🐦 Early bird ค้นพบหุ้นที่มาแรงที่สุดตอนนี้ด้วยราคาเบา ๆ รับส่วนลดสูงถึง 55% สำหรับ InvestingPro กับโปรโมชัน Black Fridayรับส่วนลด

ลุ้นแนวโน้มเศรษฐกิจไทยใน ไตรมาส 2 และ จับตาโอกาสเฟดลดคิวอีในปีนี้

เผยแพร่ 16/08/2564 08:18
USD/THB
-

สัปดาห์ที่ผ่านมา ปัญหาการระบาดของ Delta ในสหรัฐฯ เริ่มกดดันความเชื่อมั่นผู้บริโภค และส่งผลให้เงินดอลลาร์พลิกกลับมาอ่อนค่าลงในท้ายสัปดาห์

  • จับตาการฟื้นตัวเศรษฐกิจเอเชีย รวมถึง ไทย และ ติดตาม ทิศทางนโยบายการเงินเฟด ผ่านถ้อยแถลงของบรรดาเจ้าหน้าเฟด โดยเฉพาะประธานเฟด Powell

  • ในระยะสั้น ปัญหาการระบาดของ Delta ในสหรัฐฯ อาจกดดันเงินดอลลาร์ได้ หากข้อมูลเศรษฐกิจทยอยออกมาแย่ลง อย่างไรก็ดี เงินดอลลาร์ยังคงมีแรงหนุนอยู่ หากบรรดาเจ้าหน้าเฟดออกมาสนับสนุนการทยอยลดคิวอีในปีนี้เพิ่มมากขึ้น ส่วนในฝั่งเงินบาท เราคงมองว่า โซนแนวต้านใกล้ 33.50 บาทต่อดอลลาร์ ยังเป็นระดับที่เงินบาทอ่อนค่าไปถึงได้ในระยะสั้น ท่ามกลางปัญหาการระบาดที่ทวีความรุนแรงมากขึ้น ส่งผลให้ นักลงทุนต่างชาติพร้อมจะขายสินทรัพย์ไทยเพิ่มเติม ส่วนแนวรับเงินบาทยังอยู่ใกล้โซน 33.00 บาทต่อดอลลาร์ ซึ่งเป็นระดับที่เรามองว่า บรรดาผู้นำเข้าอาจทยอยเข้ามาแลกเงินดอลลาร์ (Buy on Dip)

  • มองกรอบเงินบาทสัปดาห์นี้
    33.10-33.60
    บาท/ดอลลาร์

มุมมองเศรษฐกิจทั่วโลก

  • ฝั่งสหรัฐฯ – ตลาดจะติดตามแนวโน้มการฟื้นตัวเศรษฐกิจสหรัฐฯ อย่างใกล้ชิด หลังปัญหาการระบาด Delta ทวีความรุนแรงมากขึ้น จนอาจเริ่มส่งผลกระทบต่อแนวโน้มการฟื้นตัวเศรษฐกิจได้ ดังจะเห็นได้จากดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคในเดือนสิงหาคม ปรับตัวลดลงมากกว่าคาด ซึ่ง ตลาดมองว่า ปัญหาการระบาดอาจกดดันภาคการผลิตสหรัฐฯ เช่นกัน โดยดัชนีภาวการณ์ผลิตอุตสาหกรรมโดยเฟดนิวยอร์ก (NY Empire Manufacturing) ในเดือนสิงหาคม อาจลดลงสู่ระดับ 28.5 จุด สะท้อนถึงการขยายตัวในอัตราชะลอลง ขณะที่ ยอดค้าปลีก (Retail Sales) เดือนกรกฎาคม อาจหดตัวราว -0.2% จากเดือนก่อนหน้า จากทั้งปัญหาการระบาด รวมถึงระดับราคาสินค้าที่เร่งตัวสูงขึ้น ตามการทยอยเปิดเมือง นอกจากรายงานข้อมูลเศรษฐกิจดังกล่าว ตลาดจะจับตาถ้อยแถลงของบรรดาเจ้าหน้าที่เฟด โดยเฉพาะ ประธานเฟด Powell (วันพุธ) ถึงมุมมองต่อแนวโน้มเศรษฐกิจ หลังสหรัฐฯ เผชิญการระบาดของ Delta และมุมมองต่อการทยอยลดคิวอีของเฟด ซึ่งท่าทีสนับสนุนการทยอยลดคิวอีภายในปีนี้ของประธานเฟด สามารถหนุนให้ เงินดอลลาร์พลิกกลับมาแข็งค่าขึ้นได้

