TISCO แข็งแกร่งไม่เปลี่ยนแปลง
กําไรสุทธิ 1964 ใกล้เคียงคาด เติบโต 8% QoQ หนุนด้วยรายได้ที่มิใช่ ดอกเบี้ยในกลุ่มตลาดทุน ขณะที่การตั้ง ECL ในระดับสูง แม้คุณภาพ สินทรัพย์อยู่ในเกณฑ์ดี หนุน Coverage ratio สูงถึง 222% พร้อมรับความ ผันผวนของเศรษฐกิจ ด้าน Total expected return ที่ 10.6% แนะนํา ซื้อ กําไร 1964 เติบโต 8% QoQ พร้อม Coverage ratio สูงถึง 222%
กําไรสุทธิ 1064 ที่ 1.76 พันล้านบาท เติบโต 8% QoQ (+199% YoY) ใกล้เคียงฝ่ายวิจัย และตลาดคาด โดยรายได้ที่มิใช่ดอกเบี้ยขยายตัว 19% QoQ และดีกว่าคาด 10% ผลักดันด้วยรายได้ค่าธรรมเนียมฯ เพิ่ม 12% QoQ (+10% yoy) จากกลุ่มตลาดทุน และ กําไรจากการวัดมูลค่าเงินลงทุน (FVTPL) อานิสงค์จากสภาวะ Bullish ในสินทรัพย์เสี่ยง ทั่วโลก ชดเชยรายได้ดอกเบี้ยรับสุทธิชะลอตัวตามคาด 4.6% QoQ (-10% yoy) เป็นไป ในทิศทางเดียวกับสินเชื่อที่ลดลง รวมถึงผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้น (ECL) สูงกว่าคาด เพื่อรองรับความไม่แน่นอนของเศรษฐกิจ ทําให้ Credit Cost อยู่ที่ 1.5% (คาด 1.32%) จาก 1.37% ในงวดก่อน (1063 ที่ 1.79%) แม้ NPL Ratio ทรงตัวจากสิ้น งวดก่อนที่ 2.519% ภาพดังกล่าวผลักดัน Coverage ratio ณ สิ้นงวด 1Q64 เป็น 222% จาก 211% ณ สิ้นงวดก่อน ซึ่งคาดว่าจะเป็นระดับที่สูงสุดในกลุ่มฯ
ตั้งการ์คสูง พร้อมรับมือกับความไม่แน่นอน
แม้การระบาดของ COVID-19 ในไทยยังต้องเฝ้าระวัง ขณะที่การกระจายวัคซีน COVID19 ในไทยยังต้องใช้เวลา ทําให้อัตราการเติบโตของ GDP ไทยยังมีความไม่แน่นอนสูง แต่การตั้ง ECL ของ TISCO ในงวดนี้ อยู่บนสมมติฐาน GDP ไทยปี 2564 ไม่เติบโตจาก ปีก่อน มองว่าค่อนข้างอนุรักษ์นิยม ทําให้แนวโน้ม ECL ช่วงที่เหลือของปีจะไม่เร่ง ตัวอย่างมีนัยฯ โดยผู้บริหารคาดสามารถรองรับ NPL Ratio ได้สูงถึง 3.5% - 4.5% เมื่อ เทียบกับ 2063 ที่มี Full lock down ระดับ NPL Ratio อยู่ที่ 3.3%
จุดเด่นที่ Div Yield สูงราว 7% และงบดุลแกร่ง
ซึ่ง GGM กําหนด ROE ระยะยาว16% ให้ PBV ที่ 1.9 เท่า ได้ FVที่ 102 บาท คงแนะนํา ซื้อ จากงบดุลแกร่ง รวมถึงแนวโน้ม ROE เฉลี่ยปี 2564 – 66 ราว 16% สูงสุดในกลุ่มฯ และ Div yield ปี 2563 ที่ 6.4% (XD 28 เม.ย. 54) ส่วนปี 2564 คาด 7.1% เมื่อรวมกับ Upside 3.5% คิดเป็น Total Expected Return ปี 2554 ราว 10.7%
