🟢 ตอนนี้ตลาดกำลังทะยานขึ้น สมาชิกผู้ใช้บริการของเรากว่า 120K คน ต่างรู้ดีว่าควรทำอย่างไร คุณก็สามารถรู้ได้เช่นกันรับส่วนลด 40%

จับตาแนวโน้มตลาดแรงงานสหรัฐฯ ผ่าน Nonfarm Payrolls

เผยแพร่ 30/08/2564 08:25
USD/THB
-

 

  • สัปดาห์ที่ผ่านมา ตลาดเปิดรับความเสี่ยงมากขึ้น หลังประธานเฟดกลับไม่ได้ให้รายละเอียดการลดคิวอีมากเท่าที่ตลาดคาดหวังในงานประชุม Jackson Hole

  • จับตาแนวโน้มการฟื้นตัวของตลาดแรงงานสหรัฐฯ ผ่านการรายงานยอดการจ้างงานนอกภาคเกษตรกรรม (Nonfarm Payrolls)

  • ภาวะเปิดรับความเสี่ยงของตลาด อาจกดดันให้เงินดอลลาร์อ่อนค่าลงต่อได้บ้าง โดยเรามองว่า ดัชนีเงินดอลลาร์ (DXY) อาจย่อตัวลงและเริ่มแกว่งตัว Sideways ได้ ทั้งนี้ หากยอดจ้างงานเพิ่มขึ้นมากกว่าคาด เช่น 8-9 แสนราย จะย้ำภาพเฟดเตรียมลดคิวอี ซึ่งจะช่วยพยุงโมเมนตัมเงินดอลลาร์ได้บ้าง ส่วนในฝั่งเงินบาท เราคาดว่าความหวังการฟื้นตัวเศรษฐกิจจากการทยอยผ่อนคลาย Lockdown จะหนุนให้เงินบาทแข็งค่าขึ้น ตามแรงซื้อสินทรัพย์จากนักลงทุนต่างชาติ ทั้งนี้ การแข็งค่าอย่างรวดเร็วของเงินบาท อาจทำให้ธนาคารแห่งประเทศไทยเข้ามาช่วยดูแลความผันผวนของค่าเงินซึ่งอาจพอช่วยให้เงินบาทแกว่งตัว Sideways ใกล้โซน 32.30-32.40 บาทต่อดอลลาร์ได้ ซึ่งเป็นโซนแนวรับหลัก

  • มองกรอบเงินบาทสัปดาห์นี้
    32.30-32.80
    บาท/ดอลลาร์

มุมมองเศรษฐกิจทั่วโลก

  • ฝั่งสหรัฐฯ – แนวโน้มการฟื้นตัวของตลาดแรงงานจะเป็นข้อมูลเศรษฐกิจที่ตลาดจะติดตามใกล้ชิด หลังประธานเฟดได้ส่งสัญญาณว่า เฟดอาจทยอยลดคิวอีได้ในปีนี้ หากเศรษฐกิจฟื้นตัวได้ตามเป้าหมายของเฟด ซึ่งหนึ่งในเป้าหมายสำคัญคือการจ้างงาน โดยตลาดมองว่า ยอดการจ้างงานนอกภาคเกษตรกรรม (Nonfarm Payrolls) เดือนสิงหาคมจะเพิ่มขึ้น 7.5 แสนราย ทำให้อัตราการว่างงานลดลงเหลือ 5.2% ซึ่งหากตลาดแรงงานสหรัฐฯ ฟื้นตัวดีขึ้นต่อเนื่องและภาพรวมเศรษฐกิจไม่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของ Delta มากนัก เรามองว่า เฟดอาจส่งสัญญาณการลดคิวอีที่ชัดเจนได้ในการประชุมเดือนกันยายน จากนั้นเฟดอาจประกาศลดคิวอีได้ในการประชุมเดือนพฤศจิกายนและเริ่มลดคิวอีในเดือนธันวาคม อนึ่งปัญหาการระบาดระลอกใหม่ยังคงเป็นปัจจัยที่ต้องติดตามว่าจะกดดันเศรษฐกิจอย่างไร ทั้งนี้ ตลาดประเมินว่าผลกระทบจากการระบาดระลอกใหม่อาจกดดันให้ทั้งภาคการผลิตและการบริการขยายตัวในอัตราชะลอลง ดังจะเห็นได้จากดัชนี PMI ภาคการผลิตและการบริการ โดยสถาบัน ISM ในเดือนสิงหาคม ที่จะปรับตัวลดลงสู่ระดับ 59 จุด และ 62 จุด ตามลำดับ (ดัชนีเกิน 50 จุด หมายถึง ขยายตัว) ขณะเดียวกัน ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคโดย Conference Board (Consumer Confidence) เดือนสิงหาคมก็มีแนวโน้มลดลงเหลือ 123 จุด ซึ่งตลาดมองว่า การบริโภคในสหรัฐฯ อาจชะลอตัวลงในระยะสั้น จากความกังวลปัญหาการระบาดระลอกใหม่

