👁 ค้นพบหุ้นชนะตลาดเหมือนกับนักลงทุนมือโปรด้วยข้อมูลเชิงลึกจาก AI มหกรรมลดราคา Cyber Monday จะหมดเขตเร็ว ๆ นี้!รับส่วนลด

ขาขึ้นของดัชนีดอลลาร์สหรัฐส่งผลกระทบต่อตลาดลงทุนมากกว่าที่คิด

เผยแพร่ 20/08/2564 16:56
US500
-
EWT
-
EWY
-
DX
-
HG
-
CL
-
ACWX
-

ดัชนีดอลลาร์สหรัฐในช่วงไม่กี่สัปดาห์ที่ผ่านมาได้ปรับตัวขึ้นอย่างมั่นคงมาโดยตลอด ยิ่งรายงานการประชุมของธนาคารกลางสหรัฐฯ ในช่วงกลางสัปดาห์ที่บ่งชี้ว่าการลดวงเงินเพื่อเข้าซื้อสินทรัพย์ของธนาคารกลางใกล้จะเป็นความจริง ยิ่งทำให้ดัชนีดอลลาร์สหรัฐปรับตัวขึ้น 

ในขณะที่กำลังเขียนบทความนี้ กราฟดัชนีดอลลาร์สหรัฐกำลังอยู่ระหว่างการเจาะแนวต้านที่สำคัญที่สุดในสัปดาห์นี้ที่ 93.43 จุด ซึ่งหากว่ากราฟสามารถขึ้นยืนเหนือระดับราคานี้ได้ กราฟจะมีพื้นที่ว่างอีกมากมายให้สำหรับการปรับตัวขึ้นต่อ การปรับตัวขึ้นของดอลลาร์สหรัฐส่งผลให้สกุลเงินอื่นๆ และตลาดสินค้าโภคภัณฑ์ต้องเผชิญกับแรงกดดันให้ปรับตัวลดลง

นอกจากนี้แล้ว การปรับตัวขึ้นของดัชนีดอลลาร์สหรัฐยังได้รับอิทธิพลมาจากความแตกต่างของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ และอัตราผลตอบแทนของพันธบัตรรัฐบาลประเทศอื่นๆ และเพราะอัตราผลตอบแทนของดอลลาร์ที่สูงกว่านี้เองทำให้นักลงทุนต้องการถือครองดอลลาร์สหรัฐ ยินดีขายสกุลเงินท้องถิ่นของตน แม้ยอมไปถือหนี้ที่เป็นสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐก็ยังมีมูลค่ามากกว่า

สัญญาณขาขึ้นยาวๆ ของดอลลาร์สหรัฐเริ่มปรากฎให้เห็นลางๆ

ปัจจัยพื้นฐานที่ได้กล่าวไปก่อนหน้านี้เป็นตัวผลักดันที่ทำให้ดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าขึ้น สอดคล้องกับรูปแบบทางเทคนิคของกราฟดัชนีดอลลาร์สหรัฐที่สร้างเป็น double-bottom ขึ้นมา ที่บริเวณก้นเหวทั้งสองครั้งเกิดขึ้นในช่วงเดือนมกราคมปี 2021 และเดือนพฤษภาคมปี 2021 

เพื่อเป็นการยืนยันว่ารูปแบบนี้ได้เกิดขึ้นอย่างสมบูรณ์ กราฟดัชนีดอลลาร์สหรัฐต้องสามารถขึ้นยืนเหนือระดับราคา 93.50 จุดให้ได้ (ไม่ใช่แค่แตะ วิ่งวนอยู่สักพักและปรับตัวลงไป) หากนักลงทุนเห็นว่าสามารถยืนเหนือ 93.50 ได้จริง เชื่อว่าฝั่งขาขึ้นจะเข้ามาสมทบที่ 94.60 จุดซึ่งจะทำให้ดัชนีดอลลาร์สหรัฐมีโอกาสลากขึ้นไปยาวๆ ถึง 98 จุดได้

เมื่อพิจารณาอินดิเคเตอร์ RSI ก็ยิ่งสอดคล้องกับการวิเคราะห์ด้วยปัจจัยพื้นฐานและเทคนิคว่ามีแนวโน้มที่ตลาดจะกลายเป็นขาขึ้นระยะยาว เพราะแม้แต่จุดต่ำสุด (low) ในตัวอินดิเคเตอร์เอง (ตามรูปด้านล่าง) ก็ยังยกตัวสูงขึ้นเรื่อยๆ อันที่จริง RSI ได้ยกตัวขึ้นมาก่อนตั้งแต่ที่ double-bottom จะเกิดแล้ว ยิ่งเป็นสัญญาณยืนยันขาขึ้นของดัชนีดอลลาร์สหรัฐDollar Index Daily

