รับส่วนลด 40%
ใหม่! 💥 รับ ProPicks เพื่อดูกลยุทธ์ที่ให้ผลตอบแทน ชนะดัชนี S&P 500 มากกว่า 1,183% รับส่วนลด 40%

คาดตลาดพร้อมเปิดรับความเสี่ยง ในช่วง Earnings Season

เผยแพร่ 18/10/2564 08:04
อัพเดท 09/07/2566 17:32

 

  • สัปดาห์ที่ผ่านมา ตลาดการเงินเดินหน้าเปิดรับความเสี่ยง หลังผู้เล่นในตลาดเริ่มคลายกังวลปัญหาเงินเฟ้อเร่งตัวขึ้น ขณะเดียวกัน ผลประกอบการบริษัทจดทะเบียนก็เริ่มทยอยออกมาดีกว่าคาด

  • ตลาดจะรอลุ้นผลประกอบการบริษัทจดทะเบียนในไตรมาสที่ 3 พร้อมกับติดตามถ้อยแถลงของบรรดาเจ้าหน้าที่เฟด อาทิ ประธานเฟด ถึงแนวโน้มเศรษฐกิจและโอกาสที่เฟดจะเริ่มลดคิวอีในเดือนพฤศจิกายน

  • ภาวะเปิดรับความเสี่ยงของตลาด อาจกดดันให้เงินดอลลาร์อ่อนค่าลง ทั้งนี้ เงินดอลลาร์อาจไม่อ่อนค่าไปมาก หากบรรดาเจ้าหน้าที่เฟดยังคงหนุนการลดคิวอีในเดือนหน้าและข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐฯ โดยรวมดีกว่าเศรษฐกิจอื่นๆ ส่วนทางด้านเงินบาทก็มีแนวโน้มแข็งค่าขึ้น ตามการอ่อนค่าลงของเงินดอลลาร์ รวมถึงฟันด์โฟลว์จากนักลงทุนต่างชาติ แต่ควรเฝ้าระวังปัจจัยเสี่ยงภายใน อาทิ ปัญหาน้ำท่วม รวมถึง สถานการณ์ COVID ที่ยอดการระบาดยังอยู่ในระดับสูง อนึ่ง เราประเมินว่า แนวรับเงินบาทอยู่ในโซน 33.00-33.10 บาทต่อดอลลาร์ ซึ่งเป็นกรอบที่ผู้นำเข้าต่างรอทยอยเข้าซื้อเงินดอลลาร์

  • มองกรอบเงินบาทสัปดาห์นี้
    33.10-33.60
    บาท/ดอลลาร์

มุมมองเศรษฐกิจทั่วโลก

  • ฝั่งสหรัฐฯ – ถ้อยแถลงของบรรดาเจ้าหน้าเฟดต่อประเด็นการทยอยลดคิวอีในเดือนพฤศจิกายนจะยังคงเป็นที่จับตาของตลาด ซึ่งในสัปดาห์นี้จะมีเจ้าหน้าที่เฟดหลายท่านออกมาให้สัมภาษณ์ รวมถึงประธานเฟด Powell ในวันศุกร์ นอกเหนือจากถ้อยแถลงของบรรดาเจ้าหน้าที่เฟด ตลาดจะให้น้ำหนักรายงานผลประกอบการของบรรดาบริษัทจดทะเบียนในไตรมาส 3 โดยเฉพาะบริษัทเทคฯ ยักษ์ใหญ่ที่อาจส่งผลต่อการปรับตัวของดัชนีตลาดหุ้นสหรัฐฯ ได้ อย่าง Netflix (NASDAQ:NFLX) และ Tesla (NASDAQ:TSLA) ซึ่งเราประเมินว่า ตลาดจะตอบรับผลประกอบการของบริษัทจดทะเบียนในเชิงบวก หนุนให้ตลาดเดินหน้าเปิดรับความเสี่ยงมากขึ้นได้ นอกจากนี้ ตลาดจะติดตามทิศทางการฟื้นตัวเศรษฐกิจในเดือนตุลาคม โดยตลาดประเมินว่า ภาคการบริการมีแนวโน้มฟื้นตัวดีขึ้น สะท้อนผ่าน ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคการบริการ (Markit Services PMI) เดือนตุลาคม ที่จะเพิ่มขึ้นสู่ระดับ 55.2 จุด (ดัชนีเกิน 50 จุด หมายถึงภาวะขยายตัว)

