🐦 Early bird ค้นพบหุ้นที่มาแรงที่สุดตอนนี้ด้วยราคาเบา ๆ รับส่วนลดสูงถึง 55% สำหรับ InvestingPro กับโปรโมชัน Black Fridayรับส่วนลด

2 กองทุน ETF ที่อาจได้ประโยชน์จากการอยู่ยาวของพาวเวลล์ไปอีก 4 ปี

เผยแพร่ 09/12/2564 10:29
BAC
-
JPM
-
TFC
-
WFC
-
PNC
-
USB
-
BLK
-
BRKb
-
SIVBQ
-
BRKa
-
FRCB
-
IAT
-
VFH
-
DJSRBK
-

เชื่อว่านักลงทุนทุกคนคงทราบแล้วว่าใครได้เป็นประธานธนาคารกลางสหรัฐฯ คนถัดไป ในช่วงปลายเดือนพฤศจิกายน ประธานาธิบดีโจ ไบเดน ได้ตัดสินใจแต่งตั้งให้นายเจอโรม พาวเวลล์ได้ดำรงตำแหน่งประธานธนาคารกลางสหรัฐฯ ต่อไปอีกสี่ปี ในขณะที่คู่แข่งของเขานางเลล เบรนาร์ด ได้รับแต่งตั้งให้เป็นรองประธานธนาคารกลางสหรัฐฯ

เมื่อคืนวันอังคารที่ 30 พฤศจิกายน เกิดเหตุการณ์สำคัญในตลาดการเงินโลกขึ้น เมื่อประธานธนาคารกลางสหรัฐฯ นายเจอโรม พาวเวลล์ ได้แถลงต่อสภาคองเกรสถึงการดำเนินนโยบายการเงินในช่วงที่ผ่านมา ไฮไลท์ของการประชุมครั้งนี้คือการยอมรับของเขาว่าเงินเฟ้อไม่ใช่เรื่องชั่วคราวอย่างที่เขาเคยกล่าวเอาไว้มาตั้งแต่ต้นปีจนถึงปัจจุบันอีกต่อไป

“การพบผู้ติดเชื่อใหม่ และการระบาดของเชื้อไวรัสโควิดสายพันธุ์โอมิครอน สร้างความเสี่ยงต่อการจ้างงานและกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่กำลังฟื้นตัว ความเสี่ยงที่เกิดขึ้นทำให้ผู้คนไม่กล้าที่จะกลับมาทำงาน หรือใช้ชีวิตตามปกติ ซึ่งจะส่งตลาดแรงงานและซัพพลายเชนชะลอตัวยืดเยื้อต่อไปอีก”

เพื่อแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น ประกอบกับความเสี่ยงจากการระบาดใหม่ของเชื้อไวรัสโควิดสายพันธุ์ใหม่นาม “โอไมครอน” เจอโรม พาวเวลล์จึงได้แถลงต่อที่ประชุมว่าธนาคารกลางสหรัฐฯ ว่าจะทบทวนนโยบายการเงินใหม่ และจะประกาศในการประชุมของคณะกรรมการนโยบายการเงิน (FOMC) ที่จะเกิดขึ้นในวันที่ 14-15 ธันวาคมนี้ การทบทวนนโยบายของเขารวมถึงความเป็นไปได้ที่จะร่นระยะเวลาการปรับลดวงเงินในโครงการซื้อพันธบัตรตามมาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ (QE) ให้จบเร็วขึ้น เพื่อที่จะได้รีบขึ้นอัตราดอกเบี้ยให้ได้ภายในช่วงครึ่งปีแรกของ 2022

ในวันพรุ่งนี้ ตลาดลงทุนจะจับตาดูการประกาศตัวเลขดัชนีราคาผู้บริโภค ซึ่งเป็นมาตรวัดเงินเฟ้อสำคัญของสหรัฐอเมริกา ชื่อว่าหากตัวเลขดังกล่าวเพิ่มขึ้น การประชุมของเฟดจะยิ่งถูกเพิ่มความคาดหวังให้ขึ้นอัตราดอกเบี้ยเร็วกว่ากำหนด หากเป็นเช่นนั้น หุ้นในกลุ่มที่จะได้ประโยชน์ไปเต็มๆ เลยคือหุ้นกลุ่มธนาคาร ประธานธนาคารกลางสาขาเซนต์หลุยส์เคยกล่าวเอาไว้ว่า

“ไม่มีธนาคารที่ไหนไม่ชอบการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย เพราะนั่นเท่ากับว่าพวกเขาจะได้กำไรเพิ่มจากดอกเบี้ยกู้ยืม เพราะการลงทุนมีแนวโน้มที่จะเติบโตมากขึ้น” ในขณะเดียวกัน ฝ่ายการค้าระหว่างประเทศของสหรัฐฯ (ITA) เคยกล่าวว่า “ตลาดการเงินของสหรัฐฯ เป็นตลาดที่มีสภาพคล่องสูงที่สุดในโลก”

