🤑 ราคาไม่ได้ถูกมากไปกว่านี้แล้ว รับเลยส่วนลด Black Friday 60% ก่อนที่จะหมดเขต….รับส่วนลด

การเปลี่ยนนโยบายการเงินของเฟดเมื่อสัปดาห์ที่แล้วถือเป็นผลงานชิ้นโบแดงในปี 2021 จริงหรือ?

เผยแพร่ 22/12/2564 10:29

เป็นที่ทราบกันดีแล้วว่าผลการประชุมของธนาคารกลางสหรัฐฯ (FED) ครั้งล่าสุดได้ข้อสรุปออกมาว่าจะเพิ่มวงเงินการลด QE จาก $15,000 ล้านเหรียญสหรัฐเป็น $30,000 ล้านเหรียญสหรัฐ สื่อหลายแห่งยกให้การตัดสินใจครั้งนี้เป็นจุดเปลี่ยนสำคัญ แต่ในความเห็นของผมการตัดสินใจครั้งนี้ไม่ได้เป็นจุดเปลี่ยนอะไรนอกจากความย้อนแย้งในการวางนโยบายการเงินของเฟดเอง

ไม่แปลกใจว่าทำไมเมื่อผลการประชุมของเฟดออกมา พวกเขายังคนโดนวิจารณ์เรื่องการทำงานต่อ คำถามที่พบเจอบ่อยที่สุดก็คือเงินจำนวน $30,000 ล้านเหรียญสหรัฐที่จะเพิ่มเข้ามานั้นเพียงพอที่จะลดความเร็วของอัตราเงินเฟ้อแล้วจริงหรือ อันที่จริงเงินจำนวนนี้ยังถือว่าช้ามาก และเฟดก็ยังคงเดินหน้าซื้อพันธบัตรรัฐบาลอยู่ในทุกๆ เดือน ทั้งๆ ที่ราคาสินค้าทั่วประเทศปรับตัวเพิ่มขึ้น

บรรณาธิการของนิตยสาร Wall Street Journal ถึงกับวิจารณ์นายเจอโรม พาวเวลล์ ประธานเฟดเลยว่าการวางนโยบายการเงินเช่นนี้สะท้อนความคิดของเขาว่ายังคงเชื่อว่าเงินเฟ้อเป็นเรื่องชั่วคราวอยู่ดี ถึงแม้ว่าเขาจะประกาศชัดต่อหน้าสภาคองเกรสว่าต้องโบกมือลาคำว่า “เงินเฟ้อชั่วคราว” ไปได้แล้ว สำหรับคนที่เชื่อว่าการเปลี่ยนนโยบายการเงินในการประชุมเมื่อวันที่ 15 ธันวาคมคือจุดเปลี่ยนที่จะเป็นทิศทางที่ดีขึ้น แต่เคยสงสัยไหมว่าทำไมผลการประชุมแผนภูมิภาพแบบจุด (dot-plot) ครั้งนี้ถึงมีคณะกรรมการนโยบายการเงินเก้าคนโหวตให้ขึ้นอัตราดอกเบี้ยสามครั้งภายในปีหน้า ทั้งๆ ที่การประชุมครั้งก่อนไม่มีใครให้คะแนนการขึ้นอัตราดอกเบี้ยเลยสักคนFed Dot Plot Graph

