รับส่วนลด 40%
ใหม่! 💥 รับ ProPicks เพื่อดูกลยุทธ์ที่ให้ผลตอบแทน ชนะดัชนี S&P 500 มากกว่า 1,183% รับส่วนลด 40%

ความคาดหวังต่อการขึ้นดอกเบี้ยกดดันตลาดหุ้นท่ามกลางการรายงานผลประกอบการ Q4

เผยแพร่ 10/01/2565 10:30
อัพเดท 02/09/2563 13:05

ตลาดลงทุนสหรัฐฯ เปิดสัปดาห์แรกของปี 2022 ด้วยความผันผวน ดัชนีเอสแอนด์พี 500 แม้จะสามารถประเดิมวันแรกด้วยการทะยานขึ้นสร้างจุดสูงสุดใหม่ แต่สุดท้ายก็ปรับตัวลดลงปิดติดลบไม่ต่างจากอีกสามดัชนีหลักที่เหลือ แนสแด็กปิดติดลบมากที่สุดในกลุ่มมากถึง 4.5% ตามมาด้วยรัสเซล 2000 ที่ระดับติดลบ 2.94% และดาวโจนส์ -0.3% การถูกเทขายเมื่อวันศุกร์ทำให้ดัชนีวัดความผันผวนจาก CBOE (VIX) ปรับตัวขึ้นเป็นครั้งแรกในรอบสามสัปดาห์

นอกจากตลาดหุ้นสหรัฐฯ แล้ว พันธบัตรรัฐบาลอเมริกาเองก็ถูกเทขายด้วยเช่นกัน ส่งให้อัตราผลตอบแทนพันธบัตรฯ ปรับตัวขึ้นสูงที่สุดนับตั้งแต่เดือนมกราคมปี 2020 สาเหตุที่ตลาดลงทุนเป็นเช่นนี้นักวิเคราะห์ให้ความเห็นตรงกันว่าเป็นเพราะรายงานการประชุมของคณะกรรมการนโยบายการเงิน (FOMC) ของเดือนธันวาคม ที่ออกมาเมื่อวันพุธและระบุว่าเฟดพร้อมที่จะปรับนโยบายการเงินให้ตึงตังทันทีที่เหมาะสม แต่สิ่งที่ซ้ำเติมการเทขายของตลาดหุ้นอเมริกาจริงๆ คือตัวเลขการจ้างงานนอกภาคการเกษตร (NFP) ประจำเดือนธันวาคมที่ออกมาต่ำกว่าคาดการณ์เป็นอย่างมาก

เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในวันศุกร์ไม่ใช่สถานการณ์ปกติ โดยธรรมชาติแล้วตลาดพันธบัตรมักจะวิ่งสวนทางกันกับตลาดหุ้น เพราะนักลงทุนจะขายพันธบัตรเพื่อให้มีกระแสเงินสด แล้วนำไปลงทุนกับตลาดหุ้น ดังนั้นสถานการณ์จริงจึงควรจะเป็นตลาดหุ้นกับอัตราผลตอบแทนพันธบัตรฯ ปรับตัวขึ้นพร้อมกันมากกว่า แต่ด้วยสถานการณ์ที่นักลงทุนตลาดหุ้นกลัวการขึ้นอัตราดอกเบี้ยของเฟด (ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นเร็วสุดเดือนมีนาคม) จะทำให้ผลตอบแทนจากการลงทุนในพันธบัตรฯ ต่ำเกินไป จึงส่งผลให้สัปดาห์ที่แล้วพันธบัตรระยะสั้นได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นUST 10Y Weekly

ถึงอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ อายุ 10 ปีจะปรับตัวขึ้น แต่เมื่อไม่สอดคล้องกับตลาดหุ้น ดังนั้นเราจึงพิจารณาไว้ก่อนว่าขาขึ้นไปยืนเหนือ 1.7% ในตอนนี้ยังไม่ใช่ขาขึ้นที่สามารถเชื่อถือได้ แต่การขึ้นไปสร้างจุดสูงสุดใหม่เหนือจุดสูงสุดของวันที่ 29 มีนาคม ก็ปฏิเสธไม่ได้หากจะเรียกว่านี่คือขาขึ้นอย่างเป็นทางการ การขึ้นมาครั้งนี้ของอัตราผลตอบแทน 10 ปีก็ทำให้ต้องเผชิญกับแนวต้านที่แข็งแกร่งเช่นกัน ถ้าหากว่าอัตราผลตอบแทนฯ ไม่สามารถผ่านแนวต้านเหล่านี้ขึ้นไปได้ และวิ่งกลับลงมา การร่วงลงต่ำกว่า 1.128% จะกลายเป็นการสร้างรูปแบบ double-top ทันที