  • ฝั่งยุโรป – ตลาดจะติดตามทิศทางของเงินเฟ้อในฝั่งยุโรป ท่ามกลางปัญหาด้าน Supply Chain ที่หนุนราคาต้นทุนสินค้า รวมถึง ราคาสินค้าพลังงานที่ปรับตัวขึ้นต่อเนื่อง โดยในฝั่งอังกฤษ ตลาดมองว่า อัตราเงินเฟ้อทั่วไป (CPI) เดือนกันยายน จะอยู่ในระดับสูงที่ 3.2% ซึ่งอัตราเงินเฟ้อที่อยู่ในระดับสูงนานกว่าคาด อาจกดดันให้ธนาคารกลางอังกฤษ (BOE) ทยอยใช้นโยบายการเงินที่เข้มงวดมากขึ้นได้ เช่นเดียวกับในฝั่งยูโรโซน อัตราเงินเฟ้อทั่วไปจะยังอยู่ที่ระดับ 3.4% ซึ่งอาจหนุนการทยอยลดคิวอีของธนาคารกลางยุโรป (ECB) ในปีนี้เช่นกัน นอกจากนี้ ตลาดจะติดตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจยุโรป หลังข้อมูลเศรษฐกิจในช่วงที่ผ่านมาต่างสะท้อนภาพโมเมนตัมการฟื้นตัวที่ชะลอลง โดยเฉพาะในภาคการผลิตที่เผชิญปัญหา Supply chain disruption โดย PMI ภาคการผลิตของทั้งยูโรโซนและอังกฤษ ในเดือนตุลาคม จะชะลอลงสู่ระดับ 57 จุด และ 56 จุด ตามลำดับ ส่วน ภาคการบริการก็มีแนวโน้มชะลอตัวลงเช่นกัน จากปัญหาเงินเฟ้อที่เร่งตัวสูงขึ้น กดดันให้ผู้บริโภคอาจชะลอการใช้จ่ายลงบ้าง โดย PMI ภาคการบริการของยูโรโซนและอังกฤษ จะลดลงสู่ระดับ 55.5 จุด และ 54.5 จุด ตามลำดับ

  • ฝั่งเอเชีย – ไฮไลท์สำคัญจะอยู่ที่ภาพการฟื้นตัวของเศรษฐกิจจีน โดยตลาดมองว่าเศรษฐกิจจีนจะชะลอตัวหนักในไตรมาสที่ 3 โดยจะขยายตัวได้ราว +5.0%y/y จากที่โตถึงเกือบ 8% ในไตรมาสก่อน จากปัญหาการระบาดรวมถึงปัญหาน้ำท่วม ขณะเดียวกัน ภาคธุรกิจของจีนก็เผชิญแรงกดดันจากการเข้ามาคุมเข้มภาคธุรกิจของรัฐบาล โดยเฉพาะในฝั่งภาคการผลิตที่เผชิญภาวะขาดแคลนพลังงาน จนบางอุตสาหกรรมถูกจำกัดกำลังการผลิต นอกจากนี้ ภาพการชะลอตัวของเศรษฐกิจจีนจะถูกสะท้อนผ่าน ยอดผลผลิตอุตสาหกรรม (Industrial Production) ในเดือนกันยายนที่จะโตเพียง 3.8%y/y ชะลอลงจากที่โตได้ +5.3% ในเดือนก่อน เช่นเดียวกับ ยอดการลงทุนสินทรัพย์ภาวร (Fixed Assets Investment) ที่นับตั้งแต่ต้นปีจะโตชะลอลงเหลือ +7.8%y/y ทั้งนี้ ยอดค้าปลีก (Retail Sales) จะฟื้นตัวดีขึ้นและขยายตัวกว่า +3.5%y/y ตามการผ่อนคลายมาตรการ Lockdown อนึ่ง การชะลอตัวหนักของเศรษฐกิจจีนชี้ว่าทางการจีนอาจใช้นโยบายการเงินที่ผ่อนคลายมากขึ้นและใช้การกระตุ้นเศรษฐกิจการคลังเพื่อช่วยพยุงการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ โดยธนาคารกลางจีน (PBOC) จะคงอัตราดอกเบี้ยอ้างอิง (LPR) ที่ระดับ 3.85% และ 4.65% สำหรับ LPR อายุ 1 ปี และ 5 ปี ตามลำดับ ส่วนในฝั่งญี่ปุ่น ตลาดประเมินว่า เศรษฐกิจญี่ปุ่นจะเริ่มฟื้นตัวดีขึ้น โดยเฉพาะภาคการบริการ สะท้อนผ่าน Services PMI เดือนตุลาคม ที่จะปรับตัวขึ้นสู่ระดับ 51 จุด หลังสถานการณ์การระบาดในญี่ปุ่นดีขึ้นต่อเนื่อง

