ไม่ว่าก่อนหน้านี้ตลาดลงทุนจะติดตามเรื่องอะไรอยู่ เชื่อได้เลยว่าสัปดาห์นี้ประเด็นเหล่านั้นจะหายไป และเต็มไปด้วยชื่อของโควิดสายพันธุ์ใหม่ “โอไมครอน” อยู่เต็มหน้าหนังสือพิมพ์ และเว็บไซต์ต่างๆ ข่าวร้ายนี้จะมาบดบังตัวเลขเศรษฐกิจที่เคยออกมาดีไม่ว่าจะเป็นจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานครั้งแรกที่ลดลง ตัวเลขยอดค้าปลีกที่เพิ่มขึ้น ถึงแม้ว่าตอนนี้โลกเราจะมีข้อมูลเกี่ยวกับโอไมครอนน้อยมาก แต่องค์การอนามัยโลก (WHO) ก็ได้ประกาศอย่างเป็นทางการแล้วว่าให้ทั่วโลก “เฝ้าระวังอย่างใกล้ชิด” แสดงให้เห็นว่าโอไมครอนมีความอันตรายมากกว่าโควิดสายพันธุ์อื่นๆ ที่เคยมีมา
ข่าวการค้นพบโอไมครอนสร้างผลกระทบต่อตลาดทันทีหลังจากที่พึ่งได้พักผ่อนในวันขอบคุณพระเจ้าได้เพียงหนึ่งวัน ดัชนีเอสแอนด์พี 500ปรับตัวร่วงลงไป 2.27% ในวันศุกร์ กลายเป็นขาลงหนักที่สุดในรอบเก้าเดือน และเป็นเหตุการณ์เทขายในเอสแอนด์พี 500 หลังวันหยุดขอบคุณพระเจ้าที่แรงที่สุดนับตั้งแต่ปี 1941 หรือสมัยประธานาธิบดีแฟรงกลิน ดี โรสเวลต์
แต่ดัชนีที่ร่วงลงมากกว่าหลังวันหยุดขอบคุณพระเจ้ากลับไม่ใช่เอสแอนด์พี 500 แต่เป็นดัชนีดาวโจนส์ที่ร่วงลงไปมากกว่า 900 จุด คิดเป็นขาลง 2.5% และถือเป็นขาลงหนักที่สุดนับตั้งแต่เดือนตุลาคมปีที่แล้ว ขาลงเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมายังช่วยให้ดาวโจนส์สร้างรูปแบบหัวไหล่ (Head & Shoulder) เล็กได้สำเร็จอีกด้วย
ในขณะเดียวกัน ดัชนีรัสเซล 2000 ปรับตัวลดลงมากที่สุดเมื่อเทียบกับดัชนีหลักอื่นๆ คิดเป็นขาลงทั้งหมด 3.7% และดัชนีแนสแด็ก 100 สร้างขาลงทั้งหมด 2.13%
ขาลงเมื่อวันศุกร์ สร้างความเป็นไปได้ที่ดัชนีแนสแด็ก 100 อาจสร้างรูปแบบหัวไหล่เล็กได้สำเร็จ กรณีของแนสแด็ก 100 นั้นใกล้เคียงกับดาวโจนส์ คือมีโอกาสร้างรูปแบบหัวไหล่ใหญ่ได้ในอนาคต ถึงแม้ว่าโดยปกติแล้ว การเกิดความเป็นไปได้เช่นนี้มักจะทำให้นักลงทุนบางกลุ่มตัดสินใจสวนเทรนด์ย้อนกลับขึ้นมา แต่ในขณะเดียวกัน ก็จะมีนักลงทุนสายตามเทรนด์ที่มองว่าขาขึ้นนั้นคือการย่อขึ้นมารับพวกเขา ก่อนที่จะพากันเทขาย ตามรูปแบบหัวไหล่ลงไปในระยะยาว
ความกังวลที่มีต่อการระบาดของโควิดสายพันธุ์โอไมครอนได้ทำให้ดัชนีตลาดหุ้นยุโรปอย่าง STOXX Europe 600 ร่วงลงมากที่สุดนับตั้งแต่เดือนมิถุนายนปี 2020 คิดเป็นขาลงทั้งหมด 3.7% สถานการณ์การแพร่ระบาดฯ ได้ทำให้พันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ กลับมาร้อนแรงอีกครั้ง กราฟอัตราผลตอบแทนฯ อายุ 10 ปีร่วงลงมากที่สุดนับตั้งแต่เดือนมีนาคมปี 2020 คล้ายกันกับช่วงเวลาก่อนที่จะมีการระบาดของโควิด-19 เป็นครั้งแรกในสหรัฐอเมริกา
