รับส่วนลด 40%
ใหม่! 💥 รับ ProPicks เพื่อดูกลยุทธ์ที่ให้ผลตอบแทน ชนะดัชนี S&P 500 มากกว่า 1,183% รับส่วนลด 40%

ตลาดยังแข็งแกร่ง รอสัญญาณขึ้นรอบใหม่

เผยแพร่ 12/11/2564 09:59
อัพเดท 09/07/2566 17:32

การปรับขึ้นของทั้ง Bond Yield และตลาดหุ้นสหรัฐฯ เงิน USD ที่แข็งค่า รวมถึงการดีดตัวกลับของราคา Commodity หากเกิดจากต้นเหตุคือการฟื้น ตัวของเศรษฐกิจอย่างรวดเร็ว การเคลื่อนไหวของตราสารการเงินต่างๆ ดังกล่าวข้างต้นก็น่าจะถือเป็นข่าวดี และหากนำไปผสมกับเงินบาทปัจจุบันที่ อยู่ในโซนแข็งค่าขึ้นมาต่ำกว่า 33 บาท/USD ก็น่าจะสะท้อนให้เห็นภาพว่ายัง มีเม็ดเงินที่ไหลเข้าสู่ตลาดหุ้นไทยอยู่ สำหรับประเด็นอื่นที่น่าสนใจคือการที่ ธปท. เปิดทางให้ธนาคารพาณิชย์สามารถจ่ายเงินปันผลได้ไม่เกิน 50% ของ กำไร และยังสามารถที่จะทำการซื้อคืนหุ้นได้โดยขออนุญาตจาก ธปท. ภาพ ดังกล่าวสะท้อนความแข็งแกร่งของฐานทุน Bank น่าจะช่วยหนุนราคาหุ้นได้ SET Index น่าจะอยู่ในกรอบ 1618 – 1640 จุด รอสัญญาณบวกรอบใหม่ พอร์ตจำลองให้ ขาย SCC น้ำหนัก 10% ออก ลด CPALL (BK:CPALL) ลง 5% ให้เข้าซื้อ TASCO 10% เพิ่ม MCS 5% Top Pick เลือก MCS, TASCO และ TIDLOR

เศรษฐกิจโลกฟื้นตัว หนุน Momentum ของตลาดหุ้น

เศรษฐกิจโลกอยู่ในแนวโน้มฟื้นตัวอย่างต่อเนื่อง จากปัจจัยหนุนสำคัญ คือ

1. การกระจายวัคซีน COVID-19 ของทั่วโลกที่เดินหน้าอย่างต่อเนื่อง โดยปัจจุบัน ทั่วโลกมีประชากรที่ฉีดวัคซีนเข็มแรกแล้ว 51.3% ของประชากรโลก ขณะที่ จำนวนผู้ฉีดวัคซีนเข็มสองมีสัดส่วน 40.1% ของประชากร

2. สถานการณ์ COVID-19 มีแนวโน้มดีขึ้น โดยปัจจุบัน จำนวนผู้ติดเชื้อ COVID19 ต่อวันเฉลี่ยย้อนหลัง 7 วันมีราว 4.68 แสนรายต่อวัน ต่ำกว่าช่วงกลางปี 2564 ที่มีจำนวนถึง 6.52 แสนรายต่อวัน

เหตุผลโดยรวมข้างต้นส่งผลให้กิจกรรมเศรษฐกิจเริ่มฟื้นตัว โดยเฉพาะประเทศ เศรษฐกิจหลักของโลก สะท้อนจาก GDP ของหลายประเทศเริ่มฟื้นตัวจนมีมูลค่า มากกว่าหรือใกล้เคียงกับมูลค่างวด 4Q62 (ก่อน COIVD-19 ระบาดทั่วโลก) แล้ว เช่น สหรัฐ GDP งวด 3Q64 คิดเป็น 101.37% ของมูลค่า GDP งวด 4Q62, ยุโรป GDP งวด 3Q64 คิดเป็น 99.47% ของมูลค่า GDP งวด 4Q62 เป็นต้น และในปี 2565 เศรษฐกิจ โลกยังมีแนวโน้มขยายตัวต่อไป สอดคล้องกับประมาณการของ IMF ที่คาดกว่าในปี 2565 GDP โลกจะขยายตัวสูง 4.9%yoy

