🏃 คว้าข้อเสนอ Black Friday ก่อนใคร รับส่วนลดสูงสุด 55% สำหรับ InvestingPro ตอนนี้!รับส่วนลด

เศรษฐกิจไทยปี 2565: ได้เวลาเสือคำราม

เผยแพร่ 16/11/2564 12:38
GOOGL
-
CL
-
SETI
-
GOOG
-
AOT
-
CPALL
-
KBANK
-

GDP ไทย 3Q64 อยู่ที่ 2.43 ล้านล้านบาท พลิกกลับมา -0.3%yoy แต่ดีกว่า ที่คาด หนุนจากส่งออกและสินค้าคงคลังที่เพิ่มขึ้นมากกว่าคาด แต่ฟันเฟือง เศรษฐกิจหลักๆ (การบริโภค-การลงทุนรัฐ หดตัวแรงจาก Lockdown) ประเมินงวด 4Q64 เศรษฐกิจจะพลิก +9%qoq, -0.8%yoy มาเป็น 2.66 ล้านล้านบาท จากพัฒนาการเชิงบวก 1.)ผู้ติดเชื้อ Covid เพิ่มขึ้นในอัตราที่ ลดลงต่ำกว่า 1 หมื่นราย/วัน ตลอดทั้งเดือน 2.)การกระจายวัคซีนคืบหน้า (เข็ม 1 ที่ 63% ของประชากร เข็ม 2 ที่ 51.2%) หนุนรัฐเดินหน้าเปิดประเทศ ต่อเนื่องถึงปี 2565 ทำให้ฟันเฟืองเศรษฐกิจทุกภาคส่วนทยอยฟื้น ทำให้ปรับ เพิ่ม Real GDP ปี 2564 ขึ้นมาที่ 10.33 ล้านล้านบาท 0.9%yoy (เดิม - 0.4%) ใกล้เคียง Consensus

ปี 2565 คาด Real GDP ขยับขึ้นเป็น 10.69 ล้านล้านบาท +3.5%yoy (ต่ำสุดในเอเซียและยังไม่ฟื้นถึงก่อนเกิด COVID-19) โดยปัจจัยหนุนมาจาก ทุกฟันเฟืองเศรษฐกิจ ทั้งการบริโภคหนุนจากมาตรการกระตุ้นการคลังรัฐ, การลงทุนเอกชนหนุนจาก Trade war, มาตรการดึงดูดการลงทุนของรัฐ การค้าระหว่างประเทศจากการค้าโลกที่เติบโต และข้อตกลงการค้า CPTPP, FTA) ส่วนอัตราดอกเบี้ยนโยบายคาดทรงตัวต่ำที่ 0.5% ต่อเนื่องถึงปี 2566 ทำให้ภาวะ Search For Yields เป็นปัจจัยหนุน SET Index

GDP 3Q64 พลิกกลับมาหดตัว -0.3% แต่ดีกว่าที่คาด หนุนจากส่งออกและสินค้าคง คลังที่เพิ่มขึ้นมากกว่าคาด

สภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ(สศช. หรือสภาพัฒน์) รายงาน Real GDP ไทย งวด 3Q64 มีมูลค่า 2.44 ล้านล้านบาท หดตัว -1.1%qoq หรือ -0.3%yoy ดีกว่า Consensus คาด -1.3%yoy

รายละเอียดขององค์ประกอบเศรษฐกิจที่สำคัญมีดังนี้

ภาคเศรษฐกิจที่ขยายตัว

o การค้าระหว่างประเทศ: ขยายตัวสูงต่อเนื่องในงวด 3Q64 ตามการฟื้นตัว ของเศรษฐกิจ และการค้าโลก หลังวัคซีน COVID-19 มีใช้อย่างแพร่หลาย เป็นวงกว้างมากขึ้น ช่วยให้หนุนกิจกรมทางเศรษฐกิจฟื้นตัว โดยเฉพาะ ประเทศพัฒนาแล้ว การค้าระหว่างประเทศของไทยจึงฟื้นตัวตาม โดย การส่งออกงวด 3Q64 ขยายตัว 15.4%yoy และการนำเข้าช่วงเดียวกัน ขยายตัว 40.6%yoy