การร่วงลงมาเมื่อวันศุกร์ที่แล้วทำให้กราฟอัตราผลตอบแทนฯ อายุ 10 ปีอยู่บนความเป็นไปได้ว่าจะสร้างรูปแบบ double-top สะท้อนให้เห็นว่าคนต้องการพันธบัตรรัฐบาลในฐานะสินทรัพย์คานความเสี่ยง ซึ่งอาจส่งให้กราฟอัตราผลตอบแทนฯ ปรับตัวลดลงสู่จุดต่ำสุดของปี 2021
กราฟดัชนีดอลลาร์สหรัฐร่วงลงมากถึง 1.05% คิดเป็นการปรับตัวลดลง 0.72% ตลอดทั้งสัปดาห์ ส่งผลให้กราฟ EUR/USD สามารถปรับตัวกลับขึ้นมาได้ 1% ทั้งๆ ที่ธนาคารกลางยุโรปยังมีแนวโน้มที่จะผ่อนคลายนโยบายการเงินต่อไปเรื่อยๆ การอ่อนค่าของดอลลาร์สหรัฐส่งผลให้สกุลเงินเยนและสวิตฟรังก์ปรับตัวลดลง 1.77% และ 1.25% เมื่อเทียบกับดอลลาร์
จากการวิเคราะห์ทางเทคนิค มีโอกาสที่กราฟ USD/JPY จะลงมาเจอแนวรับชั่วคราวที่ 1.13 ได้ ซึ่งบริเวณนั้นเป็นแนวรับที่คาดว่าจะเป็น neckline ของรูปแบบหัวไหล่
สินทรัพย์คานความเสี่ยงอย่างทองคำกลับปรับตัวลดลง 0.40% ทั้งๆ ที่สถานการณ์ตอนนี้ควรเป็นโอกาสให้ปรับตัวขึ้น (เพราะเงินเฟ้อและดอลลาร์อ่อนค่า) สาเหตุเดียวที่เราพอจะคิดออกในตอนนี้ว่าเกิดอะไรขึ้นกับทองคำคือผลตอบแทนของพันธบัตรรัฐบาลนั้นน่าสนใจกว่า
จากการวิเคราะห์ทางเทคนิค ตอนนี้ราคาทองคำกำลังพยายามรักษาขาขึ้นเฮือกสุดท้ายด้วยการทรงตัวยืนเหนือเทรนด์ไลน์ขาขึ้น ซึ่งเป็นส่วนล่างของกรอบราคาขาขึ้นที่อาจจะพากราฟให้สามารถขึ้นไปทดสอบจุดสูงสุด $1,879.50 ได้ อีกหนึ่งสินทรัพย์คานความเสี่ยงที่ยังคงวิ่งอยู่ในขาลงไม่เลิกคือบิทคอยน์ เมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา บิทคอยน์ก็ได้ปรับตัวลดลงอีก 8.6%
ความพยายามที่จะกดราคาน้ำมันดิบให้ปรับตัวลดลงของโจ ไบเดนประสบความสำเร็จแล้ว แต่ไม่ใช่เพราะความช่วยเหลือของชาติพันธมิตร แต่เป็นเพราะโอไมครอน ที่ส่งราคาน้ำมันลง 12% ทันที คิดเป็นราคาน้ำมันที่ถูกลงไป $10 ต่อบาร์เรล ถึงแม้จะเป็นความต้องการของไบเดน แต่เชื่อว่าเขาคงไม่ต้องการพันธมิตรแบบนี้เสียเท่าไหร่
ราคาน้ำมันดิบ WTI เมื่อวันศุกร์มีราคาปิดลดลง $10.22 คิดเป็นราคาน้ำมัน WTI เมื่อตลาดปิดวันศุกร์อยู่ที่ $68.17 ต่อบาร์เรล ปรับตัวลงมาทั้งหมด 13.04% ขาลงครั้งนี้ได้ส่งราคาน้ำมันดิบให้ร่วงลงมาต่ำกว่าเส้นเทรนด์ไลน์ขาขึ้นที่ลากมาตั้งแต่วันที่ 30 ตุลาคม มีความเป็นไปได้ที่อาจจะลงไปถึงแนวรับ $65 ต่อบาร์เรล หากลงมาถึง $65 ต่อบาร์เรล อาจก่อให้เกิดรูปแบบหัวไหล่ขนาดใหญ่เกิดขึ้นได้