ในปี 2020 ถึงแม้จะต้องเผชิญกับภัยโรคระบาด แต่จำนวนเงินหมุนเวียนในสหรัฐอเมริกามีมูลค่าเกือบแตะ $4.8 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ จากข้อมูลที่กล่าวมา ในวันนี้เราจึงได้นำข้อมูลของกองทุน ETF ที่อาจสร้างความสนใจให้กับนักลงทุน ที่แสวงหาผลกำไรจากหุ้นในกลุ่มการเงิน

1. Vanguard Financials Index Fund ETF Shares

- ระดับราคาปัจจุบัน: $97.45
- กรอบการวิ่งของราคาในรอบ 52 สัปดาห์: $69.86 - $101.26
- เปอร์เซ็นต์การปันผล: 1.85%
- อัตราค่าใช้จ่ายต่อการดำเนินงาน: 0.10% ต่อปี

กองทุน ETF Vanguard Financials Index Fund ETF Shares (NYSE:VFH) เป็นกองทุนที่ลงทุนในหุ้นกลุ่มการเงินในตลาดหลักทรัพย์สหรัฐฯ เป็นหลัก กองทุนนี้ก่อตั้งขึ้นในเดือนมกราคมปี 2004 มีสินทรัพย์รวมแล้วทั้งสิ้น $12,800 ล้านเหรียญสหรัฐ

VFH Weekly Chart.

ณ ตอนนี้ VFH ถือครองหุ้นอยู่ทั้งหมด 394 ธนาคาร อ้างอิงราคาตามดัชนี Vanguard US IMI Financials 25/50 เมื่อพิจารณารายละเอียดของกองทุน จะพบว่าสัดส่วนการถือครองหุ้นถูกแบ่งออกเป็นห้ากลุ่มหลักๆ ได้แก่ กลุ่มธนาคารที่เน้นการกระจายความเสี่ยง 24.10% กลุ่มธนาคารระดับภูมิภาค 14.50% กลุ่มธนาคารที่เน้นการคุ้มครองและจัดการสินทรัพย์ 10.30% กลุ่มแลกเปลี่ยนการเงิน 8.90% และกลุ่มนายหน้าหรือธนาคารเพื่อการลงทุน 8.90% 

หุ้นของธนาคารชื่อดังที่กองทุนนี้ถือครองคิดเป็นสัดส่วน 40% ของกองทุนทั้งหมด หุ้นชื่อดังในกองทุนนี้ได้แก่ JP Morgan Chase (NYSE:JPM), Berkshire Hathaway (NYSE:BRKa) (NYSE:BRKb), Bank of America (NYSE:BAC), Wells Fargo (NYSE:WFC) และ BlackRock (NYSE:BLK)

ในปี 2021 VFH สามารถมอบผลตอบแทนคือแก่ผู้ถือครองได้ 31.5% สร้างจุดสูงสุดในรอบหลายปีไปเมื่อต้นเดือนพฤศจิกายน ก่อนที่จะปรับตัวลดลง 5% ปัจจุบัน VFH มีอัตราส่วนเปรียบเทียบระหว่างราคาตลาดของหุ้นต่อกำไรสุทธิต่อหุ้น (P/E) และอัตราส่วนเปรียบเทียบระหว่างราคาหุ้นกับมูลค่าทางบัญชี (P/B) อยู่ที่ 11.5x และ 1.7x ตามลำดับ

ส่วนตัวแล้ว เราค่อนเชียร์เชียร์กองทุนตัวนี้ แม้ว่าจะเผชิญกับความผันผวนจากการระบาดของเชื้อโควิดระลอกใหม่ และนโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐฯ ที่ยังไม่มีความแน่นอน นักลงทุนสายซื้อและถือยาวสามารถเข้าซื้อกองทุนนี้ได้ ณ ระดับราคาตอนนี้เลย

2. iShares US Regional Banks ETF

- ระดับราคาปัจจุบัน: $63.13
- กรอบการวิ่งของราคาในรอบ 52 สัปดาห์: $43.19 - $66.56
- เปอร์เซ็นต์การปันผล: 1.84%
- อัตราค่าใช้จ่ายต่อการดำเนินงาน: 0.41% ต่อปี

จากธนาคารชื่อดัง คราวนี้เราจะขยับไปที่ธนาคาระดับภูมิภาคกันบ้าง ข้อมูลจากงานวิจัยชิ้นหนึ่งระบุว่าในปี 2021 มูลค่ากำไรที่ธนาคารระดับภูมิภาคสามารถทำได้มีสูงถึง $213,200 ล้านเหรียญสหรัฐ นั่นจึงเป็นเหตุผลให้เราต้องยกกองทุน iShares US Regional Banks ETF (NYSE:IAT) มานำเสนอ เพราะกองทุนนี้เน้นลงทุนกับธนาคารระดับภูมิภาค เปิดให้เริ่มลงทุนตั้งแต่เดือนพฤษภาคมปี 2006

IAT Weekly Chart.

