ลด 50%! ชนะตลาดในปี 2025 ด้วย InvestingProรับส่วนลด

ไม่ว่าอิหร่านกับสหรัฐฯ จะตกลงกันได้หรือไม่ OPEC ก็ต้องหนักใจอยู่ดี

เผยแพร่ 25/03/2564 11:57
LCO
-
CL
-

นับตั้งแต่โจ ไบเดนเข้ามารับตำแหน่งประธานาธิบดีของสหรัฐอเมริกา นี่ก็นับเป็นเวลาสองเดือนแล้ว ตั้งแต่เขาเข้ารับตำแหน่ง โจ ไบเดนก็ได้พยายามทำตามวาจาที่ลั่นไว้ กฎหมายกระตุ้นเศรษฐกิจก็ออกมาแล้ว ตอนนี้ก็เริ่มมีข่าวที่จะเก็บภาษีบริษัทเอกชนแม้จะยังไม่มีกำหนดเวลาที่แน่นอนก็ตาม แต่อีกสิ่งหนึ่งที่ตลาดกำลังจับตาดูคือเมื่อไหร่ โจ ไบเดนจะหยิบเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างสหรัฐอเมริกากับอิหร่านขึ้นมาพูด เพราะตั้งแต่อดีตประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์คว่ำบาตรอิหร่านไป ก็ไม่มีการพูดถึงเรื่องนี้อีกเลย

อาจเป็นไปได้ว่าสหรัฐอเมริกาต้องการรอให้อิหร่านเป็นฝ่ายเคลื่อนไหวก่อน พวกเขาอาจต้องการรอดูข่าวที่บ่งบอกว่าอิหร่านมีความพยายามที่จะสร้างอาวุธนิวเคลียร์ขึ้นมา จากนั้นอิหร่านก็อาจจะมีลูกเล่น  พยายามต่อรองและทำให้สหรัฐฯ จำเป็นต้องยกเรื่องนี้กลับขึ้นมาพูดอีกครั้ง ล่าสุดเมื่อไม่กี่วันมานี้คนจากทำเนียบขาวพึ่งก็ได้ออกมาพูดเกี่ยวกับสถานการณ์นี้ว่า “จะช้าหรือเร็ว ทั้งสองฝ่ายก็ต้องเจรจาเรื่องนี้กันอยู่ดี”

อันที่จริงอิหร่านก็ได้อ่านเกมการสนทนานี้เอาไว้บ้างแล้ว พวกเขาเพียงแค่ยกเรื่องการสร้างนิวเคลียร์ขึ้นมาขู่เท่านั้น และอิหร่านยิ่งเชื่อมั่นว่าไม่ว่าการเจรจาจะจบลงเช่นไร อเมริกาจะไม่มีทางที่จะเข้ามายุ่งเรื่องโควตาการผลิตน้ำมันและการส่งออกของประเทศได้

Crude Oil Daily

ผลกระทบจากการคว่ำบาตรอิหร่านในยุคของทรัมป์

การคว่ำบาตรอิหร่านนานกว่า 2 ปีครึ่งของอดีตประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์เกือบทำลายเศรษฐกิจของทั้งประเทศ จากเดิมที่อิหร่านเคยส่งออกน้ำมันได้ 2.5 ล้านบาร์เรลต่อวันลดลงมาเหลือ 100,000 บาร์เรลต่อวัน แต่ตอนนี้โดนัลด์ ทรัมป์ก็ได้ลงจากตำแหน่งแล้ว แต่การที่โจ ไบเดนยังคงไม่ยอมแสดงท่าทีต่อเรื่องนี้จนถึงทุกวันนี้หมายความว่าตัวเขาเองก็เห็นด้วยกับวิธีการของทรัมป์ใช่หรือไม่

อิหร่านในตอนนี้ทำได้เพียงส่งออกน้ำมันไปยังโรงกลั่นของประเทศคู่ค้าที่ไว้ใจได้ นั่นคือ “ประเทศจีน” และกำลังพยายามมองหาประเทศอื่นๆ ที่ยินดีจะซื้อน้ำมันจากเขาอยู่ ถึงขนาดว่าอิหร่านยอมลดราคาน้ำมันของตัวเองลง $3-$5 ต่อบาร์เรลเพื่อทำราคาให้สามารถแข่งขันกับน้ำมันดิบเบรนท์ได้