  • ฝั่งยุโรป – ตลาดประเมินว่า การระบาดระลอกใหม่ของ COVID-19 อาจไม่ได้ส่งผลกระทบต่อการใช้จ่ายของชาวอังกฤษมากนัก โดยยอดค้าปลีก (Retail Sales) อาจโตถึง +5.8%y/y ในเดือนกรกฎาคม ซึ่งการฟื้นตัวต่อเนื่องของการบริโภคนั้นหนุนโดยการเดินหน้าเปิดประเทศ ไปพร้อมกับเร่งคุมสถานการณ์การระบาด ผ่านการเร่งตรวจหาผู้ติดเชื้อเชิงรุก และ การเร่งแจกจ่ายวัคซีนประสิทธิภาพสูง

  • ฝั่งเอเชีย – ตลาดมองว่า เศรษฐกิจญี่ปุ่นอาจกลับมาขยายตัวได้ราว +0.1% จากไตรมาสก่อนหน้า (หรือคิดเป็น +0.5% เมื่อเทียบรายปี) หนุนโดยการฟื้นตัวต่อเนื่องของภาคการส่งออกและการกลับมาลงทุนมากขึ้นของภาคเอกชน ในขณะที่การบริโภคภาคเอกชนยังคงถูกดดันจากปัญหาการระบาดของ COVID-19 แต่โดยรวมก็เริ่มมีแนวโน้มที่ดีขึ้น หลังญี่ปุ่นมีการเร่งแจกจ่ายวัคซีน ซึ่งตลาดมองว่า ทั้งปีเศรษฐกิจญี่ปุ่นอาจโตได้กว่า 2.8% ส่วนในฝั่งจีน ปัญหาการระบาดของ Delta อาจกดดันการฟื้นตัวเศรษฐกิจ ซึ่งจะเห็นได้จากการเติบโตในอัตราที่ชะลอลงของยอดค้าปลีก (Retail Sales) +10%y/y เช่นเดียวกันกับ ยอดผลผลิตอุตสาหกรรม (Industrial Production) รวมถึง ยอดการลงทุนสินทรัพย์ถาวร (Fixed Asset Investment) ที่จะโตลดลงเหลือ +7.9% และ +11% ตามลำดับ นอกเหนือจากรายงานข้อมูลเศรษฐกิจ เรามองว่าบรรดาธนาคารกลางในเอเชียจะเดินหน้าใช้นโยบายการเงินที่ผ่อนคลายต่อไป โดยในสัปดาห์นี้ ธนาคารกลางอินโดนีเซีย (BI) จะคงอัตราดอกเบี้ยนโยบาย ที่ระดับ 3.50% เพื่อหนุนการฟื้นตัวเศรษฐกิจ หลังอินโดนีเซียเผชิญการระบาดที่หนักในช่วงที่ผ่านมา ทั้งนี้ ธนาคารกลางนิวซีแลนด์ (RBNZ) อาจเป็นธนาคารกลางแรกในเอเชียที่จะคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ระดับ 0.25% แต่อาจส่งสัญญาณพร้อมปรับดอกเบี้ยขึ้น หลังเศรษฐกิจฟื้นตัวดีขึ้นต่อเนื่อง จากการผ่อนคลายมาตรการ Lockdown

  • ฝั่งไทย – แม้ว่า เศรษฐกิจไทยในไตรมาสที่ 2 อาจพลิกกลับมาขยายตัวกว่า +5.0%y/y จากที่หดตัวถึง -2.6%y/y ในไตรมาสแรก แต่ปัจจัยหลัก คือ ระดับฐานต่ำในปีก่อนหน้า กอปรกับภาคการส่งออกสามารถขยายตัวได้ดีต่อเนื่อง อย่างไรก็ดี เรามองว่า ปัญหาการระบาด COVID-19 ที่ยืดเยื้อจะกดดันให้การบริโภคในประเทศซบเซาหนัก และอาจส่งผลกระทบต่อภาคการผลิตและการส่งออกได้ ทำให้ มีโอกาสที่เศรษฐกิจจะกลับมาหดตัวในไตรมาสที่ 3 และ ทั้งปี เศรษฐกิจไทย อาจหดตัวได้ หากสถานการณ์การระบาดรุนแรงขึ้นและยืดเยื้อเกินกว่าไตรมาส 3

