รับส่วนลด 40%
ใหม่! 💥 รับ ProPicks เพื่อดูกลยุทธ์ที่ให้ผลตอบแทน ชนะดัชนี S&P 500 มากกว่า 1,183% รับส่วนลด 40%

ECB จะส่งสัญญาณเตรียมทยอยคิวอีตามเฟดหรือไม่?

เผยแพร่ 06/09/2564 08:44
อัพเดท 09/07/2566 17:32

 

  • สัปดาห์ที่ผ่านมา ตลาดแรงงานสหรัฐฯ ฟื้นตัวได้แย่กว่าที่ตลาดคาดการณ์ไว้ จากปัจจัยการระบาดระลอกใหม่ รวมถึง มาตรการพิเศษช่วยเหลือผู้ตกงาน

  • ไฮไลท์สัปดาห์นี้ จะอยู่ที่การประชุมธนาคารกลางยุโรป (ECB) ซึ่งตลาดจะรอลุ้นการส่งสัญญาณปรับลดคิวอีรวมถึง ถ้อยแถลงของบรรดาเจ้าหน้าที่เฟด โดยเฉพาะในประเด็นการปรับลดคิวอี เช่นกัน

  • ถ้อยแถลงสนับสนุนการลดคิวอีในปีนี้ของบรรดาเจ้าหน้าที่เฟดอาจช่วยหนุนเงินดอลลาร์ได้ แม้ว่าเงินดอลลาร์จะอ่อนค่าลงหลังการจ้างงานสหรัฐฯ แย่กว่าคาด อย่างไรก็ดี ควรจับตาความผันผวนที่อาจเกิดขึ้นจากทิศทางของมาตรการคิวอีโดย ECB เพราะหาก ECB เริ่มส่งสัญญาณพร้อมลดคิวอี ก็อาจหนุนให้เงินยูโรแข็งค่าขึ้น กดดันเงินดอลลาร์ได้ ส่วนในฝั่งเงินบาท เราคาดว่าในระยะสั้น เงินบาทอาจแกว่งตัวในกรอบ เนื่องจากบรรดาผู้เล่นต่างรอปัจจัยใหม่ๆ โดยเฉพาะแนวโน้มสถานการณ์การระบาดว่าจะดีขึ้น หรือ แย่ลง หลังการผ่อนคลาย Lockdown ซึ่งเชื่อว่านักลงทุนต่างชาติต่างรอดูทิศทางการระบาดก่อนที่จะปรับสถานะถือครองต่อไป

  • มองกรอบเงินบาทสัปดาห์นี้
    32.25-32.75
    บาท/ดอลลาร์

มุมมองเศรษฐกิจทั่วโลก

  • ฝั่งสหรัฐฯ – แม้ว่ายอดการจ้างงานนอกภาคเกษตรกรรม (Nonfarm Payrolls) เดือนสิงหาคม จะเพิ่มขึ้นเพียงราว 2.4 แสนตำแหน่ง น้อยกว่าที่ตลาดคาดหวังไว้ที่ 7.5 แสนตำแหน่ง ทว่า โดยรวมอัตราว่างงาน (Unemployment Rate) ปรับลดลงเหลือ 5.2% นอกจากนี้ ค่าจ้าง (Average Hourly Earning) ก็ปรับตัวขึ้นต่อเนื่องกว่า +4.3%y/y สะท้อนว่า ตลาดแรงงานโดยรวมยังเดินหน้าฟื้นตัวและยังมีความต้องการแรงอยู่ในระดับสูง จนบรรดานายจ้างกล้าที่จะให้ค่าจ้างที่สูงขึ้นเพื่อจูงใจ ซึ่งตลาดมองว่าแนวโน้มการฟื้นตัวของตลาดแรงงานที่ชะลอตัวในระยะสั้น จากปัญหาการระบาดของ COVID-19 จะไม่ได้ส่งผลให้เฟดเปลี่ยนใจที่จะลดคิวอีในปีนี้ อนึ่ง ในสัปดาห์นี้ ควรติดตามถ้อยแถลงของบรรดาเจ้าหน้าเฟด (วันพฤหัสฯ Williams, Daly และ Evans ส่วนวันศุกร์ Bowman และ Mester) เพื่อวิเคราะห์มุมมองต่อการฟื้นตัวเศรษฐกิจของเฟด รวมถึงแนวโน้มการใช้นโยบายการเงินที่เข้มงวดมากขึ้น อาทิ การลดคิวอี ว่าเฟดยังคงมุมมองลดคิวอีในปีนี้ หรือไม่ หลังยอดการจ้างงานนอกภาคเกษตรกรรมล่าสุดแย่กว่าคาด

