💼 ปกป้องพอร์ตของคุณด้วยฟีเจอร์การคัดเลือกหุ้นโดย AI จาก InvestingPro - ตอนนี้ลดสูงสุดถึง 50% รับส่วนลด

6 วิธีรับมือ เมื่อขาดทุน…จากการลงทุน 

เผยแพร่ 20/12/2564 09:19

“ความล้มเหลวเป็นครู ที่ดีที่สุด” – Thomas J. Watson

---------------------------

ชีวิตเป็นการเดินทางที่ต่อเนื่อง เราทุกคนพยายามก้าวไปข้างหน้าอย่างดีที่สุด แต่บางครั้งแม้แต่การกระทำที่เราคิดมาเป็นอย่างดีแล้ว ผลลัพธ์กลับไม่ได้เป็นไปตามที่ต้องการ รวมถึงเรื่องของการเงินการลงทุนในชีวิตเรา การสูญเสียทางการเงิน เช่น การตัดสินใจลงทุนผิดพลาด หรือการขาดทุนทางธุรกิจ อาจทำให้เรารู้สึกแย่ และหากขาดทุนหนัก ๆ ก็อาจจะดูเหมือนว่าชีวิตจะไม่เหมือนเดิมอีกต่อไป แต่อย่างไรก็ตาม เมื่อมองในภาพรวมแล้ว การได้พบเจออุปสรรค ก็เหมือนการค่อย ๆ ก้าวไปทีละขั้น เพื่อเรียนรู้ ฝึกฝน และในที่สุดเราก็จะสามารถรับมือกับการขาดทุนเหล่านั้นได้เป็นอย่างดี

"เราไม่จำเป็นต้องได้กำไรมากที่สุด สิ่งสำคัญคือ เราอยู่รอดในตลาดได้อย่างยั่งยืนต่างหาก"

โดย 6 วิธีรับมือกับการขาดทุน มีดังนี้

1. ตั้งสติ อย่ารีบตัดสินใจทำอะไร

ช่วงแรกที่เราขาดทุน เรามักจะมีอารมณ์ที่ค่อนข้างไม่คงที่ ทั้งเครียด และมีความรู้สึกกลัว ซึ่งในบางครั้งมนุษย์มักจะยอมให้อารมณ์ของตนเองอยู่เหนือความคิดและเหตุผล และมักจะรีบตัดสินใจทำบางอย่างไปอย่างหุนหันพลันแล่น ไม่ว่าจะเป็นการนำเอาเงินออมทั้งหมดออกมาใช้ การถอนเงินออกจากพอร์ตทั้งหมด หรือการนำทรัพย์สินที่เหลืออยู่ไปจำนองหรือจำนำ ฯลฯ ซึ่งสิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ เป็นสิ่งที่ไม่ควรทำ ในช่วงเวลาที่เรากำลังเผชิญกับภาวะการขาดทุนในช่วงแรก ๆ เพราะเรากำลังอยู่ในช่วงที่มีอารมณ์เข้ามามีอิทธิพลกับการตัดสินใจ โดยควรจะรอระยะเวลาสักพักนึงก่อน เพื่อให้อารมณ์เย็นลง แล้วความคิดที่ได้หลังจากนั้นจะทำให้ตัดสินใจในระยะยาวได้ดีขึ้น

2. ปรึกษากับจิตแพทย์หรือนักจิตวิทยา

ในขณะที่เราคิดว่า การจะรับมือกับเรื่องขาดทุนเหล่านี้ได้ ต้องใช้สมอง ความคิด และเหตุผล แต่อย่าลืมว่า จิตใจและความรู้สึกของเรา ก็เป็นส่วนสำคัญที่เราต้องดูแลให้ดี ซึ่งการไปพบนักจิตวิทยาหรือจิตแพทย์ไม่ใช่เรื่องน่าอาย จิตแพทย์จะช่วยทำให้เราเข้าใจกลไกการรับมือกับสิ่งที่ตัวเองกำลังเจอ เรียกสติ เข้าใจตัวเอง เข้าใจสถานการณ์ และพร้อมรับมือกับปัญหาได้ดียิ่งขึ้น หรือหากใครไม่อยากไปพบจิตแพทย์ ก็อาจจะลองพูดคุยกับสมาชิกในครอบครัวหรือเพื่อนที่สามารถเปิดใจเล่าเรื่องเหล่านี้ให้ฟังได้โดยไม่รู้สึกเขินอาย

