💎 ดูบริษัทต่าง ๆ ที่มีสุขภาพทางการเงินที่ดีที่สุดในตลาดปัจจุบันเริ่มต้นเลย

เศรษฐกิจไตรมาสสองโต 7.5%y/y จากฐานต่ำในปีก่อน และการฟื้นตัวต่อเนื่องของภาคส่งออก

เผยแพร่ 16/08/2564 14:39

GDP Q2 2021

Actual: +7.5%y/y Previous: -2.6%y/y

Consensus: +6.6%y/y

  • เศรษฐกิจไทยไตรมาสสองพลิกกลับมาขยายตัวกว่า 7.5% จากช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน โดยมาจากฐานที่ต่ำในปี 2020 ที่เศรษฐกิจซบเซาหนักจากการระบาดของ COVID-19 นอกจากนี้ การฟื้นตัวอย่างต่อเนื่องของภาคการส่งออก และมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจจากภาครัฐก็เป็นปัจจัยสำคัญที่ช่วยหนุนการเติบโตของเศรษฐกิจในไตรมาสที่ 2

  • เราเตรียมปรับลดประมาณการเศรษฐกิจปี 2021 ลง โดยคาดว่าเศรษฐกิจอาจหดตัวได้ในปีนี้ หากสถานการณ์การระบาดมีแนวโน้มที่จะยืดเยื้อเกินกว่าไตรมาสที่ 3 กดดันให้การบริโภคภาคเอกชนและการลงทุนซบเซาหนัก ขณะเดียวกัน ปัญหาการระบาดในคลัสเตอร์โรงงาน ก็อาจส่งผลกระทบต่อภาคการผลิตและกดดันการส่งออกได้

  • แม้ว่า เราคงมองว่า ธนาคารแห่งประเทศไทยจะยังคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ระดับ 0.50% แต่ทว่าปัญหาเศรษฐกิจที่รุมเร้ามากขึ้น ก็เพิ่มโอกาสให้ธนาคารแห่งประเทศไทย สามารถปรับลดดอกเบี้ยนโยบายได้ราว 0.25% ซึ่งจะต้องเกิดขึ้นพร้อมกับการปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ธนาคารพาณิชย์อย่างพร้อมเพียงกัน ในอัตรา 0.25% เช่นกัน

  • มุมมองผู้เล่นในตลาดที่เริ่มคาดหวังต่อการลดดอกเบี้ยนโยบายจะทำให้บอนด์ยีลด์ระยะสั้นทรงตัวหรือย่อลงได้

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) แถลงตัวเลขอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ (Real GDP) ประจำไตรมาสที่ 2 ปี 2021 ขยายตัวถึง 7.5% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ซึ่งสูงกว่าคาด

  • เศรษฐกิจไทยในไตรมาสสองของปีนี้โตขึ้นกว่า 7.5% จากช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน โดยมีปัจจัยหลักมาจากระดับฐานที่ต่ำของเศรษฐกิจในปีก่อนหน้าที่หดตัวถึง -12.1% จากปัญหาการระบาดของ COVID-19 ทำให้เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า เศรษฐกิจโดยรวมมีการฟื้นตัว อาทิ การบริโภคเอกชนโตขึ้นกว่า 4.6%y/y ส่วนการลงทุนก็ขยายตัวดีขึ้น (+8.1%y/y จาก +7.3%y/y ในไตรมาสก่อนหน้า) นอกจากนี้ การฟื้นตัวเศรษฐกิจโลก โดยเฉพาะ เศรษฐกิจคู่ค้าสำคัญ อย่าง สหรัฐฯ จีน และยุโรป ได้หนุนให้การส่งออกกลับมาขยายตัวได้ 37.5%y/y อย่างไรก็ดี เศรษฐกิจยังคงเผชิญแรงกดดันจากปัญหาการระบาดที่ทำให้ภาคการท่องเที่ยวซบเซา ดังจะเห็นได้จาก ยอดการส่งออกบริการที่ส่วนใหญ่มาจากการท่องเที่ยว หดตัวกว่า -1.9%y/y