ผลกระทบจากการปรับตัวขึ้นของกราฟดัชนีดอลลาร์สหรัฐ

หากว่ากราฟดัชนีดอลลาร์สหรัฐปรับตัวขึ้นอย่างที่เราวิเคราะห์จริง ขาขึ้นครั้งนี้จะยิ่งส่งผลกดดันต่อราคาสินค้าโภคภัณฑ์อย่างเช่นน้ำมันดิบและทองแดงให้ปรับตัวลดลงมากกว่าเดิม ในช่วงไม่กี่สัปดาห์ที่ผ่านมา ทั้งราคาน้ำมันและทองแดงต่างก็อยู่ในขาลง จนถึงปัจจุบันขาลงของสินทรัพย์ทั้งสองถือว่ามากกว่า 15% ยิ่งดอลลาร์แข็งค่ามากเท่าไหร่ ก็จะยิ่งกดดันตลาดนี้ให้ปรับตัวลดลงอีกOil Daily

การแข็งค่าของดอลลาร์ยังส่งผลกระทบไปยังตลาดเกิดใหม่และการส่งออก ซึ่งถือเป็นหัวใจหลักของเศรษฐกิจในประเทศแถบนั้น เพราะการแข็งค่าของดอลลาร์พูดอีกแบบหนึ่งก็คือภาวะเงินเฟ้อที่ทำให้ต้นทุนของสินค้าและบริการมีราคาแพงขึ้น และในตอนนี้ประเทศเหล่านั้นก็กำลังประสบปัญหาการระบาดของโควิด และไม่มีศักยภาพพอที่จะกระตุ้นเศรษฐกิจได้อย่างมหาศาลเเหมือนกับอเมริกา ความสามารถในการจับจ่ายใช้สอยของพวกเขาก็ยิ่งลดลง

นักลงทุนสามารถดูผลกระทบจากการแข็งค่าของดอลลาร์ได้จากการดูกองทุน ETF ในพื้นที่ตลาดเกิดใหม่กับ ETF ของสหรัฐอเมริกา ยกตัวอย่างเช่นตอนนี้กองทุน iShares MSCI ACWI ex-US ETF (NASDAQ:ACWX) ได้ปรับตัวลดลงมามากกว่า 6% นับตั้งแต่วันที่หนึ่งมิถุนายน กองทุน iShares MSCI Taiwan ETF (NYSE:EWT) ปรับตัวลดลง 7.5% และ iShares MSCI South Korea ETF (NYSE:EWY) ปรับตัวลงมากถึง 13% ACWX Daily

ยิ่งดอลลาร์แข็งค่า ยิ่งเข้าทางเฟด แต่ดีต่อเศรษฐกิจจริงหรือ

การแข็งค่าของดอลลาร์สหรัฐในตอนนี้มาได้ทันเวลาเดียวกันกับที่เฟดเริ่มโปรโมตความเป็นไปได้ที่จะลดวงเงินเข้าซื้อพันธบัตรรัฐบาล ยิ่งตลาดเต็มไปด้วยบรรยากาศความเชื่อว่าการลด QE ต้องเกิดขึ้นในการประชุมที่แจ็คสัน โฮล ในสัปดาห์หน้าหรือไม่ก็เดือนกันยายนแน่นอน ยิ่งทำให้ดอลลาร์แข็งค่าขึ้น แต่อย่าลืมในในอีกทางหนึ่ง การที่เงินเฟ้อมากเกินไปก็อาจจะนำมาซึ่งภาวะเศรษฐกิจฝืดเคืองได้ เมื่อสินค้ามีราคาแพงกว่าค่าแรงที่ปรับตัวขึ้นตามไม่ทัน