ปัจจุบัน IAT ถือครองหุ้นทั้งหมด 39 ธนาคาร อ้างอิงราคาจากดัชนี Dow Jones US Select Regional Banks มีสินทรัพย์รวมทั้งหมด $1,380 ล้านเหรียญสหรัฐ หุ้นสิบอันดับแรกของกองทุนคิดเป็น 60% ของกองทุนทั้งหมด หุ้นชื่อดังที่กองทุนนี้ถือครองได้แก่ PNC Financial Services (NYSE:PNC), Truist Financial (NYSE:TFC), US Bancorp (NYSE:USB), First Republic Bank (NYSE:FRC) และ SVB Financial Group (NASDAQ:SIVB)

ตั้งแต่ต้นปี 2021 มาจนถึงปัจจุบัน IAT สามารถมอบผลตอบแทนคือแก่ผู้ถือครองได้ 37.6% สร้างจุดสูงสุดในรอบหลายปีไปเมื่อปลายเดือนตุลาคม ก่อนที่จะปรับตัวลดลงมากกว่า 5% ปัจจุบัน IAT มีอัตราส่วนเปรียบเทียบระหว่างราคาตลาดของหุ้นต่อกำไรสุทธิต่อหุ้น (P/E) และอัตราส่วนเปรียบเทียบระหว่างราคาหุ้นกับมูลค่าทางบัญชี (P/B) อยู่ที่ 21.62x และ 1.61x ตามลำดับ เราเชื่อว่าขาลงตอนนี้เป็นขาลงระยะสั้น ดังนั้นผู้ที่สนใจสามารถรอให้ IAT ลงมาที่ $60 ก่อนจึงพิจารณาเข้าซื้อ

ความคิดเห็นล่าสุด

กำลังโหลดบทความถัดไป...
การเปิดเผยความเสี่ยง: การซื้อขายตราสารทางการเงินและ/หรือเงินดิจิตอลจะมีความเสี่ยงสูงที่รวมถึงความเสี่ยงต่อการสูญเสียจำนวนเงินลงทุนของคุณบางส่วนหรือทั้งหมดและอาจไม่เหมาะสมกับนักลงทุนทั้งหมด ราคาของเงินดิจิตอลแปรปรวนอย่างมากและอาจได้รับผลกระทบจากปัจจัยภายนอกต่าง ๆ เช่น เหตุการณ์ทางการเงิน กฎหมายกำกับดูแล หรือ เหตุการณ์ทางการเมือง การซื้อขายด้วยมาร์จินทำให้ความเสี่ยงทางการเงินเพิ่มขึ้น
ก่อนการตัดสินใจซื้อขายตราสารทางการเงินหรือเงินดิจิตอล คุณควรตระหนักดีถึงความเสี่ยงและต้นทุนที่เกี่ยวข้องกับการซื้อขายในตลาดการเงิน ควรพิจารณาศึกษาอย่างรอบคอบในด้านวัตถุประสงค์การลงทุน ระดับประสบการณ์ และ การยอมรับความเสี่ยงและแสวงหาคำแนะนำทางวิชาชีพหากจำเป็น
Fusion Media อยากเตือนความจำคุณว่าข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้ไม่ใช่แบบเรียลไทม์หรือเที่ยงตรงแม่นยำเสมอไป ข้อมูลและราคาที่แสดงไว้บนเว็บไซต์ไม่ใช่ข้อมูลที่ได้รับจากตลาดหรือตลาดหลักทรัพย์เสมอไปแต่อาจได้รับจากผู้ดูแลสภาพคล่องและดังนั้นราคาจึงอาจไม่เที่ยงตรงแม่นยำและอาจแตกต่างจากราคาจริงในตลาดซึ่งหมายความว่าราคานี้เป็นเพียงราคาชี้นำและไม่เหมาะสมสำหรับวัตถุประสงค์เพื่อการซื้อขาย Fusion Media และผู้ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้จะไม่รับผิดชอบใด ๆ สำหรับความเสียหายหรือการสูญเสียที่เป็นผลมาจากการซื้อขายของคุณหรือการพึ่งพาของคุณในข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้
ห้ามใช้ จัดเก็บ ทำซ้ำ แสดงผล ดัดแปลง ส่งผ่าน หรือ แจกจ่ายข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้โดยไม่ได้รับการอนุญาตล่วงหน้าอย่างชัดแจ้งแบบเป็นลายลักษณ์อักษรจาก Fusion Media และ/หรือจากผู้ให้ข้อมูล ผู้ให้ข้อมูลขอสงวนสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาและ/หรือการแลกเปลี่ยนข้อมูลที่ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้
Fusion Media อาจได้รับผลตอบแทนจากผู้โฆษณาที่ปรากฎบนเว็บไซต์โดยอิงจากปฏิสัมพันธ์ของคุณที่มีกับโฆษณาหรือผู้โฆษณา
เวอร์ชั่นภาษาอังกฤษของเอกสารฉบับนี้เป็นเวอร์ชั่นหลักซึ่งจะเป็นเวอร์ชั่นที่เหนือกว่าเมื่อใดก็ตามที่มีข้อขัดแย้งไม่สอดคล้องตรงกันระหว่างเอกสารเวอร์ชั่นภาษาอังกฤษกับเอกสารเวอร์ชั่นภาษาไทย