📈 คุณจะเริ่มลงทุนอย่างจริงจังในปี 2025 ไหม? เริ่มต้นก้าวแรกพร้อมรับส่วนลด 50% สำหรับสมาชิก InvestingProรับส่วนลด

ต่อให้การจ้างงานสหรัฐฯ วันนี้จะทะลุล้าน ก็ไม่อาจช่วยหนุนดอลลาร์...ทำไม?

เผยแพร่ 07/05/2564 11:58
อัพเดท 09/07/2566 17:31
EUR/USD
-
GBP/USD
-
USD/JPY
-
USD/CAD
-
CAD/JPY
-
CAD/USD
-
USDIDX
-
เป็นประจำของทุกๆ วันศุกร์แรกของเดือนที่ตลาดลงทุนจะให้ความสนใจกับการประกาศตัวเลขการจ้างงานนอกภาคการเกษตร (NFP) ของสหรัฐอเมริกาที่จะรายงานในช่วงหัวค่ำตามเวลาประเทศไทย นักวิเคราะห์ประเมินว่าถ้าตัวเลขการจ้างงานสามารถเพิ่มขึ้นถึง 978,000 ตำแหน่งจะสามารถทำสถิติตัวเลขการจ้างงานเติบโตมากที่สุดนับตั้งแต่เดือนสิงหาคมปีที่แล้ว สิ่งที่น่าสนใจก็คือนักวิเคราะห์กลับมองว่าข่าวดีนี้อาจจะไม่ช่วยหนุนดอลลาร์สหรัฐ
 

ไม่มีใครปฏิเสธว่าสหรัฐอเมริกาตอนนี้เป็นประเทศที่สามารถฟื้นฟูเศรษฐกิจภายในขึ้นมาได้อย่างรวดเร็ว หลายธุรกิจรับคนเข้าทำงานเพิ่มขึ้น แต่ในขณะเดียวกันรายละเอียดปลีกย่อยของตัวเลขทางเศรษฐกิจที่ประกาศออกมาตลอดทั้งสัปดาห์นี้ก็แสดงให้เห็นว่าการจ้างงานในบางส่วนยังไม่ฟื้นตัว ยกตัวอย่างเช่นการจ้างงานในภาคการผลิตที่ชะลอตัวมาเป็นเดือนที่ห้าติดต่อกันแม้ว่าจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานครั้งแรกจะลดลง 

รายงานตัวเลข PMI ภาคการบริการและตัวเลขคาดการณ์การจ้างงานจาก ADP ก็ไม่สามารถเพิ่มขึ้นได้ถึงเป้า แม้จะมีการจ้างงานเพิ่มขึ้นจริง แต่กิจกรรมในภาคบริการยังคงต่ำ เหตุผลทั้งหมดเหล่านี้จะทำให้นักลงทุนขาขึ้นบางส่วนเป็นกังวลว่าตัวเลข NFP ที่กำลังจะประกาศอาจจะเพิ่มขึ้นไม่ถึงตัวเลขคาดการณ์หรืออาจจะไม่สามารถทะลุเกิน 1 ล้านตำแหน่งขึ้นไปได้

 

เหตุผลสนับสนุนว่าการประกาศ NFP วันนี้จะมีการจ้างงานเพิ่มขึ้น

1. การจ้างงานในภาคการบริการที่วัดโดย ISM เพิ่มขึ้น
2. รายงานตัวเลขคาดการณ์การจ้างงานจาก ADP เพิ่มขึ้นสูงที่สุดนับตั้งแต่เดือนกันยายนปี 2020
3. รายงานตัวเลขการเลิกจ้างพนักงานจาก Challenger ลดลงจาก 30,600 ตำแหน่งเป็น 22,900 ตำแหน่ง
4. เส้นค่าเฉลี่ยสี่สัปดาห์ปรับตัวลดลงต่ำที่สุดนับตั้งแต่วันที่ 28 มีนาคมปี 2020
5. ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคเพิ่มขึ้นสูงที่สุดนับตั้งแต่เดือนมีนาคมปี 2020
6. ดัชนีวัดความเชื่อมั่นของผู้บริโภคจากมหาลัยมิชิแกนเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว

เหตุผลสนับสนุนว่าการประกาศ NFP วันนี้อาจมีการชะลอตัว

1. จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานต่อเนื่องยังไม่ลดลงจนถึงระดับที่น่าพอใจ
2. การจ้างงานในภาคการผลิตจาก ISM ชะลอตัวมาเป็นเดือนที่ห้าติดต่อกัน

อีกเหตุผลหนึ่งที่ทำให้ดอลลาร์สหรัฐวันนี้ไม่ได้รับความสนใจเท่าที่ควรเพราะนักลงทุนในตลาดหันไปโฟกัสกับสถานการณ์การฟื้นตัวทางเศรษฐกิจของประเทศอื่น การกระจายวัคซีนในยูโรโซนทำได้ดีขึ้นเรื่อยๆ แม้ว่าบางภูมิภาคจะยังมีการล็อกดาวน์อยู่ แต่เชื่อว่าอีกไม่นานมาตรการคุมเข้มทางสังคมก็จะมีการผ่อนคลายมากขึ้น การเติบโตของตัวเลขยอดค้าปลีกในเดือนมีนาคมยิ่งทำให้นักลงทุนหันมาสนใจสกุลเงินยูโรมากยิ่งกว่าเดิม


จากเหตุผลที่กล่าวมาทั้งหมดสามารถสรุปสั้นๆ ได้ว่าหากดอลลาร์สหรัฐจะสามารถพลิกกลับมาแข็งค่าได้ ตัวเลข NFP จะต้องออกมาเกิน 1 ล้านตำแหน่ง อัตราการว่างงานจะต้องออกมาอยู่ที่ 5.8% หรือต่ำกว่านั้น ตัวเลขค่าจ้างรายชั่วโมงโดยเฉลี่ยจะต้องเพิ่มขึ้น ทั้งสามสิ่งนี้ต้องเกิดขึ้น ขาดตัวใดตัวหนึ่งไม่ได้ หากออกมาเช่นนี้จริงกราฟ USD/JPY มีโอกาสวิ่งกลับขึ้นไปยัง 110 ในขณะที่ EUR/USD อาจสามารถปรับตัวลดลงต่ำกว่า 1.20 ได้

ดอลลาร์แคนาดายังคงแข็งแกร่งต่อเนื่องเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ นี่คือการแข็งค่าของดอลลาร์แคนาดา มากที่สุดนับตั้งแต่ปี 2017 อย่างไรก็ตามการคาดการณ์ตลาดแรงงานของแคนาดานั้นแตกต่างออกไปจากสหรัฐฯ นักเศรษฐศาสตร์คาดว่าตัวเลขการจ้างงานที่จะรายงานในวันนี้จะลดลง แต่ฝั่งนักลงทุนก็แย้งว่าฝั่งนักเศรษฐศาสตร์คาดการณ์การเติบโตของตลาดแรงงานแคนาดาผิดมาสองเดือนติดต่อกันแล้ว และการคาดการณ์ตัวเลขของเดือนเมษายนก็อาจจะผิดอีกครั้ง
 
สาเหตุที่นักเศรษฐศาสตร์ประเมินออกมาเช่นนั้นเป็นเพราะแคนาดาได้มีการล็อกดาวน์ในเมืองใหญ่ๆ แต่ก็คิดว่าการจ้างงานไม่น่าจะลดลงเกิน 175,000 ตำแหน่ง ดังนั้นนอกจากตลาดแรงงานฝั่งสหรัฐฯ แล้ว นักลงทุนจึงควรจับตาดูฝั่งแคนาดาให้ดี กราฟ USD/CAD และ CAD/JPY อาจมีการผันผวนสูงหลังตัวเลขการจ้างงานประกาศออกมาแล้ว