ที่มา: Bloomberg

นี่คือแผนภูมิภาพแบบจุดซึ่งเป็นการสรุปคาดการณ์ทิศทางเศรษฐกิจทุกไตรมาส แต่เจอโรม พาวเวลล์กลับเคยบอกว่าไม่จำเป็นต้องสนใจกราฟตัวนี้มากขนาดนั้นก็ได้ การเปลี่ยนนโยบายการเงินครั้งนี้ เฟดมองว่าเป็นความสำเร็จของพวกเขา และสำนักข่าวสายอวยบางแห่งก็ยกให้การเพิ่มวงเงินการลด QE ที่จะจบลงในเดือนมีนาคมปี 2022 เป็นการตัดสินใจที่ยอดเยี่ยม แต่ช่างน่าเสียดายที่หลายคนลืมภาพในปี 2019 ไปแล้ว ที่เฟดเปลี่ยนนโยบายการเงินฉับพลันด้วยการปรับอัตราดอกเบี้ยให้สูง และค่อยๆ ลดเป้าหมายกองทุนของตัวเองลงมา ก่อนที่โควิดจะเข้ามา และเปลี่ยนดอกเบี้ยนโยบายให้ลงมาเหลือ 0.00% - 0.25% จนถึงปัจจุบัน

การกลับลำกระทันหันของเฟดในตอนนั้นโดนประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ต่อว่าอย่างรุนแรง ซึ่งเฟดก็ทำได้เพียงออกมายอมรับแบบไม่อยากจะเต็มใจเสียเท่าไหร่ว่าตัดสินใจผิดพลาด ก่อนจะปิดท้ายด้วยประโยคสวยๆ ว่าจะไม่เปลี่ยนนโยบายการเงินตามใจชอบอีกแล้วเพียงเพราะเห็นสัญญาณเงินเฟ้อเพียงเล็กน้อย นี่จึงเป็นเหตุผลว่าทำไมนักลงทุนถึงงงกันทั่วหน้าว่า ตอนนั้นมีเงินเฟ้อเพียงเล็กน้อยก็รีบเปลี่ยนนโยบายการเงินมารองรับแล้ว แต่ตอนนี้ ตอนนี้เงินเฟ้ออยู่ที่ 6.8% สูงกว่าระดับเป้าหมาย 2% ไปไกลมาก แต่ทำไมเฟดกลับไม่ทำอะไร นอกจากเอาแต่พูดว่า “อัตราการจ้างงานยังไม่กลับมา” และ “เงินเฟ้อเป็นเพียงเรื่องชั่วคราว”

ในสายตานักลงทุนตอนนี้ภาพลักษณ์ของธนาคารกลางสหรัฐฯ ตอนนี้มีความน่าเชื่อถือลดลงอย่างมีนัยสำคัญ นี่อาจจะไม่ใช่องค์กรที่เป็นกลาง และอยู่เหนือการเมืองอีกต่อไป น่าแปลกใจหรือไม่ว่าทำไมเจอโรม พาวเวลล์ถึงเปลี่ยนนโยบายการเงินทันทีหลังจากที่เขาได้รับตำแหน่งประธานเฟดเป็นสมัยที่สอง? แน่นอนว่าอาจจะมีข้อดีหลายอย่าง ยกตัวอย่างเช่นความต่อเนื่องของนโยบาย แต่ต้องไม่ใช่เรื่องการจัดการเงินเฟ้ออย่างแน่นอน รายเควิน วอร์ช อดีตบอร์ดบริหารเฟดในช่วงระหว่างปี 2006 - 2011 วิจารณ์การทำงานของธนาคารกลางสหรัฐฯ และกล่าวว่าเป็นสาเหตุสถานการณ์เงินเฟ้อในตอนนี้

“ความเสี่ยงของภาวะเงินเฟ้อจะเกิดขึ้นทันทีเมื่อผู้วางนโยบายตัดสินใจที่จะดูถูกปัญหา และหันไปหาแพะตัวอื่นมารับบาป เงินเฟ้อจะกลายเป็นส่วนของกระบวนการตั้งราคาสินค้าเมื่อธนาคารกลางฯ ไม่กล้าตัดสินใจหรือตัดสินใจล่าช้าในการทำนโยบายการเงินให้รัดกุม จากจุดเริ่มต้นของเงินเฟ้อในปี 2020 จนถึงปัจจุบัน เฟดเป็นคนเปิดประตูให้ปีศาจตนนี้เข้ามาเอง”

