แถลงการณ์ของประธานธนาคารกลางสหรัฐฯ (FED) เกี่ยวกับนโยบายการเงินต่อสภาคองเกรสถือเป็นหนึ่งในเหตุการณ์ที่สำคัญที่สุดประจำสัปดาห์นี้ การอ่อนค่าลงของดอลลาร์สหรัฐเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลักอื่นๆ คือสัญญาณที่บอกว่านักลงทุนค่อนข้างกังวลว่าเฟดอาจแสดงความเป็นกังวลต่อเศรษฐกิจออกมา แม้ว่าโดยภาพรวมแล้วการกระจายวัคซีนของสหรัฐฯ ถือว่าอยู่ในระดับที่ดีแล้ว องค์การอาหารและยา (FDA) พึ่งประกาศรองรับวัคซีนของจอห์นสันแอนด์จอห์นสันไปก็จะยิ่งทำให้อเมริกามีวัคซีนต้านโควิดเพิ่มขึ้น
สาเหตุที่เรื่องวัคซีนถือเป็นเรื่องสำคัญเพราะการกระจายวัคซีนได้เร็วแค่ไหนย่อมทำให้การฟื้นตัวทางเศรษฐกิจของอเมริกาทำได้เร็วยิ่งขึ้น แต่ถึงแม้ภาพรวมการกระจายวัคซีนจะดูดีแต่ก็ยังไม่ดีพอที่จะทำให้เฟดตัดสินใจเปลี่ยนนโยบายการเงินโดยเฉพาะอย่างยิ่งในสถานการณ์ที่ผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ พุ่งสูงขึ้นเช่นนี้ หากพิจารณาตั้งแต่วันที่ 1 มกราคมมาจนถึงปัจจุบันจะพบว่ากราฟผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ อายุ 10 ปีปรับตัวขึ้นมาจาก 0.91% มายัง 1.39% จากความกังวลเกี่ยวกับอัตราเงินเฟ้อและนโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐฯ
คำถาม “แล้วเรื่องนี้กระทบต่อแถลงการณ์ของเฟดอย่างไร?”
คำตอบก็คือขาขึ้นของผลตอบแทนฯ ยิ่งทำให้ธนาคารกลางสหรัฐฯ สามารถคงการผ่อนคลายนโยบายทางการเงินต่อไปได้เพราะขาขึ้นของผลตอบแทนฯ จะยิ่งทำให้การใช้จ่ายด้วยบัตรเครดิตและการจำนองเพิ่มขึ้น เจอโรม พาวเวลล์ ประธานธนาคารกลางสหรัฐฯ พูดอย่างชัดเจนในงาน Economic Club ที่นิวยอร์กเมื่อสองสัปดาห์ก่อนว่า “การเพิ่มขึ้นของอัตราเงินเฟ้อถือเป็นเรื่องชั่วคราว และต่อให้อัตราเงินเฟ้อปรับตัวขึ้นจริงภายในไม่กี่เดือนข้างหน้านี้ ก็ไม่ได้มีความหมายอะไรมากนัก” เขายังคงต้องการคงดอกเบี้ยเอาไว้ที่ 0%-0.25% ไปเรื่อยๆ จนกว่าการจ้างงานจะฟื้นตัวกลับมาเต็มที่และอัตราเงินเฟ้อสามารถขึ้นแตะ 2% เพื่อให้มั่นใจว่าเศรษฐกิจสหรัฐฯ สามารถฟื้นตัวกลับมาได้ นับแต่นั้นเราจึงได้เห็นตัวเลขทางเศรษฐกิจของสหรัฐฯ ขึ้นลงสลับกันมาโดยตลอด ตัวเลขยอดค้าปลีกดีดขึ้นสูงอย่างก้าวกระโดดในขณะที่การฟื้นตัวของตลาดแรงงานยังถือว่าทำได้ช้า สรุปก็คือการแถลงต่อสภาคองเกรสของประธานเฟดครั้งนี้ เราเชื่อว่าเจอ โรมพาวเวลล์จะยังไม่แสดงความเป็นห่วงต่อผลตอบแทนฯ ที่ปรับตัวขึ้นมา และยังต้องการคงนโยบายการเงินเอาไว้ดังเดิมซึ่งจะทำให้ดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าและทำให้กราฟ USD/JPY ปรับตัวลดลงไปยัง 104.50 และ AUD/USD วิ่งไปยัง 80 เซนต์