ข่าวเศรษฐกิจสำคัญประจำสัปดาห์ (เวลาทั้งหมดคำนวณเป็น EST)
วันจันทร์
10:00 (สหรัฐฯ) รายงานตัวเลขยอดขายที่อยู่อาศัยที่รอการจำนอง: คาดว่าจะเพิ่มขึ้นจาก -2.3% เป็น 1.0%
15:05 (สหรัฐฯ) ถ้อยแถลงจากประธานธนาคารกลางสหรัฐฯ นายเจอโรม พาวเวลล์
20:00 (ประเทศจีน) ดัชนี PMI ภาคการผลิต: คาดว่าจะปรับตัวลดลงจาก 49.2 จุดเป็น 49.6 จุด
วันอังคาร
03:55 (เยอรมัน) รายงานตัวเลขอัตราการว่างงาน: คาดว่าจะเพิ่มขึ้นจาก -39K เป็น -25K
05:00 (ยูโรโซน) รายงานตัวเลขดัชนีราคาผู้บริโภค: คาดว่าจะเพิ่มขึ้นจาก 4.1% เป็น 4.4% YoY
08:30 (แคนาดา) รายงานตัวเลข GDP: คาดว่าจะลดลงจาก 0.4% เป็น 0.1% MoM
10:00 (สหรัฐฯ) รายงานตัวเลขความเชื่อมั่นของผู้บริโภคจาก CB: คาดว่าจะลดลงจาก 113.8 เป็น 110.9
19:30 (ออสเตรเลีย) รายงานตัวเลข GDP: คาดว่าจะลดลงจาก 0.7% เป็น -2.7% ในไตรมาสที่ 3
20:45 (ประเทศจีน) รายงานตัวเลขดัชนี PMI ภาคการผลิตจากมหาลัยไซซิน: คาดว่าจะลดลงจาก 50.6 เป็น 50.5 จุด
วันพุธ
04:30 (สหราชอาณาจักร) รายงานตัวเลขดัชนี PMI ภาคการผลิต: คาดว่าจะลดลงจาก 58.2 เป็น 58.1 จุด
08:15 (สหรัฐฯ) รายงานตัวเลขการจ้างงานฯ จากภาคเอกชนโดย ADP: คาดว่าจะลดลงจาก 571K เป็น 525K
09:00 (สหราชอาณาจักร) ถ้อยแถลงของประธานธนาคารกลาง
10:00 (สหรัฐฯ) ดัชนี PMI ภาคการผลิตจาก ISM: คาดว่าจะเพิ่มขึ้นจาก 60.8 เป็น 61.0 จุด
10:30 (สหรัฐฯ) รายงานตัวเลขปริมาณน้ำมันดิบคงคลัง:คาดว่าจะปรับตัวลดลงจาก 1.017M เป็น -0.481M
19:30 (ออสเตรเลีย) รายงานตัวเลขยอดค้าปลีก: คาดว่าจะเพิ่มขึ้นจาก 1.3% เป็น 4.9% MoM
วันพฤหัสบดี
08:30 (สหรัฐฯ) รายงานตัวเลขจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานครั้งแรก: คาดว่าจะเพิ่มขึ้นจาก 199K เป็น 250K
วันศุกร์
04:30 (สหราชอาณาจักร) รายงานตัวเลขดัชนี PMI ภาคการบริการ: คาดว่าจะคงที่ 58.6 จุด
08:30 (สหรัฐฯ) รายงานตัวเลขการจ้างงานนอกภาคการเกษตร: คาดว่าจะเพิ่มขึ้นจาก 531K เป็น 550K
08:30 (สหรัฐฯ) รายงานตัวเลขอัตราการว่างงาน: คาดว่าจะลดลงจาก 4.6% เป็น 4.5%
10:00 (สหรัฐฯ) รายงานตัวเลขดัชนี PMI ที่ไม่เกี่ยวข้องกับภาคการผลิตโดย ISM: คาดว่าจะลดลงจาก 66.7 เป็น 65.0 จุด