ดัชนีหลักทั้งสี่ของสหรัฐอเมริกาไม่ว่าจะเป็นเอสแอนด์พี 500 แนสแด็ก ดาวโจนส์และรัสเซล 2000 สามารถปรับตัวขึ้นปิดบวกได้เมื่อวันพฤหัสบดีที่ผ่านมา แม้ว่าก่อนหน้านั้นธนาคารกลางสหรัฐฯ จะร่นระยะเวลาการปรับลดวงเงินในโครงการซื้อพันธบัตรตามมาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ (QE) เร็วขึ้น และการระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 สายพันธุ์โอมิครอนรุนแรงขึ้น ขาขึ้นดังกล่าวส่งให้เอสแอนด์พี 500 สามารถสร้างจุดสูงสุดตลอดกาลใหม่ได้อีกครั้ง
ทั้งๆ ที่ตลาดลงทุนก็รู้อยู่แก่ใจดีอยู่แล้วว่าปี 2022 มีโอกาสที่ธนาคารกลางสหรัฐฯ จะปรับนโยบายการเงินให้มีการตึงตัวมากขึ้น และมีโอกาสสูงที่จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย แต่นักลงทุนก็ยังเต็มใจที่จะยอมรับความเสี่ยง ซึ่งการกระทำนี้อาจส่งผลให้สัปดาห์สุดท้ายของปี 2021 จบลงด้วยการปรับตัวขึ้นสร้างจุดสูงสุดใหม่อย่างต่อเนื่อง
ถือเป็นเรื่องน่าประหลาดใจที่หลังจากความเคลื่อนไหวของธนาคารกลางสหรัฐฯ ตลาดลงทุนกลับตอบสนองด้วยการปรับตัวลดลงเพียงเล็กน้อยเท่านั้น เป็นเวลานานกว่าสองปีที่เราเฝ้าจับตาดูว่าธนาคารกลางสหรัฐฯ จะดึงตัวเองขึ้นมาจากหลุมที่ขุดอย่างไร ก่อนหน้านี้แค่มีข่าวลือว่าจะมีการดึงสภาพคล่องออก ตลาดหุ้นก็ร่วงลงอย่างกับความหวังทุกอย่างได้จบสิ้นลงแล้ว แต่พอมาถึงตอนนี้ ตอนที่เฟดจะถอนคันเร่งจริง ตลาดหุ้นกลับทำท่าว่าจะปรับตัวขึ้นต่อเสียอย่างนั้น ที่สำคัญ แรงซื้อนี้มาในช่วงที่ไม่ควรมีใครหลงเหลืออยู่ในตลาดเนื่องจากเตรียมตัวพักผ่อนหยุดยาวกันแล้ว
เป็นไปได้ไหมว่านี่อาจจะเป็นสิ่งที่เรียกว่า “ก่อนพายุจะมา คลื่นลมมักจะสงบเสมอ” แม้ว่าเราจะไม่รู้คำตอบ แต่ที่เรารู้แน่ๆ คือความเสี่ยงในตลาดลงทุนที่เคยมีก่อนคริสต์มาสไม่ได้หายไปไหน การระบาดของเชื้อไวรัสโควิดสายพันธุ์ใหม่โอมิครอนยังคงเป็นที่ถกเถียงกันในหมู่นักวิชาการ ถึงแม้งานวิจัยจะบอกว่าความรุนแรงของโอมิครอนอาจจะไม่เท่ากับเดลตา แต่ความเร็วในการกระจายตัวของโอมิครอนก็ยังคงสร้างแรงกดดันให้กับตลาดลงทุน ยิ่งยอดผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้นมากเท่าไหร่ ความกังวลก็ยิ่งเพิ่มมากขึ้นเท่านั้น
ผู้เชียวชาญหลายคนให้ความเห็นว่าโอมิครอนจะยังไม่ใช่จุดจบ ตราบใดที่ไวรัสยังสามารถระบาดได้เช่นนี้ พวกมันมีแต่จะกลายพันธุ์เป้นสายพันธุ์อื่นต่อไปได้เรื่อยๆ และถ้าความสามารถในการกระจายวัคซีนยังคงแบ่งกันตามความมีฐานะของแต่ละประเทศ สุดท้ายก็จะยังมีแหล่งให้ไวรัสได้เติบโต กลายพันธุ์ได้อยู่ดี แต่สำหรับตลาดลงทุน ขอเพียงมีความหวังจากการอัปเดตของบริษัทผู้ผลิตวัคซีนไฟเซอร์ (NYSE:PFE) หรือเมิร์ค (NYSE:MRK) ก็เพียงพอแล้ว