ความผันผวนที่เกิดขึ้นจึงทำให้สัปดาห์นี้ตลาดลงทุนจะให้ความสนใจกับถ้อยแถลงของเจอโรม พาวเวลล์ ที่มีต่อสภาคองเกรสในวันอังคาร และการประกาศตัวเลขดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) หรือมาตรวัดเงินเฟ้อของสหรัฐอเมริกาในวันพุธ ที่สำคัญสัปดาห์นี้ตลาดหุ้นสหรัฐฯ จะเริ่มรายงานผลประกอบการของบริษัทจดทะเบียนในไตรมาสที่ 4 ปี 2021 อย่างเป็นทางการ และหุ้นกลุ่มแรกที่จะรายงานคือกลุ่มการเงิน อันประกอบไปด้วยธนาคารชื่อดังอย่างเจพี มอร์แกน (NYSE:JPM) เวลล์ ฟาร์โก (NYSE:WFC) และซิตี้ กรุ๊ป (NYSE:C) เป็นต้น

นอกจากความไม่สอดคล้องกันระหว่างตลาดหุ้นและพันธบัตรรัฐบาล อีกหนึ่งความผิดปกติในสัปดาห์ที่แล้วคือหุ้นเติบโต และหุ้นเทคฯ ชื่อดัง ต่างก็พากันปรับตัวลดลง สาเหตุที่เป็นเช่นนั้นเพราะนักลงทุนกังวลว่าหากมีการขึ้นอัตราดอกเบี้ย มูลค่าของเหล่าบรรดาหุ้นเทคฯ ก็จะยิ่งแพงขึ้น ในขณะที่หุ้นของบริษัทขนาดเล็กก็ยังไม่สามารถเอาตัวรอดจากวิกฤตโควิดระลอกใหม่ได้NDX Daily

กลุ่มหุ้นที่ปรับตัวขึ้นมากที่สุดบนดัชนีเอสแอนด์พี 500 ในสัปดาห์ก่อนคือหุ้นกลุ่มพลังงานด้วยการปรับตัวขึ้น 10.52% ตามมาด้วยกลุ่มการเงิน +5.43% กลุ่มอุตสาหกรรม +0.64% กลุ่มอุตสาหกรรมสินค้าจำเป็น +0.4% กลุ่มที่ติดลบคือเทคโนโลยี -4.57% และกลุ่มอสังหาริมทรัพย์ -4.9% 

ในขณะเดียวกัน ดัชนีแนสแด็ก 100 เริ่มส่งสัญญาณว่ากำลังจะเสร็จสิ้นการสร้างจุดสูงสุดแล้ว ด้วยการปรับตัวลดลงต่ำกว่าเส้นเทรนด์ไลน์ขาขึ้นตั้งแต่เดือนมีนาคมปี 2020 และดัชนีรัสเซล 2000 ปิดต่ำกว่าจุดต่ำสุดของวันที่ 1 กุมภาพันธ์ปี 2021 มากกว่าครึ่งเปอร์เซ็นต์ จากเหตุการณ์ทั้งหมดที่เกิดขึ้น ในสัปดาห์นี้นักลงทุนจึงสามารถดูพฤติกรรมของตลาดพันธบัตรรัฐบาลอเมริกา แล้วนำไปอ้างอิงกับการลงทุนในตลาดหุ้นได้Dollar Daily

การปักหัวลงของดัชนีดอลลาร์สหรัฐพังความหัวงของเราที่จะได้เห็นการแข็งค่าของดอลลาร์ต่อไป น่าแปลกใจดอลลาร์กลับอ่อนค่าทั้งๆ ที่ทุกสำนักข่าวการเงินกำลังประโคมข่าวเรื่องการขึ้นอัตราดอกเบี้ย สัปดาห์นี้เราได้แต่หวังว่าดอลลาร์จะไม่หลงทาง และกลับเข้าไปอยู่ในกรอบสามเหลี่ยม (สีเขียว) ได้อีกครั้งGold Daily

