🐦 Early bird ค้นพบหุ้นที่มาแรงที่สุดตอนนี้ด้วยราคาเบา ๆ รับส่วนลดสูงถึง 55% สำหรับ InvestingPro กับโปรโมชัน Black Fridayรับส่วนลด

ย้อนอดีตวิกฤติเศรษฐกิจประเทศไทย พร้อมจับตาวิกฤติปัจจุบันด้วยเทคนิเคิลชาร์ท

เผยแพร่ 13/08/2564 09:12
USD/THB
-

วิกฤติเศรษฐกิจประเทศไทย

1. วิกฤติเศรษฐกิจครั้งแรกของประเทศไทย นับจากการเปิดตลาดหุ้นครั้งแรกในปี 2518 จากนั้นไม่นานตลาดหุ้นเริ่มพังทลายในปี 2521 มีการลดค่าเงินบาท เงินไหลออกจากระบบ สภาพคล่องต่ำลง ทางการเข้าควบรวมกิจการ 25 ไฟแนนซ์และเครดิตฟองซิเอร์ 25 แห่ง ที่เรารู้จักกันในชื่อโครงการ 4 เมษายน 2527 เอกชนล้มละลายเกิดหนี้เสียจำนวนมาก คนตกงาน เงินเฟ้อสูง ไทยเข้ารับความช่วยเหลือทางการเงินจาก IMF เป็นครั้งแรกคาบเกี่ยวกับวิกฤติ #ราชาเงินทุน เหตุการณ์เริ่มต้นจาก #บริษัทราชาเงินทุน ซึ่งเป็นบริษัทเงินทุนที่ใหญ่เป็นอันดับ 2 ของประเทศไทยในสมัยนั้น ในช่วงปี พ.ศ. 2521 - 2522 บริษัทราชาเงินทุน #จงใจปล่อยสินเชื่อให้แก่กลุ่มบริษัทของตน ทำให้เกิดหนี้เสียเป็นจำนวนมาก ธนาคารหลายแห่งต้องออกมาทวงหนี้ เศรษฐกิจทรุดตัวลงอย่างมาก จนในที่สุด กระทรวงการคลังต้องสั่งเพิกถอนใบอนุญาตของบริษัท เนื่องจากบริษัทเกิดสภาวะล้มละลาย หนี้สินมากกว่าทรัพย์สิน เมื่อวันที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2522

2.วิกฤติเศรษฐกิจครั้งที่ 2 ของประเทศไทย เกิดจากการนำระบบ Maintenance Margin และ Force Sell มาใช้ในตลาดหุ้น ในเดือนตุลาคม 2536 เกิดช่องว่างให้ Hedge Fund ลากตลาดหุ้นไทยขึ้นไปที่ 1,789.16 จุด ก่อนทิ้งตัวในต้นปี 2537 ตลาดหุ้นพังทลายลงต่อเนื่องอย่างรุนแรงที่จุดต่ำสุด 204.59 จุด มีการบังคับขายหุ้นของนักลงทุนภายในประเทศอย่างโหดร้าย ค่าเงินบาทถูกโจมตี เงินไหลออกจากระบบ ทำให้สภาพคล่องเสียหาย ต้อง #ลอยตัวค่าเงินบาท รัฐบาลสั่งยุติกิจการ 54 สถาบันการเงินอย่างถาวร ที่รู้จักกันในชื่อโครงการ 14 สิงหาคม 2541 เอกชนล้มละลาย เกิดหนี้เสียจำนวนมาก คนตกงาน เงินเฟ้อสูง ต้องเข้ารับความช่วยเหลือทางการเงินจาก IMF เป็นครั้งที่ 2 ทรัพย์สินของคนในชาติตกเป็นของต่างชาติมากขึ้น เช่น ธนาคารเอกชนขนาดใหญ่ของไทย ก็ตกเป็นของต่างชาติว่ากันว่าวิกฤติเศรษฐกิจเกิดขึ้นวนเวียนซ้ำซาก เกิดขึ้นแล้วเกิดขึ้นอีกตามวงจรของมัน ไม่มีอะไรในโลกนี้ที่ขึ้นแล้วไม่ลงวิกฤติเศรษฐกิจครั้งใหญ่มักมาจากภาวะสงคราม แต่ทุกวันนี้ภาวะสงครามอาจมาในรูปแบบอื่น เช่น #โรคระบาดครั้งใหญ่ ที่ชาวโลกกำลังเผชิญอยู่ในตอนนี้ ตลาดหุ้นที่ขึ้นไปสูงเกินพื้นฐานความเป็นจริงเป็นจุดเริ่มต้นของการเกิดวิกฤติทั้งนี้คงไม่มีใครทราบล่วงหน้าและบอกเราได้ว่าวิกฤติเศรษฐกิจจะเกิดขึ้นอีกหรือไม่ เราคงได้แต่เตรียมพร้อม ไม่ประมาทในยามที่สถานการณ์พร้อมจะเลวร้ายขึ้นได้ตลอดเวลา

3. หันมามอง เทคนิเคิลชาร์ทของตลาดหุ้นไทยรายเดือน ข้อมูลสิ้นวัน 11 ส.ค. 64 เราอ่านได้ว่า