  • แม้ว่าเศรษฐกิจจะโตขึ้นจากปีก่อนหน้า แต่หากพิจารณาแนวโน้มเศรษฐกิจรายไตรมาส จะพบว่า เศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มชะลอตัวลงมากขึ้นจากไตรมาสแรก หลังจากเศรษฐกิจเผชิญปัญหาการระบาดของ COVID-19 ระลอกใหม่ที่รุนแรง กดดันให้ การบริโภคภาคเอกชนและการลงทุน หดตัวลงต่อเนื่อง และมีเพียงการใช้จ่ายจากภาครัฐและการส่งออกสินค้าที่ยังขยายตัวได้จากไตรมาสก่อนหน้า

  • สศช. ปรับ”ลด”คาดการณ์แนวโน้มเศรษฐกิจในปี 2021 ลงโดย สศช. ประเมินว่าเศรษฐกิจจะขยายตัว 0.7%-1.2% หลังจากเศรษฐกิจอาจฟื้นตัวช้าจากปัญหาการระบาดของ COVID-19 ระลอกใหม่ ความไม่แน่นอนของการแจกจ่ายวัคซีนและแนวโน้มการฟื้นตัวของภาคการท่องเที่ยว รวมถึง ปัญหาความเปราะบางของฐานะการเงินภาคครัวเรือนและธุรกิจ

เราเตรียมปรับลดอัตราการเติบโตเศรษฐกิจไทยปีนี้ต่ำกว่า 0% หลังสถานการณ์การระบาดยังไม่เห็นแสงสว่างปลายอุโมงค์ และพร้อมมองโอกาส ธปท. ลดดอกเบี้ยนโยบายเพิ่มสูงขึ้น

  • เรามองว่า ปัญหาการระบาดอาจคลี่คลายลงได้ หากการแจกจ่ายวัคซีน สามารถเร่งตัวขึ้นได้มากกว่าวันละ 5.5 แสนโดส พร้อมกับการเร่งตรวจเชิงรุกไม่น้อยกว่า 2-3 แสนรายต่อวัน ซึ่งเป็นโจทย์ที่ท้าทายอย่างมาก เราจึงมองว่า มีโอกาสที่การระบาดของ Delta อาจจะยืดเยื้อ และมาตรการ Lockdown อาจมีผลบังคบใช้ยาวนานกว่าคาด กดดันให้การบริโภคก็ฟื้นตัวช้าและการท่องเที่ยวจากทั้งคนไทยและคนต่างชาติก็อาจจะซบเซาต่อเนื่อง โดยเฉพาะการท่องเที่ยวจากในประเทศก็ยังไม่สามารถฟื้นตัวได้ หากการระบาดยังคงมีความรุนแรงอยู่ ซึ่งภาพเศรษฐกิจที่ซบเซาลงกว่าคาด ทำให้เราเริ่มมองว่า มีโอกาสที่เศรษฐกิจอาจหดตัวในกรณีเลวร้ายที่การระบาดยืดเยื้อเกินกว่าไตรมาส 3 ในปีนี้

  • แนวโน้มเศรษฐกิจฟื้นตัวช้ากว่าคาด เพิ่มโอกาส ธปท. ลดดอกเบี้ยนโยบายลง 0.25% แม้ว่า เรายังคงมองว่า ธปท. จะเดินหน้าคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ 0.50% พร้อมกับเร่งการแจกจ่ายสภาพคล่องให้กับภาคส่วนที่ต้องการ แต่ปัญหาเศรษฐกิจที่รุนแรงขึ้น ก็เพิ่มโอกาสที่ ธปท. จะลดดอกเบี้ยลง ซึ่งภาพดังกล่าวจะต้องเกิดขึ้นพร้อมกับการโน้มน้าวให้ธนาคารพาณิชย์พร้อมใจกันลดดอกเบี้ยเงินกู้ลงในอัตราไม่น้อยกว่า 0.25% เพื่อให้การส่งผ่านของการลดดอกเบี้ยนโยบายมีประสิทธิภาพมากที่สุด