ทองคำยังคงพยายามที่จะรักษาระดับตัวเองให้อยู่เหนือ $1,800 ให้ได้ แม้ว่าในภาพรวมใหญ่ตอนนี้กราฟทองคำกำลังสร้างรูปแบบสามเหลี่ยมลู่ลง BTC/USD Weekly

ขาลงในสัปดาห์ก่อนทำให้ราชาแห่งสกุลเงินดิจิทัลบิทคอยน์สร้างรูปแบบหัวไหล่ (Head & Shoulder) ในกราฟรายสัปดาห์ได้สำเร็จแล้ว ด้วยขาลง 6% ที่เจาะเส้น neckline ได้สำเร็จ การหลุดแนวรับนี้ลงมาทำให้เราเชื่อว่ามีโอกาสที่บิทคอยน์จะสามารถลงไปทดสอบแนวรับ $30,000 ได้

ราคาน้ำมันดิบเมื่อสัปดาห์ที่แล้วปรับตัวสูงขึ้น นักวิเคราะห์เชื่อว่าแรงสนับสนุนครั้งนี้มาจากสถานการณ์ความไม่สงบในคาซัคสถาน และการลดกำลังการผลิตน้ำมันของประเทศลิเบียจาก 1.3 ล้านบาร์เรลต่อวัน ลงมาเหลือ 729,000 บาร์เรลต่อวันเนื่องจากการปิดซ่อมบำรุงท่อขนส่งน้ำมันOil Weekly

ขาขึ้นในสัปดาห์ที่แล้วทำให้กราฟราคาน้ำมันดิบ WTI ปรับตัวขึ้นได้เป็นสัปดาห์ที่สามติดต่อกัน จากการวิเคราะห์ทางเทคนิค ขาขึ้นครั้งนี้อาจเป้นการทำลายไหล่ขวาของรูปแบบหัวไหล่ลงได้ ยิ่งสร้างความเชื่อมั่นให้กับนักลงทุนขาขึ้น แต่ความเสี่ยงใหม่ที่เกิดขึ้นในกราฟรายสัปดาห์คือมีโอกาสที่กราฟตอนนี้กำลังสร้างรูปแบบลิ่มของขาลง (Bearish Wedge)

ข่าวเศรษฐกิจสำคัญประจำสัปดาห์ (เวลาทั้งหมดคำนวณเป็น EST)

วันจันทร์ 

19:30 (ออสเตรเลีย) รายงานตัวเลขยอดค้าปลีก: คาดว่าตัวเลขในเดือนพฤศจิกายนจะปรับตัวลดลงมาจาก 4.9% เหลือ 4%

วันอังคาร

05:20 (ยูโรโซน) ถ้อยแถลงจากประธานธนาคารกลางยุโรปนางคริสตีน ลาการ์ด

10:00 (สหรัฐฯ) ถ้อยแถลงต่อสภาคองเกรสของประธานเฟดนายเจอโรม พาวเวลล์

12:00 (สหรัฐฯ) ภาพรวมตลาดพลังงานระยะสั้นจาก EIA

วันพุธ

08:30 (สหรัฐฯ) ดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐาน: คาดว่าจะคงที่อยู่ที่ 0.5% แบบปีต่อปี

10:30 (สหรัฐฯ) รายงานประมาณน้ำมันดิบคงคลัง: สัปดาห?ี่แล้วปรับตัวลดลง -2.144M

วันพฤหัสบดี

08:30 (สหรัฐฯ) รายงานตัวเลขจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานครั้งแรก: คาดว่าจะลดลงจาก 207K เป็น 205K

08:30 (สหรัฐฯ) ดัชนีราคาผู้ผลิต: คาดว่าจะลดลงจาก 0.8% เป็น 0.4% 

วันศุกร์

02:00 (สหราชอาณาจักร) รายงานตัวเลข GDP: ครั้งก่อนออกมาที่ 0.1% แบบเดือนต่อเดือน

02:00 (สหราชอาณาจักร) รายงานตัวเลขผลผลิตในภาคอุตสาหกรรม: คาดว่าจะเพิ่มขึ้นจาก 0.0% เป็น 0.2%