สำหรับนักลงทุนที่คาดหวังให้ตลาดปรับตัวขึ้นในสัปดาห์ต่อเนื่องจากคริสต์มาสมาจนถึงปีใหม่ ข้อมูลเชิงสถิติบอกว่าตั้งแต่ปี 1928 จนถึงปัจจุบันดัชนีเอสแอนด์พี 500 ได้ปรับตัวขึ้นรวมกันมาแล้วเกือบ 79% คิดเป็นค่าเฉลี่ยได้ 1.7% สำหรับปี 2021 ตั้งแต่ต้นปี 2021 จนถึงตอนนี้ ดัชนีเอสแอนด์พี 500 ได้ปรับตัวขึ้นมาแล้วประมาณ 25% และจากการวิเคราะห์ทางเทคนิค มีโอกาสที่เอสแอนด์พี 500 ปรับตัวขึ้นต่อได้ด้วย
รูปนี้แสดงให้เห็นการสร้างรูปแบบหัวไหล่ (Head & Shoulder) จากกราฟรายวัน ซึ่งอินดิเคเตอร์อย่าง MACD และ RSI ก็ได้สร้างพฤติกรรมที่สอดคล้องกับการปรับตัวขึ้นต่อ ด้วยการยกจุดต่ำสุดไล่ขึ้นมา สาเหตุของการปรับตัวขึ้นมาครั้งนี้ เราเชื่อว่าร่างกฎหมายกระตุ้นเศรษฐกิจของประธานาธิบดีโจ ไบเดนมูลค่า $1.75 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ ที่ผ่านมติสภาแล้วมีส่วนส่งให้ตลาดหุ้นปรับตัวขึ้น เพราะนักลงทุนมองว่านี่คือสภาพคล่องใหม่ที่ตลาดต้องการ
ถึงตลาดหุ้นจะชัดเจนว่าอยากขึ้นขนาดนั้น แต่ตลาดพันธบัตร ที่เป็นหนึ่งในมาตรวัดความคิดของนักลงทุนที่มีต่อความเสี่ยง ยังคงให้ภาพที่ไม่ชัดเจน โดยเฉพาะกราฟอัตราผลตอบแทนพันธบัตร ที่ยังไม่ยอมเลือกเส้นทางที่แน่นอน
จากรูปจะเห็นว่ากราฟอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ อายุ 10 ปีพึ่งจะสามารถกลับขึ้นมายืนเหนือเส้นค่าเฉลี่ย 200 วันได้ ก่อนให้เกิดความเป็นไปได้ที่อาจจะได้เห็นรูปแบบหัวไหล่และ double- top แต่ถึงกระนั้น พฤติกรรมกราฟ ณ ตอนนี้ก็ยังไม่สามารถเรียกได้ว่าเป็น double-top ล้มเหลว เนื่องจากกราฟยังไม่ได้ตัดสินด้วยการหลุดกรอบไซด์เวย์สามเหลี่ยมสมมาตรลงมา ปกติการฟอร์มตัวเช่นนี้มักจะตามมาด้วยการวิ่งไปต่อในทิศทางเดิม ซึ่งถ้าเป็นเช่นนั้นจริง จะเท่ากับว่าตลาดลงทุนโยกเงินกลับมายังสินทรัพย์สำรอง ซึ่งไม่ใช่เรื่องดีสำหรับตลาดหุ้น
เมื่อกราฟอัตราผลตอบแทนไม่วิ่ง ก็เป็นปกติที่ดอลลาร์สหรัฐมักจะขานรับด้วยการไม่วิ่งด้วยเช่นกัน
กราฟดัชนีดอลลาร์สหรัฐเองก็กำลังต้องการคำตอบของทิศทางที่ชัดเจนเช่นกัน จากรูปนี้จะเห็นว่ามีโอกาสที่ไซด์เวย์ครั้งนี้จะกลายเป็นสามเหลี่ยมสมมาตรได้ และถ้ายึดตามทฤษฎี นี่คือรูปแบบต่อเนื่องจากเทรนด์ก่อนหน้า ซึ่งก่อนหน้านั้นคือแนวโน้มขาขึ้น สามารถตีความได้ว่ามีโอกาสที่ดัชนีดอลลาร์สหรัฐจะปรับตัวขึ้นต่อไป
ไม่อยากจะเชื่อจริงๆ ว่าสถานการณ์ที่ดอลลาร์ไม่ขยับ ทองคำก็จะเป็นไปกับเค้าด้วย ถึงแม้ว่าทั้งสองจะเป็นสินทรัพย์สำรองปลอดภัยเหมือนกัน แต่พฤติกรรมราคากลับไม่เหมือนกันเลย