อินเดียอาจกลายมาเป็นประเทศเป้าหมายต่อไปของอิหร่าน เพราะอินเดียเป็นประเทศที่นำเข้าน้ำมันมากที่สุดเป็นอันดับที่สามรองจากประเทศจีนและสหรัฐอเมริกา ตอนนี้มีข่าวว่าอินเดียอาจยกเลิกการนำเข้าน้ำมันจากซาอุดิอาระเบียในช่วงกลางไตรมาสที่ 2 เพราะซาอุดิอาระเบียยังอยู่ในช่วงลดกำลังการผลิตน้ำมันซึ่งทำให้อินเดียไม่ได้น้ำมันตามโควตาที่ต้องการ

ปัจจุบันราคาน้ำมันดิบปรับตัวลดลงเป็นวันที่สองในรอบสี่วันจากความกังวลการแพร่ระบาดของโควิดระลอกใหม่ในยุโรป ราคาน้ำมันดิบเบรนท์ปรับตัวลดลงมาจากจุดสูงสุดล่าสุด 6% ในขณะที่ราคาน้ำมันดิบ WTI ปรับตัวลดลงมา 7% นับเป็นขาลงภายในวันเดียวมากที่สุดนับตั้งแต่เดือนมิถุนายน

การปรับตัวลดลงของราคาน้ำมันดิบเพิ่มความน่าสนใจให้กับการประชุมของกลุ่ม OPEC ที่จะเกิดขึ้นในวันที่ 31 มีนาคมนี้เป็นอย่างมาก อย่างที่ทราบกันดีว่าตอนนี้ทางกลุ่มก็ยังคงลดกำลังการผลิตอยู่ แต่การที่ราคาน้ำมันดิบวิ่งกลับลงมาอยู่ต่ำกว่า $60 ต่อบาร์เรลอีกครั้งนำมาซึ่งคำถามที่ว่าการประชุมครั้งนี้พวกเขาจะทำอย่างไร อาจต้องมีหนึ่งประเทศสมาชิกที่ยอมเสียสละลดกำลังการผลิตน้ำมัน

อิหร่านคือตัวแปรสำคัญต่อการคาดการณ์ตลาดน้ำมันของ OPEC

เดิมทีอิหร่านถือเป็นหนึ่งในสมาชิกหลักของกลุ่ม OPEC แต่ปัจจุบันถูกยกเว้นการผลิตน้ำมันเอาไว้เนื่องจากถูกคว่ำบาตรจากสหรัฐอเมริกาอยู่ นั่นจึงทำให้ OPEC ไม่สามารถนำเอาการผลิตน้ำมันของอิหร่านเข้ามาอยู่ในสูตรร่วมคำนวณได้

หากอิหร่านสามารถนำเอากำลังการผลิตน้ำมันหลักล้านบาร์เรลต่อวันกลับมาสู่กลุ่ม OPEC จะส่งผลต่อการผลิตน้ำมันของทั้งกลุ่ม OPEC+ อยู่สองประการ ประการแรกคือทั้งกลุ่มต้องคำนวณโควตาการผลิตน้ำมันกันใหม่ทั้งหมด ประการที่สองคือถ้าดึงอิหร่านกลับมาแล้ว การผลิตน้ำมันย่อมมีมากเกินกว่าที่ตลาดต้องการ ในเมื่อทุกประเทศต้องการผลิตน้ำมันเพื่อนำกำไรเข้าประเทศ แล้วกลุ่ม OPEC จะวางนโยบายดูแลสมาชิกทุกประเทศอย่างเท่าเทียมได้อย่างไร