 
สกุลเงินปอนด์อ่อนค่าลงเมื่อได้ฟังผลการตัดสินใจจากธนาคารกลางอังกฤษ (BoE) เมื่อวานนี้ สุดท้ายแล้ว BoE ก็ตัดสินใจคงดอกเบี้ยนโยบายและการทำ QE เอาไว้ดังเดิม พวกเขาประกาศว่ายังเชื่อมั่นในภาพการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ แต่สิ่งที่ทำให้นักลงทุนผิดหวังก็คือ BoE เน้นว่าจะไม่ขึ้นอัตราดอกเบี้ยจนกว่าจะมีสัญญาณการจ้างงานกลับมาและอัตราเงินเฟ้อสามารถเพิ่มขึ้นเกิน 2% 

ความคิดเห็นล่าสุด

กำลังโหลดบทความถัดไป...
การเปิดเผยความเสี่ยง: การซื้อขายตราสารทางการเงินและ/หรือเงินดิจิตอลจะมีความเสี่ยงสูงที่รวมถึงความเสี่ยงต่อการสูญเสียจำนวนเงินลงทุนของคุณบางส่วนหรือทั้งหมดและอาจไม่เหมาะสมกับนักลงทุนทั้งหมด ราคาของเงินดิจิตอลแปรปรวนอย่างมากและอาจได้รับผลกระทบจากปัจจัยภายนอกต่าง ๆ เช่น เหตุการณ์ทางการเงิน กฎหมายกำกับดูแล หรือ เหตุการณ์ทางการเมือง การซื้อขายด้วยมาร์จินทำให้ความเสี่ยงทางการเงินเพิ่มขึ้น
ก่อนการตัดสินใจซื้อขายตราสารทางการเงินหรือเงินดิจิตอล คุณควรตระหนักดีถึงความเสี่ยงและต้นทุนที่เกี่ยวข้องกับการซื้อขายในตลาดการเงิน ควรพิจารณาศึกษาอย่างรอบคอบในด้านวัตถุประสงค์การลงทุน ระดับประสบการณ์ และ การยอมรับความเสี่ยงและแสวงหาคำแนะนำทางวิชาชีพหากจำเป็น
Fusion Media อยากเตือนความจำคุณว่าข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้ไม่ใช่แบบเรียลไทม์หรือเที่ยงตรงแม่นยำเสมอไป ข้อมูลและราคาที่แสดงไว้บนเว็บไซต์ไม่ใช่ข้อมูลที่ได้รับจากตลาดหรือตลาดหลักทรัพย์เสมอไปแต่อาจได้รับจากผู้ดูแลสภาพคล่องและดังนั้นราคาจึงอาจไม่เที่ยงตรงแม่นยำและอาจแตกต่างจากราคาจริงในตลาดซึ่งหมายความว่าราคานี้เป็นเพียงราคาชี้นำและไม่เหมาะสมสำหรับวัตถุประสงค์เพื่อการซื้อขาย Fusion Media และผู้ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้จะไม่รับผิดชอบใด ๆ สำหรับความเสียหายหรือการสูญเสียที่เป็นผลมาจากการซื้อขายของคุณหรือการพึ่งพาของคุณในข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้
ห้ามใช้ จัดเก็บ ทำซ้ำ แสดงผล ดัดแปลง ส่งผ่าน หรือ แจกจ่ายข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้โดยไม่ได้รับการอนุญาตล่วงหน้าอย่างชัดแจ้งแบบเป็นลายลักษณ์อักษรจาก Fusion Media และ/หรือจากผู้ให้ข้อมูล ผู้ให้ข้อมูลขอสงวนสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาและ/หรือการแลกเปลี่ยนข้อมูลที่ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้
Fusion Media อาจได้รับผลตอบแทนจากผู้โฆษณาที่ปรากฎบนเว็บไซต์โดยอิงจากปฏิสัมพันธ์ของคุณที่มีกับโฆษณาหรือผู้โฆษณา
เวอร์ชั่นภาษาอังกฤษของเอกสารฉบับนี้เป็นเวอร์ชั่นหลักซึ่งจะเป็นเวอร์ชั่นที่เหนือกว่าเมื่อใดก็ตามที่มีข้อขัดแย้งไม่สอดคล้องตรงกันระหว่างเอกสารเวอร์ชั่นภาษาอังกฤษกับเอกสารเวอร์ชั่นภาษาไทย