3. ประเมินสถานการณ์

ลองพิจารณาว่าสถานการณ์นี้แย่แค่ไหน เราสูญเสียเงินหรือขาดทุนไปมากแค่ไหน วิเคราะห์สถานการณ์ว่า มันหลุดจากแผนที่เราวางเอาไว้แล้วหรือยัง (ควรมีการวางแผนไว้ก่อนหน้าการลงทุนแล้ว ว่ารับความเสี่ยง รับการขาดทุนได้เท่าไหร่) จากนั้นเดินหน้าต่อโดยใช้กลยุทธ์ในการลงทุนที่วางแผนไว้ เพราะบ่อยครั้งสถานการณ์ไม่ได้เลวร้ายอย่างที่เราคิด เพียงแต่เราเองที่ทำให้มันดูเลวร้ายจนตื่นตูมเกินเหตุ (ส่วนหนึ่งเพราะอารมณ์) และทำให้สิ่งต่าง ๆ มันยิ่งเลวร้ายขึ้น เช่น เราติดดอยอยู่ ราคาดิ่งลงเหว จึงรีบ Cut loss และทำการ Short จากนั้นราคากลับดีดขึ้นมา ทำให้เราขาดทุนมากกว่าเดิม

4. ลดค่าใช้จ่าย

การลดค่าใช้จ่าย หลักง่าย ๆ ที่ทุกคนรู้ แต่น้อยคนจะทำอย่างจริงจัง หากเปรียบเทียบเงินในกระเป๋ากับน้ำในแก้ว การขาดทุนก็เหมือนการที่น้ำลดปริมาณลง เราต้องใช้เวลาในการเติมน้ำให้ระดับน้ำกลับมาเท่าเดิม การขาดทุนก็เช่นกัน เราขาดทุนไปแล้ว การลดค่าใช้จ่ายลง จะช่วยทำให้ระดับน้ำในแก้วกลับมาเท่าเดิมได้เร็วขึ้น โดยรายจ่ายในที่นี้หมายถึงรายจ่ายที่ไม่จำเป็น เช่น การออกไปทานข้าวนอกบ้าน ซื้อสิ่งของที่ไม่จำเป็น การไปดูหนัง หรือความบันเทิงต่าง ๆ เพราะสิ่งเหล่านี้ จะยิ่งเป็นการซ้ำเติมเงินในบัญชีของเราให้ลดน้อยลงไปอีก เรามีความสุขเพียงชั่วครู่และต้องกลับมาเครียดกว่าเดิม อย่างไรก็ตาม เมื่อสถานการณ์เริ่มกลับมาดีขึ้น จึงค่อยกลับมาใช้ชีวิตเหมือนเดิม

5. สร้างรายได้เพิ่ม

นอกจากการลดค่าใช้จ่ายแล้ว สิ่งสำคัญคือการเพิ่มช่องทางการสร้างรายได้ หรือพูดง่าย ๆ คือ การแบ่งไข่ใส่ในตะกร้าหลาย ๆ ใบ เพราะหากเกิดเหตุการณ์ขาดทุนแบบนี้อีก เราจะยังมีรายได้จากแหล่งอื่น ๆ เข้ามาช่วย

โดยอาจจะสร้างรายได้ จากการทำธุรกิจ หรือนำไปลงทุนในอุตสาหกรรมที่หลากหลายมากขึ้น อุตสาหกรรมที่เป็นอิสระต่อกัน ไม่เกี่ยวข้องกัน เพื่อเป็นการกระจายความเสี่ยง และเพิ่มช่องทางการสร้างรายได้อีกด้วย

6. เรียนรู้ และอย่าให้เกิดซ้ำอีก

หลังจากขาดทุนควรมองหาสาเหตุที่ทำให้เราขาดทุน เรียนรู้ จดจำ และอย่าให้เกิดเหตุการณ์แบบนี้ซ้ำอีก ความผิดพลาด จะทำให้เราได้เรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ แต่การผิดพลาดนั้น ควรผิดพลาดบนสาเหตุหรือปัจจัยใหม่ ๆ เพื่อให้เราได้เรียนรู้ และพัฒนา เราไม่ควรผิดพลาดเพราะสาเหตุเดิมซ้ำ ๆ เพราะนั่นหมายถึงว่า เราไม่ได้เรียนรู้อะไรจากการขาดทุนครั้งก่อน ๆ เลย

