🐦 Early bird ค้นพบหุ้นที่มาแรงที่สุดตอนนี้ด้วยราคาเบา ๆ รับส่วนลดสูงถึง 55% สำหรับ InvestingPro กับโปรโมชัน Black Fridayรับส่วนลด

จับตา รายงานเงินเฟ้อสหรัฐฯ และ การแจกจ่ายวัคซีนในไทย

เผยแพร่ 07/06/2564 08:02
อัพเดท 09/07/2566 17:32
USD/THB
-
DX
-

 

  • สัปดาห์ที่ผ่านมา ยอดการจ้างงานนอกภาคเกษตรกรรมสหรัฐฯที่เพิ่มขึ้นน้อยกว่าคาด ได้ช่วยคลายกังวลโอกาสที่เฟดจะปรับลดคิวอีเร็วขึ้น ทำให้ยีลด์ 10ปี สหรัฐฯ ย่อตัวลงหนัก ฉุดให้เงินดอลลาร์อ่อนค่าลงตาม

  • จับตา ทิศทางเงินเฟ้อสหรัฐฯ พร้อมกับ การฟื้นตัวเศรษฐกิจทั่วโลก อาทิ ภาคการส่งออกของเอเชีย รวมถึง ผลการประชุมธนาคารกลางยุโรป (ECB)

  • เงินดอลลาร์มีโอกาสผันผวนและแข็งค่าขึ้นได้ หากตลาดกลับมากังวลแนวโน้มเงินเฟ้อเร่งตัวขึ้น อนึ่ง เงินดอลลาร์อาจไม่ได้แข็งค่าไปมาก เพราะสกุลเงินอื่นๆ อาทิ เงินยูโร หรือ สกุลเงินเอเชียก็มีโอกาสแข็งค่าขึ้น หากข้อมูลเศรษฐกิจในยุโรปและเอเชียออกมาดีเกินคาด ในฝั่งเงินบาท ยังคงต้องติดตามการแจกจ่ายวัคซีน เพราะการแจกจ่ายวัคซีนที่ดีต่อเนื่องจะช่วยสร้างความมั่นใจให้กับนักลงทุนต่างชาติและหนุนให้เงินบาทแข็งค่าขึ้นได้ อย่างไรก็ดี เรากังวลว่า การแจกจ่ายวัคซีนอาจมีปัญหาในระยะแรก ทำให้เงินบาทจะแกว่งตัวในกรอบ (Sideways) จนกว่าการแจกจ่ายวัคซีนจะเร่งตัวขึ้นได้

  • มองกรอบเงินบาทสัปดาห์นี้
    31.05-31.35
    บาท/ดอลลาร์

มุมมองเศรษฐกิจทั่วโลก

  • ฝั่งสหรัฐฯ – แนวโน้มการฟื้นตัวอย่างต่อเนื่องของเศรษฐกิจสหรัฐฯ จะช่วยหนุนให้ความต้องการแรงงานยังอยู่ในระดับสูง สะท้อนผ่าน ยอดตำแหน่งงานเปิดรับ (JOLTS Job Openings) ที่อยู่ในระดับสูงถึง 8.4 ล้านตำแหน่ง ทั้งนี้ การจ้างงานที่ดีขึ้น รวมถึงภาวะเศรษฐกิจที่เริ่มกลับสู่ภาวะปกติมากขึ้นตามการแจกจ่ายวัคซีนจะช่วยทำให้ ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค (UofMichigan Consumer Sentiment) เดือนมิถุนายน ปรับตัวขึ้นสู่ระดับ 84.2 จุด อย่างไรก็ดี แม้ว่าจะมีการจ้างงานที่ดีขึ้น แต่ตลาดแรงงานสหรัฐฯ ก็ยังคงเผชิญภาวะขาดแคลนแรงงานอยู่ หลังจากที่ยอดการจ้างงานอกภาคเกษตรกรรม (Nonfarm Payrolls) เดือนพฤษภาคม เพิ่มขึ้นเพียง 5.6 แสนตำแหน่ง เนื่องจากผู้ว่างงานบางส่วนยังคงพอใจกับสวัสดิการการว่างงาน ขณะที่บางส่วนก็ยังไม่พร้อมสำหรับ New Normal ของการทำงาน อาทิ การทำงานจากบ้าน ซึ่งภาวะขาดแคลนแรงงานจะเป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้เกิดปัญหาด้านอุปทานที่ไม่สามารถผลิตสินค้าได้ทันกับความต้องการที่เพิ่มสูงขึ้น ทำให้ราคาสินค้าปรับตัวสูงขึ้น ส่งผลต่อเงินเฟ้อทั่วไป (CPI) ในเดือนพฤษภาคมยังอยู่ในระดับสูงถึง 4.7% ซึ่งก็ได้รับแรงหนุนจากราคาสินค้าโภคภัณฑ์ โดยเฉพาะราคาสินค้าพลังงานที่ปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องอีกด้วย