อิหร่านเองก็รู้ความจริงข้อนี้ดี นั่นจึงเป็นเหตุผลว่าทำไมประธานาธิบดีของประเทศนายแฮแซน โรว์ฮอนี ต้องเล่นบทคนสองหน้า ในการประชุมของกลุ่ม OPEC+ เขาจะทำตัวเป็นคนที่ไม่รู้อะไร ตีเนียนไปเรื่อยๆ แต่ในขณะเดียวกันก็จะพยายามพูดกับซาอุดิอาระเบียให้คอยกดดันประเทศเล็กๆ ที่รักษาสิทธิ์ของอิหร่านเอาไว้รอวันที่ประเทศได้กลับเข้ามาเป็นสมาชิกผู้ทรงพลังอีกครั้ง

จอห์น คิลดัฟฟ์ พาร์ทเนอร์ผู้ร่วมก่อตั้งกองทุนเน้นตลาดพลังงาน “Again Capital” ให้ความเห็นเกี่ยวกับเรื่องนี้ว่า

“สำหรับดีลระหว่างอิหร่านและสหรัฐฯ พวกเขาอาจไม่จำเป็นต้องทำอะไรเลยก็ได้ เพราะไม่ว่าอย่างไรในปีนี้สหรัฐอเมริกาก็ต้องตั้งโต๊ะคุยกับอิหร่านอยู่แล้วสักวันหนึ่ง และความเป็นไปได้ที่อิหร่านจะได้กำลังมาผลิตน้ำมันตามเดิมก็ยังมีความเป็นไปได้มากกว่าเมื่อแลกกับการที่สหรัฐฯ ไม่ต้องมากังวลเรื่องนิวเคลียร์ ดังนั้นหากถ้าว่าระหว่างสหรัฐฯ กับกลุ่ม OPEC ใครคือฝ่ายที่ควรกังวลเรื่องอิหร่านมากกว่ากัน คำตอบก็ควรจะเป็น OPEC การไล่สมาชิกออกเพื่อเอาที่คืนให้อิหร่านคงเป็นการเสียมารยาทมากๆ แม้จะเป็นประเทศเล็กๆ ก็ตาม”

อันที่จริงในช่วงของการถูกคว่ำบาตร อิหร่านก็ใช่ว่าจะยอมอยู่เฉยๆ พวกเขามีเล่ห์เลี่ยมในการอ้างได้ว่าน้ำมันที่ผลิตนั้นมาจากที่อื่น สำนักข่าวบลูมเบิร์กรายงานข้อมูลจากกรมศุลกากรของจีนว่าไม่มีรายงานการนำเข้าน้ำมันจากอิหร่านในช่วงระหว่างเดือนมกราคมจนถึงเดือนกุมภาพันธ์ นับเป็นครั้งแรกตั้งแต่เดือนสิงหาคมเลยที่มีรายงานเช่นนี้ แต่กลับมีรายงานการซื้อน้ำมันจากประเทศโอมานและมาเลเซียเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญในช่วงเดือนนั้นซึ่งคนในวงการจะรู้ดีว่าทั้งสองประเทศนี้เป็นประเทศที่อิหร่านมักใช้ปลอมแปลงที่มาของน้ำมันจากประเทศตัวเองอยู่บ่อยๆ

ดูเหมือนว่าจีนจะซื้อน้ำมันเพิ่มจากอิหร่านมากขึ้นในเดือนนี้

ข้อมูลจากบริษัทติดตามการขนส่งทางเรือเปิดเผยข้อมูลการขนส่งน้ำมันของอิหร่านเมื่อเร็วๆ นี้ว่ามีการเพิ่มปริมาณขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ นอกจากนี้มีรายงานว่าเรือลำดังกล่าวยังได้รับขนส่งน้ำมันจากประเทศที่อยู่ใกล้ๆ กับอิหร่านด้วย 

ในขณะเดียวกันก็มีรายงานจากบริษัท Kpler ระบุว่าประเทศจีนนำเข้าน้ำมันจากอิหร่านในเดือนกุมภาพันธ์ประมาณ 478,000 บาร์เรลต่อวันและคาดว่าจะเพิ่มขึ้นถึง 1,000,000 บาร์เรลต่อวันภายในเดือนนี้ ถือเป็นตัวเลขการนำเข้าน้ำมันที่สูงที่สุด