o การลงทุนภาคเอกชน: ขยายตัวต่อเนื่อง 2.6%yoy แม้ชะลอลงจากไตร มาสก่อน ส่วนใหญ่มาจากการลงทุนในเครื่องจักร-เครื่องมือที่ขยายตัวถึง 3.7%yoy สอดคล้องกับการค้าระหว่างประเทศที่ฟื้นตัวต่อเนื่อง ขณะที่ การลงทุนก่อสร้างหดตัว 0.5% จากผลกระทบของการระบาด COVID19 ในช่วงกลางปี ส่งผลให้มีการปิดสถานที่ก่อสร้าง และที่พักของแรงงาน ก่อสร้าง

o การใช้จ่ายภาครัฐ: ขยายตัว 2.5%yoy จากการเร่งเบิกจ่ายรายจ่าย ประจำ และการเบิกจ่ายจากเงินกู้ตาม พ.ร.ก. กู้เงิน 1.5 ล้านล้านบาท เพื่อเยียวยาประชาชนผู้ได้รับผลกระทยจากการะบาดของ COVID-19 รวมถึงเป็นการเร่งเบิกจ่ายในไตรมาสสุดท้ายของปีงบประมาณ 2564

o ส่วนเปลี่ยนแปลงสินค้าคงคลัง (Change in Inventory): เพิ่มขึ้น 7.6 หมื่นล้านบาท สูงกว่างวดก่อนที่เพิ่มขึ้น 1.08 หมื่นล้านบาท และยังสูง กว่าค่าเฉลี่ย 5 ปีย้อนหลังเพิ่มขึ้นเพียง 129 ล้านบาท โดยสินค้าคงคลังที่ เพิ่มขึ้นแสดงถึงมีการสะสมสินค้าเพิ่มขึ้น อีกนัยหนึ่งคือสินค้าผลิตออก มาแล้ว แต่ยังไม่สามารถขายได้ (ผลิตแล้วสินค้าเหลือ) ซึ่งจะทำให้ภาค การผลิตในงวดไตรมาสถัดไป อาจมีแนวโน้มชะลอการผลิต ซึ่งจะมีผลต่อ การเติบโตเศรษฐกิจในงวดถัดไป

ภาคเศรษฐกิจที่หดตัว

o การบริโภคภาคเอกชน: พลิกหดตัว -3.2%yoy จากการระบาด COVID19 ในช่วงกลางปี ส่งผลให้ภาครัฐกลับมาดำเนินมาตรการควบคุมแบบ เข้มงวดสูงอีกครั้ง เช่น การปิดสถานที่เสี่ยงจำนวนมาก และการ กำหนดเวลาออกนอกเคหสถาน (Curfew) ประชาชนจึงลดการจับจ่ายใช้ สอยลง

o การลงทุนรัฐ: พลิกหดตัว -6%yoy จาการลดลงของการลงทุนก่อสร้างที่ ได้รับผลกระทบจากการปิดสถานที่ก่อสร้าง และที่พักของแรงงาน รวมไป ถึงการเน้นเบิกจ่ายงบประมาณรายจ่ายประจำเพื่อเยียวยาผู้ได้รับ ผลกระทบเป็นหลัก

โดยรวมส่งผลให้ Real GDP 9M64 มีมูลค่ารวม 7.68 ล้านล้านบาท ขยายตัว 1.3%yoy (คิดเป็น 76% ของคาดการณ์เดิมที่ ASPS คาด Real GDP ทั้งปี2564 จะมีมูลค่า 10.22 ล้านล้านบาท)

งวด 4Q64 คาดเศรษฐกิจฟื้นตัวชัดและต่อเนื่องถึงปี 2565 หนุนจาก COVID-19 บรรเทาลง และการกระจายวัคซีนดีขึ้น หนุนการเปิดประเทศ แนวโน้มเศรษฐกิจไทยงวด 4Q64 ASPS คาดเศรษฐกิจจะฟื้นตัว 9%qoq แต่ยังหดตัว 0.8%yoy จากฐานงวดไตรมาส 4 ปี 2563 ที่สูง โดยเห็นสัญญาณการฟื้นตัวเศรษฐกิจที่ Restart ชัดเจนต่อเนื่องไปถึงปี 2565 โดยประเมินจากปัจจัยแวดล้อมหนุนสำคัญ ได้แก่

