ขอขอบคุณภาพประกอบจาก:CQG
เมื่อวันที่ 20 เมษายน ราคาซื้อขายน้ำมันดิบ WTI บนตลาด NYMEX ได้ลงไปสร้างจุดต่ำสุดตลอดกาลที่ราคาติดลบ $40 ต่อบาร์เรล ซึ่งถือเป็นช่วงเวลาที่เลวร้ายที่สุดของราคาน้ำมันดิบ จากวันนั้นมาถึงวันนี้เรากลับพบว่าในวันที่ 2 พฤศจิกายนราคาน้ำมันดิบบนตลาด NYMEX ดังกล่าวกลับขึ้นมาวิ่งอยู่ ณ ระดับราคาประมาณ $40 ได้แต่ไม่สามารถขึ้นไปไกลเกินจาก $44 ได้เลย
อย่างไรก็ตามตอนนี้ดูเหมือนว่าความกังวลจะกลับเข้ามาปกคลุมตลาดอีกครั้ง เมื่อยอดผู้ติดเชื้อโควิดในยุโรป และสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นหลังจากวันเลือกตั้งประธานาธิบดีอย่างน่าตกใจ ในวันที่ 2 พฤศจิกายนราคาซื้อขายน้ำมันในตลาดมีตัวเลขอยู่ที่ $33.64 และราคานั้นกลายเป็นจุดต่ำสุดมาจนถึงปัจจุบัน สัปดาห์ที่แล้วราคาน้ำมันดิบสามารถกลับขึ้นไปยืนเหนือจุดกึ่งกลางของปีนี้ที่ $40 ได้อีกครั้ง แต่เมื่อได้พิจารณาจากกราฟของกองทุนน้ำมันสหรัฐฯ (NYSE:USO) ซึ่งเป็นกราฟที่นักลงทุนใช้ดูราคาน้ำมันดิบในตลาด NYMEX กลับพบว่ามีความเป็นไปได้ที่ราคาจะวิ่งกลับลงมาทดสอบจุดต่ำสุด $33.64 เป็นครั้งที่สอง
ขาลงหลอก และขาขึ้นกลับตัวหลังการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ ในตลาดพลังงาน
กราฟซื้อขายน้ำมันดิบล่วงหน้าดูเหมือนว่ากำลังจะร่วงลงจากจุดสูงสุดในระหว่างวันที่ 28 ตุลาคมถึงวันที่ 2 พฤศจิกายน
อย่างที่เห็นในรูปของกราฟรายวัน ราคาซื้อขายน้ำมันดิบล่วงหน้าที่จะส่งมอบในเดือนธันวาคมบนตลาด NYMEX ได้แสดงให้เห็นภาพของราคาน้ำมันดิบที่ลงไปยังจุดต่ำสุด $33.64 เมื่อวันที่ 2 พฤศจิกายน ในวันนั้นราคาน้ำมันดิบได้ปรับตัวลดลงไปและดีดตัวกลับขึ้นมาในช่วงระหว่างการเลือกตั้ง ก่อนที่จะปิดสัปดาห์ด้วยการยืนเหนือ $40 ต่อบาร์เรล มีสัญญาที่เป็นอยู่ในฝั่งขาขึ้นของน้ำมันดิบมากกว่า 2 ล้านสัญญา และนั่นคือสาเหตุที่ทำให้ราคาน้ำมันดิบปรับตัวขึ้น
ราคาน้ำมันที่สูงขึ้น และสัญญาคงค้างที่อยู่ในตลาดดูเหมือนว่าจะเป็นตัวบ่งบอกขาขึ้นที่ดีในตลาดซื้อขายน้ำมันดิบล่วงหน้า ในวันที่ 13 พฤศจิกายนอินดิเคเตอร์ที่บ่งบอกโมเมนตัมของราคาและ RSI ต่างก็ปรับตัวสูงขึ้น และยืนเหนือค่าตัวเลขกึ่งกลางด้วยโดยมีค่าเฉลี่ยรายวันอยู่ที่ 51%
ถือเป็นเรื่องที่น่าแปลกใจว่าเหตุใดกราฟในตลาดพลังงานกลับปรับตัวสูงขึ้นในวันที่พอจะทราบผลการเลือกตั้งคร่าวๆ ว่าจะได้โจ ไบเดนเป็นประธานาธิบดี เพราะเขาก็แสดงตัวชัดเจนมาตลอดว่าต้องการพาสหรัฐฯ ออกจากการพึ่งพาพลังงานน้ำมันและหันหน้าเข้าสู่พลังงานทางเลือกมากยิ่งขึ้น
ข่าวดีของไฟเซอร์คือปัจจัยที่ส่งราคาน้ำมันดิบกลับขึ้นสู่จุดกึ่งกลาง