ความเชื่อมั่นในภาคธุรกิจของเยอรมันที่ออกมาดีเกินกว่าคาดการณ์ทำให้สกุลเงินยูโรแข็งค่ากว่าเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐเป็นวันที่สามติดต่อกัน ทำให้นักลงทุนบางส่วนเป็นกังวลว่าขาขึ้นของยูโรจะถูกสกัดจากธนาคารกลางแห่งสหภาพยุโรป (ECB) หรือไม่ ECB ไม่ได้พูดถึงสกุลเงินยูโรแต่กำลังจับตาดูสถานการณ์ขาขึ้นของบอนด์ยีลด์อย่างใกล้ชิด การกระจายวัคซีนในยูโรโซนถือว่าทำได้ช้าเมื่อเทียบกับสหรัฐฯ และสหราชอาณาจักร ประชาชนชาวเยอรมันได้รับวัคซีนเพียง 4% ของจำนวนประชากรทั้งหมด
สกุลเงินปอนด์ปรับตัวขึ้นสร้างจุดสูงสุดใหม่ในรอบหลายปีเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐและยูโรจากความเชื่อมั่นของนักลงทุนว่านายกรัฐมนตรีบอริส จอห์นสัน จะผ่อนคลายมาตรการคุมเข้มทางสังคมทั่วทั้งอังกฤษในเร็วๆ นี้ การกระจายวัคซีนต้านโควิดอย่างรวดเร็วทำให้ยอดผู้ติดเชื้อที่เคยขึ้นสูงถึง 68,000 คนในเดือนมกราคมลดลงมาเหลือ 9,800 คนเมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมา โรงเรียนจะกลับมาเปิดให้มีการเรียนการสอนในวันที่ 8 มีนาคม และการพบปะสังสรรค์นอกอาคารจะได้รับอนุญาตในวันที่ 29 มีนาคม ส่วนร้านอาหาร พบบาร์ ร้านขายปลีกทั่วไปอาจจะต้องรอไปจนถึงฤดูใบไม้ผลิ ถ้าวันนี้ตัวเลขรายงานจำนวนคนว่างงานที่ใช้สิทธิประโยชน์จากการว่างงานดีขึ้น สกุลเงินปอนด์จะแข็งค่า
สกุลเงินดอลลาร์ออสเตรเลียและดอลลาร์นิวซีแลนด์แข็งค่าขึ้นหลังจากที่เอสแอนด์พีประกาศความน่าเชื่อถือของสกุลเงินดอลลาร์นิวซีแลนด์ให้อยู่ในระดับ AA+ และ AA ข่าวดังกล่าวทำให้ดอลลาร์นิวซีแลนด์ขึ้นไปยังจุดสูงสุดในรอบ 34 เดือนเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ เอสแอนด์พีกล่าวว่าการปรับอันดับความน่าเชื่อถือขึ้นคือรางวัลให้ที่สมควรแล้วกับประเทศที่สามารถจัดการควบคุมโควิดได้เป็นอย่างดี ขาขึ้นของสกุลเงินดอลลาร์ออสเตรเลียได้รับอานิสงส์มาจากนิวซีแลนด์ สัปดาห์นี้จะมีการประชุมของธนาคารกลางนิวซีแลนด์ด้วยซึ่งคาดการณ์กันว่า RBNZ อาจจะเริ่มรัดกุมนโยบายการเงินมากขึ้น
กราฟ USD/CAD ลงไปสร้างจุดต่ำสุดในรอบสามปีเพราะถึงแม้ว่าข้อมูลตัวเลขทางเศรษฐกิจของแคนาดาถูกชดเชยด้วยราคาน้ำมันดิบที่ปรับตัวขึ้น แคนาดาก็มีปัญหาเรื่องการกระจายวัคซีนล่าช้าเช่นกันเพราะมีประชาชนเพียง 3.8% เท่านั้นที่ได้รับวัคซีนโดสแรก การขนส่งยาคือปัญหาหลักที่แคนาดากำลังเผชิญเนื่องจากแคนาดาไปเซ็นสัญญาวัคซีนกับยุโรปเพราะกลัวว่าจะถูกสหรัฐฯนำการส่งออกยามาเป็นเครื่องมือต่อรองทางเศรษฐกิจ ซึ่งตอนนี้โรงงานผลิตยาในยุโรปก็ยังไม่สามารถผลิตยาได้ครบจำนวนตามที่ลูกค้าต้องการ ยิ่งล่าสุดสหภาพยุโรปได้ออกมาประกาศว่าจะมีการควบคุมการส่งออกวัคซีนนั้น ก็จะยิ่งทำให้การส่งยาไปยังแคนาดาล่าช้าเข้าไปอีก