ผลการประชุมแบบออนไลน์ของกลุ่มประเทศผู้ส่งออกน้ำมันและชาติพันธมิตร (OPEC+) เมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมาได้ข้อสรุปว่าจะไม่มีการปรับเปลี่ยนแผนการผลิตน้ำมันทั้งเพิ่มขึ้นหรือลดลงไปจนถึงเดือนพฤศจิกายน ผลการประขุมแบบนี้เกิดขึ้นทั้งๆ ที่ราคาน้ำมันและก๊าซธรรมชาติเดินหน้าทำระดับราคาสูงสุดใหม่ทั้งในตลาดยุโรปและเอเชีย
การที่ตลาดลงทุนต้องมานั่งกังวลเกี่ยวกับซัพพลายก๊าซธรรมชาติมีโอกาสขาดแคลน ส่งผลให้ความต้องการน้ำมันยิ่งมีเพิ่มขึ้น เพราะการจะสร้างความร้อนได้นั้นถ้าไม่มาจากพลังงานน้ำมันก็ต้องทำขึ้นมาจากก๊าซธรรมชาติเหลว
ก่อนหน้าที่จะมีการประชุม OPEC+ สำนักข่าวรอยเตอร์รายงานว่ากลุ่มโอเปกอาจตัดสินใจเพิ่มกำลังการผลิตเพิ่มขึ้นเป็นสองเท่าในเดือนพฤศจิกายน ถึงแม้ว่าตอนนี้กลุ่มโอเปกจะมีมติคงการผลิตเอาไว้ที่ 400,000 บาร์ต่อวัน ซึ่งเป็นโควตาที่ได้เท่ากันสำหรับทุกๆ ประเทศ แต่ก็มีบางชาติสมาชิกที่ต้องการเพิ่มกำลังการผลิตขึ้นเป็น 800,000 บาร์เรลต่อวันในเดือนหน้า และหวังว่าจะเพิ่มขึ้นมากกว่านั้นอีกในเดือนธันวาคม
แต่ก็อย่างที่ทราบกันไปแล้วว่าผลสรุปก็คือคงกำลังการผลิตเอาไว้ที่ 400,000 บาร์เรลต่อวันเท่าเดิม ในมุมมองของนักลงวิเคราะห์ พวกเขาค่อนข้างแปลกใจที่กลุ่มโอเปกพลัสตัดสินใจไม่เพิ่มกำลังการผลิต แต่กลับแสดงความเป็นกังวลว่าจะมีพลังงานใช้ไม่พอในช่วงที่หน้าหนาวจะมาถึง (ถ้ากังวลก็เพิ่มกำลังการผลิต..ก็จบ)
อ้างอิงข้อมูลจากผลการประชุุมของคณะกรรมการร่วมระดับรัฐมนตรีเพื่อติดตามการดำเนินการ (JMMC) ของกลุ่มโอเปกพลัส พวกเขารายงานข้อมูลว่าระดับน้ำมันคงคลังของโลกจะเพิ่มขึ้นในช่วงไตรมาสที่ 1 ปี 2022 แต่สมาชิกบางคนก็ยังเป็นกังวลเกี่ยวกับการระบาดของโควิดว่าอาจจะกลับมารุนแรงอีกครั้งในช่วงฤดูหนาวนี้ ด้วยราคาพลังงานที่ยังคงปรับตัวสูงขึ้นในปัจจุบัน การประชุมครั้งถัดไปในวันที่ 4 พฤศจิกายนของกลุ่ม OPEC+ จึงน่าจับตาเป็นอย่างยิ่ง
3 สิ่งที่ตลาดลงทุนได้จากการประชุม OPEC+ เมื่อวันจันทร์
อย่างแรก กลุ่มโอเปกพลัสไม่ได้กังวลเรื่องความสามารถในการผลิตน้ำมัน ที่จริงพวกเขาเตรียมที่จะเพิ่มกำลังการผลิตเรียบร้อยแล้ว แต่การปล่อยไปเช่นนี้ ทำให้ราคาน้ำมันมีโอกาสขึ้นได้อย่างเต็มที่โดยไม่มีอุปสรรคมาขวางกั้น
อย่างที่สอง ถึงแม้ว่าประเทศสมาชิกจะได้ประโยชน์จากราคาน้ำมันที่แพงขึ้น แต่ในขณะเดียวกัน พวกเขาก็กลัวที่จะต้องเสียกำไรในส่วนนั้นไป ซาอุดิอาระเบียและรัสเซียกลัวว่าเหตุการณ์อย่างเช่นในปี 2018 จะซ้ำรอย ในเดือนตุลาคมตอนนั้นราคาน้ำมันดิบเบรนท์ร่วงลงจาก $85 ต่อบาร์เรล ลงไปยัง $50 ต่อบาร์เรลในเดือนธันวาคม ซึ่งเหตุการณ์นี้เกิดขึ้นทันทีหลังจากกลุ่มโอเปกพยายามรักษาเสถียรภาพด้วยการประกาศเพิ่มกำลังการผลิต
อย่างที่สาม กลุ่มโอเปกมีอำนาจเปลี่ยนการตัดสินใจได้ในทุกๆ เดือนที่มีการประชุม ดังนั้นขาขึ้นในเดือนตุลาคมนี้เป็นเพียงปัจจัยชั่วคราวเท่านั้น
คาดหวังอะไรได้บ้างในการประชุม OPEC+ รอบต่อไป?
เราจะคาดหวังอะไรได้นั้นขึ้นอยู่กับว่าระดับอุปสงค์อุปทานในระหว่างเดือนนี้จะเป็นเช่นไร หากราคาน้ำมันยังคงปรับตัวขึ้นต่อเนื่อง เชื่อได้ว่าจะได้เห็นการปรับเพิ่มกำลังการผลิตเพื่อรักษาสมดุลของตลาดเอาไว้ กลุ่มโอเปกพลัสคงไม่สบายใจเท่าไหร่ที่เห็นราคาน้ำมันยึดการยืนเหนือแนวต้าน $80 ต่อบาร์เรลเป็นฐานที่มั่นใหม่ อย่างไรก็ตาม จะมีประเทศสมาชิกบางประเทศที่รีบกอบโกยผลประโยชน์จากราคาน้ำมันที่แพงขึ้น และรีบขายเพื่อทำกำไรให้ได้มากที่สุด
หากมีสัญญาณหรือกลุ่มโอเปกพลัสตัดสินใจเพิ่มกำลังการผลิต เราอาจจะได้เห็นดราม่าเกิดขึ้นภายในกลุ่มอีกครั้ง จะต้องมีบางประเทศไม่ยอมเสียกำไรที่กำลังกอบโกยในตอนนี้อยู่อย่างแน่นอน ในขณะเดียวกัน นักลงทุนก็ต้องจับตาดูความเคลื่อนไหวในตลาดน้ำมันของสหรัฐอเมริกาด้วย การเพิ่มจำนวนแท่นขุดเจาะหรือเปิดให้มีการขุดน้ำมันจากหินน้ำมันเพิ่มขึ้น แปลว่าสหรัฐฯ อาจจะอยากสู้ศึกแย่งส่วนแบ่งตลาดกำลังการผลิตกับกลุ่มโอเปกอีกครั้ง
หากราคาน้ำมันปรับตัวลดลงเองตามธรรมชาติในเดือนหน้า เราคาดว่ากลุ่มโอเปกจะคงกำลังการผลิตน้ำมันเอาไว้ที่ 400,000 บาร์เรลต่อวันดังเดิม