ทิศทางการฟื้นตัวที่ชัดเจนของเศรษฐกิจโลกชัดเจนดังกล่าวข้างต้น เชื่อว่าเป็นเหตุผล เบื้องหลังหนุนสินทรัพย์ประเภทต่างๆมีแนวโน้มปรับเพิ่มขึ้นต่อ

  • ตลาดหุ้น แม้ระยะสั้นผันผวน จากความกังวลพิจารณา QE Tarpingและอัตรา ดอกเบี้ย-Bond Yield ที่มีแนวโน้มกลับมาเป็นขาขึ้น ส่งผลให้ระยะสั้น นัก ลงทุนอาจลดการลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยงชั่วคราว แต่ในมุมมองระยะกลาง-ยาว เชื่อว่าตลาดหุ้นโลกจะสามารถปรับขึ้นได้ต่อ ตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก ที่จะมีชัดเจนและหนักแน่นเพิ่มขึ้น เพราะการทำ QE Tarping และพิจารณา ขึ้นอัตราดอกเบี้ย ของธนาคารกลางทั่วโลก เป็นการตอกย้ำว่าเศรษฐกิจโลก ฟื้นตัวอย่างมั่นคงแข็งแกร่งเพียงพอแล้ว

  • Bond Yield ทั่วโลกมีแนวโน้มปรับขึ้น: ผลจากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก ส่งผลให้ธนาคารกลางหลายประเทศเริ่มพิจารณาลดวงเงิน QE (QE Tarping) และส่งสัญาณปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย เช่น สหรัฐ, ยุโรป, อังกฤษ เป็น ต้น หนุนให้ Bond Yield โลกแกว่งตัวในทิศขาขึ้น ตามการคาดการณ์ว่าอัตรา ดอกเบี้ยนโยบายจะมีโอกาสปรับขึ้นในอนาคต เช่น Yield 10 ปีสหรัฐ ปรับขึ้น 0.1% และตั้งแต่ต้นปีปรับขึ้นมาแล้ว 0.63% ดีต่อหุ้นกลุ่มธนาคารพาณิชย์ อาทิ KBANK (BK:KBANK) BBL และกลุ่มประกันชีวิต BLA

  • Dollar Index มีแนวโน้มแข็งค่า: เมื่อวานนี้ยังแข็งค่าต่อ0.32% และตั้งแต่ต้น ปีแข็งค่า 5.8%ytd ทะลุ 95.2 จุด หนุนจากแนวโน้มเศรษฐกิจสหรัฐฟื้นตัว และ Bond Yield ที่ขยับขึ้นช่วยดึงดูด Fund Flow กลับไปยังสหรัฐมากขึ้น และ Dollar Index ที่แข็งค่า คาดจะส่งผลให้ค่าเงินบาทชะลอการแข็งค่าได้ใน ระยะสั้น หลังจากแข็งค่าหลุดแนว 33 บาท/ดอลลาร์ เมื่อต้นสัปดาห์

โดยรวมสรุปจากแนวโน้มของตลาดหุ้นโลกข้างต้น คาดจะส่งผลให้ตลาดหุ้นไทยจะมี แนวโน้มผันผวนในช่วงสั้นๆตามไปด้วย แต่ในระยะถัดไปเชื่อว่าตลาดหุ้นไทยจะมี แนวโน้มปรับขึ้นต่อ จากอานิสงส์ของการฟื้นตัวเศรษฐกิจ โดยเฉพาะการท่องเที่ยว ส่งผลให้หุ้นกลุ่มเปิดเมืองยังได้แรงหนุนในระยะกลาง-ยาว