  • ฝั่งยุโรป – ผู้เล่นในตลาดการเงินยังคงมีความเชื่อมั่นต่อการฟื้นตัวเศรษฐกิจยุโรปที่ดีขึ้น สะท้อนจากดัชนีความเชื่อมั่นนักลงทุน (Sentix Investor Confidence) เดือนมิถุนายนที่จะปรับตัวขึ้นสู่ระดับ 25.4 จุด ขณะเดียวกัน ดัชนีความเชื่อมั่นเศรษฐกิจเยอรมนี (ZEW Economic Sentiment) เดือนมิถุนายนก็มีแนวโน้มปรับตัวขึ้นสู่ระดับ 86 จุด หนุนโดย ภาพเศรษฐกิจเยอรมนีที่ฟื้นตัวดีขึ้น หลังการเร่งแจกจ่ายวัคซีนสามารถคุมการระบาดได้ดีขึ้นและช่วยให้รัฐบาลทยอยผ่อนคลายมาตรการ Lockdown นอกจากนี้ เรามองว่า ธนาคารกลางยุโรป (ECB) จะยังคงใช้นโยบายการเงินที่ผ่อนคลายต่อไป ทั้งคงอัตราดอกเบี้ยนโยบาย อาทิ Deposit Facility Rate ที่ระดับ 0.50% พร้อมกับเดินหน้าซื้อสินทรัพย์อย่างน้อย 8.5 หมื่นล้านยูโร ต่อเดือน เพื่อช่วยสนับสนุนการฟื้นตัวเศรษฐกิจ

  • ฝั่งเอเชีย – การฟื้นตัวของเศรษฐกิจในโซนเอเชียยังคงได้รับแรงหนุนจากภาคการส่งออกเป็นสำคัญ สะท้อนผ่านยอดการส่งออกของหลายประเทศที่โตขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะไต้หวันที่ยอดการส่งออก (Exports) ในเดือนพฤษภาคมจะโตขึ้นกว่า 30%y/y จากความต้องการชิพและแผงวงจรที่เพิ่มขึ้นทั่วโลก ส่วนในฝั่งจีน ยอดการส่งออกในเดือนพฤษภาคม ก็จะขยายตัวกว่า 32%y/y เช่นกัน หนุนโดยภาพการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก ทำให้ความต้องการสินค้าเพิ่มสูงขึ้น อย่างไรก็ดี การขยายตัวต่อเนื่องของเศรษฐกิจจีนจะทำให้ความต้องการบริโภคในประเทศเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ทำให้ยอดการนำเข้า (Imports) เพิ่มขึ้นกว่า 50%y/y ซึ่งส่วนหนึ่งก็เป็นผลของราคาสินค้าโภคภัณฑ์ที่พุ่งขึ้น ดังจะเห็นได้จาก ดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI) ในเดือนพฤษภาคม ที่จะเร่งตัวขึ้นสู่ระดับ 8.5% จาก 6.8% ในเดือนก่อน เช่นเดียวกับอัตราเงินเฟ้อทั่วไป (CPI) ที่จะเร่งตัวขึ้นสู่ระดับ 1.6% จาก 0.9% ในเดือนก่อน