1.) จำนวนผู้ติดเชื้อ COVID-19 ทรงตัวต่ำและมีพัฒนาการดีขึ้นตั้งแต่งวด 4Q64 สถานการณ์การระบาดของ COVID-19 ในไทยมีแนวโน้มดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง จากข้อมูลวันที่ 15 พ.ย. 2564 พบจำนวนผู้ติดเชื้อรายใหม่ 6,343 ราย แตะระดับต่ำสุดในรอบ 4 เดือนครึ่ง และมีแนวโน้มทยอยปรับลดลงเรื่อยๆ และเมื่อพิจารณาจำนวนผู้ติดเชื้อแยกเป็นรายพื้นที่ พบว่าจำนวนผู้ติดเชื้อมีแนวโน้มลดลงในทุกๆพื้นที่ เช่น กทม. และปริมณฑล, จังหวัด ชายแดนใต้ และจังหวัดอื่นๆ

สอดคล้องกับมุมมองของภาครัฐที่ประเมินว่าจำนวนผู้ติดเชื้อรายใหม่ของไทยจะมีแนวโน้ม ทรงตัวในระดับต่ำต่อไป ภายใต้สมมติฐานว่าการผ่อนคลายกิจกรรมจะช่วยให้การระบาด ลดลง 15% ซึ่งน้อยกว่าช่วง Lockdown ที่การระบาดลดลงถึง 25-40% ซึ่งการผ่อนคลาย กิจกรรมเศรษฐกิจอาจส่งผลให้จำนวนผู้ติดเชื้อมีโอกาสกลับมาเพิ่มขึ้นได้บ้าง แต่จำนวน ผู้เสียชีวิตไม่น่าจะกลับไปสูงเหมือนช่วงกลางปี2564จากการกระจายวัคซีนที่ทั่วถึงมากขึ้น

2. การกระจายวัคซีนปลายปี2564 มีความคืบหน้า และปี 2565 การกระจายวัคซีน ข้อมูลเมื่อวันที่ 15 พ.ย. 2564 ระบุว่า ไทยมีผู้ฉีดวัคซีนเข็มแรกจำนวน 45.37 ล้านราย (63% ของประชากร) และจำนวนผู้ฉีดเข็มสอง 36.86 ล้านราย (51.2% ของประชากร) ส่งผลให้ครึ่งหนึ่งของประชากรไทยได้รับวัคซีนครบ 2 แล้ว ในระยะถัดไป ASPS เชื่อว่าการฉีดวัคซีนจะเดินหน้าต่อ จากแผนการจัดหาวัคซีนของไทยที่ระบุว่าในช่วง ปลายปี 2564 จะมีวัคซีนเข้ามาอีกกว่า 47 ล้านโดส (เดือน พ.ย. 23 ล้านโดส และเดือน ธ.ค. 24 ล้านโดส) ส่งผลให้ในตลอดทั้งปี 2564 ไทยจะมีวัคซีนรวมทั้งสิ้น 155.6 ล้านโดส ซึ่งเพียงพอแก่ประชากรทั้งประเทศที่ 72 ล้านคน (1 คน ฉีด 2 โดส)

และในปี 2565 ภาครัฐมีแผนจัดหาวัคซีนอีกไม่น้อยกว่า 90 ล้านโดส ซึ่งส่วนใหญ่จะใช้เป็น เข็มกระตุ้น (Booster Dose) หรือฉีดให้แก่กลุ่มเด็กอายุ 3-11 ปี เพื่อให้ประชาชนส่วนใหญ่ ยังมีภูมิคุ้มกันต่อไป และช่วยให้เศรษฐกิจไทยในปี 2565 ฟื้นตัวได้อย่างมีเสถียรภาพ

3.รัฐผ่อนคลายกิจกรรมเศรษฐกิจตั้งแต่ 4Q64 แต่ต้องติดตามความเสี่ยงการแพร่ระบาดอีก ครั้ง ภาครัฐเดินหน้าผ่อนคลายกิจกรรมทางเศรษฐกิจต่างๆ ในงวด 4Q64 ได้แก่ • การผ่อนคลายเศรษฐกิจในประเทศ: ศบค. ปรับลดจำนวนพื้นที่ควบคุมสูงสุด (สี แดงเข้ม) จาก23 จังหวัด เหลือ 6ตั้งแต่วันที่ 16 พ.ย. 2564 เป็นต้นไป ได้แก่ ตาก , นครศรีธรรมราช, นราธิวาส, ปัตตานี, ยะลา และสงขลา ตามคาด ส่งผลให้