  • ฝั่งไทย – ตลาดประเมินว่า ดุลการค้าในเดือนกันยายนมีแนวโน้มขาดดุลต่อเนื่องราว 1 พันล้านดอลลาร์ เนื่องจากยอดการนำเข้า (Imports) ยังคงอยู่ในระดับสูงและโตได้กว่า +35%y/y หนุนโดยราคาสินค้าต้นทุนที่เพิ่มสูงขึ้นจากปัญหา Supply chain disruption รวมถึงราคาสินค้าพลังงานที่ปรับตัวขึ้นต่อเนื่องในเดือนกันยายน ขณะที่ ยอดการส่งออก (Exports) จะเริ่มกลับมาฟื้นตัวและขยายตัวราว +13%y/y ตามการฟื้นตัวทั่วโลกหลังสถานการณ์ COVID-19 เริ่มสงบลงและหลายประเทศก็เริ่มทยอยผ่อนคลายมาตรการ Lockdown

Week ahead carlendar

ความคิดเห็นล่าสุด

ขอบคุณครับสำหรับภาพกว้างกว้าทำให้ผมวางแผนการเทรดได้ดีครับ
การเปิดเผยความเสี่ยง: การซื้อขายตราสารทางการเงินและ/หรือเงินดิจิตอลจะมีความเสี่ยงสูงที่รวมถึงความเสี่ยงต่อการสูญเสียจำนวนเงินลงทุนของคุณบางส่วนหรือทั้งหมดและอาจไม่เหมาะสมกับนักลงทุนทั้งหมด ราคาของเงินดิจิตอลแปรปรวนอย่างมากและอาจได้รับผลกระทบจากปัจจัยภายนอกต่าง ๆ เช่น เหตุการณ์ทางการเงิน กฎหมายกำกับดูแล หรือ เหตุการณ์ทางการเมือง การซื้อขายด้วยมาร์จินทำให้ความเสี่ยงทางการเงินเพิ่มขึ้น
ก่อนการตัดสินใจซื้อขายตราสารทางการเงินหรือเงินดิจิตอล คุณควรตระหนักดีถึงความเสี่ยงและต้นทุนที่เกี่ยวข้องกับการซื้อขายในตลาดการเงิน ควรพิจารณาศึกษาอย่างรอบคอบในด้านวัตถุประสงค์การลงทุน ระดับประสบการณ์ และ การยอมรับความเสี่ยงและแสวงหาคำแนะนำทางวิชาชีพหากจำเป็น
Fusion Media อยากเตือนความจำคุณว่าข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้ไม่ใช่แบบเรียลไทม์หรือเที่ยงตรงแม่นยำเสมอไป ข้อมูลและราคาที่แสดงไว้บนเว็บไซต์ไม่ใช่ข้อมูลที่ได้รับจากตลาดหรือตลาดหลักทรัพย์เสมอไปแต่อาจได้รับจากผู้ดูแลสภาพคล่องและดังนั้นราคาจึงอาจไม่เที่ยงตรงแม่นยำและอาจแตกต่างจากราคาจริงในตลาดซึ่งหมายความว่าราคานี้เป็นเพียงราคาชี้นำและไม่เหมาะสมสำหรับวัตถุประสงค์เพื่อการซื้อขาย Fusion Media และผู้ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้จะไม่รับผิดชอบใด ๆ สำหรับความเสียหายหรือการสูญเสียที่เป็นผลมาจากการซื้อขายของคุณหรือการพึ่งพาของคุณในข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้
ห้ามใช้ จัดเก็บ ทำซ้ำ แสดงผล ดัดแปลง ส่งผ่าน หรือ แจกจ่ายข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้โดยไม่ได้รับการอนุญาตล่วงหน้าอย่างชัดแจ้งแบบเป็นลายลักษณ์อักษรจาก Fusion Media และ/หรือจากผู้ให้ข้อมูล ผู้ให้ข้อมูลขอสงวนสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาและ/หรือการแลกเปลี่ยนข้อมูลที่ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้
Fusion Media อาจได้รับผลตอบแทนจากผู้โฆษณาที่ปรากฎบนเว็บไซต์โดยอิงจากปฏิสัมพันธ์ของคุณที่มีกับโฆษณาหรือผู้โฆษณา
เวอร์ชั่นภาษาอังกฤษของเอกสารฉบับนี้เป็นเวอร์ชั่นหลักซึ่งจะเป็นเวอร์ชั่นที่เหนือกว่าเมื่อใดก็ตามที่มีข้อขัดแย้งไม่สอดคล้องตรงกันระหว่างเอกสารเวอร์ชั่นภาษาอังกฤษกับเอกสารเวอร์ชั่นภาษาไทย