  • โอกาส ธปท. ลดดอกเบี้ยลง อาจกดดันให้บอนด์ยีลด์ระยะสั้นไม่ขยับไปมาก หรือ สามารถปรับตัวลดลงได้เล็กน้อย ซึ่งเรามองว่า “Front-end Safe Haven” อาจขยายได้ถึงช่วง บอนด์ 5 ปี ทำให้ ผู้ประกอบการที่ต้องการระดมทุนผ่านตลาดบอนด์ สามารถออกบอนด์ได้ในต้นทุนที่ต่ำลงได้

GDP ประเทศไทย 1

GDP ประเทศไทย 2

ความคิดเห็นล่าสุด

กำลังโหลดบทความถัดไป...
การเปิดเผยความเสี่ยง: การซื้อขายตราสารทางการเงินและ/หรือเงินดิจิตอลจะมีความเสี่ยงสูงที่รวมถึงความเสี่ยงต่อการสูญเสียจำนวนเงินลงทุนของคุณบางส่วนหรือทั้งหมดและอาจไม่เหมาะสมกับนักลงทุนทั้งหมด ราคาของเงินดิจิตอลแปรปรวนอย่างมากและอาจได้รับผลกระทบจากปัจจัยภายนอกต่าง ๆ เช่น เหตุการณ์ทางการเงิน กฎหมายกำกับดูแล หรือ เหตุการณ์ทางการเมือง การซื้อขายด้วยมาร์จินทำให้ความเสี่ยงทางการเงินเพิ่มขึ้น
ก่อนการตัดสินใจซื้อขายตราสารทางการเงินหรือเงินดิจิตอล คุณควรตระหนักดีถึงความเสี่ยงและต้นทุนที่เกี่ยวข้องกับการซื้อขายในตลาดการเงิน ควรพิจารณาศึกษาอย่างรอบคอบในด้านวัตถุประสงค์การลงทุน ระดับประสบการณ์ และ การยอมรับความเสี่ยงและแสวงหาคำแนะนำทางวิชาชีพหากจำเป็น
Fusion Media อยากเตือนความจำคุณว่าข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้ไม่ใช่แบบเรียลไทม์หรือเที่ยงตรงแม่นยำเสมอไป ข้อมูลและราคาที่แสดงไว้บนเว็บไซต์ไม่ใช่ข้อมูลที่ได้รับจากตลาดหรือตลาดหลักทรัพย์เสมอไปแต่อาจได้รับจากผู้ดูแลสภาพคล่องและดังนั้นราคาจึงอาจไม่เที่ยงตรงแม่นยำและอาจแตกต่างจากราคาจริงในตลาดซึ่งหมายความว่าราคานี้เป็นเพียงราคาชี้นำและไม่เหมาะสมสำหรับวัตถุประสงค์เพื่อการซื้อขาย Fusion Media และผู้ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้จะไม่รับผิดชอบใด ๆ สำหรับความเสียหายหรือการสูญเสียที่เป็นผลมาจากการซื้อขายของคุณหรือการพึ่งพาของคุณในข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้
ห้ามใช้ จัดเก็บ ทำซ้ำ แสดงผล ดัดแปลง ส่งผ่าน หรือ แจกจ่ายข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้โดยไม่ได้รับการอนุญาตล่วงหน้าอย่างชัดแจ้งแบบเป็นลายลักษณ์อักษรจาก Fusion Media และ/หรือจากผู้ให้ข้อมูล ผู้ให้ข้อมูลขอสงวนสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาและ/หรือการแลกเปลี่ยนข้อมูลที่ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้
Fusion Media อาจได้รับผลตอบแทนจากผู้โฆษณาที่ปรากฎบนเว็บไซต์โดยอิงจากปฏิสัมพันธ์ของคุณที่มีกับโฆษณาหรือผู้โฆษณา
เวอร์ชั่นภาษาอังกฤษของเอกสารฉบับนี้เป็นเวอร์ชั่นหลักซึ่งจะเป็นเวอร์ชั่นที่เหนือกว่าเมื่อใดก็ตามที่มีข้อขัดแย้งไม่สอดคล้องตรงกันระหว่างเอกสารเวอร์ชั่นภาษาอังกฤษกับเอกสารเวอร์ชั่นภาษาไทย