การประชุมสมัชชาประเทศภาคีอนุสัญญาสหประชาชาติ (COP) ของ 26 ชาติสมาชิกจะจัดขึ้นในวันที่ 31 ตุลาคมนี้ที่เมืองกลาสโกว์ สก็อตแลนด์ การประชุมนี้จะว่าด้วยเรื่องการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และการประชุมคณะทำงานเฉพาะกิจภายใต้เงื่อนไขของอนุสัญญาฯ ก่อให้เกิดข้อตกลงต่างๆ อันมีผลบังคับใช้ทั้งแก่ประเทศในกลุ่ม
การประชุมครั้งนี้ถือเป็นสิ่งที่ทุกฝ่ายต่างจับตามอง ไม่ใช่เฉพาะแต่นักวิเคราะห์ทางการเงินเท่านั้น เพราะนี่คือการประชุมที่จะตัดสิน และสร้างผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมให้กับโลกใบนี้ รู้หรือไม่ว่าสัญญาข้อตกลงปารีส (Paris Climate Agreement) ก็เกิดขึ้นมาจากการประชุม COP21 ณ กรุงปารีสในปี 2015 เมื่อพูดถึงสิ่งแวดล้อม แน่นอนว่าจะไม่พูดถึงแหล่งพลังงานสำคัญอย่างน้ำมันก็คงจะไม่ได้ เพราะนโยบายที่จะออกมาจากที่ประชุมนี้ อาจส่งผลกระทบถึงความสามารถในการผลิตน้ำมันของแต่ละชาติสมาชิกในอนาคต
ในบทความนี้ เราจะพาไปดูผลกระทบ 4 ประการที่อาจเกิดขึ้นกับราคาน้ำมันหลังจากที่การประชุม COP26 จบลง
1. ข้อตกลงระหว่างสหประชาชาติ การแถลงร่วม และกลุ่ม NGO
ที่ผ่านมากลุ่ม COP ได้เคยทำข้อตกลงฉบับหนึ่งขึ้นมาที่มีชื่อเรียกว่า “การมีส่วนร่วมในการลดก๊าซเรือนกระจกของชาติสมาชิก” (NDC) ซึ่งเป็นอนุสัญญาอยู่ใต้ข้อตกลงปารีสอีกทีหนึ่ง ถึงจะลงนามกันเช่นนั้น แต่ก็เป็นเพียงการลงนามในทางทฤษฎีเท่านั้น เพราะในทางปฎบัติแล้ว ข้อกฎหมายนี้ไม่เคยใช้งานได้จริง ถึงแม้ว่าชาติสมาชิกจะไม่ดำเนินนโยบายตามข้อกำหนดนี้ U.N. ก็ไม่สามารถดำเนินการใดๆ ได้
ยิ่งไปกว่านั้น ประเทศที่มีอิทธิพลต่อเศรษฐกิจโลกอย่างจีนและอินเดียก็ได้รับสิทธิพิเศษไม่จำเป็นต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขบางอย่างของกลุ่ม พวกเขาให้เหตุผลว่าจะดำเนินการอย่างไร หรือตัดสินใจอย่างไรก็ขึ้นอยู่รัฐบาล ประชาชนของพวกเขาว่าต้องการที่จะปฏิบัติตามข้อตกลงนี้หรือไม่ ในขณะที่บางประเทศจริงจังกับการลดโลกร้อน แต่ถ้าอีกประเทศหนึ่งไม่ได้สนใจ การบังคับใช้ข้อตกลงนี้ก็เป้นสิ่งที่เกินกว่าประเทศสมาชิกใดจะเข้าไปจัดการ
สิ่งที่นักลงทุนต้องจับตาในการประชุมครั้งนี้ที่ประชุมจะมีมติใหม่หรือข้อกำหนดใดออกมาเพิ่มเติมหรือไม่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเปลี่ยนแปลงในอนุสัญญา NDC หากมีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้น และดังพอจนเป็นข่าว ก็อาจจะสร้างผลกระทบกับตคลาดน้ำมันในระยะสั้น แต่ในระยะยาว หากประเทศสมาชิกที่มีอิทธิพลไม่ยอมทำตามมติการประชุมอย่างจริงจัง สุดท้ายเรื่องทุกอย่างก็จะกลับไปเป็นเหมือนเดิม
2. คดีความเกี่ยวกับการดำเนินงานของระบบอุตสาหกรรม
เราจะเห็นพาดหัวข่าวเกี่ยวกับคดีความเกี่ยวกับสภาพอากาศที่กลุ่มนักสิ่งแวดล้อมหรือหน่วยงานของรัฐเสนอขึ้นมาเป็นระยะๆ เพื่อส่งเสริมนโยบายด้านสภาพอากาศที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เป้าหมายสูงสุดของคดีความเหล่านี้คือให้อุตสาหกรรมเปลี่ยนแปลงวิธีการดำเนินธุรกิจของพวกเขา
