- สงครามระหว่างนักลงทุนรายย่อยกับรายใหญ่จะได้บทสรุปในสัปดาห์นี้หรือไม่
- การแพร่กระจายวัคซีนและการกลายพันธุ์ของโควิดยังคงเป็นปัจจัยกดดันตลาดลงทุน
ดัชนีหลักของสหรัฐฯ ได้แก่เอสแอนด์พี 500 ดาวโจนส์และแนสแด็กต่างพากันปิดลบเมื่อวันศุกร์ที่แล้ว สร้างสถิติขาลงที่ถูกเทขายมากที่สุดในรอบสามเดือน ปัจจัยหลักที่ยังคงกดดันตลาดยังคงเป็นความเร็วในการแพร่กระจายวัคซีนยังไม่สามารถสู้กับความเร็วของโควิดในการแพร่ระบาด ในเดือนที่สองของปี 2021 ปัจจัยนี้จะยังมีอิทธิพลต่อตลาดลงทุนต่อไป
นอกจากข่าวโควิดแล้ว ประเด็นที่กดดันตลาดซึ่งไม่พูดถึงไม่ได้เลยคือการรวมพลังของนักลงทุนรายย่อยเพื่อทำลายนักลงทุนที่ช็อตหุ้นเกมสต๊อป (NYSE:GME) และเอเอ็มซี (NYSE:AMC) ในวอลล์ สตรีท การถือหุ้นเพื่อล้างแค้นนักลงทุนเหล่านั้นทำให้หุ้นของทั้งสองบริษัทที่ไม่ควรจะมีมูลค่าทะยานขึ้นมากกว่า 400% และ 278% ตามลำดับ
ดัชนีเอสแอนด์พี 500 ปรับตัวลดลงเกือบ 2% ในวันสุดท้ายของเดือนมกราคม ตลอดทั้งเดือนสรุปว่าเอสแอนด์พี 500 ปรับตัวลดลง 1.1% ในขณะที่ดัชนีดาวโจนส์ปรับตัวลดลง 2% สวนทางแต่สอดคล้องกับดัชนีวัดความผันผวน (VIX) ที่ปรับตัวขึ้นในเดือนมกราคมทั้งสิ้น 45%
จากการวิเคราะห์ทางเทคนิคพบว่าเอสแอนด์พี 500 ลงมาเจอแนวรับอยู่ที่เส้นค่าเฉลี่ย 50 วันแต่ยังสามารถยืนเหนือแนวรับดังกล่าวได้แม้ว่าจะหลุดเส้นเทรนด์ไลน์ขาขึ้นที่ลากมาตั้งแต่วันที่ 30 ตุลาคม 2020 แล้วก็ตาม แต่การที่อินดิเคเตอร์ MACD และ RSI ยังอยู่ด้านบนอยู่นั้น แสดงให้เห็นว่าเอสแอนด์พี 500 มีโอกาสลงไปถึงเส้นค่าเฉลี่ย 100 วันได้
ความกังวลของนักลงทุนในตลาดเกี่ยวกับการถล่มลงมาของตลาดหุ้นสหรัฐฯ มีเพิ่มมากขึ้นเมื่อได้เห็นรายงานตัวเลข GDP ในไตรมาสที่ 4 ของสหรัฐอเมริกามีอัตราการเติบโตลดลง การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ทำให้ผู้บริโภคใช้จ่ายอย่างระมัดระวังมากขึ้นซึ่งโดยปกติแล้วการบริโภคของชาวอเมริกันคิดเป็น 70% ของ GDP ประเทศ อย่างไรก็ตาม นักวิเคราะห์ประเมินว่ากิจกรรมทางเศรษฐกิจและอัตราการจ้างงานในไตรมาสที่ 1 ปี 2021 นี้จะสามารถกลับมาได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากได้รับการกระตุ้นจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ
ฟองสบู่รอบใหม่หรือเพียงการเอาคืนเพื่อความสนุก
เชื่อว่าตอนนี้ไม่มีนักลงทุนคนไหนไม่รู้จักข่าวอันโด่งดังเกี่ยวกับการรวมพลังซื้อหุ้นเกมสต๊อปของนักลงทุนรายย่อยอีกแล้ว สิ่งที่ทำให้นักวิเคราะห์เป็นกังวลมากที่สุดเกี่ยวกับปรากฎการณ์ครั้งนี้ไม่ใช่ว่าใครจะเป็นฝ่านชนะ แต่พวกเขากำลังพิจารณาอยู่ว่าสงครามครั้งนี้จะเป็นจุดเริ่มต้นของวิกฤตฟองสบู่อย่างที่เคยเห็นในปี 2000 หรือปี 2008 หรือไม่
