- ตลาดหุ้นสหรัฐฯ มีราคาปิดต่ำลงเมื่อวันศุกร์ที่แล้วหลังจากอยู่ในขาขึ้นมาตลอดสัปดาห์
- ดอลลาร์ส่งสัญญาณอ่อนค่าต่อเนื่อง
- ผลการวิเคราะห์ทางเทคนิคชี้ทองคำมีโอกาสขึ้นต่อ
ในวันศุกร์ที่ 6 พฤศจิกายน ตลาดลงทุนขานรับข่าวที่เชื่อได้ว่าพวกเขาจะได้เห็นรัฐบาลใหม่ภายใต้การนำของโจ ไบเดนมาตั้งแต่ก่อนประกาศอย่างเป็นทางการเมื่อคืนวันเสาร์ การที่ดัชนี S&P 500 ปรับตัวลดลงเช่นเดียวกันกับดัชนีอื่นๆ ที่ส่วนใหญ่ลดลงประมาณ 0.05% แสดงให้เห็นว่ามีนักลงทุนบางส่วนที่ได้กำไรจากขาขึ้นในวันก่อนหน้าตัดสินใจปิดคำสั่งซื้อขายออกจากไปฉลองชัยชนะในค่ำคืนวันศุกร์
ขาลงวันนี้ยังถือเป็นการจบขาขึ้นตลอด 4 วันติดต่อกันซึ่งถือเป็นขาขึ้นที่มากที่สุดจับตั้งแต่เดือนเมษายน แน่นอนว่าหุ้มในกลุ่มผู้นำยังคงเป็นกลุ่มเทคโนโลยีอยู่เช่นเคย มีเพียง NASDAQ เพียงตัวเดียวที่สามารถทำผลงานเป็นบวกได้ตลอดทั้งห้าวัน คิดเป็นขาขึ้นอย่างน้อย 9% ตลอดทั้งสัปดาห์
เทขายตามข่าวแต่เข้าซื้อตามความคาดหวัง
อ้างอิงข้อมูลจากสื่อแห่งหนึ่งที่สามารถเชื่อถือได้ พวกเขาระบุว่าสาเหตุอีกหนึ่งสาเหตุที่ทำให้ตลาดหุ้นสหรัฐฯ ปรับตัวลดลงมาในวันศุกร์เกิดจากความเชื่อว่าคงไม่มีโอกาสได้เห็นเดโมแครตกวาดทุกรายการในการแข่งขันครั้งนี้ ยิ่งความเป็นไปได้ที่จะได้เห็นสภาแบ่งกันในขนาดที่มีความใกล้เคียงกันมากทั้งสองฝ่ายยิ่งทำให้โอกาสโหวตผ่านมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจเกิดขึ้นได้ยากยิ่งกว่าเดิม
ในสัปดาห์ที่แล้วมีรายงานข้อมูลตัวเลขมากมายที่ถูกข่าวการเลือกตั้งมากลบบดบัง เชื่อหรือไม่ว่าในขณะที่เรากำลังลุ้นว่ารัฐไหนกำลังจะตกเป็นของใคร ยอดผู้ติดเชื้อโควิด-19 รายวันเพิ่มขึ้นเกิน 100,000 คนเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่มีการระบาดภายในประเทศมา แต่ข่าวดีในข่าวร้ายที่เกิดขึ้นจากการไม่ยอมปิดเมืองล็อกดาวน์ก็คือตัวเลขการจ้างงานนอกภาคการเกษตร (NFP) เพิ่มขึ้น 638,000 ตำแหน่งในเดือนตุลาคมซึ่งตัวเลขดังกล่าวมากกว่าที่นักวิเคราะห์ประเมินเอาไว้ที่ 503,000 - 600,000 ตำแหน่ง นอกจากนี้อัตราการว่างงานก็ลดลงเหลือ 6.9% ต่ำกว่าที่คาดการณ์ไว้ 7.7% และต่ำกว่าตัวเลขของเดือนกันยายนที่ 7.9% นี่คือตัวเลขการว่างงานที่ต่ำที่สุดนับตั้งแต่โควิดเริ่มระบาดในสหรัฐฯ
แม้จะมีข้อมูลรายงานมาจากนักเศรษฐศาสตร์ว่าสภาพตลาดแรงงานสหรัฐฯ ตอนนี้นั้นไม่ได้ดีเหมือนกับที่ตัวเลขนอนฟาร์มแสดงออกมาและตัวเลขดังกล่าวก็ยังไม่ช่วยให้ตลาดหุ้นสหรัฐฯ ปรับตัวขึ้นได้ด้วยในวันศุกร์ แต่หุ้นเทคโนโลยีใน NASDAQ กลับยังสามารถเติบโตได้เพราะยังมีความต้องการแรงงานที่มีความรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีอยู่เป็นจำนวนมาก