัลออกมา เพื่อหวังว่าจะเอาตำแหน่งสกุลเงินกลางกลับมาให้ได้
จีนคงจะเป็นชาติแรกที่สร้างสกุลเงินดิจิทัลของชาติเสร็จก่อนใคร
จีนกำลังอยู่บนเส้นทางการสร้างสกุลเงินดิจิทัล ในช่วง 6 เดือนที่ผ่านมา สกุลเงินดิจิทัลในประเทศจีนมีการทำธุรกรรมในมูลค่าถึง 8.3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ในขณะเดียวกัน ตามรายงานของธนาคารปกลางจีน ธุรกรรมหยวนดิจิทัลมีมูลค่าสะสมสูงถึง 87.57 พันล้านหยวน หรือ $13,680 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ
ประเทศจีนเริ่มขั้นตอนการทดสอบสกุลเงินดิจิทัลในปี 2020 ในช่วงสิ้นปี 2021 จำนวนผู้ใช้หยวนดิจิทัลแต่ละรายเพิ่มขึ้นเป็น 261 ล้านคน เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญมากกว่า 240 ล้านคนมาตั้งแต่ปลายเดือนมิถุนายนปี 2021 ถึงแม้ว่าทุกวันนี้การทดสอบยังอยู่ในวงจำกัดเฉพาะผู้ที่เล่นลอตเตอรี่ อย่างไรก็ตาม อีกไม่นานสกุลเงินดิจิทัลของจีนจะพร้อมให้บริการแก่บุคคลทั่วไป
ข้ามมาที่สหรัฐอเมริกา ที่ตอนนี้ถือว่าช้ากว่าใครเพื่อนในเรื่องของการสร้างสกุลเงินดิจิทัลประจำชาติ เมื่อสัปดาห์ที่แล้วธนาคารกลางสหรัฐได้เปิดเผยผลการศึกษาเกี่ยวกับการออกสกุลเงินดิจิทัลของธนาคารกลาง ที่ทุกคนรอคอยมานาน กระดาษหนา 40 หน้าได้ตรวจสอบปัญหา และความคิดเห็นมากมายเกี่ยวกับดอลลาร์ดิจิทัล รองประธานธนาคารกลางสหรัฐนางเลล เบรนาร์ด เป็นผู้สนับสนุนหลักสำหรับโครงการนี้ ในขณะที่คณะกรรมการนโยบายการเงินบางคนยังไม่เห็นด้วย
ความแตกต่างหลักประการหนึ่งระหว่างเงินดอลลาร์ของเฟดกับธุรกรรมโทเค็นดิจิทัลอื่นๆคือ เงินดิจิทัลในปัจจุบันเป็นความรับผิดชอบของธนาคารพาณิชย์ ในขณะที่สกุลเงินดิจิทัลของธนาคารกลางหรือ CBDC จะถือเป็นสินทรัพย์ของเฟด การศึกษาความคิดเห็นสาธารณะ เผยความเห็นที่ไม่เหมือนกับสิ่งที่ธนาคารกลางคิด สำหรับตอนนี้ ยังไม่มีรายงานที่ระบุจุดยืนของธนาคารกลางว่าจะสนับสนุนดอลลาร์ดิจิทัลหรือไม่
สกุลเงินอันดับที่ 3 ของโลกดิจิทัล: เธเตอร์
ในปัจจุบันสเตเบิลคอยน์เธเตอร์ได้รับการยอมรับอย่างไม่เป็นทางการให้เป็นสกุลเงินดิจิทัลของดอลลาร์สหรัฐ แม้ว่าจะเคยถูกกล่าวหาถึงปริมาณเงินสำรองที่แท้จริง ที่เธเตอร์มีไว้ผูกมูลค่ากับสกุลเงินดิจิทัล แต่ชื่อเสียงที่มีมานาน และการเป็นสเตเบิลคอยน์ตัวแรกๆ ของวงการ ก็ทำให้เหรียญเธเตอร์ขึ้นมาอยู่ในดับ 3 จากการจัดอันดับของ CoinMarketCap เมื่อวันที่ 27 มกราคม หนึ่งเหรียญเธเตอร์มีมูลค่าอยู่ที่ $1.0008 มีมูลค่าตามราคาตลาดอยู่ที่ $78,230 ล้านเหรียญสหรัฐ
ที่มา: CoinMarketCap
