การอ่อนค่าของสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐทำให้ปอนด์ สเตอร์ลิงเมื่อวานนี้ปรับตัวขึ้นมาประมาณ 0.3% คิดเป็นการขึ้นเพื่อชดเชยขาลงในวันอังคาร 0.37% แน่นอนว่าขาขึ้นครั้งนี้ยังไม่อาจเทียบได้กับขาลงที่เกิดขึ้นมาตั้งแต่วันศุกร์ของสัปดาห์ที่แล้วจนถึงวันอังคาร เพราะตอนนี้สิ่งที่ทุกฝ่ายกำลังให้ความสำคัญคือดอลลาร์สหรัฐจะแข็งค่าได้ขนาดไหนในวันที่มีบรรยากาศการจะขึ้นอัตราดอกเบี้ยและการเปลี่ยนนโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐหนุนอยู่เบื้องหลัง
อันที่จริงต้องถือว่าการแข็งค่าของดอลลาร์นั้นมาช้ามากกว่าที่เราคาดเอาไว้ กระแสข่าวเรื่องที่เฟดจะขึ้นอัตราดอกเบี้ยนั้นมีมาตั้งแต่เริ่มต้นปี 2022 แต่ในช่วงก่อนหน้านี้กราฟ GBP/USD กลับยังสามารถวิ่งขึ้นสร้างจุดสูงสุดใหม่เหนือ 1.3700 ได้
แต่เมื่อได้ลองมองย้อนกลับไปดูตั้งแต่การประชุมธนาคารกลางสหรัฐครั้งสุดท้ายของปี 2021 เราก็พบความผิดปกติของนักลงทุนที่มีต่อการถือครองดอลลาร์สหรัฐ ในวันที่ 15 ธันวาคมปี 2021 หลังจากที่คณะกรรมการนโยบายการเงิน (FOMC) ได้มีมติให้ลดปริมาณดอลลาร์สหรัฐในระบบลง และจะหันไปขึ้นอัตราดอกเบี้ยในปี 2022 นั้น ถ้าตอบแบบไม่ต้องคิด ข่าวนี้ต้องทำให้ดอลลาร์สหรัฐแข็งค่า จริงว่าหลังจากการประชุมนั้นดอลลาร์แข็งค่าขึ้นมา 0.35% แต่กลับทำจุดปิดของวันลดต่ำลง 0.06% ก่อนจะเริ่มสร้างขาลงเรื่อยมาจนตอนนี้มากกว่า 1% แล้ว
ในช่วงเวลาเดียวกัน พฤติกรรมของสกุลเงินปอนด์กลับเป็นไปในทิศทางตรงกันข้าม หลังจากปรับตัวลดลงในวันที่ 15 ธันวาคม 0.5% ปอนด์กลับสามารถสร้างจุดปิดได้สูงขึ้น 0.19% และปรับตัวขึ้นมาได้มากถึง 3.87% แม้ว่าจะมีการย่อตัวลดลงไป แต่ถ้าดูในกรอบตั้งแต่วันที่ 15 ธันวาคมมาจนถึงปัจจุบัน พบว่าปอนด์ยังคง +3.05% อยู่ดี
เมื่อได้มาลองเทียบภาพรวมทางเศรษฐกิจระหว่างสหราชอาณาจักรกับสหรัฐอเมริกาก็พบว่าตัวเลข GDP ของสหราชอาณาจักรมีการขยายตัวเพิ่มขึ้น 7% YoY โดยที่ตัวเลขนี้ยังไม่ได้รวมผลกระทบที่ได้รับจากการแพร่ระบาดของโอมิครอน ในขณะที่สหรัฐฯ ต้องเผชิญกับแรงกดดันมากมาย
มูดี้ประเมินว่าถึงสหรัฐฯ จะเติบโตได้แข็งแกร่งจนสามารถข่มโอมิครอนได้ แต่เงินเฟ้อกำลังเป็นปัญหาใหญ่ที่อาจจะเปลี่ยนแปลงทุกอย่าง สำนักข่าวหลายแห่งก็มีความเห็นคล้ายกันว่าการเติบโตของเศราฐกิจจีนจะแซงอเมริกาในปี 2030 ในขณะที่โกลด์แมน แซคส์คาดว่าเศรษฐกิจยูโรโซนจะแซงอเมริกาได้ในสองปี