ฝั่งผู้ที่ปกป้องเฟดหลายคนให้เหตุผลว่าที่เฟดตัดสินใจล่าช้าเป็นเพราะพวกเขาอ้างอิงตามตัวเลขเศรษฐกิจจริงที่ออกมา นางแมรี่ ดาลีย์ ประธานธนาคารกลางสาขาซาน ฟรานซิสโก ที่เคยเห็นด้วยกับการเร่งขึ้นอัตราดอกเบี้ยในปีหน้า มาถึงตอนนี้เธอกลับบอกว่าการตัดสินใจของเฟดเมื่อวันพุธที่แล้วเป็นการตัดสินใจที่ฉลาด และเกิดขึ้นในเวลาที่เหมาะสม

“การตัดสินใจจบการลด QE เร็วขึ้นทำให้ธนาคารกลางมีตัวเลือกในแง่ของเวลามากขึ้น จากเดิมที่เราเคยคิดจะขึ้นอัตราดอกเบี้ยในเดือนกันยายน ก็สามารถทำได้อย่างเร็วที่สุดคือเมษายน หรือถ้าสถานการณ์ยังไม่ดีขึ้นมาก ก็อาจจะเปลี่ยนเป็นขึ้นอัตราดอกเบี้ยในช่วงไตรมาสที่ 2 ของปี 2022 ก็ยังได้”

แมรี่ยังให้เหตุผลอีกว่าถ้าหากเฟดตัดสินใจทำนโยบายการเงินให้รัดกุมทันที ก็จะทำให้เศรษฐกิจชะลอตัว ซึ่งคำพูดนี้ทำให้นักวิเคราะห์หลายคนรู้สึกหงุดหงิดเป็นอย่างมาก มิกกี้ เลวี่ นักเศรษฐศาสตร์จากธนาคาร Berenberg เยอรมันที่มีสาขาอยู่ในนิวยอร์กกล่าวว่าเพราะแมรี่และ FOMC มีทัศนคติแบบนี้จึงได้สร้างข้อผิดพลาดเรื่องเงินเฟ้อขึ้นมา 

“เงินเฟ้อเมื่อเกิดขึ้นมาแล้วไม่ใช่ว่าอยู่ดีๆ จะหายตัวเองได้ เงินเฟ้อต้องการนโยบายการเงินที่เด็ดขาดมาจัดการ ปัญหาซัพพลายเชนคอขวดทำให้ราคาสินค้าแพงขึ้นจริง แต่ต้นตอของปัญหานั้นอยู่ที่การเติบโตที่มาเร็วเกินไปจากปริมาณเงินล้นระบบ เหมือนตอนนี้น้ำล้นแก้วแล้ว แต่แทนที่จะรีบดื่ม หรือหยุดเติมน้ำ คุณกลับนั่งมองดูแล้วก็บอกว่าเดี๋ยวน้ำก็จะหยุดล้นแก้วเอง การขึ้นอัตราดอกเบี้ยควรทำตั้งแต่การประชุมครั้งถัดไปในเดือนมกราคมเลยด้วยซ้ำ  การปรับนโยบายการเงินให้รัดกุมอาจทำให้ตลาดหุ้นร่วงลงมา แต่ก็เลือกเอาละกันว่าจะเซฟตลาดหุ้นแล้วปล่อยให้เงินเฟ้อ หรือเลือกจัดการเงินเฟ้อทันทีเพื่อให้เศรษฐกิจกลับมาเดินต่อไปได้อีกครั้ง”

อนึ่ง ดัชนีราคาผู้บริโภคในเดือนพฤศจิกายนทะยานขึ้นแตะระดับ 6.8% สูงที่สุดในรอบ 39 ปี ในขณะเดียวกัน ดัชนีราคาผู้ผลิตก็ปรับตัวขึ้นแตะ 9.6% สูงที่สุดเป็นประวัติการณ์ ข้อมูลนี้ไม่ได้บอกว่าเฟดในปี 2021 ทำงานได้ดี และไม่ได้บอกว่าปี 2022 จะเป็นเส้นทางที่โรยด้วยกลีบกุหลาบ