  • ฝั่งยุโรป – ตลาดประเมินว่า การฟื้นตัวเศรษฐกิจยุโรปอย่างต่อเนื่องหลังการทยอยผ่อนคลายมาตรการ Lockdown นั้น จะช่วยหนุนให้การจ้างงานฟื้นตัวดีขึ้น สะท้อนผ่านอัตราการว่างงาน (Unemployment Rate) เดือนกรกฎาคม ที่จะลดลงสู่ระดับ 7.6% (ช่วงก่อน COVID-19 อยู่ที่ 7.4%)

  • ฝั่งเอเชีย – ตลาดมองว่า การฟื้นตัวของเศรษฐกิจเกาหลีใต้จะถูกหนุนด้วยการขยายตัวอย่างแข็งแกร่งของภาคการส่งออก จากความต้องการสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ทั่วโลก โดยยอดการส่งออกในเดือนสิงหาคมอาจโตถึง +34%y/y ทั้งนี้ การฟื้นตัวของเศรษฐกิจเกาหลีใต้จะช่วยเพิ่มโอกาสธนาคารกลางเกาหลีใต้ (BOK) ทยอยเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบายในอนาคต อย่างไรก็ดี ในฝั่งจีน ทั้งภาคการผลิตอุตสาหกรรมและภาคการบริการมีแนวโน้มขยายตัวในอัตราชะลอลงต่อเนื่อง หลังจีนเผชิญทั้งปัญหาการระบาดของ COVID-19 ที่กดดันให้รัฐบาลจีนใช้มาตรการ Lockdown ที่เข้มงวด รวมถึงปัญหาน้ำท่วมใหญ่ สะท้อนผ่านดัชนี PMI ภาคการผลิตในเดือนสิงหาคมที่ลดลงสู่ระดับ 50.1 จุด ส่วนดัชนี PMI ภาคการบริการก็จะปรับตัวลงสู่ระดับ 52 จุด (ดัชนีสูงกว่า 50 หมายถึง ภาวะขยายตัว) เช่นเดียวกันกับฝั่งญี่ปุ่น ปัญหาการระบาดระลอกใหม่จะกดดันให้ การบริโภคครัวเรือนชะลอลง โดยยอดค้าปลีก (Retail Sales) เดือนกรกฎาคม จะโตเพียง +0.4%m/m จากที่เคยโตได้ถึง +3.1%m/m ในเดือนมิถุนายน

  • ฝั่งไทย – ตลาดจะจับตาแนวโน้มการระบาดของ COVID-19 หลังจากรัฐบาลเริ่มทยอยผ่อนคลายมาตรการ Lockdown ในเดือนกันยายน ซึ่งเรามองว่า การผ่อนคลาย Lockdown อาจเริ่มเร็วเกินไป เนื่องจากยอดผู้ติดเชื้อและเสียชีวิตยังอยู่ในระดับสูง อีกทั้งการตรวจผู้ติดเชื้อยังทำได้ไม่ครอบคลุมพอ ทำให้มีโอกาสที่จะเกิดการระบาดระลอกใหม่อีกครั้งในอีก 3-4 สัปดาห์ข้างหน้า ทั้งนี้สถานการณ์การระบาดจะดีขึ้นหรือแย่ลงอาจขึ้นกับ การแจกจ่ายวัคซีนจะสามารถเร่งตัวขึ้นได้อย่างต่อเนื่องหรือไม่ โดยล่าสุดอัตราการแจกจ่ายวัคซีนได้เร่งตัวขึ้นสู่ระดับวันละ 5.5 แสนโดส ซึ่งจากอัตราดังกล่าว อาจทำให้ 70% ของประชากรได้รับวัคซีนอย่างน้อย 1 เข็ม ภายใน 5 เดือน