กลุ่มธนาคารมีเรื่องราวดีๆ ชอบ KBANK, SCB และ BBL

นี่คือโฆษณาของบุคคลที่สาม ไม่ใช่ข้อเสนอหรือคำแนะนำจาก Investing.com ดูการเปิดเผยข้อมูลที่นี่หรือ หรือลบโฆษณา

วานนี้ ธปท. ประเมินผล Stress Test ของกลุ่ม ธ.พ. แล้วเสร็จ โดยมีการผ่อนเกณฑ์ การจ่ายเงินปันผลจากเดิมไม่เกินอัตราการจ่ายปี 2563 และไม่เกิน 50% ของกำไรสุทธิ ให้คงเหลือเฉพาะเกณฑ์ไม่เกิน 50% ของกำไรสุทธิตามงบเฉพาะธนาคาร นอกจากนี้ เปิดทางให้ ธ.พ. สามารถซื้อหุ้นคืน (Treasury stock) ได้ หากได้รับความเห็นชอบจาก ธปท. ภาพรวมมองว่าสะท้อนความพร้อมของอัตราส่วนเงินกองทุนเทียบสินทรัพย์เสี่ยง (BIS Ratio) ทั้งระบบสถาบันการเงิน (เฉลี่ยอยู่ที่ 19% VS ขั้นต่ำ 11% - 12%) โดยเฉพาะ ประเด็นการซื้อหุ้นคืน เนื่องจากตามกฎหมายบริษัทใดที่มีการซื้อหุ้นคืนอยู่ จะไม่ สามารถดำเนินการเพิ่มทุนได้ เพียงแต่ที่ ธปท. ยังคงข้อจำกัดอัตราการจ่ายเงินปันผล เป็นไปตามหลักอนุรักษ์นิยม รองรับการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยช่วงแรกที่ยังกระจาย ตัวไม่ทั่วถึง รวมถึงการสนับสนุนด้านสินเชื่อ เพื่อให้เศรษฐกิจไทยเดินหน้าต่อไป โดย หากพิจารณาข้อมูลปี 2562 พบว่า ธ.พ. ขนาดใหญ่ ไม่ได้จ่ายเกิน 50% อยู่ที่ราว 30% (KBANK) - 46% (SCB) ของกำไรสุทธิตามงบการเงินรวม ทำให้โดยรวมคาดเงินปันผล ของ ธ.พ. ขนาดใหญ่ ไม่ได้แตกต่างจากเดิมอย่างมีนัยฯ สำหรับ TISCO แม้ยังถูกข้อจำกัดตามเกณฑ์ที่ 50% ของกำไรสุทธิ แต่เชื่อว่าไม่ แตกต่างจากปีก่อน ด้วยความที่เป็น Holding company จึงสามารถนำเงินปันผลจาก บริษัทลูก (บล., บลจ.) มาช่วยเสริม สะท้อนจากปี 2563 ทาง TISCO จ่ายในอัตรา 83% ของกำไรสุทธิ

คงน้ำหนักเท่าตลาด ทิศทางเศรษฐกิจไทยที่จะมีพัฒนาการที่ดีขึ้นตามลำดับ คาดว่า จะเห็นการผ่อนปรนนโยบายเงินปันผลในรอบปีถัดไป นอกจากนี้การที่ ธปท. เปิดทางให้ซื้อหุ้นคืนได้หากได้รับอนุญาต คาดการณ์สร้าง Sentiment บวกต่อ ธ.พ. ที่มีราคาซื้อขายต่ำกว่ามูลค่าทางบัญชี เพื่อใช้ในการบริหาร ROE เช่น KBANK มี PBV ซื้อขายราว 0.7 เท่า และ BBL ที่ 0.5 เท่า โดย KBANK(FV@B158) ที่เคยมี ประวัติการซื้อหุ้นคืน (1% ของหุ้นทั้งหมด ช่วง ม.ค. 63) ดูน่าสนใจในความเห็น ฝ่ายวิจัย เลือกเป็น Top pick กลุ่มฯ ตามด้วย SCB(FV@B140) ซึ่งทั้ง 2 ธนาคาร มีจุดเด่นจากพัฒนาการด้าน Fin Tech และ BBL(FV@B140) ตามธีม catch-up play KBANK, SCB และ SETBANK

