Rebound but weak ST: คาด SET Index เปิดตลาดปรับตัวขึ้นสอดคล้องกับตลาดหุ้นทั่วโลก หลัง นักลงทุนคลายความกังวลต่อประเด็นการขึ้นดอกเบี้ยของ Fed ชั่วคราว อย่างไรก็ ตาม ประเมินการรีบาวด์ของ SET ในวันนี้จะไม่ได้มีนัยสําคัญมากนัก จากกระแส Fund flow ที่น่าจะยังไหลเข้าได้ไม่มาก โดยเป็นที่น่าสังเกตว่านับตั้งแต่ต้น สัปดาห์ที่ผ่านมา บาทถือว่าเป็นสกุลเงินที่อ่อนค่ามากที่สุดในเอเชียด้วย (รูป ที่ 1) ประกอบกับความชัน Yield urve ที่ยังคงค่อนข้างแบน (Flattening) ถึงแม้ จะมีการเต่งตัวขึ้นมาบางส่วนเมื่อคืนนี้ ส่งผลทําให้ Upside ของตลาดหุ้นในระยะ สั้นยังคงถูกจํากัด Powell: สําหรับปัจจัยวันนี้ แนะน่าติดตามการแถลงของนาย Jerome Powel ต่อ หน้าสภาผู้แทนของสหรัฐฯ เกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจและมาตรการช่วยเหลือของ Fed ในด้านต่างๆ ซึ่งเราประเมินว่า Powell จะพยายามใช้ค่าพูดไปในโทน Dovish อย่างมากที่สุดเท่าที่จะทําได้ และน่าจะเน้นย้ําถึงมุมมองเงินเฟ้อที่ปรับขึ้น ว่าน่าจะ เป็นเพียงแค่ปัจจัยชั่วคราวที่เกิดจาก Supply disruption รวมถึงอาจพูดเกี่ยวกับ ประเด็นการขึ้นดอกเบี้ยของ Fed ในช่วงถัดไปว่าจะถึงบนพัฒนาการของตัวเลข เศรษฐกิจเป็นสําคัญ (Data-dependent) หลังจากที่เกิดความผันผวนของตลาด ทุนตั้งแต่ช่วงปลายสัปดาห์ที่ผ่านมา ควยเหตุน คลาดอาจมการตอบรับอง บวกเล็กน้อยในช่วงของคืนนี้ Strategy: ในเชิงกลยุทธ์ หลังจากที่ทยอยเข้าสะสมหุ่นส่วนหนึ่งไปเมื่อวานนี้ที่ ดัชนีต่ํากว่าระดับ 1600 จุด แนะนําถือครองหุ้นในส่วนนั้นไว้ก่อนได้ ส่วนการเข้า เพิ่มน้ําหนักอย่างมีนัยสําคัญ แนะนําให้รอจังหวะที่ดัชนีลงไปใกล้เคียงกรอบล่าง ของเราที่ 1550 จุดมากกว่านี้ ส่วนกลุ่มหุ้นที่น่าจะปรับตัวแข็งแกร่งกว่าตลาดได้ ในช่วงนี้ ยังคงมองไปยัง 1) หุ้นกลุ่ม Commodity buyer ที่ได้ประโยชน์จากราคาสินค้าโภคภัณฑ์ (Non oil) ที่ปรับตัวลดลงต่อเนื่อง ได้แก่ KCE, HANA, SMT, CPF, GFPT, TFG ซึ่งหุ่นเหล่านี้เป็นกลุ่มส่งออกที่ได้ Sentiment เชิงบวกจากการอ่อนค่าของเงินบาท ณ ขณะนี้ด้วยเช่นกัน
2) หุ้นกลุ่ม Defensive ที่มีค่า Beta ต่ําและมีระดับ Dividend yield gap ที่ปรับตัวสูงขึ้นจากการปรับลดของ Bond yield ระยะยาว ได้แก่ EGCO, RATCH,WHAUP, ADVANC Curve flattening: ส่วนการปรับตัวของ Bond yield ในช่วงปี จะสังเกตได้ว่า ยังคงมีความชันที่ราบลง (Flattening) จากความคาดหวังเงินเฟ้อที่ลดลงในตลาด ซึ่งหากย้อนดูเหตุการณ์ในอดีตเมื่อปี 2013 จะพบว่าตัวแปร Breakeven ในตลาด มีการปรับตัว Peak out สามเดือนก่อนหน้าที่ Fed จะมีการส่งสัญญาณ QE Tapering เป็นครั้งแรกด้วยเช่นกัน นอกจากนั้น อัตราผลตอบแทนพันธบัตรระยะ สันในตลาดยังคงยืนอยู่ในระดับสูง จากคาดการณ์การขึ้นดอกเบี้ยของ Fed ที่เร็ว กว่ากําหนด 2019 episode: ทั้งนี้ จากการศึกษาของเราย้อนกลับไปในปี 2019 ช่วงเดือน ก.ค.-ส.ค.ที่เกิดเหตุการณ์ Yield flattening แบบรุนแรงในช่วงสั้น จนบางช่วงถึง ชั้นปรับตัวลงสู่ระดับติดลบนั้น พบว่ากลุ่มหุ้นของไทยที่ Outperform ในช่วงเวลาดังกล่าวจะมีอยู่ 2 คุณลักษณะใหญ่ๆด้วยกัน กล่าวคือ
1) เป็นกลุ่มหุ้นปันผลสูงที่มีความผันผวนต่ํา เนื่องจากการปรับตัวลงของ Bond yield ระยะยาวทําให้ระดับ Dividend yield gap สูงขึ้นโดยอัตโนมัติ ซึ่งมีกลุ่มหุ้น ที่ปรับตัวแข็งแกร่งกว่าตลาดในช่วงนั้นได้แก่ กลุ่ม ICT, กลุ่ม PREIT/IFF และกลุ่ม Utility
2) กลุ่ม Finance ที่ได้ Sentiment เชิงบวกจากความคาดหวังต่อต้นทุนทางการเงิน (Refinance) ที่ลดลง Bunker stocks: มอง 2 กลุ่มหุ้นที่มีคุณลักษณะดังกล่าวสามารถเป็นหลุม หลบภัยในช่วงที่ Yield curve ปรับตัว Flattening ในระยะสั้น 1-2 เดือนนี้ อย่างไรก็ตาม ในระยะกลางถัดไป เราเชื่อว่าระดับความชัน Yield curve ของสหรัฐฯนี้ จะค่อยๆไต่ระดับสูงขึ้นอีกครั้ง โดยเฉพาะ Bond yield ระยะยาวที่น่าจะขยับขึ้นสอดรับ กับกิจกรรมทางเศรษฐกิจต่างๆ ที่สูงขึ้น รวมถึงการ Price in การลดขนาดวงเงินการ ท่า QE ของ Fed ในช่วงถัดไป ซึ่งน่าจะทําให้ตลาดพันธบัตรสหรัฐฯเข้าสู่ภาวะ Bear steepening ได้อีกครั้ง คล้ายๆกับสถานการณ์ในช่วง Pre-tapering ปี 2013
บทวิเคราะห์นี้จัดทำขึ้นและเผยแพร่โดยทีมนักวิเคราะห์ของ Trinity Securities