Week ahead carlendar

ความคิดเห็นล่าสุด

กำลังโหลดบทความถัดไป...
การเปิดเผยความเสี่ยง: การซื้อขายตราสารทางการเงินและ/หรือเงินดิจิตอลจะมีความเสี่ยงสูงที่รวมถึงความเสี่ยงต่อการสูญเสียจำนวนเงินลงทุนของคุณบางส่วนหรือทั้งหมดและอาจไม่เหมาะสมกับนักลงทุนทั้งหมด ราคาของเงินดิจิตอลแปรปรวนอย่างมากและอาจได้รับผลกระทบจากปัจจัยภายนอกต่าง ๆ เช่น เหตุการณ์ทางการเงิน กฎหมายกำกับดูแล หรือ เหตุการณ์ทางการเมือง การซื้อขายด้วยมาร์จินทำให้ความเสี่ยงทางการเงินเพิ่มขึ้น
ก่อนการตัดสินใจซื้อขายตราสารทางการเงินหรือเงินดิจิตอล คุณควรตระหนักดีถึงความเสี่ยงและต้นทุนที่เกี่ยวข้องกับการซื้อขายในตลาดการเงิน ควรพิจารณาศึกษาอย่างรอบคอบในด้านวัตถุประสงค์การลงทุน ระดับประสบการณ์ และ การยอมรับความเสี่ยงและแสวงหาคำแนะนำทางวิชาชีพหากจำเป็น
Fusion Media อยากเตือนความจำคุณว่าข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้ไม่ใช่แบบเรียลไทม์หรือเที่ยงตรงแม่นยำเสมอไป ข้อมูลและราคาที่แสดงไว้บนเว็บไซต์ไม่ใช่ข้อมูลที่ได้รับจากตลาดหรือตลาดหลักทรัพย์เสมอไปแต่อาจได้รับจากผู้ดูแลสภาพคล่องและดังนั้นราคาจึงอาจไม่เที่ยงตรงแม่นยำและอาจแตกต่างจากราคาจริงในตลาดซึ่งหมายความว่าราคานี้เป็นเพียงราคาชี้นำและไม่เหมาะสมสำหรับวัตถุประสงค์เพื่อการซื้อขาย Fusion Media และผู้ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้จะไม่รับผิดชอบใด ๆ สำหรับความเสียหายหรือการสูญเสียที่เป็นผลมาจากการซื้อขายของคุณหรือการพึ่งพาของคุณในข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้
ห้ามใช้ จัดเก็บ ทำซ้ำ แสดงผล ดัดแปลง ส่งผ่าน หรือ แจกจ่ายข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้โดยไม่ได้รับการอนุญาตล่วงหน้าอย่างชัดแจ้งแบบเป็นลายลักษณ์อักษรจาก Fusion Media และ/หรือจากผู้ให้ข้อมูล ผู้ให้ข้อมูลขอสงวนสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาและ/หรือการแลกเปลี่ยนข้อมูลที่ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้
Fusion Media อาจได้รับผลตอบแทนจากผู้โฆษณาที่ปรากฎบนเว็บไซต์โดยอิงจากปฏิสัมพันธ์ของคุณที่มีกับโฆษณาหรือผู้โฆษณา
เวอร์ชั่นภาษาอังกฤษของเอกสารฉบับนี้เป็นเวอร์ชั่นหลักซึ่งจะเป็นเวอร์ชั่นที่เหนือกว่าเมื่อใดก็ตามที่มีข้อขัดแย้งไม่สอดคล้องตรงกันระหว่างเอกสารเวอร์ชั่นภาษาอังกฤษกับเอกสารเวอร์ชั่นภาษาไทย