น้ำมันในปริมาณตั้ง 1 ล้านบาร์เรล!! ต้องมีคนตั้งคำถามแน่นอนว่าขนน้ำมันปริมาณขนาดนี้เข้าประเทศ แล้วการคว่ำบาตรของสหรัฐฯ คืออะไร ไม่เห็นกันจริงๆ หรือว่ามีการขนส่งน้ำมันที่ถูกคว่ำบาตรอยู่ อ้างอิงข้อมูลจากสำนักข่าวบลูมเบิร์ก ระบุว่าตั้งแต่โจ ไบเดนเข้ามารับตำแหน่งประธานาธิบดี พวกเขาเคยมีรายงานจับน้ำมันที่คาดว่าจะถูกส่งออกมาจากอิหร่านอย่างผิดกฎการคว่ำบาตรออกมาได้เพียง 2 ล้านบาร์เรลในเดือนกุมภาพันธ์ นั่นหมายความว่าปริมาณน้ำมัน 1 ล้านบาร์เรลต่อวันยังถือว่าน้อยเกินกว่าจะสามารถสังเกตเห็นได้

ถึงกระนั้นทำเนียบขาวก็ยังบอกกับสำนักข่าว Financial Times เมื่อสัปดาห์ที่แล้วอยู่ว่าการคว่ำบาตรประเทศอิหร่านยังมีผลบังคับใช้อยู่และหากมีหลักฐานที่ทำให้เชื่อว่ามีผู้ซื้อและผู้ขายน้ำมันจากอิหร่าน ประเทศเหล่านั้นก็จะถูกลงโทษตามไปด้วย

“เราได้บอกกับประเทศจีนไปแล้วว่าอิหร่านยังอยู่ภายใต้การคว่ำบาตรของเราอยู่ และจะไม่มีข้อยกเว้นให้กับประเทศใดทั้งนั้น”

นอกจากนี้ยังมีรายงานออกมาจากทำเนียบขาวด้วยว่าโจ ไบเดนต้องการรื้อฟื้นข้อตกลงนิวเคลียร์ที่เคยทำเอาไว้ในปี 2015 ระหว่างสหรัฐอเมริกากับอิหร่าน สหราชอาณาจักร รัสเซีย ฝรั่งเศส จีน และเยอรมัน สนธิสัญญานี้ถูกสร้างขึ้นในยุคสมัยของประธานาธิบดีบารัก โอบามา และถูกยกเลิกในปี 2018 ในยุคของทรัมป์และเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นก่อนการคว่ำบาตรอิหร่าน

ไบเดนอยากทำข้อตกลงกับอิหร่านแต่ยังไม่สามารถหาเวลาได้

ตัวแทนของทำเนียบขาวที่ให้สัมภาษณ์กับนิตยสาร Financial Times กล่าวว่าสหรัฐอเมริกาอาจพิจารณายกเลิกเงื่อนไขบางข้อในการคว่ำบาตรก่อนที่จะเดินทางไปถึงการยกเลิกมาตรการคว่ำบาตรเต็มรูปแบบและให้อิหร่านกลับเข้าไปอยู่ในสนธิสัญญานิวเคลียร์ปี 2015

“ในขณะที่เราที่มุ่งเน้นไปที่การบังคับใช้มาตรการคว่ำบาตรและจีนที่มุ่งเน้นไปที่การหลีกเลี่ยงการคว่ำบาตร ดังนั้นวิธีแก้ปัญหาที่ได้ประสิทธิผลสูงสุดคือให้สหรัฐฯ ยกเลิกการคว่ำบาตรและอิหร่านจะยกเลิกการผลิตนิวเคลียร์ของตน”

แต่ก่อนที่ทำเนียบขาวจะก้าวไปถึงจุดที่ต้องการแก้ไขปัญหากับอิหร่านอย่างจริงจัง ตอนนี้พวกเขาต้องทำให้ตัวเองมีเวลาเสียก่อน นาย Tariq Zahir นักวิเคราะห์จาก Tyche Capital แสดงความเห็นว่า