จากรูปจะเห็นว่ามีความเป็นไปได้ที่ราคาทองคำกำลังสร้างรูปแบบของการปรับตัวขาขึ้น นี่อาจจะเป็นรูปแบบหัวไหล่ด้านหงายหรือสามเหลี่ยมสมมาตรก็เป็นได้ มีเพียงการขึ้นยืนเหนือ $1,900 จุดเท่านั้น ที่จะมีโอกาสส่งทองคำกลับขึ้นไปทดสอบจุดสูงสุดตลอดกาลเมื่อเดือนสิงหาคมปี 2020
โบกมือลาเป้าหมาย $100,000 ก่อนสิ้นปี 2021 อย่างเป็นทางการได้เลยสำหรับราชาสกุลเงินดิจิทัลบิทคอยน์ ถึงแม้ว่าจะมีการขึ้นไปแตะ $50,000 ได้ในสัปดาห์ที่แล้ว แต่ภาพรวมก็ยังคงเป็นการขยับตัวอยู่ในกรอบ ไม่ได้มีการเปลี่ยนแปลงมากนัก และเพราะเมื่อดูจากภาพรวมตลอดทั้ง 12 เดือน มูลค่าของบิทคอยน์ก็ยังถือว่าปรับตัวขึ้นมากกว่าสองเท่า จึงไม่ใช่เรื่องแปลกหากเราจะยังได้ยินคนเชียร์ว่าควรซื้อตอนนี้ ตอนที่ราคายังถูกอยู่ แต่การวิเคราะห์ทางเทคนิค ไม่เห็นด้วยเช่นนั้น
จากกราฟรูปนี้ เราคิดว่านี่คือการส่งสัญญาณเตือนนักลงทุนขาขึ้นมากกว่า ถึงแม้ว่ากราฟจะยกตัวสูงขึ้นจริง แต่ลักษณะการวิ่งแบบนี้คือรูปแบบลิ่ม และสิ่งที่ตามมาหลังจากลิ่มแตกคือการวิ่งไปในทิศทางตรงข้ามกับเทรนด์ก่อนหน้า เมื่อถึงจุดๆ หนึ่งในปี 2022 มีโอกาสที่บิทคอยน์จะปรับตัวลดลงไปก่อน ยิ่งได้พิจารณาร่วมกับอินดิเคเตอร์วอลลุ่ม (Volume) ภาพของลางขาลงก็ยิ่งจะเห็นเด่นชัดขึ้น
สุดท้าย ราคา{8849|น้ำมันดิบ}}ปรับตัวขึ้นเป็นวันที่สามติดต่อกัน สร้างสถิติขาขึ้นที่นานที่สุดนับตั้งแต่วันที่ 8 ธันวาคม และถือเป็นจุดสูงที่สุดในเดือนนี้อีกด้วย แต่จากการวิเคราะห์ทางเทคนิค มีแนวโน้มที่ขาขึ้นระลอกนี้อาจจะอยู่ได้ไม่นาน
สาเหตุที่เราคิดเช่นนั้นเพราะกราฟสามารถหลุดเส้นเทรนด์ไลน์ขาขึ้นที่ลากมาตั้งแต่วันที่ 27 เมษายนได้ ก่อนให้เกิดความเป็นไปได้ของรูปแบบหัวไหล่มากขึ้น
ข่าวเศรษฐกิจสำคัญประจำสัปดาห์ (เวลาทั้งหมดคำนวณเป็น EST)
วันจันทร์
ตลาดหลักทรัพย์ในออสเตรเลีย แคนาดา สหราชอาณาจักร และพื้นที่อื่นๆ ยังคงปิดเนื่องในวันคริสต์มาสอยู่
วันอังคาร
10:00 (สหรัฐฯ) รายงานตัวเลขความเชื่อมั่นของผู้บริโภคจาก CB: ตัวเลขครั้งก่อนออกมาอยู่ที่ 109.5
วันพุธ
10:00 (สหรัฐฯ) รายงานตัวเลขยอดขายที่อยู่อาศัยที่รอการจำนอง: คาดว่าจะลดลงจาก 7.5% ลงมาเป็น 0.6%
10:30 (สหรัฐฯ) รายงานตัวเลขปริมาณน้ำมันดิบคงคลัง: สัปดาห์ที่แล้วปรับตัวลดลง -4.715M พันล้านบาร์เรล
วันพฤหัสบดี
08:30 (สหรัฐฯ) รายงานปริมาณน้ำมันดิบคงคลัง: คาดว่าจะคงที่ 205K
20:00 (ประเทศจีน) รายงานตัวเลขดัชนี PMI ภาคการผลิต: คาดว่าจะหดตัวลดลงจาก 50.1 ลงมาอยู่ที่ 49.6 จุด
วันศุกร์
ตลาดลงทุนทั่วโลกปิดเฉลิมฉลองก่อนวันขึ้นปีใหม่