💼 ปกป้องพอร์ตของคุณด้วยฟีเจอร์การคัดเลือกหุ้นโดย AI จาก InvestingPro - ตอนนี้ลดสูงสุดถึง 50% รับส่วนลด

EU ออกพันธบัตรเพิ่มเป็นสองเท่า สวนทางกับมติคณะกรรมการนโยบายการเงินสหรัฐฯ

เผยแพร่ 22/06/2564 17:52
C
-
BAC
-
JPM
-
HSBA
-
BARC
-
NWG
-
DBKGn
-
BNPP
-
SAN
-
DANSKE
-
ISP
-
CRDI
-
99V33V1Z3=MSIL
-
MS
-
US5YT=X
-
US10YT=X
-
US30YT=X
-
8604
-
CRAP
-
US2US10=RR
-

ถึงแม้ว่านักลงทุนจะกลัวคำว่าเงินเฟ้อมากแค่ไหน แต่ความจริงอย่างหนึ่งที่ต้องยอมรับคือตลาดลงทุนชอบสภาวะที่มีสภาพคล่องสูงมากๆ ลองสังเกตดูได้ง่ายๆ จากพฤติกรรมในตลาดหุ้นทันทีที่มีการประกาศเสริมสภาพคล่องไม่ว่าจะเป็นในสหรัฐอเมริกาหรือยุโรป ทันทีที่สหภาพยุโรปประกาศพิมพ์พันธบัตรรัฐบาลเพิ่มในวงเงินมูลค่า 142,000 ล้านยูโรเพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจจากวิกฤตโรคระบาด ผลตอบแทนพันธบัตรก็ปรับตัวลดลงจาก 0.1% เป็น 0.086% ทันที 

ล่าสุดธนาคารได้ออกมาประกาศว่าจะเสริมสภาพคล่องเข้าไปอีก 20,000 ล้านยูโร และยังมีแผนที่จะเพิ่มวงเงินกระตุ้นเศรษฐกิจอีก 80,000 ล้านยูโรภายในปีนี้อีกด้วย เท่ากับว่ามูลค่าของพันธบัตรทั้งหมดที่สหภาพยุโรปมีแผนจะพิมพ์ไปจนถึงปี 2026 จะมีจำนวนอยู่ที่ 800,000 ล้านยูโร

แต่แผนการเสริมสภาพคล่องด้วยการพิมพ์เงินจำนวนมหาศาลนี้ก็ถูกตั้งคำถามอยู่พอสมควร เนื่องจากครั้งนี้สหภาพยุโรปไม่ต้องการให้ธนาคารชื่อดังของโลกโดยเฉพาะอย่างยิ่งธนาคารจากอเมริกาและสหราชอาณาจักรเข้ามาช่วย ซึ่งธนาคารชื่อดังเหล่านั้นเราต่างก็รู้จักกันเป็นอย่างดีไม่ว่าจะเป็น Deutsche Bank (DE:DBKGn), Crédit Agricole (PA:CRAP), JPMorgan (NYSE:JPM), Citigroup (NYSE:C), Barclays (LON:BARC), UniCredit (MI:CRDI), Bank of America (NYSE:BAC), Nomura (T:8604), NatWest (LON:NWG) และ Natixis (PA:CNAT)

สาเหตุที่สหภาพยุโรปไม่ต้องการพึ่งพาความช่วยเหลือจากธนาคารเหล่านี้เพราะมีความกลัวว่าอาจจะถูกชักจูงด้วยผลประโยชน์ทางการเมือง แต่หลังจากที่ถูกต่อต้านอย่างหนัก ล่าสุดคณะกรรมการแห่งสหภาพยุโรปก็ได้ผ่อนปรนให้ธนาคารแปดแห่งแรกที่กล่าวถึงไปสามารถให้ความช่วยเหลือทางการเงินได้ โดยมีข้อแม้ว่าจะต้องแสดงหลักฐานที่แสดงความโปร่งใสทางการเงินอยู่ตลอดเวลา

นอกจากนี้คณะกรรมการยุโรปยังอนุญาตให้เสริมสภาพคล่องจากธนาคารต่างชาติที่ถูกจัดให้อยู่ในกลุ่มความน่าเชื่อถือลำดับสองได้ ยกตัวอย่างเช่นธนาคาร  BNP Paribas (PA:BNPP), Germany's DZ Bank, HSBC (LON:HSBA), Intesa Sanpaolo SpA (MI:ISP), Morgan Stanley (NYSE:MS), Danske Bank (CSE:DANSKE) และ Santander (MC:SAN) เพื่อตอบสนองความต้องการสภาพคล่องของนักลงทุน

ผลการประชุมของเฟดทำกราฟผลตอบแทนฯ ทรงตัว

ข้ามฝากไปที่ฝั่งอเมริกา ในตอนนี้ไม่มีข่าวไหนดังไปมากกว่าการประกาศร่นระยะเวลาขึ้นอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐฯ (FED) จากปี 2024 ขึ้นมาเป็นภายในปี 2023 อีกแล้ว ทั้งๆ ที่ใจความของการประชุมครั้งนี้คือการคงดอกเบี้ยและการเงินนโยบายเอาไว้ดังเดิม 

ผู้มีสิทธิ์วางนโยบายการเงิน 13 จาก 18 คนมีความคิดว่า่เฟดควรเลื่อนเวลาปรับอัตราดอกเบี้ยขึ้นมาเป็นระยะเวลาภายในปี 2023 อีก 7 คนขอให้เลื่อนขึ้นมาเป็นปี 2022 ข่าวนี้ส่งผลให้ตลาดพันธบัตรแต่ละตัวผันผวนต่างกันออกไป กราฟผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ อายุ 10 ปีที่ตลาดนิยมใช้เป็นมาตรวัดมากที่สุดปรับตัวขึ้นเกือบถึง 1.6% ก่อนจะปรับตัวกลับลงมาที่ 1.5% เมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมาUST 30Y 60 Minute Chart