“ก่อนหน้านี้ไม่นาน โจ ไบเดนพึ่งอนุมัติมาตรการเยียวยามูลค่า $1.9 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ และเป้าหมายต่อไปของเขาคือการทำโครงสร้างพื้นฐานของประเทศภายใต้วงเงิน $3 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ นอกจากนี้เขายังมีปัญหาผู้อพยพชายแดนเม็กซิโกที่ต้องจัดการ นั่นจึงเป็นเหตุผลว่าทำไมไบเดนจึงไม่มีเวลาสนใจเรื่องระหว่างสหรัฐฯ กับอิหร่านเลย” 

ความคิดเห็นล่าสุด

กำลังโหลดบทความถัดไป...
การเปิดเผยความเสี่ยง: การซื้อขายตราสารทางการเงินและ/หรือเงินดิจิตอลจะมีความเสี่ยงสูงที่รวมถึงความเสี่ยงต่อการสูญเสียจำนวนเงินลงทุนของคุณบางส่วนหรือทั้งหมดและอาจไม่เหมาะสมกับนักลงทุนทั้งหมด ราคาของเงินดิจิตอลแปรปรวนอย่างมากและอาจได้รับผลกระทบจากปัจจัยภายนอกต่าง ๆ เช่น เหตุการณ์ทางการเงิน กฎหมายกำกับดูแล หรือ เหตุการณ์ทางการเมือง การซื้อขายด้วยมาร์จินทำให้ความเสี่ยงทางการเงินเพิ่มขึ้น
ก่อนการตัดสินใจซื้อขายตราสารทางการเงินหรือเงินดิจิตอล คุณควรตระหนักดีถึงความเสี่ยงและต้นทุนที่เกี่ยวข้องกับการซื้อขายในตลาดการเงิน ควรพิจารณาศึกษาอย่างรอบคอบในด้านวัตถุประสงค์การลงทุน ระดับประสบการณ์ และ การยอมรับความเสี่ยงและแสวงหาคำแนะนำทางวิชาชีพหากจำเป็น
Fusion Media อยากเตือนความจำคุณว่าข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้ไม่ใช่แบบเรียลไทม์หรือเที่ยงตรงแม่นยำเสมอไป ข้อมูลและราคาที่แสดงไว้บนเว็บไซต์ไม่ใช่ข้อมูลที่ได้รับจากตลาดหรือตลาดหลักทรัพย์เสมอไปแต่อาจได้รับจากผู้ดูแลสภาพคล่องและดังนั้นราคาจึงอาจไม่เที่ยงตรงแม่นยำและอาจแตกต่างจากราคาจริงในตลาดซึ่งหมายความว่าราคานี้เป็นเพียงราคาชี้นำและไม่เหมาะสมสำหรับวัตถุประสงค์เพื่อการซื้อขาย Fusion Media และผู้ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้จะไม่รับผิดชอบใด ๆ สำหรับความเสียหายหรือการสูญเสียที่เป็นผลมาจากการซื้อขายของคุณหรือการพึ่งพาของคุณในข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้
ห้ามใช้ จัดเก็บ ทำซ้ำ แสดงผล ดัดแปลง ส่งผ่าน หรือ แจกจ่ายข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้โดยไม่ได้รับการอนุญาตล่วงหน้าอย่างชัดแจ้งแบบเป็นลายลักษณ์อักษรจาก Fusion Media และ/หรือจากผู้ให้ข้อมูล ผู้ให้ข้อมูลขอสงวนสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาและ/หรือการแลกเปลี่ยนข้อมูลที่ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้
Fusion Media อาจได้รับผลตอบแทนจากผู้โฆษณาที่ปรากฎบนเว็บไซต์โดยอิงจากปฏิสัมพันธ์ของคุณที่มีกับโฆษณาหรือผู้โฆษณา
เวอร์ชั่นภาษาอังกฤษของเอกสารฉบับนี้เป็นเวอร์ชั่นหลักซึ่งจะเป็นเวอร์ชั่นที่เหนือกว่าเมื่อใดก็ตามที่มีข้อขัดแย้งไม่สอดคล้องตรงกันระหว่างเอกสารเวอร์ชั่นภาษาอังกฤษกับเอกสารเวอร์ชั่นภาษาไทย