หลังจากที่นักลงทุนรายย่อยพากันซื้อหุ้นเกมสต๊อปจนทำให้เหล่าบรรดาผู้จัดการกองทุนยังปวดหัวไม่หาย หุ้นของเกมสต๊อปเมือวันศุกร์ที่แล้วมีราคาปิดล่าสุดอยู่ที่ $325 ปรับตัวขึ้นมาภายในสัปดาห์เดียวมากถึง 400% แม้ว่าวันพฤหัสบดี ราคาหุ้นเกมสต๊อปจะร่วงลงมา 44% คิดเป็นเงินที่หายไปประมาณ $11,000 ล้านเหรียญสหรัฐเนื่องจากเหล่าผู้ให้บริการลงทุนพากันขัดขวางไม่ให้นักลงทุนรายย่อยเข้ามาปั่นราคา
เกี่ยวกับกรณีนี้ ดราม่าที่ดังที่สุดก็เป็นเรื่องไหนไปไม่ได้นอกจากการดึงหุ้นเกมสต๊อปออกจากรายการซื้อขายของแอปพลิเคชันชื่อดัง “โรบินฮู้ด (Robinhood)” ซึ่ง CEO ของแพลตฟอร์มดังกล่าวก็ได้ชี้อแจงถึงการดึงหุ้นเกมสต๊อปออกว่าพวกเขาถูกบังคับให้ทำ แต่สิ่งที่เกิดขึ้นคือนักลงทุนรายย่อยเกิดความไม่พอใจ แถมยังกล่าวหาว่าโรบินฮู้ดร่วมมือกับเหล่าบรรดานายทุนจนท้ายที่สุดแล้วโรบินฮู้ดก็ต้องกลับมาเปิดให้ทำการซื้อขายได้ตามปกติ
ในความเห็นของเรา สงครามที่เกิดขึ้นระหว่างรายย่อยและรายใหญ่ครั้งนี้ยังไม่ได้เป็นตัวบ่งชี้ว่าตลาดหุ้นสหรัฐฯ ได้ขึ้นมาถึงจุดสูงสุดแล้ว แต่เหตุการณ์นี้อาจทำให้เหล่าบรรดากองทุนเฮดฟันด์ใหญ่ๆ เลือกที่จะถอยออกมาจากตลาดเพื่อตั้งหลักก่อน ประกอบกับการกลายพันธุ์ของเชื้อโควิด-19 ในสหราชอาณาจักรและแอฟริกาใต้อาจเป็นสาเหตุที่แท้จริงที่อาจทำให้ตลาดลงทุนในสัปดาห์แรกของเดือนกุมภาพันธ์ต้องปรับตัวลดลงต่ออีกครั้ง
กราฟผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ อายุ 10 ปียังคงวิ่งอยู่ในแนวโน้มขาลงเป็นสัปดาห์ที่สามติดต่อกัน
กราฟผลตอบแทนฯ ยังคงวิ่งอยู่ในกรอบรูปธงลู่ลง หากว่ากราฟสามารถดีดขึ้นมาจากเส้นแนวรับ 50 วันจนทะลุกรอบขาลงขึ้นมา จะเป็นการยืนยันว่ากราฟผลตอบแทนฯ ได้กลับเข้าสู่ทิศทางของขาขึ้นอีกครั้ง
ดัชนีดอลลาร์สหรัฐปรับตัวขึ้น สะท้อนให้เห็นถึงการแข็งค่าของดอลลาร์และความเป็นไปได้ที่อาจกลับมาในแนวโน้มขาขึ้นตามรูปแบบพฤติกรรมราคาหัวไหล่ (Head & Shoulder) เมื่อไหร่ก็ตามที่กราฟสามารถขึ้นจนทะลุรูปแบบลิ่มขาลงใหญ่ (Falling Wedge) ออกมาได้ การแข็งค่าของดอลลาร์สหรัฐจะยิ่งมีน้ำหนักมากขึ้น
พฤติกรรมการวิ่งของทองคำชี้ให้เห็นว่าจนถึงตอนนี้ราคาก็ยังไม่เลือกทิศทางที่ชัดเจน
จากรูปจะเห็นว่าทองคำกำลังสร้างวิ่งในรูปบบธงลู่ขึ้น นับเป็นความพยายามเล็กๆ หลังจากที่ลงมา 7.4% ในช่วงวันที่ 6 มกราคม - 11 มกราคม แม้จะยังวิ่งอยู่ในกรอบขาลง แต่เป็นไปได้ว่าราคาทองคำอาจกำลังสร้างรูปแบบหัวไหล่ (Head & Shoulder) ขาขึ้นขนาดใหญ่
ราชาสกุลเงินดิจิทัลบิทคอยน์ปรับตัวขึ้นมาเป็นวันที่สามติดต่อกันซึ่งขาขึ้นที่รุนแรงในวันศุกร์เกิดมาจากการทวิตสนับสนุนบิทคอยน์ของอีลอน มัสก์ ผู้ที่ช่วงนี้จับอะไรก็เป็นเงินเป็นทองไปหมด