บทความนี้จัดทำและเผยแพร่ครั้งแรกบนเว็บไซต์ ASIA Plus Securities

ความคิดเห็นล่าสุด

การเปิดเผยความเสี่ยง: การซื้อขายตราสารทางการเงินและ/หรือเงินดิจิตอลจะมีความเสี่ยงสูงที่รวมถึงความเสี่ยงต่อการสูญเสียจำนวนเงินลงทุนของคุณบางส่วนหรือทั้งหมดและอาจไม่เหมาะสมกับนักลงทุนทั้งหมด ราคาของเงินดิจิตอลแปรปรวนอย่างมากและอาจได้รับผลกระทบจากปัจจัยภายนอกต่าง ๆ เช่น เหตุการณ์ทางการเงิน กฎหมายกำกับดูแล หรือ เหตุการณ์ทางการเมือง การซื้อขายด้วยมาร์จินทำให้ความเสี่ยงทางการเงินเพิ่มขึ้น
ก่อนการตัดสินใจซื้อขายตราสารทางการเงินหรือเงินดิจิตอล คุณควรตระหนักดีถึงความเสี่ยงและต้นทุนที่เกี่ยวข้องกับการซื้อขายในตลาดการเงิน ควรพิจารณาศึกษาอย่างรอบคอบในด้านวัตถุประสงค์การลงทุน ระดับประสบการณ์ และ การยอมรับความเสี่ยงและแสวงหาคำแนะนำทางวิชาชีพหากจำเป็น
Fusion Media อยากเตือนความจำคุณว่าข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้ไม่ใช่แบบเรียลไทม์หรือเที่ยงตรงแม่นยำเสมอไป ข้อมูลและราคาที่แสดงไว้บนเว็บไซต์ไม่ใช่ข้อมูลที่ได้รับจากตลาดหรือตลาดหลักทรัพย์เสมอไปแต่อาจได้รับจากผู้ดูแลสภาพคล่องและดังนั้นราคาจึงอาจไม่เที่ยงตรงแม่นยำและอาจแตกต่างจากราคาจริงในตลาดซึ่งหมายความว่าราคานี้เป็นเพียงราคาชี้นำและไม่เหมาะสมสำหรับวัตถุประสงค์เพื่อการซื้อขาย Fusion Media และผู้ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้จะไม่รับผิดชอบใด ๆ สำหรับความเสียหายหรือการสูญเสียที่เป็นผลมาจากการซื้อขายของคุณหรือการพึ่งพาของคุณในข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้
ห้ามใช้ จัดเก็บ ทำซ้ำ แสดงผล ดัดแปลง ส่งผ่าน หรือ แจกจ่ายข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้โดยไม่ได้รับการอนุญาตล่วงหน้าอย่างชัดแจ้งแบบเป็นลายลักษณ์อักษรจาก Fusion Media และ/หรือจากผู้ให้ข้อมูล ผู้ให้ข้อมูลขอสงวนสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาและ/หรือการแลกเปลี่ยนข้อมูลที่ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้
Fusion Media อาจได้รับผลตอบแทนจากผู้โฆษณาที่ปรากฎบนเว็บไซต์โดยอิงจากปฏิสัมพันธ์ของคุณที่มีกับโฆษณาหรือผู้โฆษณา
เวอร์ชั่นภาษาอังกฤษของเอกสารฉบับนี้เป็นเวอร์ชั่นหลักซึ่งจะเป็นเวอร์ชั่นที่เหนือกว่าเมื่อใดก็ตามที่มีข้อขัดแย้งไม่สอดคล้องตรงกันระหว่างเอกสารเวอร์ชั่นภาษาอังกฤษกับเอกสารเวอร์ชั่นภาษาไทย