มาตรการ Curfew ยังมีผลบังคับใช้เพียงแค่ 6 จังหวัดนี้ขณะที่ในส่วนของสถาน บันเทิง เช่น ผับ บาร์ และคาราโอเกะ จะทยอยเดินหน้าเปิดอย่างค่อยเป็นค่อยไป โดย ศบค. ระบุว่ามีแผยจะเริ่มต้นในวันที่ 16 ม.ค. 2565 ในพื้นที่นำร่องท่องเที่ยว (สีฟ้า) พื้นที่เฝ้าระวัง (สีเขียว) และพื้นที่เฝ้าระวังสูง (สีเหลือง) ก่อน • การเปิดประเทศรับนักท่องเที่ยว: ศบค. กำหนดพื้นที่นำร่องท่องเที่ยว (สีฟ้า) ใน พื้นที่ของ 15 จังหวัด เช่น กทม. กระบี่, พังงา, ภูเก็ต, เพชรบุรี (ชะอำ) เชียงใหม่ (บางอำเภอ), ชลบุรี (บางอำเภอ) เป็นต้น (ดังรูป) โดยพื้นที่สีฟ้าอนุญาตให้ o ไม่มีกำหนดเวลาห้ามออกนอกเคหสถาน o จำหน่ายและดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในร้านได้ o ร้านอาหาร, ศูนย์การค้า, ร้านสะดวกซื้อ, โรงภาพยนตร์, ร้านวด-สปา เปิดได้ตามเวลาปกติ o สถานศึกษาเปิดการเรียนการสอนได้ตามปกติ การผ่อนคลายกิจกรรมเศรษฐกิจในประเทศ และการเปิดประเทศรับนักท่องเที่ยวตั้งแต่ วันที่ 1 พ.ย. 2564 เป็นต้นไป ส่งผลให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจของไทยมีแนวโน้มฟื้นตัว กลับมาได้ในช่วงปลายปี 2564 และต่อเนื่องไปจนถึงปี 2565 สอดคล้องกับดัชนีชี้นำ เศรษฐกิจบางตัวที่เริ่มส่งสัญญาณฟื้นตัวแล้ว เช่น รายงานการเดินทางของ Google (NASDAQ:GOOGL) (Google Mobility) ที่พบว่าประชาชนมีแนวโน้มเดินทางไปยังร้านค้าปลีก-สถานบันเทิง, ร้านจำหน่ายสินค้าอุปโภคบริโภคและระบบขนส่งมวลชนมากขึ้น สอดคล้องกับ Facebook Movement Range ที่พบว่าการเดินทางของประชาชนกลับมาฟื้นตัวเช่นกัน ในทุกภาค

4. การฟื้นตัวของเศรษฐกิจและการค้าโลกต่อเนื่องถึงปี 2565 เศรษฐกิจโลกยังอยู่ในแนวโน้มฟื้นตัว โดยเฉพาะประเทศเศรษฐกิจหลักของโลก สังเกตได้ จาก GDP ของหลายประเทศเริ่มฟื้นตัวมีมูลค่ามากกว่าหรือใกล้เคียงกับมูลค่างวด 4Q62 (ก่อน COIVD-19 ระบาดทั่วโลก) เช่น สหรัฐ GDP งวด 3Q64 คิดเป็น 101.37% ของมูลค่า GDP งวด 4Q62, ยุโรป GDP งวด 3Q64 คิดเป็น 99.47% ของมูลค่า GDP งวด 4Q62 เป็น ต้น

และในปี 2565 เศรษฐกิจโลกยังมีแนวโน้มขยายตัวต่อไป สอดคล้องกับประมาณการของ IMF ที่คาดกว่าในปี 2565 GDP โลกจะขยายตัวสูง 4.9%yoy ซึ่งเป็นการขยายตัวสูงทั้งใน กลุ่มประเทศพัฒนาแล้ว และประเทศกำลังพัฒนา