ก่อนที่จะมีการประกาศผลการประชุม กราฟผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ อายุ 30 ปีเคยวิ่งอยู่ที่ 2.2% หลังจากที่ทราบผลก็ปรับตัวลดลงมายัง 2.01% เมื่อวันศุกร์ ก่อนที่จะปรับตัวกลับขึ้นไปยัง 2.11% เมื่อวาน มีเพียงกราฟผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ อายุ 5 ปีเท่านั้นที่ปรับตัวขึ้นมากที่สุด ราคาขยับขึ้นไปจนเกือบถึง 0.96% ก่อนที่จะวิ่งกลับลงมาที่ 0.88% ซึ่งตัวเลขนี้สูงกว่าตัวเลขคาดการณ์ครั้งก่อน 0.78%

สถานการณ์ที่เกิดขึ้นทำให้กราฟเส้นเปรียบเทียบอัตราผลตอบแทนออกมาเป็นไปตามที่เหล่าผู้วางนโยบายการเงินคาดการณ์ แต่ก็ไม่มีรู้ว่าความแม่นนี้จะคงอยู่ไปได้อีกนานเพียงใด เพราะตั้งแต่เศรษฐกิจฟื้นตัวจากวัคซีนต้านโควิด ธนาคารกลางสหรัฐฯ ก็ปรับตัวเลขคาดการณ์เงินเฟ้อและการเติบโตทางเศรษฐกิจขึ้นทุกๆ ไตรมาสและทุกครั้งที่มีการประชุม 

ส่วนประเด็นการลดวงเงิน QE $120,000 ล้านเหรียญต่อเดือนนั้น ประธานธนาคารกลางสหรัฐฯ ได้แถลงหลังการประชุมว่าได้มีการพูดคุยกับผู้วางนโยบายคนอื่นบ้างแล้ว แต่จะตัดสินใจอย่างไรให้รอดูที่การประชุมครั้งถัดไป

ความคิดเห็นล่าสุด

กำลังโหลดบทความถัดไป...
การเปิดเผยความเสี่ยง: การซื้อขายตราสารทางการเงินและ/หรือเงินดิจิตอลจะมีความเสี่ยงสูงที่รวมถึงความเสี่ยงต่อการสูญเสียจำนวนเงินลงทุนของคุณบางส่วนหรือทั้งหมดและอาจไม่เหมาะสมกับนักลงทุนทั้งหมด ราคาของเงินดิจิตอลแปรปรวนอย่างมากและอาจได้รับผลกระทบจากปัจจัยภายนอกต่าง ๆ เช่น เหตุการณ์ทางการเงิน กฎหมายกำกับดูแล หรือ เหตุการณ์ทางการเมือง การซื้อขายด้วยมาร์จินทำให้ความเสี่ยงทางการเงินเพิ่มขึ้น
ก่อนการตัดสินใจซื้อขายตราสารทางการเงินหรือเงินดิจิตอล คุณควรตระหนักดีถึงความเสี่ยงและต้นทุนที่เกี่ยวข้องกับการซื้อขายในตลาดการเงิน ควรพิจารณาศึกษาอย่างรอบคอบในด้านวัตถุประสงค์การลงทุน ระดับประสบการณ์ และ การยอมรับความเสี่ยงและแสวงหาคำแนะนำทางวิชาชีพหากจำเป็น
Fusion Media อยากเตือนความจำคุณว่าข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้ไม่ใช่แบบเรียลไทม์หรือเที่ยงตรงแม่นยำเสมอไป ข้อมูลและราคาที่แสดงไว้บนเว็บไซต์ไม่ใช่ข้อมูลที่ได้รับจากตลาดหรือตลาดหลักทรัพย์เสมอไปแต่อาจได้รับจากผู้ดูแลสภาพคล่องและดังนั้นราคาจึงอาจไม่เที่ยงตรงแม่นยำและอาจแตกต่างจากราคาจริงในตลาดซึ่งหมายความว่าราคานี้เป็นเพียงราคาชี้นำและไม่เหมาะสมสำหรับวัตถุประสงค์เพื่อการซื้อขาย Fusion Media และผู้ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้จะไม่รับผิดชอบใด ๆ สำหรับความเสียหายหรือการสูญเสียที่เป็นผลมาจากการซื้อขายของคุณหรือการพึ่งพาของคุณในข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้
ห้ามใช้ จัดเก็บ ทำซ้ำ แสดงผล ดัดแปลง ส่งผ่าน หรือ แจกจ่ายข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้โดยไม่ได้รับการอนุญาตล่วงหน้าอย่างชัดแจ้งแบบเป็นลายลักษณ์อักษรจาก Fusion Media และ/หรือจากผู้ให้ข้อมูล ผู้ให้ข้อมูลขอสงวนสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาและ/หรือการแลกเปลี่ยนข้อมูลที่ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้
Fusion Media อาจได้รับผลตอบแทนจากผู้โฆษณาที่ปรากฎบนเว็บไซต์โดยอิงจากปฏิสัมพันธ์ของคุณที่มีกับโฆษณาหรือผู้โฆษณา
เวอร์ชั่นภาษาอังกฤษของเอกสารฉบับนี้เป็นเวอร์ชั่นหลักซึ่งจะเป็นเวอร์ชั่นที่เหนือกว่าเมื่อใดก็ตามที่มีข้อขัดแย้งไม่สอดคล้องตรงกันระหว่างเอกสารเวอร์ชั่นภาษาอังกฤษกับเอกสารเวอร์ชั่นภาษาไทย