  • ฝั่งยุโรป – บรรดานักวิเคราะห์รวมถึงนักลงทุนสถาบันอาจจะยังคงกังวลแนวโน้มการฟื้นตัวเศรษฐกิจของเศรษฐกิจเยอรมนี จากผลกระทบของการระบาดระลอกใหม่ ทำให้ดัชนีความเชื่อมั่นทางเศรษฐกิจเยอรมนี (ZEW Survey) เดือนกันยายน อาจปรับลดลงเหลือ 30.5 จุด จากราว 40 จุด ในเดือนก่อนหน้า ทั้งนี้ ไฮไลท์ของข้อมูลเศรษฐกิจยุโรปจะอยู่ที่การประชุมธนาคารกลางยุโรป (ECB) เนื่องจากบรรดาผู้เล่นในตลาดจะจับตาการส่งสัญญาณทยอยปรับลดคิวอีของ ECB หลังเศรษฐกิจก็ฟื้นตัวดีขึ้นต่อเนื่อง ส่วนราคาสินทรัพย์เสี่ยงยุโรปต่างปรับตัวสูงขึ้น (หุ้นยุโรปปรับตัวขึ้นกว่า 21% ในปีนี้) อีกทั้งอัตราเงินเฟ้อโดยรวมก็เร่งตัวขึ้นและอยู่ในระดับสูง ทำให้นโยบายการเงินที่ผ่อนคลายอย่างมากนั้น อาจมีความจำเป็นลดลง อย่างไรก็ดี หาก ECB ย้ำจุดยืนเดินหน้าทำคิวอีผ่านโครงการ PEPP ไม่น้อยกว่า 85 พันล้านยูโร ต่อเดือน ผู้เล่นในตลาดอาจตีความว่า ECB ยังคงช่วยสนับสนุนสภาพคล่องต่อ ซึ่งจะช่วยให้สินทรัพย์เสี่ยงยุโรปสามารถปรับตัวขึ้นต่อได้

  • ฝั่งเอเชีย – ตลาดประเมินว่า ปัญหาการระบาดของ COVID-19 ในโซนเอเชียจะทำให้ธนาคารกลางส่วนใหญ่คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ระดับต่ำ อาทิ ธนาคารกลางออสเตรเลีย (RBA) ก็จะคงอัตราดอกเบี้ย (Cash Rate) ที่ระดับ 0.10% พร้อมกับคงเป้าหมายบอนด์ยีลด์ 3 ปี ที่ 0.10% เช่นกัน ส่วนธนาคารกลางมาเลเซีย (BNM) ก็จะคงอัตราดอกเบี้ยนโยบาย (Overnight Rate) ที่ระดับ 1.75% เพื่อช่วยพยุงการฟื้นตัวเศรษฐกิจ ส่วนทางด้านข้อมูลเศรษฐกิจ ตลาดคาดว่า การฟื้นตัวของเศรษฐกิจจีนที่ชะลอลงต่อเนื่อง รวมถึงปัญหาการระบาดระลอกใหม่ทั่วโลกจะกดดันให้ภาคการค้าของจีนขยายตัวในอัตราชะลอลง โดยยอดการส่งออก (Exports) เดือนสิงหาคม อาจโตเพียง +17%y/y ส่วนยอดการนำเข้า (Imports) ก็จะขยายตัวราว +27%y/y

  • ฝั่งไทย – ผู้เล่นในตลาดจะติดตามแนวโน้มการระบาดของ COVID-19 หลังจากผ่อนคลายมาตรการ Lockdown อย่างใกล้ชิด ซึ่งเรามองว่า การผ่อนคลาย Lockdown ที่ดูจะรีบเร่งเกินไป อาจทำให้เกิดการระบาดระลอกใหม่อีกครั้งในอีก 3-4 สัปดาห์ข้างหน้า ทั้งนี้ การเร่งแจกจ่ายวัคซีน พร้อมกับการระดมตรวจหาเชื้อเชิงรุก คือ ปัจจัยสำคัญที่จะช่วยกอบกู้สถานการณ์การระบาดให้ดีขึ้นได้ ทั้งนี้ การส่งสัญญาณผ่อนคลาย Lockdown อาจทำให้ผู้บริโภคเริ่มมีความเชื่อมั่นการฟื้นตัวเศรษฐกิจมากขึ้น โดยดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค (Consumer Confidence) อาจพลิกกลับมาปรับตัวขึ้นได้เล็กน้อยสู่ระดับ 41 จุด อย่างไรก็ดี ผลกระทบของการระบาดที่รุนแรงในเดือนสิงหาคม จนกดดันให้การใช้จ่ายของประชาชนซบเซาหนัก จะส่งผลให้อัตราเงินเฟ้อทั่วไป (CPI) ชะลอลงสู่ระดับ 0.40% โดยอัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน (Core CPI) ก็จะลดลงเหลือ 0.17% ทั้งนี้ อัตราเงินเฟ้อทั่วไป อาจเริ่มปรับตัวขึ้นต่อเนื่องได้ หากการใช้จ่ายของผู้คนฟื้นตัวได้ดี โดยปราศจากการระบาดระลอกใหม่ๆ