เศรษฐกิจโลกที่อยู่ในแนวโน้มฟื้นตัวทั้งในปี 2564 และ 2565 และการเติบโตของการค้า โลกปี 2565 อิงคาดการณ์ของ IMF ล่าสุด เดือน ตคคาด ขยายตัว 6.7% yoy โดยประเทศ หลักๆที่เป็นคู่ค้าไทย อาทิ สหรัฐ ปี 2565 IMF คาด GDP Growth ขยายตัว 5.2% จีนคาด ขยายตัว 5.6%) ส่งผลให้การค้าระหว่างประเทศของไทยฟื้นตัวได้ตามไปด้วยเช่นเดียวกัน และในปี 2565 คาดว่าการค้าระหว่างประเทศของไทยจะฟื้นตัวต่อเนื่อง หลังข้อตกลง การค้าต่างๆมีความคืบหน้ามากขึ้นในปี 2565 เช่น

ความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค (Regional Comprehensive Economic Partnership: RCEP): มีผลบังคับใช้1 ม.ค. 2565 ซึ่งเป็นข้อตกลง การค้าระหว่างประเทศ ออสเตรเลีย, จีน, ญี่ปุ่น, นิวซีแลนด์, บรูไน, กัมพูชา, ลาว, สิงคโปร์, ไทย และเวียดนาม โดยประโยชน์ที่ไทยได้จากข้อตกลง RCEP คือการค้า และการลงทุนขยายตัว โดยหากอ้างอิงผลการศึกษาการเข้าร่วมข้อตกลง RCEP ของสถาบัน TDRI ผลว่า ข้อตกลง RCEP จะช่วยให้การส่งออกไทยขยายตัว 14.4%, การนำเข้าขยายตัว 13.3%, การลงทุนขยายตัว 14.7%, การบริโภค ครัวเรือนขยายตัว 13% และ GDP ขยายตัว 13.5% • ความคืบหน้าการเจรจาข้อตกลงการเพิ่มเติมของรัฐ: รัฐบาลไทยเผยแผนการจะ เริ่มเข้าร่วมข้อตกลงการค้าสำคัญ อาทิเช่น ความตกลงที่ครอบคลุมและก้าวหน้า สำหรับหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจภาคพื้นแปซิฟิก (Comprehensive and Progressive Agreement for Trans-Pacific Partnership: CPTPP) และ ข้อตกลงการค้าเสรีไทย-สหภาพยุโรป (FTA ไทย-EU) ซึ่งทั้งสองเป็นข้อตกลง ขนาดใหญ่ เพราะหากพิจารณา CPTPP พบว่าข้อตกลงการค้าเสรีระหว่าง 11 ประเทศ ได้แก่ ออสเตรเลีย, บรูไน, แคนาดา, ชิลี, ญี่ปุ่น, มาเลเซีย, เม็กซิโก, นิวซีแลนด์, เปรู, สิงคโปร์ และเวียดนาม คิดเป็น 13% ของ GDP โลก และมี สัดส่วน 15% ของการค้าโลก และล่าสุดสหรัฐกำลังอยู่ระหว่างพิจารณาว่าจะเข้า ร่วมหรือไม่ โดยผลประโยชน์หากไทยเข้าร่วม คือ เปิดตลาดส่งออกสู่แคนาดาและ เม็กซิโก เพราะปัจจุบันไทยไม่มี FTA กับ 2 ประเทศนี้

5. นโยบายการคลังยังต่อเนื่องถึง 1H65 เศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มฟื้นตัวภายหลังการผ่อนคลายกิจกรรมทางเศรษฐกิจ (ดังที่กล่าว ข้างต้น) ส่งผลให้ภาครัฐกลับมาเดินหน้าผลักดันมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจมากขึ้น เพื่อ รักษาแรงส่งของเศรษฐกิจไทย ทั้งในระยะสั้น และระยะกลาง-ยาว เช่น • มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจระยะสั้น: ในช่วงเดือน ต.ค. 2564 ภาครัฐอนุมัติเพิ่ม วงเงินโครงการกระตุ้นการบริโภครวมกว่า 5.45 หมื่นล้านบาท ได้แก่ โครงการเพิ่ม กำลังซื้อให้ผู้มีบัตรสวัสดิการ, โครงการเพิ่มกำลังซื้อให้แก่ผู้ที่ต้องการความ ช่วยเหลือพิเศษ, โครงการคนละครึ่งระยะที่ 3, โครงการยิ่งใช้ยิ่งได้ และในช่วง ปลายปี 2564 นี้ ASPS คาดยังมีโอกาสลุ้นว่าภาครัฐจะนำมาตรการช้อปดีมี คืนกลับมาอีกครั้งหนึ่งด้วย รวมไปถึงลุ้นโครงการคนละครึ่งเฟส 4 ที่มีโอกาส เกิดขึ้นในช่วงต้นปี 2565 เพื่อให้ต่อเนื่องถึงเทศกาลตรุษจีนช่วงต้นเดือน ก.พ. 2565

มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจระยะกลาง-ยาว: ส่วนใหญ่จะมุ่งเน้นไปที่การส่งเสริม การท่องเที่ยวภายหลัง COVID-19 และการส่งเสริมการลงทุนเพื่อสนับสนุนการ เติบโตของเศรษฐกิจในระยะกลางและระยะยาว

ทั้งนี้ ASPS คาดว่านโยบายการคลังจะมีความต่อเนื่อง ภายหลังจากที่ภาครัฐปรับเพิ่มกรอบ เพดานสัดส่วนหนี้สาธารณะต่อ GDP เป็นไม่เกิน 70% จากเดิมกำหนดไม่เกิน 60% ส่งผล ให้ภาครัฐมีความสามารถกู้เงินเพื่อนำมาใช้จ่ายกระตุ้นเศรษฐกิจได้เพิ่ม และต่อเนื่องมาก ขึ้น เนื่องจากปัจจุบันหนี้สาธารณะต่อ GDP ของไทยอยู่ในระดับที่ใกล้เคียงกับกรอบเพดาน เดิมที่ 60% ต่อ GDP

6. นโยบายการเงิน คาดดอกเบี้ยต่ำถึงปี 2566 หนุนการฟื้นตัวเศรษฐกิจ ASPS เชื่อว่าเศรษฐกิจไทยจะได้รับแรงหนุนจากจากนโยบายการเงินที่มีแนวโน้มผ่อน คลายอย่างเนื่อง เพราะมองว่า กนง. จะคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายในระดับต่ำที่ 0.5% ต่อ ในช่วงที่เหลือของปี 2564 และน่าจะยังคงต่อไปตลอดปี 2565 โดยมีประเด็นสนันสนุน ดังต่อไปนี้ • อัตราเงินเฟ้อไทยฟื้นตัวไม่ทั่วถึง: อัตราเงินเฟ้อทั่วไปของไทยในเดือน ต.ค. 2564 แม้ขยายตัวสูง 2.38%yoy แต่สาเหตุสำคัญมาจากราคาสินค้าเพียงบางกลุ่ม เท่านั้นที่ปรับเพิ่มขึ้น นั่นคือกลุ่มพลังงาน โดยราคาสินค้ากลุ่มพลังงานขยายตัวสูง 22.6%yoy ในเดือน ต.ค. 2564 ตามราคาน้ำมันดิบในตลาดโลก (ราคาน้ำมันดิบ ดูไบเพิ่มขึ้น 105%yoy ในเดือน ต.ค. 2564) ซึ่งสวนทางกับราคาสินค้าอื่นๆที่ยัง ไม่ฟื้นตัว เช่น อาหารสด -1.51%yoy ในเดือนเดียวกัน รวมถึงไปถึงอัตราเงินเฟ้อ พื้นฐาน (อัตราเงินเฟ้อที่ไม่รวมพลังงาน และอาหารสด) ยังขยายตัวต่ำเพียง 0.21%yoy โดยการฟื้นตัวของอัตราเงินเฟ้อที่ยังกระจุกในสินค้าแค่บางกลุ่ม ส่งผลให้ กนง. จะคงอัตราดอกเบี้ยต่ำต่อไป

ตลาดการเงินคาดว่าอัตราดอกเบี้ยจะทรงตัวต่ำต่อ: Bond Yield อายุ1 ปีของไทย ทรงตัวต่ำที่ระดับ 0.523% ซึ่งเป็นระดับที่ใก้ลเคียงกับอัตราดอกเบี้ยนโยบาย 0.5% บ่งบอกมุมมองของตลาดการเงินมองว่าอัตราดอกเบี้ยนโยบายของไทยจะ ทรงตัวต่ำต่อ สอดคล้องกับผลสำรวจ (Consensus) ของ Bloomberg ที่พบว่า นักเศรษฐศาสตร์และนักวิเคราะห์ประเมินอัตราดอกเบี้ย ณ สิ้นปี ของไทยจะยังคง เดิม