สุดท้ายนี้ การขาดทุน เป็นเรื่องปกติที่เกิดขึ้นได้ในตลาด ไม่สำคัญว่าเราขาดทุนไปมากแค่ไหน สำคัญว่าเราได้เรียนรู้อะไรบ้าง แล้วสามารถนำบทเรียนที่ได้ไปใช้วางแผน พัฒนากลยุทธ์การลงทุนของเราได้อย่างไรบ้างต่างหาก

"ความล้มเหลวเป็นบันไดสู่ความลำเร็จ"

ติดตามข่าวสารการลงทุนที่น่าสนใจไปกับ Facebook fanpage ทันโลกกับTraderKP

บทความนี้เผยแพร่ครั้งแรกที่ Facebook fanpage ทันโลกกับTraderKP

ความคิดเห็นล่าสุด

กำลังโหลดบทความถัดไป...
การเปิดเผยความเสี่ยง: การซื้อขายตราสารทางการเงินและ/หรือเงินดิจิตอลจะมีความเสี่ยงสูงที่รวมถึงความเสี่ยงต่อการสูญเสียจำนวนเงินลงทุนของคุณบางส่วนหรือทั้งหมดและอาจไม่เหมาะสมกับนักลงทุนทั้งหมด ราคาของเงินดิจิตอลแปรปรวนอย่างมากและอาจได้รับผลกระทบจากปัจจัยภายนอกต่าง ๆ เช่น เหตุการณ์ทางการเงิน กฎหมายกำกับดูแล หรือ เหตุการณ์ทางการเมือง การซื้อขายด้วยมาร์จินทำให้ความเสี่ยงทางการเงินเพิ่มขึ้น
ก่อนการตัดสินใจซื้อขายตราสารทางการเงินหรือเงินดิจิตอล คุณควรตระหนักดีถึงความเสี่ยงและต้นทุนที่เกี่ยวข้องกับการซื้อขายในตลาดการเงิน ควรพิจารณาศึกษาอย่างรอบคอบในด้านวัตถุประสงค์การลงทุน ระดับประสบการณ์ และ การยอมรับความเสี่ยงและแสวงหาคำแนะนำทางวิชาชีพหากจำเป็น
Fusion Media อยากเตือนความจำคุณว่าข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้ไม่ใช่แบบเรียลไทม์หรือเที่ยงตรงแม่นยำเสมอไป ข้อมูลและราคาที่แสดงไว้บนเว็บไซต์ไม่ใช่ข้อมูลที่ได้รับจากตลาดหรือตลาดหลักทรัพย์เสมอไปแต่อาจได้รับจากผู้ดูแลสภาพคล่องและดังนั้นราคาจึงอาจไม่เที่ยงตรงแม่นยำและอาจแตกต่างจากราคาจริงในตลาดซึ่งหมายความว่าราคานี้เป็นเพียงราคาชี้นำและไม่เหมาะสมสำหรับวัตถุประสงค์เพื่อการซื้อขาย Fusion Media และผู้ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้จะไม่รับผิดชอบใด ๆ สำหรับความเสียหายหรือการสูญเสียที่เป็นผลมาจากการซื้อขายของคุณหรือการพึ่งพาของคุณในข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้
ห้ามใช้ จัดเก็บ ทำซ้ำ แสดงผล ดัดแปลง ส่งผ่าน หรือ แจกจ่ายข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้โดยไม่ได้รับการอนุญาตล่วงหน้าอย่างชัดแจ้งแบบเป็นลายลักษณ์อักษรจาก Fusion Media และ/หรือจากผู้ให้ข้อมูล ผู้ให้ข้อมูลขอสงวนสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาและ/หรือการแลกเปลี่ยนข้อมูลที่ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้
Fusion Media อาจได้รับผลตอบแทนจากผู้โฆษณาที่ปรากฎบนเว็บไซต์โดยอิงจากปฏิสัมพันธ์ของคุณที่มีกับโฆษณาหรือผู้โฆษณา
เวอร์ชั่นภาษาอังกฤษของเอกสารฉบับนี้เป็นเวอร์ชั่นหลักซึ่งจะเป็นเวอร์ชั่นที่เหนือกว่าเมื่อใดก็ตามที่มีข้อขัดแย้งไม่สอดคล้องตรงกันระหว่างเอกสารเวอร์ชั่นภาษาอังกฤษกับเอกสารเวอร์ชั่นภาษาไทย