Week ahead carlendar

ความคิดเห็นล่าสุด

การเปิดเผยความเสี่ยง: การซื้อขายตราสารทางการเงินและ/หรือเงินดิจิตอลจะมีความเสี่ยงสูงที่รวมถึงความเสี่ยงต่อการสูญเสียจำนวนเงินลงทุนของคุณบางส่วนหรือทั้งหมดและอาจไม่เหมาะสมกับนักลงทุนทั้งหมด ราคาของเงินดิจิตอลแปรปรวนอย่างมากและอาจได้รับผลกระทบจากปัจจัยภายนอกต่าง ๆ เช่น เหตุการณ์ทางการเงิน กฎหมายกำกับดูแล หรือ เหตุการณ์ทางการเมือง การซื้อขายด้วยมาร์จินทำให้ความเสี่ยงทางการเงินเพิ่มขึ้น
ก่อนการตัดสินใจซื้อขายตราสารทางการเงินหรือเงินดิจิตอล คุณควรตระหนักดีถึงความเสี่ยงและต้นทุนที่เกี่ยวข้องกับการซื้อขายในตลาดการเงิน ควรพิจารณาศึกษาอย่างรอบคอบในด้านวัตถุประสงค์การลงทุน ระดับประสบการณ์ และ การยอมรับความเสี่ยงและแสวงหาคำแนะนำทางวิชาชีพหากจำเป็น
Fusion Media อยากเตือนความจำคุณว่าข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้ไม่ใช่แบบเรียลไทม์หรือเที่ยงตรงแม่นยำเสมอไป ข้อมูลและราคาที่แสดงไว้บนเว็บไซต์ไม่ใช่ข้อมูลที่ได้รับจากตลาดหรือตลาดหลักทรัพย์เสมอไปแต่อาจได้รับจากผู้ดูแลสภาพคล่องและดังนั้นราคาจึงอาจไม่เที่ยงตรงแม่นยำและอาจแตกต่างจากราคาจริงในตลาดซึ่งหมายความว่าราคานี้เป็นเพียงราคาชี้นำและไม่เหมาะสมสำหรับวัตถุประสงค์เพื่อการซื้อขาย Fusion Media และผู้ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้จะไม่รับผิดชอบใด ๆ สำหรับความเสียหายหรือการสูญเสียที่เป็นผลมาจากการซื้อขายของคุณหรือการพึ่งพาของคุณในข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้
ห้ามใช้ จัดเก็บ ทำซ้ำ แสดงผล ดัดแปลง ส่งผ่าน หรือ แจกจ่ายข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้โดยไม่ได้รับการอนุญาตล่วงหน้าอย่างชัดแจ้งแบบเป็นลายลักษณ์อักษรจาก Fusion Media และ/หรือจากผู้ให้ข้อมูล ผู้ให้ข้อมูลขอสงวนสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาและ/หรือการแลกเปลี่ยนข้อมูลที่ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้
Fusion Media อาจได้รับผลตอบแทนจากผู้โฆษณาที่ปรากฎบนเว็บไซต์โดยอิงจากปฏิสัมพันธ์ของคุณที่มีกับโฆษณาหรือผู้โฆษณา
เวอร์ชั่นภาษาอังกฤษของเอกสารฉบับนี้เป็นเวอร์ชั่นหลักซึ่งจะเป็นเวอร์ชั่นที่เหนือกว่าเมื่อใดก็ตามที่มีข้อขัดแย้งไม่สอดคล้องตรงกันระหว่างเอกสารเวอร์ชั่นภาษาอังกฤษกับเอกสารเวอร์ชั่นภาษาไทย