กนง. ส่งสัญญาณดำเนินนโยบายการเงิน โดยให้ความสำคัญกับเศรษฐกิจมากกว่า อัตราเงินเฟ้อ: กนง. กล่าวในรายงานผลการประชุมนับตั้งแต่ในเดือน พ.ย. 2563 เป็นต้นมา จนถึงการประชุมครั้งล่าสุดในเดือน พ.ย. 2564 รวม 9 ครั้ง ว่า “คณะกรรมการให้น้ำหนักกับการสนับสนุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจเป็นสำคัญ” ซึ่งสามารถถอดความได้ว่า กนง. จะมีแนวโน้มคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายในระดับ ต่ำต่อไป เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ มากกว่าที่จะเน้นควบคุมอัตราเงินเฟ้อ เพราะหาก กนง. ปรับขึ้นเพื่อให้อัตราเงินเฟ้อชะลอตัวลง ก็อาจเป็นอุปสรรคต่อการฟื้นตัวของ เศรษฐกิจไทยฟื้นตัวได้ล่าช้าออกไปอีกได้

ปรับเพิ่ม GDP ปี 2564 เป็น 0.9%yoy ส่วนปี 2565 คาด 3.5%yoy เพื่อสะท้อนปัจจัยบวกดังกล่าวข้างต้นทั้งหมด ทั้ง GDP 9M64 ดีกว่าที่คาดและคิดราว 76% ของคาดการณ์เดิม ประเมินสมมติฐานเดิมบางส่วนที่คาดต่ำกว่าข้อมูลจริง และที่ สำคัญคือ หากประเมินแนวโน้มเศรษฐกิจฟื้นตัวจากการเปิดเมืองที่ดีกว่าคาด ทำให้ฝ่าย วิจัย ASPS ประเมินแนวโน้มเศรษฐกิจทั้งปี 2564 ใหม่ เป็นคาดว่า Real GDP ไทยปี 2564 จะมีมูลค่าเพิ่มขึ้นมาเป็น 10.33 ล้านล้านบาท จากเดิมคาด 10.22 ล้านล้านบาท หรือ เพิ่มขึ้น +0.9%yoy ส่วนปี 2565 คาด GDP ขยับขึ้นเป็น 10.69 ล้านล้านบาท +3.5%yoy (ยังต่ำสุดในเอเซียและยังไม่ฟื้นกลับไปถึงระดับก่อนเกิด COVID-19) ภายใต้สมมติฐานสำคัญ คือ ปรับเพิ่ม (+): การบริโภคครัวเรือนปี 2564 -2565 ขึ้น และ การส่งออกและนำเข้า (หน่วยดอลลาร์) ปี 2564แต่ยังคงคาดปี 2565ไว้, ปรับลด (-) : การ

ลงทุนรัฐปี 2564 เหลือ6% จากเดิม 7% และส่วนที่ยังคงเดิม (0) คือ การใช้จ่ายรัฐขยายตัว 7% และอัตราแลกเปลี่ยนที่ 32 บาทราคาน้ำมันดิบดูไบ 60 เหรียญ ในปี 2564-2565 รายละเอียดดังตาราง)

เศรษฐกิจไทยฟื้นตัว หนุนเป้าหมาย SET Index ปี 2565 ขยับที่ระดับ 1,840 จุด เน้น สะสมหุ้น Restart Economy รองรับการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ ภาพรวมจากแนวโน้มของเศรษฐกิจไทยที่ผ่านจุดต่ำสุด (Bottomed out) แล้วในงวด 3Q64 ส่งผลให้หลังจากนี้จะเห็นการทยอยฟื้นตัวอย่างเป็นรูปธรรมมากขึ้น ช่วยหนุนให้ ตลาดหุ้นไทยปรับตัวเพิ่มขึ้นได้ตามไปด้วย โดยประเมินเป้าหมาย SET Index ปี 2564 ที่ ระดับ 1,670 จุด บนสมมุติฐาน EPS64F ที่ 73.6 บาท/หุ้น ส่วนปี 2565 มองเป้าหมาย SET Index ไว้ที่ระดับ 1,840 จุด ผ่านสมมุติฐาน EPS65F ที่ 81 บาท/หุ้น หรือเติบโต 10%yoy กลยุทธ์การลงทุนในจังหวะที่เศรษฐกิจฟื้นตัว แนะนำสะสมหุ้นกลุ่ม Restart Economy ที่ มีแนวโน้มฟื้นตัวได้ดีตามภาพใหญ่เศรษฐกิจ เช่น CPALL (BK:CPALL), CPN, DOHOME, AOT (BK:AOT), ERW, KBANK (BK:KBANK), BLA, TIDLOR