คำถามก็คือ สิ่งที่ทำกำลังจะเกิดขึ้นนี้ใช่สิ่งที่เฟดกำลังต้องการจริงๆ หรือ? จริงอยู่ว่าพวกเขามี KPI เป็นของตัวเองว่าอยากให้อัตราการจ้างงานกลับมาถึงระดับที่ต้องการ แต่หากปล่อยให้ดัชนีราคาผู้บริโภคเติบโตขึ้นไปเรื่อยๆ เช่นนี้ ก็จะกลายเป็นผลร้ายมากกว่าดี และจะส่งผลกระทบไปถึงตลาดการเงินในหลายภาคส่วน จริงอยู่ว่าตอนนี้เอสแอนด์พี 500 ที่เป็นหนึ่งในตัวชี้วัดเศรษฐกิจสหรัฐฯ อาจจะยังไม่ได้รับผลกระทบจากการแข็งค่าของดอลลาร์ แต่เชื่อว่าอีกไม่นานหากเฟดไม่ยอมเปลี่ยนนโยบายการเงิน ขาขึ้นครั้งนี้ก็จะต้องจบลง

ความคิดเห็นล่าสุด

กำลังโหลดบทความถัดไป...
การเปิดเผยความเสี่ยง: การซื้อขายตราสารทางการเงินและ/หรือเงินดิจิตอลจะมีความเสี่ยงสูงที่รวมถึงความเสี่ยงต่อการสูญเสียจำนวนเงินลงทุนของคุณบางส่วนหรือทั้งหมดและอาจไม่เหมาะสมกับนักลงทุนทั้งหมด ราคาของเงินดิจิตอลแปรปรวนอย่างมากและอาจได้รับผลกระทบจากปัจจัยภายนอกต่าง ๆ เช่น เหตุการณ์ทางการเงิน กฎหมายกำกับดูแล หรือ เหตุการณ์ทางการเมือง การซื้อขายด้วยมาร์จินทำให้ความเสี่ยงทางการเงินเพิ่มขึ้น
ก่อนการตัดสินใจซื้อขายตราสารทางการเงินหรือเงินดิจิตอล คุณควรตระหนักดีถึงความเสี่ยงและต้นทุนที่เกี่ยวข้องกับการซื้อขายในตลาดการเงิน ควรพิจารณาศึกษาอย่างรอบคอบในด้านวัตถุประสงค์การลงทุน ระดับประสบการณ์ และ การยอมรับความเสี่ยงและแสวงหาคำแนะนำทางวิชาชีพหากจำเป็น
Fusion Media อยากเตือนความจำคุณว่าข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้ไม่ใช่แบบเรียลไทม์หรือเที่ยงตรงแม่นยำเสมอไป ข้อมูลและราคาที่แสดงไว้บนเว็บไซต์ไม่ใช่ข้อมูลที่ได้รับจากตลาดหรือตลาดหลักทรัพย์เสมอไปแต่อาจได้รับจากผู้ดูแลสภาพคล่องและดังนั้นราคาจึงอาจไม่เที่ยงตรงแม่นยำและอาจแตกต่างจากราคาจริงในตลาดซึ่งหมายความว่าราคานี้เป็นเพียงราคาชี้นำและไม่เหมาะสมสำหรับวัตถุประสงค์เพื่อการซื้อขาย Fusion Media และผู้ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้จะไม่รับผิดชอบใด ๆ สำหรับความเสียหายหรือการสูญเสียที่เป็นผลมาจากการซื้อขายของคุณหรือการพึ่งพาของคุณในข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้
ห้ามใช้ จัดเก็บ ทำซ้ำ แสดงผล ดัดแปลง ส่งผ่าน หรือ แจกจ่ายข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้โดยไม่ได้รับการอนุญาตล่วงหน้าอย่างชัดแจ้งแบบเป็นลายลักษณ์อักษรจาก Fusion Media และ/หรือจากผู้ให้ข้อมูล ผู้ให้ข้อมูลขอสงวนสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาและ/หรือการแลกเปลี่ยนข้อมูลที่ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้
Fusion Media อาจได้รับผลตอบแทนจากผู้โฆษณาที่ปรากฎบนเว็บไซต์โดยอิงจากปฏิสัมพันธ์ของคุณที่มีกับโฆษณาหรือผู้โฆษณา
เวอร์ชั่นภาษาอังกฤษของเอกสารฉบับนี้เป็นเวอร์ชั่นหลักซึ่งจะเป็นเวอร์ชั่นที่เหนือกว่าเมื่อใดก็ตามที่มีข้อขัดแย้งไม่สอดคล้องตรงกันระหว่างเอกสารเวอร์ชั่นภาษาอังกฤษกับเอกสารเวอร์ชั่นภาษาไทย