Week ahead carlendar

ความคิดเห็นล่าสุด

กำลังโหลดบทความถัดไป...
การเปิดเผยความเสี่ยง: การซื้อขายตราสารทางการเงินและ/หรือเงินดิจิตอลจะมีความเสี่ยงสูงที่รวมถึงความเสี่ยงต่อการสูญเสียจำนวนเงินลงทุนของคุณบางส่วนหรือทั้งหมดและอาจไม่เหมาะสมกับนักลงทุนทั้งหมด ราคาของเงินดิจิตอลแปรปรวนอย่างมากและอาจได้รับผลกระทบจากปัจจัยภายนอกต่าง ๆ เช่น เหตุการณ์ทางการเงิน กฎหมายกำกับดูแล หรือ เหตุการณ์ทางการเมือง การซื้อขายด้วยมาร์จินทำให้ความเสี่ยงทางการเงินเพิ่มขึ้น
ก่อนการตัดสินใจซื้อขายตราสารทางการเงินหรือเงินดิจิตอล คุณควรตระหนักดีถึงความเสี่ยงและต้นทุนที่เกี่ยวข้องกับการซื้อขายในตลาดการเงิน ควรพิจารณาศึกษาอย่างรอบคอบในด้านวัตถุประสงค์การลงทุน ระดับประสบการณ์ และ การยอมรับความเสี่ยงและแสวงหาคำแนะนำทางวิชาชีพหากจำเป็น
Fusion Media อยากเตือนความจำคุณว่าข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้ไม่ใช่แบบเรียลไทม์หรือเที่ยงตรงแม่นยำเสมอไป ข้อมูลและราคาที่แสดงไว้บนเว็บไซต์ไม่ใช่ข้อมูลที่ได้รับจากตลาดหรือตลาดหลักทรัพย์เสมอไปแต่อาจได้รับจากผู้ดูแลสภาพคล่องและดังนั้นราคาจึงอาจไม่เที่ยงตรงแม่นยำและอาจแตกต่างจากราคาจริงในตลาดซึ่งหมายความว่าราคานี้เป็นเพียงราคาชี้นำและไม่เหมาะสมสำหรับวัตถุประสงค์เพื่อการซื้อขาย Fusion Media และผู้ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้จะไม่รับผิดชอบใด ๆ สำหรับความเสียหายหรือการสูญเสียที่เป็นผลมาจากการซื้อขายของคุณหรือการพึ่งพาของคุณในข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้
ห้ามใช้ จัดเก็บ ทำซ้ำ แสดงผล ดัดแปลง ส่งผ่าน หรือ แจกจ่ายข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้โดยไม่ได้รับการอนุญาตล่วงหน้าอย่างชัดแจ้งแบบเป็นลายลักษณ์อักษรจาก Fusion Media และ/หรือจากผู้ให้ข้อมูล ผู้ให้ข้อมูลขอสงวนสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาและ/หรือการแลกเปลี่ยนข้อมูลที่ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้
Fusion Media อาจได้รับผลตอบแทนจากผู้โฆษณาที่ปรากฎบนเว็บไซต์โดยอิงจากปฏิสัมพันธ์ของคุณที่มีกับโฆษณาหรือผู้โฆษณา
เวอร์ชั่นภาษาอังกฤษของเอกสารฉบับนี้เป็นเวอร์ชั่นหลักซึ่งจะเป็นเวอร์ชั่นที่เหนือกว่าเมื่อใดก็ตามที่มีข้อขัดแย้งไม่สอดคล้องตรงกันระหว่างเอกสารเวอร์ชั่นภาษาอังกฤษกับเอกสารเวอร์ชั่นภาษาไทย