  • ฝั่งไทย – ปัญหาการระบาดของ COVID-19 รวมถึงความไม่แน่นอนของการแจกจ่ายวัคซีน จะกดดันความเชื่อมั่นของประชาชนต่อแนวโน้มการฟื้นตัวเศรษฐกิจ สะท้อนผ่านดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค (Consumer Confidence Index) เดือนพฤษภาคมที่จะปรับตัวลดลงต่อเนื่องสู่ระดับ 44 จุด

Week ahead carlendar



ความคิดเห็นล่าสุด

กำลังโหลดบทความถัดไป...
การเปิดเผยความเสี่ยง: การซื้อขายตราสารทางการเงินและ/หรือเงินดิจิตอลจะมีความเสี่ยงสูงที่รวมถึงความเสี่ยงต่อการสูญเสียจำนวนเงินลงทุนของคุณบางส่วนหรือทั้งหมดและอาจไม่เหมาะสมกับนักลงทุนทั้งหมด ราคาของเงินดิจิตอลแปรปรวนอย่างมากและอาจได้รับผลกระทบจากปัจจัยภายนอกต่าง ๆ เช่น เหตุการณ์ทางการเงิน กฎหมายกำกับดูแล หรือ เหตุการณ์ทางการเมือง การซื้อขายด้วยมาร์จินทำให้ความเสี่ยงทางการเงินเพิ่มขึ้น
ก่อนการตัดสินใจซื้อขายตราสารทางการเงินหรือเงินดิจิตอล คุณควรตระหนักดีถึงความเสี่ยงและต้นทุนที่เกี่ยวข้องกับการซื้อขายในตลาดการเงิน ควรพิจารณาศึกษาอย่างรอบคอบในด้านวัตถุประสงค์การลงทุน ระดับประสบการณ์ และ การยอมรับความเสี่ยงและแสวงหาคำแนะนำทางวิชาชีพหากจำเป็น
Fusion Media อยากเตือนความจำคุณว่าข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้ไม่ใช่แบบเรียลไทม์หรือเที่ยงตรงแม่นยำเสมอไป ข้อมูลและราคาที่แสดงไว้บนเว็บไซต์ไม่ใช่ข้อมูลที่ได้รับจากตลาดหรือตลาดหลักทรัพย์เสมอไปแต่อาจได้รับจากผู้ดูแลสภาพคล่องและดังนั้นราคาจึงอาจไม่เที่ยงตรงแม่นยำและอาจแตกต่างจากราคาจริงในตลาดซึ่งหมายความว่าราคานี้เป็นเพียงราคาชี้นำและไม่เหมาะสมสำหรับวัตถุประสงค์เพื่อการซื้อขาย Fusion Media และผู้ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้จะไม่รับผิดชอบใด ๆ สำหรับความเสียหายหรือการสูญเสียที่เป็นผลมาจากการซื้อขายของคุณหรือการพึ่งพาของคุณในข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้
ห้ามใช้ จัดเก็บ ทำซ้ำ แสดงผล ดัดแปลง ส่งผ่าน หรือ แจกจ่ายข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้โดยไม่ได้รับการอนุญาตล่วงหน้าอย่างชัดแจ้งแบบเป็นลายลักษณ์อักษรจาก Fusion Media และ/หรือจากผู้ให้ข้อมูล ผู้ให้ข้อมูลขอสงวนสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาและ/หรือการแลกเปลี่ยนข้อมูลที่ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้
Fusion Media อาจได้รับผลตอบแทนจากผู้โฆษณาที่ปรากฎบนเว็บไซต์โดยอิงจากปฏิสัมพันธ์ของคุณที่มีกับโฆษณาหรือผู้โฆษณา
เวอร์ชั่นภาษาอังกฤษของเอกสารฉบับนี้เป็นเวอร์ชั่นหลักซึ่งจะเป็นเวอร์ชั่นที่เหนือกว่าเมื่อใดก็ตามที่มีข้อขัดแย้งไม่สอดคล้องตรงกันระหว่างเอกสารเวอร์ชั่นภาษาอังกฤษกับเอกสารเวอร์ชั่นภาษาไทย