คงมุมมองระมัดระวัง แต่แนวโน้ม Credit Cost ลดลง
หลังตั้งล่วงหน้าแล้ว จากการประชุมนักวิเคราะห์วานนี้ พร้อมเปิดตัว CEO คนใหม่ คุณศักดิ์ชัย พีชะพัฒน์ ภาพรวมธนาคารฯ ยังคงแนวทางการบริหารแบบอนุรักษ์นิยม แต่สร้างกําไรสูงสุดให้ผู้ถือ หุ้น ผ่านระดับ ROE ที่ยังคงอยู่ในระดับสูง พร้อมนโยบายการจ่ายเงินปันผลในระดับสูงไม่ เปลี่ยนแปลง ด้านสินเชื่อ แม้ช่วงที่ผ่านมาทรงตัว แต่เป็นเพราะธนาคารฯ ไม่ได้หย่อน เกณฑ์ในการปล่อยสินเชื่อ เมื่อเทียบกับ ธ.พ. คู่แข่ง ผลจากสภาพเศรษฐกิจไทยยังมีความ ไม่แน่นอนสูง โดยเฉพาะในกลุ่มสินเชื่อรถยนต์ที่เห็นการจัดโปรโมชั่นค่อนข้างรุนแรง ผ่าน แคมเปญดาวน์ 0% ซึ่งอาจไม่ได้สะท้อนกําลังซื้อที่แท้จริงมากนัก ขณะที่สินเชื่อจํานํา ทะเบียนรถยนต์ แม้เห็นการเข้ามาของออมสิน (จับมือเป็นพันธมิตรกับ SAWAD) แต่ฐาน ลูกค้าเป็นคนละกลุ่ม กอปรกับตลาดจํานําทะเบียนค่อนข้างใหญ่ (รถยนต์และ จักรยานยนต์จดทะเบียนสะสมราว 30 – 40 ล้านคัน) เชื่อว่ายังมีช่องให้เติบโต นอกจากนี้ ผู้บริหารกล่าวถึงโอกาสในการทําธุรกิจผ่าน Platform Digital ที่เกี่ยวข้องกับสินเชื่อรถยนต์ เช่น ช่องทางในการขายรถยนต์มือสอง ให้ลูกหนี้ ในกรณีที่ลูกหนี้อยากปิดสถานะหนี้คง ค้าง ซึ่งใช้เงินลงทุนไม่มาก เนื่องจากเป็น project ขนาดเล็ก และทําอย่างค่อยเป็นค่อยไป โดยรวมฝ่ายวิจัยมองประเด็นดังกล่าวยังไม่มีผลต่อประมาณการและต้องติดตามต่อไป สําหรับประเด็นเรื่องการจ่ายเงินปันผลในปี 2564 ยังไม่มีประกาศคําสั่งเพิ่มเติมจากทาง ธปท. แต่สถานการณ์การระบาดระลอกใหม่ของ COVID-19 ทําให้แนวทางการจ่ายเงินปัน ผลยังเป็นเรื่องที่ต้องติดตามจากนโยบาย ธปท. ต่อไป (หากมีเชื่อไม่เข้มเท่าปี 2563) โดย ฝ่ายวิจัยมองว่า TISCO ที่มีอัตราส่วนเงินกองทุนเทียบสินทรัพย์เสี่ยง (BIS Ratio หรือ CAR) ณ สิ้นงวด 1Q64 ที่ 23% และ Tier - 1 ที่ 18.3% สูงเกินเกณฑ์ขั้นต่ําที่ 11% และ 8.5% ตามลําดับมากพอสมควร คาดว่ายังคงรักษาการจ่ายเงินปันผลในระดับสูง
อ่านบทวิเคราะห์ฉบับเต็ม
บทความนี้จัดทำและเผยแพร่ครั้งแรกบนเว็บไซต์ ASIA Plus Securities