ณ ปัจจุบัน มีคดีฟ้องร้องประมาณ 24 คดีโดยรัฐและรัฐบาลท้องถิ่นในสหรัฐอเมริกากับบริษัทน้ำมันและก๊าซรายใหญ่ รัฐกล่าวหาว่าการขายเชื้อเพลิงฟอสซิลจากบริษัทเหล่านี้มีส่วนทำให้งสภาพภูมิอากาศแปรปรวน คดีเหล่านี้ต้องใช้เวลาในการดำเนินการผ่านระบบกฎหมาย แม้ว่าจะมีพาดหัวข่าวออกมาให้เห็น แต่การฟ้องร้องโดยปกติก็ไม่ได้เปลี่ยนแปลงวิธีการดำเนินงานของระบบอุตสาหกรรมมากนัก ถึงแม้เราได้เห็นผลกระทบบางประการจากการดำเนินงานของโรงงาน แต่การฟ้องร้องไม่ได้ทำให้อุปทานหรืออุปสงค์ลดลงอย่างมีนัยสำคัญ ดังนั้นจึงสรุปได้ว่าเมื่อใดที่เห็นบริษัทผู้ผลิตน้ำมันหรือก๊าซธรรมชาติโดนฟ้อง ให้เตรียมใจเอาไว้เลยว่าน่าจะเป็นผลกระทบระยะสั้น
3. ปัญหาในระบบกฎหมายของภาครัฐ
รัฐบาลในหลายๆ ประเทศต้องการกำหนดข้อจำกัดและข้อบังคับเกี่ยวกับการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลและการปล่อยคาร์บอน อย่างไรก็ตาม เราเห็นสัญญาณมากขึ้นเรื่อยๆ ว่าประชากรไม่เชื่อสิ่งที่รัฐพยายามจะทำทั้งหมด
ยกตัวอย่างเช่น ในสวิตเซอร์แลนด์ ที่มีการตัดสินใจหลายอย่างเกิดขึ้นจากการลงคะแนนเสียงตามระบอบประชาธิปไตยโดยตรง (ประชากรทั้งหมดมีโอกาสลงคะแนนเสียงในการตัดสินใจ) แต่สุดท้าย สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่เลือกเข้าไปกลับปฏิเสธกฎหมายที่จะควบคุมก๊าซเรือนกระจก การลงคะแนนเสียงของชาวสวิสทำให้สวิตเซอร์แลนด์แทบจะเป็นไปไม่ได้เลยที่จะบรรลุเป้าหมายด้านสภาพอากาศตามที่ผู้นำต้องการผลักดันใน COP26
บ่อยครั้งที่รัฐบาลจะประกาศเกี่ยวกับแผนงานสำหรับปีต่อๆ ไป ซึ่งสามารถดึงดูดความสนใจและทำให้ผู้คนกังวลใจเกี่ยวกับข้อจำกัดในการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลได้ในเวลาเดียวกัน เพราะส่วนมากแผนเหล่านี้มักจะไม่ได้ดำเนินการตามที่เคยวางแผนไว้ เมื่อผู้กำหนดนโยบายประกาศแผนสำหรับปี 2030 หรือ 2050 น้อยมากที่จะมีรัฐบาลไหนสามารถดำรงตำแหน่งได้ถึงกำหนด เมื่อรัฐบาลใหม่เข้ามา การดำเนินงานก็จะไม่สอดคล้องกัน เหมือนกับการต้องวนกลับไปนับหนึ่งใหม่อยู่ทุกครั้ง
ดังนั้นจึงสามารถสรุปได้ว่าการออกกฎหมายจากรัฐบาลนั้นสามารถสร้างผลกระทบได้อย่างมหาศาล แต่ในขณะเดียวกัน หากไม่มีความต่อเนื่อง สุดท้ายทุกอย่างก็จะล่าช้าออกไป
4. ความร่วมมือของบริษัทเอกชน
หรือบางทีวิธีแก้ไขปัญหาภาวะโลกร้อนได้ดีที่สุดอาจจะต้องอาศันคนในให้เป็นผู้ดำเนินงานเอง เรากำลังพูดถุงการมีบอร์ดบริหารภายในองค์กรที่มีวิสัยทัศน์หรือมีอิทธิพลมากพอที่จะผลักดันนโยบายพลังงานสะอาด หรือพลังงานที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมให้สามารถเกิดขึ้นจริงได้ แทนที่จะต้องเผชิญหน้ากับแรงกดดันจากนักสิ่งแวดล้อม สู้หาคนที่มีวิสัยทัศน์รักษ์สิ่งแวดล้อม ที่เป็นที่ยอมรับในหมู่นักกิจกรรม และมีความเข้าใจว่าธุรกิจต้องทำกำไร ให้ดำเนินควบคู่ไปด้วยกันได้
อันที่จริงธุรกิจเหล่านี้ส่วนใหญ่กำลังตัดงบประมาณการสำรวจและการผลิตของตัวเอง ตั้งแต่ปี 2015 บริษัทเหล่านี้ต่างลดค่าใช้จ่ายในส่วนที่กล่าวถึงไปลง เพราะต้องการประหยัดเงินและคืนเงินให้ผู้ถือหุ้นมากขึ้น (ในรูปแบบของเงินปันผล) แต่หากมองอีกทางหนึ่ง (ในมุมของธุรกิจ) วิธีเหล่านี้ช่วยให้หุ้นของบริษัทปรับตัวขึ้น ผู้ถือหุ้นทุกคนต่างก็ได้กำไร ดังนั้น จึงไม่อาจมองข้ามมุมมองของนักสิ่งแวดล้อมที่มีต่ออุตสาหกรรมนี้เพื่อลดการสำรวจและการผลิต แต่ด้วยสถานการณ์โรคระบาด และปัญหาซัพพลายเชนขาดแคลน หากลดจำนวนการขุดเจาะมากเกินไปก็อาจนำมาซึ่งปัญหาน้ำมันและก๊าซธรรมชาติขาดแคลนได้