บทความนี้จัดทำและเผยแพร่ครั้งแรกบนเว็บไซต์ ASIA Plus Securities

ความคิดเห็นล่าสุด

กำลังโหลดบทความถัดไป...
การเปิดเผยความเสี่ยง: การซื้อขายตราสารทางการเงินและ/หรือเงินดิจิตอลจะมีความเสี่ยงสูงที่รวมถึงความเสี่ยงต่อการสูญเสียจำนวนเงินลงทุนของคุณบางส่วนหรือทั้งหมดและอาจไม่เหมาะสมกับนักลงทุนทั้งหมด ราคาของเงินดิจิตอลแปรปรวนอย่างมากและอาจได้รับผลกระทบจากปัจจัยภายนอกต่าง ๆ เช่น เหตุการณ์ทางการเงิน กฎหมายกำกับดูแล หรือ เหตุการณ์ทางการเมือง การซื้อขายด้วยมาร์จินทำให้ความเสี่ยงทางการเงินเพิ่มขึ้น
ก่อนการตัดสินใจซื้อขายตราสารทางการเงินหรือเงินดิจิตอล คุณควรตระหนักดีถึงความเสี่ยงและต้นทุนที่เกี่ยวข้องกับการซื้อขายในตลาดการเงิน ควรพิจารณาศึกษาอย่างรอบคอบในด้านวัตถุประสงค์การลงทุน ระดับประสบการณ์ และ การยอมรับความเสี่ยงและแสวงหาคำแนะนำทางวิชาชีพหากจำเป็น
Fusion Media อยากเตือนความจำคุณว่าข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้ไม่ใช่แบบเรียลไทม์หรือเที่ยงตรงแม่นยำเสมอไป ข้อมูลและราคาที่แสดงไว้บนเว็บไซต์ไม่ใช่ข้อมูลที่ได้รับจากตลาดหรือตลาดหลักทรัพย์เสมอไปแต่อาจได้รับจากผู้ดูแลสภาพคล่องและดังนั้นราคาจึงอาจไม่เที่ยงตรงแม่นยำและอาจแตกต่างจากราคาจริงในตลาดซึ่งหมายความว่าราคานี้เป็นเพียงราคาชี้นำและไม่เหมาะสมสำหรับวัตถุประสงค์เพื่อการซื้อขาย Fusion Media และผู้ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้จะไม่รับผิดชอบใด ๆ สำหรับความเสียหายหรือการสูญเสียที่เป็นผลมาจากการซื้อขายของคุณหรือการพึ่งพาของคุณในข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้
ห้ามใช้ จัดเก็บ ทำซ้ำ แสดงผล ดัดแปลง ส่งผ่าน หรือ แจกจ่ายข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้โดยไม่ได้รับการอนุญาตล่วงหน้าอย่างชัดแจ้งแบบเป็นลายลักษณ์อักษรจาก Fusion Media และ/หรือจากผู้ให้ข้อมูล ผู้ให้ข้อมูลขอสงวนสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาและ/หรือการแลกเปลี่ยนข้อมูลที่ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้
Fusion Media อาจได้รับผลตอบแทนจากผู้โฆษณาที่ปรากฎบนเว็บไซต์โดยอิงจากปฏิสัมพันธ์ของคุณที่มีกับโฆษณาหรือผู้โฆษณา
เวอร์ชั่นภาษาอังกฤษของเอกสารฉบับนี้เป็นเวอร์ชั่นหลักซึ่งจะเป็นเวอร์ชั่นที่เหนือกว่าเมื่อใดก็ตามที่มีข้อขัดแย้งไม่สอดคล้องตรงกันระหว่างเอกสารเวอร์ชั่นภาษาอังกฤษกับเอกสารเวอร์ชั่นภาษาไทย