ความคิดเห็นล่าสุด

กำลังโหลดบทความถัดไป...
การเปิดเผยความเสี่ยง: การซื้อขายตราสารทางการเงินและ/หรือเงินดิจิตอลจะมีความเสี่ยงสูงที่รวมถึงความเสี่ยงต่อการสูญเสียจำนวนเงินลงทุนของคุณบางส่วนหรือทั้งหมดและอาจไม่เหมาะสมกับนักลงทุนทั้งหมด ราคาของเงินดิจิตอลแปรปรวนอย่างมากและอาจได้รับผลกระทบจากปัจจัยภายนอกต่าง ๆ เช่น เหตุการณ์ทางการเงิน กฎหมายกำกับดูแล หรือ เหตุการณ์ทางการเมือง การซื้อขายด้วยมาร์จินทำให้ความเสี่ยงทางการเงินเพิ่มขึ้น
ก่อนการตัดสินใจซื้อขายตราสารทางการเงินหรือเงินดิจิตอล คุณควรตระหนักดีถึงความเสี่ยงและต้นทุนที่เกี่ยวข้องกับการซื้อขายในตลาดการเงิน ควรพิจารณาศึกษาอย่างรอบคอบในด้านวัตถุประสงค์การลงทุน ระดับประสบการณ์ และ การยอมรับความเสี่ยงและแสวงหาคำแนะนำทางวิชาชีพหากจำเป็น
Fusion Media อยากเตือนความจำคุณว่าข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้ไม่ใช่แบบเรียลไทม์หรือเที่ยงตรงแม่นยำเสมอไป ข้อมูลและราคาที่แสดงไว้บนเว็บไซต์ไม่ใช่ข้อมูลที่ได้รับจากตลาดหรือตลาดหลักทรัพย์เสมอไปแต่อาจได้รับจากผู้ดูแลสภาพคล่องและดังนั้นราคาจึงอาจไม่เที่ยงตรงแม่นยำและอาจแตกต่างจากราคาจริงในตลาดซึ่งหมายความว่าราคานี้เป็นเพียงราคาชี้นำและไม่เหมาะสมสำหรับวัตถุประสงค์เพื่อการซื้อขาย Fusion Media และผู้ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้จะไม่รับผิดชอบใด ๆ สำหรับความเสียหายหรือการสูญเสียที่เป็นผลมาจากการซื้อขายของคุณหรือการพึ่งพาของคุณในข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้
ห้ามใช้ จัดเก็บ ทำซ้ำ แสดงผล ดัดแปลง ส่งผ่าน หรือ แจกจ่ายข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้โดยไม่ได้รับการอนุญาตล่วงหน้าอย่างชัดแจ้งแบบเป็นลายลักษณ์อักษรจาก Fusion Media และ/หรือจากผู้ให้ข้อมูล ผู้ให้ข้อมูลขอสงวนสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาและ/หรือการแลกเปลี่ยนข้อมูลที่ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้
Fusion Media อาจได้รับผลตอบแทนจากผู้โฆษณาที่ปรากฎบนเว็บไซต์โดยอิงจากปฏิสัมพันธ์ของคุณที่มีกับโฆษณาหรือผู้โฆษณา
เวอร์ชั่นภาษาอังกฤษของเอกสารฉบับนี้เป็นเวอร์ชั่นหลักซึ่งจะเป็นเวอร์ชั่นที่เหนือกว่าเมื่อใดก็ตามที่มีข้อขัดแย้งไม่สอดคล้องตรงกันระหว่างเอกสารเวอร์ชั่นภาษาอังกฤษกับเอกสารเวอร์ชั่นภาษาไทย