ปัจจัยสำคัญที่เป็นตัวฉุดรั้งราคาน้ำมันดิบตลอดทั้งปีนี้มีอยู่เพียงเรื่องเดียวคือความต้องการน้ำมันของผู้บริโภคทั่วโลก วิกฤตโรคระบาดที่เกิดขึ้นส่งผลให้มนุษยชาติเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิตจากเดิมที่ต้องเดินทางเพื่อไปทำงานตอนนี้พวกเราได้เรียนรู้แล้วว่าอินเทอร์เน็ตสามารถทำให้สามารถทำงานจากที่บ้านผ่านระบบออนไลน์ได้ ที่สำคัญ การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิดรอบที่สองในยุโรปยิ่งทำให้ความต้องการน้ำมันหดตัวลงอีกครั้ง
ก่อนการประชุมระหว่างกลุ่มประเทศผู้ส่งออกน้ำมันหรือโอเปกจะเริ่มขึ้น สองยักษ์ใหญ่อย่างซาอุดิอาระเบียและรัสเซียได้ออกมาบอกแล้วว่าพวกเขาจะยืดระยะเวลาลดกำลังการผลิตลงมาเหลือ 7.7 ล้านบาร์เรลออกไป และจะประกาศอย่างเป็นทางการในการประชุมที่กำลังจะมาถึงในสิ้นเดือนนี้ ในขณะเดียวกันกำลังการผลิตน้ำมันของสหรัฐฯ ก็ลดลงจาก 13.1 ล้านบาร์เรลต่อวันเหลือ 10.5 ล้านบาร์เรลต่อวัน
อย่างไรก็ตามราคาน้ำมันดิบกลับสามารถขึ้นไปยืนเหนือ $40 ต่อบาร์เรลได้ทันทีเมื่อบริษัทผู้ผลิตวัคซีนต้านโควิดนามไฟเซอร์ (NYSE:PFE) สามารถเป็นบริษัทแรกที่กล้าประกาศว่าวัคซีนของพวกเขามีประสิทธิภาพในการป้องกันการติดเชื้อมากถึง 90% ข่าวดีดังกล่าวยังส่งผลให้ราคาน้ำมันดิบยังสามารถยืนเหนือ $40 มาได้จนถึงปัจจุบัน
3 เหตุผลที่อาจส่งผลกระทบต่อราคาน้ำมันดิบในอนาคตก่อนสิ้นปี
ปัจจุบันกราฟราคาซื้อขายน้ำมันดิบล่วงหน้าที่จะส่งมอบในเดือนธันวาคมบนตลาด NYMEX มีแนวต้านอยู่ที่ $44.33 ต่อบาร์เรลและมีแนวรับอยู่ที่ $35.72 แนวรับนี้เกิดขึ้นหลังจากราคาไม่สามารถพาตัวเองลงไปถึงระดับเป้าหมายที่ $33.12 ต่อบาร์เรลได้ จากจุดนี้เองทำให้เรามองว่าราคาน้ำมันดิบมีโอกาสขึ้นไปยังระดับราคา $44.33 ได้
สองปัจจัยแรกที่จะส่งผลกระทบต่อขาขึ้นของราคาน้ำมันดิบโดยตรงว่าจะสามารถขึ้นถึงระดับแนวต้านที่คาดการณ์เอาไว้ได้หรือไม่คือสถานการณ์โควิด-19 ในช่วงหน้าหนาวที่จนถึงตอนนี้ยังไม่มีทีท่าว่าจะดีขึ้น หลายๆ ประเทศคาดหวังว่าจะควบคุมโควิดให้ได้ทันก่อนที่คริสต์มาสจะมาถึง แต่สำหรับสหรัฐฯ ที่ยังไม่มีนโยบายควบคุมชัดเจนก็อาจทำให้คริสต์มาสปีนี้เป็นปีที่แย่ที่สุดในรอบทศวรรษ
ปัจจัยที่สองคือการเลือกตั้งสหรัฐฯ ในบางรัฐที่ยังไม่รู้ผลอย่างเช่นจอร์เจียที่จะเป็นตัวกำหนดว่าฝ่ายรีพับลิกันและเดโมแครตใครจะได้รัฐนี้และได้ที่นั่งในสภาเสียงข้างมากไปครอง หากเป็นเดโมแครตจะไม่ส่งผลดีต่อราคาน้ำมันดิบในระยะยาวจากนโยบายรักษ์โลกของโจ ไบเดน การครองทำเนียบขาวของโจ ไบเดนจะยิ่งทำให้โอเปก และรัสเซียมีบทบาทมากขึ้นในตลาดน้ำมันดิบโลกหากอเมริกายอมถอยจากการเป็นหนึ่งในสามของประเทศผู้ที่ผลิตน้ำมันมากที่สุดในโลก