ในมุมมองของรัฐบาล การพิมพ์เงินออกมาเพื่อช่วยเหลือเศรษฐกิจอาจะเป้นสิ่งที่ต้องทำ แต่เมื่อถามถึงในเชิงปริมาณแล้ว ทุกวันนี้ก็ยังมีคนตั้งคำถามว่าเงินทั้งหมดที่รัฐบาลของโจ ไบเดนใช้เพื่อเยียวยาโควิดนั้นมีมากเกินไปหรือไม่ เพราะปริมาณเงินในระบบที่มากเกินไปกำลังทำให้ดอลลาร์อ่อนค่า และนั่นอาจเป็นสาเหตุที่ทำให้กราฟ GBP/USD มีแนวโน้มว่าจะเปลี่ยนเทรนด์ ตามกราฟที่ได้แสดงให้เห็นด้านล่างนี้
กราฟรูปนี้แสดงให้เห็นว่าที่ผ่านมากราฟ GBP/USD ได้วิ่งอยู่ในแนวโน้มขาลงมาตลอด ทำ Peak-and-trough ที่ยอดปรับตัวลดลงมาเรื่อยๆ อย่างไรก็ตาม ยอดล่าสุดนี้กลับส่งสัญญาณแห่งการเปลี่ยนแปลงออกมา เมื่อ GBP/USD สามารถสร้างจุดสูงสุดเหนือกรอบราคาที่ลากมาตั้งแต่เดือนพฤษภาคมปีที่แล้วได้
การปรับตัวขึ้นมาครั้งนี้ดูเหมือนว่าจะไม่ใช่เรื่องเล่นๆ เพราะราคาสามารถขึ้นยืนเหนือเส้นค่าเฉลี่ยได้แล้วสองเส้นไม่ว่าจะเป็นเส้นค่าเฉลี่ย 50 วัน หรือ 100 วัน ตอนนี้เหลือเพียงแนวต้านเดียวคือเส้นค่าเฉลี่ย 200 วันเท่านั้น หากสามารถขึ้นยืนเหนือเส้นค่าเฉลี่ย 200 วันได้ จะเป็นการวิ่งกลับขึ้นไปทดสอบจุดสูงสุดก่อนหน้า หรือที่ระดับราคา 1.3840 และถ้าสามารถยืนเหนือระดับราคาดังกล่าวได้ ก็จะเป็นการประกาศเปลี่ยนเทรนด์อย่างเป็นทางการของ GBP/USD
กลยุทธ์การเทรด
เทรดเดอร์ที่ไม่ชอบความเสี่ยง สำหรับนักลงทุนขาลง พวกเขาจะรอจนกว่าราคาปรับตัวลดลงไปวิ่งต่ำกว่าจุดต่ำสุดของวันที่ 8 ธันวาคม หรือถ้าจะให้เชื่อในขาขึ้น ก็จะรอให้เกิดจุดสูงสุดใหม่ ที่เหนือกว่าจุดสูงสุดเดิมให้ได้ก่อน
เทรดเดอร์ที่รับความเสี่ยงได้ปานกลาง จะเสี่ยงวางคำสั่งซื้อ หากว่าราคาสามารถยืนเหนือเส้นค่าเฉลี่ยและจุดสูงสุดที่ 1.3840 ได้ แต่มีเงื่อนไขว่าต้องลงมาทดสอบจุดต่ำสุดของเมื่อวานก่อน เพื่อหาจุดเข้าที่เหมาะสม
เทรดเดอร์ที่รับความเสี่ยงได้สูง จะวางคำสั่งซื้อทันที ตามแผนการเทรดที่มีมาอย่างชัดเจนแล้ว
ตัวอย่างการเทรด (ขาขึ้น)
- จุดเข้า: 1.3630
- Stop-Loss: 1.3580
- ความเสี่ยง: 50 จุด
- เป้าหมายในการทำกำไร:1.3830
- ผลตอบแทน: 200 จุด
- อัตราความเสี่ยงต่อผลตอบแทน: 1:4