08:30 (สหรัฐฯ) รายงานตัวเลขยอดค้าปลีกพื้นฐาน: คาดว่าจะลดลงจาก 0.3% เป็น 0.2%

08:30 (สหรัฐฯ) รายงานตัวเลขยอดค้าปลีก: คาดว่าจะลดลงจาก 0.3% เป็น -0.1%

ความคิดเห็นล่าสุด

การเปิดเผยความเสี่ยง: การซื้อขายตราสารทางการเงินและ/หรือเงินดิจิตอลจะมีความเสี่ยงสูงที่รวมถึงความเสี่ยงต่อการสูญเสียจำนวนเงินลงทุนของคุณบางส่วนหรือทั้งหมดและอาจไม่เหมาะสมกับนักลงทุนทั้งหมด ราคาของเงินดิจิตอลแปรปรวนอย่างมากและอาจได้รับผลกระทบจากปัจจัยภายนอกต่าง ๆ เช่น เหตุการณ์ทางการเงิน กฎหมายกำกับดูแล หรือ เหตุการณ์ทางการเมือง การซื้อขายด้วยมาร์จินทำให้ความเสี่ยงทางการเงินเพิ่มขึ้น
ก่อนการตัดสินใจซื้อขายตราสารทางการเงินหรือเงินดิจิตอล คุณควรตระหนักดีถึงความเสี่ยงและต้นทุนที่เกี่ยวข้องกับการซื้อขายในตลาดการเงิน ควรพิจารณาศึกษาอย่างรอบคอบในด้านวัตถุประสงค์การลงทุน ระดับประสบการณ์ และ การยอมรับความเสี่ยงและแสวงหาคำแนะนำทางวิชาชีพหากจำเป็น
Fusion Media อยากเตือนความจำคุณว่าข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้ไม่ใช่แบบเรียลไทม์หรือเที่ยงตรงแม่นยำเสมอไป ข้อมูลและราคาที่แสดงไว้บนเว็บไซต์ไม่ใช่ข้อมูลที่ได้รับจากตลาดหรือตลาดหลักทรัพย์เสมอไปแต่อาจได้รับจากผู้ดูแลสภาพคล่องและดังนั้นราคาจึงอาจไม่เที่ยงตรงแม่นยำและอาจแตกต่างจากราคาจริงในตลาดซึ่งหมายความว่าราคานี้เป็นเพียงราคาชี้นำและไม่เหมาะสมสำหรับวัตถุประสงค์เพื่อการซื้อขาย Fusion Media และผู้ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้จะไม่รับผิดชอบใด ๆ สำหรับความเสียหายหรือการสูญเสียที่เป็นผลมาจากการซื้อขายของคุณหรือการพึ่งพาของคุณในข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้
ห้ามใช้ จัดเก็บ ทำซ้ำ แสดงผล ดัดแปลง ส่งผ่าน หรือ แจกจ่ายข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้โดยไม่ได้รับการอนุญาตล่วงหน้าอย่างชัดแจ้งแบบเป็นลายลักษณ์อักษรจาก Fusion Media และ/หรือจากผู้ให้ข้อมูล ผู้ให้ข้อมูลขอสงวนสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาและ/หรือการแลกเปลี่ยนข้อมูลที่ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้
Fusion Media อาจได้รับผลตอบแทนจากผู้โฆษณาที่ปรากฎบนเว็บไซต์โดยอิงจากปฏิสัมพันธ์ของคุณที่มีกับโฆษณาหรือผู้โฆษณา
เวอร์ชั่นภาษาอังกฤษของเอกสารฉบับนี้เป็นเวอร์ชั่นหลักซึ่งจะเป็นเวอร์ชั่นที่เหนือกว่าเมื่อใดก็ตามที่มีข้อขัดแย้งไม่สอดคล้องตรงกันระหว่างเอกสารเวอร์ชั่นภาษาอังกฤษกับเอกสารเวอร์ชั่นภาษาไทย