กราฟนี้แสดงให้เห็นกรอบการสวิงของสกุลเงินดิจิทัลเธเตอร์ ณ ตอนนี้กราฟมีจุดสูงสุดอยู่ในเดือนธันวาคมปี 2017 ที่ $1.0779 และมีจุดต่ำสุดอยู่ในเดือนเมษายนปี 2017 ที่ $0.9136 ก่อนที่จะขึ้นมาคงที่อยู่ ณ $1 มาตั้งแต่เดือนเมษายนปี 2020 มาจนถึงปัจจุบัน
ไม่มีเหตุผลที่จะต้องใช้เงินเป็นกระดาษอีกต่อไป
ในขณะที่เฟดยังเอาแต่เถียงกับเรื่องความถูกต้อง ความเหมาะสม การรักษาสิทธิ์ของผู้ใช้งานหรืออะไรก็แล้วแต่ที่จะอ้าง แต่ภาคเอกชนไม่ขอรอให้วันนั้นมาถึง แต่เลือกที่จะโอบรับการปฏิวัติวางการฟินเทคฯ นี้และก้าวสู่โลกอนาคตแม้ว่าธนาคารกลางจะเห็นด้วยหรือไม่ ณ ตอนนี้สกุลเงินดิจิทัลยังเป็นพื้นที่ที่กฎหมายยังไม่สามารถเข้าไปควบคุมได้ 100% ถึงระบบนี้จะสร้างออกมาเพื่อคืนอิสรภาพทางการเงินให้กับทุกคน แต่ก็ต้องยอมรับว่าการใช้สกุลเงินดิจิทัลเป็นสกุลเงินหลักในชีวิตยังมีความผันผวนที่ไม่อาจยอมรับได้
แม้จะขัดแย้งกับในเรื่องของสกุลเงินดิจิทัล แต่ทั้งสองฝ่ายก็เห็นตรงกันว่าเทคโนโลยีบล็อคเชนคืออนาคต เพราะบล็อคเชนช่วยเพิ่มความเร็วในการทำธุรกรรม และประสิทธิภาพในการจดบันทึกข้อมูล ด้วยเหตุนี้ หลายคนจึงตั้งคำถามว่าเหตุใดสหรัฐฯ ซึ่งเป็นประเทศเศรษฐกิจชั้นนำของโลกและเป็นแหล่งรวมของสกุลเงินสำรองทั่วโลก จึงไม่สร้างสกุลเงินดิจิทัลก่อนใครเพื่อน อาจจะเป็นไปได้ว่าถึงหน่วยงานรัฐจะเคลื่อนที่เร็วแค่ไหน ก็ไม่อาจตามความเร็วของการพัฒนาเทคโนโลยี ที่เกิดจากเอกชนได้ทัน ที่สำคัญ นโยบายส่วนใหญ่ที่มาจากส่วนกลาง ล้วนมีการเมืองเป็นตัวขับเคลื่อน
แต่ถ้าจะให้รัฐบาลกลางตั้งใจสร้างสกุลเงินดิจิทัลจริงๆ ก็คงจะสร้างได้ไม่ยาก ดูได้จากความพยายามของประเทศจีน ที่ถึงแม้จะได้ชื่อว่ามีขนาดเศรษฐกิจเป็นอันดับสองรองจากอเมริกา แต่กลับให้ความสำคัญกับการพัฒนาสกุลเงินดิจิทัล และมีข่าวออกมาให้เราได้ยินอยู่อย่างต่อเนื่อง ว่ากันว่าตอนนี้เทคโนโลยีของจีนล้ำหน้ากว่าของสหรัฐฯ ไปสองปีแล้ว และสำหรับการสร้างสกุลเงิจดิจิทัลประจำชาติ อย่างน้อยตอนนี้จีนก็ไปถึงขั้นที่ลองให้ผู้คนบางกลุ่มได้ใช้งานแล้ว วันที่สหรัฐฯ หรือยุโรปมีโครงการทำสกุลเงินดิจิทัลอย่างเป็นรูปเป็นร่าง คงเป็นวันที่ประชาชนจีนได้ใช้สกุลเงินดิจิทัลหยวนไปนานแล้ว
นอกจากประเทศจีน ยังมีอีกแปดประเทศที่เดินหน้าสร้างสกุลเงินดิจิทัลไปแล้ว นั่นก็คือ
- บาฮามาส
- ไนจีเรีย
- แอนติกาและบาร์บูดา
- เกรเนดา
- เซนต์คิตส์และเนวิส
- เซนต์ลูเซีย
- โดมินิกา
- มอนต์เซอร์รัต
ในวันที่สกุลเงินดิจิทัลของรัฐสร้างเสร็จอย่างเป็นทางการ บทบาทของสเตเบิลคอยน์บางตัวอย่างเช่นเธเตอร์ก็อาจจะหมดลง แต่กว่าจะถึงตอนนั้น USDT จะยังคงเป็นเบอร์หนึ่งของสเตเบิลคอยน์ไปอีกนาน