3.1 POC หรือ POINT OF CONTROL
ในตลาดคือกรอบ 50 จุด 1580-1630 ซึ่งตลาดหุ้นไทยปิดต่ำแนวนี้อย่างต่อเนื่องและยังไม่มีทีท่าว่าจะกลับขึ้นไปในกรอบได้ ให้แนวโน้มเชิงลบ

3.2 สัญญาณจาก TD SEQUENTIAL เครื่องมือเทคนิคอลที่ใช้วิเคราะห์ตลาดของ Bloomberg อ่านได้ว่าสัญญาณเตือน #ขึ้นอ่อนกำลัง ยืนยันตั้งแต่เดือนมิถุนายน ซึ่งมีลักษณะเป็น PIN BAR REVERSAL และยืนยันรูปแบบกลับตัวในแท่งเดือน ก.ค. 64

3.3 แนวโน้มเงินบาทอ่อนค่าต่อเนื่องส่งผลให้ฟันด์โฟลว์ไหลออก และอาจถูกซ้ำเติมด้วย QE TAPERING ที่อาจมาไวกว่าที่นักลงทุนคาดคิดจากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจฝั่งอเมริกาและยุโรป

3.4 หากแนวโน้มข้างต้นยังดำเนินต่อไป เราอาจได้เห็นตลาดหุ้นไทยลงมาพักตัวในกรอบ 1480-1525 และ 1420-1480 อย่างต่อเนื่อง

คุณอาจได้ฟังหลายๆความเห็นจากนักเศรษฐศาสตร์ว่าครั้งนี้ไม่เหมือนครั้งก่อน แต่ใครเล่าจะทราบจริงว่าวิกฤติเกิดหรือไม่เกิด

ในฐานะนักลงทุน คุณได้แต่เตรียมพร้อมในยามตลาดเลวร้ายที่สุดเท่านั้น จึงอยู่รอด

วิกฤติเศรษฐกิจประเทศไทย

ความคิดเห็นล่าสุด

กำลังโหลดบทความถัดไป...
การเปิดเผยความเสี่ยง: การซื้อขายตราสารทางการเงินและ/หรือเงินดิจิตอลจะมีความเสี่ยงสูงที่รวมถึงความเสี่ยงต่อการสูญเสียจำนวนเงินลงทุนของคุณบางส่วนหรือทั้งหมดและอาจไม่เหมาะสมกับนักลงทุนทั้งหมด ราคาของเงินดิจิตอลแปรปรวนอย่างมากและอาจได้รับผลกระทบจากปัจจัยภายนอกต่าง ๆ เช่น เหตุการณ์ทางการเงิน กฎหมายกำกับดูแล หรือ เหตุการณ์ทางการเมือง การซื้อขายด้วยมาร์จินทำให้ความเสี่ยงทางการเงินเพิ่มขึ้น
ก่อนการตัดสินใจซื้อขายตราสารทางการเงินหรือเงินดิจิตอล คุณควรตระหนักดีถึงความเสี่ยงและต้นทุนที่เกี่ยวข้องกับการซื้อขายในตลาดการเงิน ควรพิจารณาศึกษาอย่างรอบคอบในด้านวัตถุประสงค์การลงทุน ระดับประสบการณ์ และ การยอมรับความเสี่ยงและแสวงหาคำแนะนำทางวิชาชีพหากจำเป็น
Fusion Media อยากเตือนความจำคุณว่าข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้ไม่ใช่แบบเรียลไทม์หรือเที่ยงตรงแม่นยำเสมอไป ข้อมูลและราคาที่แสดงไว้บนเว็บไซต์ไม่ใช่ข้อมูลที่ได้รับจากตลาดหรือตลาดหลักทรัพย์เสมอไปแต่อาจได้รับจากผู้ดูแลสภาพคล่องและดังนั้นราคาจึงอาจไม่เที่ยงตรงแม่นยำและอาจแตกต่างจากราคาจริงในตลาดซึ่งหมายความว่าราคานี้เป็นเพียงราคาชี้นำและไม่เหมาะสมสำหรับวัตถุประสงค์เพื่อการซื้อขาย Fusion Media และผู้ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้จะไม่รับผิดชอบใด ๆ สำหรับความเสียหายหรือการสูญเสียที่เป็นผลมาจากการซื้อขายของคุณหรือการพึ่งพาของคุณในข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้
ห้ามใช้ จัดเก็บ ทำซ้ำ แสดงผล ดัดแปลง ส่งผ่าน หรือ แจกจ่ายข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้โดยไม่ได้รับการอนุญาตล่วงหน้าอย่างชัดแจ้งแบบเป็นลายลักษณ์อักษรจาก Fusion Media และ/หรือจากผู้ให้ข้อมูล ผู้ให้ข้อมูลขอสงวนสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาและ/หรือการแลกเปลี่ยนข้อมูลที่ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้
Fusion Media อาจได้รับผลตอบแทนจากผู้โฆษณาที่ปรากฎบนเว็บไซต์โดยอิงจากปฏิสัมพันธ์ของคุณที่มีกับโฆษณาหรือผู้โฆษณา
เวอร์ชั่นภาษาอังกฤษของเอกสารฉบับนี้เป็นเวอร์ชั่นหลักซึ่งจะเป็นเวอร์ชั่นที่เหนือกว่าเมื่อใดก็ตามที่มีข้อขัดแย้งไม่สอดคล้องตรงกันระหว่างเอกสารเวอร์ชั่นภาษาอังกฤษกับเอกสารเวอร์ชั่นภาษาไทย