จากการวิเคราะห์ราคาบิทคอยน์ทางเทคนิคพบว่าราคายังไม่สามารถทะลุกรอบขาลงขึ้นมาได้ แต่ถึงกระนั้นบิทคอยน์ก็ไม่ยอมลงต่ำกว่า $30,000 หรือที่เส้นค่าเฉลี่ย 50 วัน
ราคาน้ำมันดิบวิ่งอย่างคงที่ตลอดทั้งสัปดาห์ที่แล้ว
กราฟน้ำมันดิบ WTI วิ่งอยู่ในกรอบธงลู่ลง เมื่อไหร่ก็ตามที่ราคาสามารถทะลุกรอบนี้ขึ้นไปได้ ราคาน้ำมันดิบอาจจะสามารถกลับไปยืนที่ $60 ต่อบาร์เรลได้อีกครั้ง
ข่าวเศรษฐกิจสำคัญประจำสัปดาห์ (เวลาทั้งหมดคำนวณเป็น EST)
วันอาทิตย์
20:45 (ประเทศจีน) รายงานตัวเลขดัชนี PMI ภาคการผลิตจากมหาลัยไซซิน: คาดว่าจะลดลงจาก 53.0 เป็น 52.7
วันจันทร์
03:55 (เยอรมัน) รายงานตัวเลขดัชนี PMI ภาคการผลิต: คาดว่าจะลดลงจาก 58.3 เป็น 57.0
04:30 (สหราชอาณาจักร) รายงานตัวเลขดัชนี PMI ภาคการผลิต: คาดว่าจะคงที่อยู่ที่ 52.9
10:00 (สหรัฐฯ) รายงานตัวเลขดัชนี PMI ภาคการผลิตจาก ISM: คาดว่าจะลดลงจาก 60.5 เป็น 60.0
22:30 (ออสเตรเลีย) การประกาศอัตราดอกเบี้ยจากธนาคารกลางออสเตรเลีย: คาดว่าจะคงที่อยู่ที่ 0.10%
วันอังคาร
16:45 (นิวซีแลนด์) รายงานตัวเลขอัตราการจ้างงาน: คาดว่าจะคงที่อยู่ที่ -0.80% QoQ
20:45 (ประเทศจีน) รายงานตัวเลขดัชนี PMI ภาคการบริการจากมหาลัยไซซิน: คาดว่าจะลดลงจาก 56.3 เป็น 51.1
วันพุธ
03:00 (ยูโรโซน) การประกาศดอกเบี้ยนโยบายจากธนาคารกลางแห่งสหภาพยุโรป
04:30 (สหราชอาณาจักร) รายงานตัวเลขดัชนี PMI ภาคการบริการ: คาดว่าจะคงที่อยู่ที่ 38.8
05:00 (ยูโรโซน) ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI): คาดว่าจะเพิ่มขึ้นจาก -0.3% เป็น 0.5% YoY
08:15 (สหรัฐฯ) รายงานตัวเลขคาดการณ์การจ้างงานนอกภาคการเกษตรจาก ADP: คาดว่าจะเพิ่มขึ้นจาก -123K เป็น 45K
10:00 (สหรัฐฯ) รายงานตัวเลขดัชนี PMI ที่ไม่เกี่ยวข้องกับภาคการผลิตโดย ISM: คาดว่าจะลดลงจาก 57.7 เป็น 56.8
10:30 (สหรัฐฯ) รายงานปริมาณน้ำมันดิบคงคลัง: คาดว่าจะเพิ่มขึ้นจาก -0.910M เป็น 0.430M
วันพฤหัสบดี
04:30 (สหราชอาณาจักร) รายงานตัวเลขดัชนี PMI ภาคการก่อสร้าง: คาดว่าจะลดลงจาก 54.6 เป็น 52.9
07:00 (สหราชอาณาจักร) การประกาศอัตราดอกเบี้ยจากธนาคารกลางอังกฤษ: คาดว่าจะคงที่อยู่ที่ 0.1%
08:30 (สหรัฐฯ) รายงานตัวเลขจำนวนผู้รับสวัสดิการว่างงานครั้งแรก: คาดว่าจะลดลงจาก 4,771K เป็น 4,750K
19:30 (ออสเตรเลีย) รายงานตัวเลขยอดขายปลีก: คาดว่าตัวเลขในเดือนพฤศจิกายนจะออกมาอยู่ที่ -4.2%
วันศุกร์
08:30 (สหรัฐฯ) รายงานตัวเลขการจ้างงานนอกภาคการเกษตร: คาดว่าจะเพิ่มขึ้นจาก -140K เป็น 50K
08:30 (สหรัฐฯ) รายงานตัวเลขอัตราการว่างงาน: คาดว่าจะคงที่อยู่ที่ 6.7%
08:30 (แคนาดา) รายงานตัวเลขการจ้างงาน: คาดว่าจะเพิ่มขึ้นจาก -62.6K เป็น -55.0K
10:00 (แคนาดา) ดัชนี PMI จากสถาบัน IVEY: ตัวเลขครั้งล่าสุดออกมาอยู่ที่ 46.7