มีนักวิเคราะห์บางคนไปใช้ข้อมูลอัตราการว่างงานที่อ้างอิงโดย U6 ซึ่งจะนับตัวเลขของคนที่หยุดมองหางานหรือกันไปรับงานพาร์ทไทม์แทน ข้อมูลจาก U6 นั้นระบุว่าอัตราการว่างงานดังกล่าวในเดือนตุลาคมลดลงแต่ก็ยังสูงกว่าตัวเลขค่าเฉลี่ยที่ 12.1% อยู่ดี นักวิเคราะห์เชื่อว่านี่ควรจะเป็นตัวเลขที่แท้จริงเพราะตั้งแต่เกิดโควิดก็มีคนตกงานไปแล้วประมาณ 10 - 22 ล้านคนโดยที่ยังไม่สามารถกลับมาหางานทำได้
จากปัจจัยพื้นฐานที่กล่าวมาอาจยังไม่สามารถหาข้อสรุปได้ว่าทำไมอยู่ดีตลาดหุ้นถึงชะลอตัวลงก่อนทั้งๆ ที่มีความเป็นไปได้สูงเห็นๆ อยู่แล้วว่าโจ ไบเดนมีโอกาสได้เป็นประธานาธิบดีสหรัฐฯ คนถัดไปมาตั้งแต่วันพฤหัสบดีแล้ว ดังนั้นเราจึงต้องนำการวิเคราะห์ทางเทคนิคเข้ามาช่วยเพื่อหาคำตอบ
กราฟดัชนี S&P 500 วิ่งกลับขึ้นมาทดสอบแนวต้านเดิมอีกครั้งเมื่อวันศุกร์ซึ่งแนวต้านดังกล่าวคือกรอบสามเหลี่ยมด้านบนของรูปแบบสามเหลี่ยมสมมาตร แต่การที่แท่งเทียนยังไม่สามารถสร้างจุดสูงสุดใหม่ที่สูงขึ้นกว่าเดิมได้ อาจทำให้ขาลงยังพอจะมีหวังอยู่ในการเปิดตลาดวันนี้
กราฟผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ อายุ 10 ปีดีดตัวกลับขึ้นมาเหนือ 0.8% ได้หลังจากได้ทราบว่าตัวเลขการจ้างงานออกมาเพิ่มขึ้น
ปัจจุบันกราฟผลตอบแทนกำลังวิ่งอยู่ในกรอบราคาขาขึ้น ล่าสุดเมื่อวันศุกร์ราคาได้ลงมาทดสอบกรอบด้านล่างและสามารถดีดกลับขึ้นไป แสดงให้เห็นถึงความแข็งแกร่งที่ขานรับต่อผลการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ
ดัชนีดอลลาร์สหรัฐยังคงมุ่งหน้าลงเป็นวันที่สองติดต่อกัน ไม่ฟื้นตัวแม้กราฟผลตอบแทนฯ จะเปลี่ยนทางเป็นขาขึ้นไปแล้ว
ขาลงเมื่อสัปดาห์ที่แล้วเกิดขึ้นจากสาเหตุสองประกอบ ในช่วงวันพฤหัสบดีเกิดขึ้นจากการที่ตลาดคาดว่าการประชุมของคณะกรรมการนโยบายการเงิน (FOMC) ทางธนาคารกลางสหรัฐฯ (FED) จะมีการประกาศทำ QE เพิ่มแต่ขาลงในวันศุกร์เกิดจากการที่นักลงทุนมีความมั่นใจกับผลการเลือก พากันกลับเข้าซื้อหุ้นในตลาดหลักทรัพย์สหรัฐฯ อีกครั้ง
ในทางเทคนิค กราฟดัชนีดอลลาร์สามารถวิ่งลงมาจนสามารถทะลุเส้นเทรนด์ไลน์ขาขึ้นได้ นี่คือสัญญาณว่ากราฟกำลังวิ่งเข้าสู่ขาลงอย่างชัดเจน ในขณะเดียวกันอินดิเคเตอร์ MACD เส้นค่าเฉลี่ยระยะสั้นก็ได้ตัดเส้นระยะยาวลงมาแล้ว มีความเป็นไปสูงที่สัปดาห์นี้ดัชนีดอลลาร์สหรัฐฯ จะสามารถลงไปจนถึงจุดต่ำสุดเดือนกันยายนได้
เมื่อดอลลาร์อ่อนมูลค่าลงก็ย่อมเปิดโอกาสให้ทองคำได้ปรับตัวสูงขึ้น
ดูเหมือนว่าตอนนี้ทองคำจะได้แรงสนับสนุนมากพอที่จะพาราคากลับเข้าสู่แนวโน้มขาขึ้นอีกครั้ง การที่ราคาสามารถหลุดกรอบสามเหลี่ยมรูปลิ่มลู่ลง ประกอบการการสร้างรูปแบบ Peak & Trough ระยะสั้นของขาขึ้นได้อย่างต่อเนื่องถือเป็นสัญญาณทางเทคนิคที่เชื่อถือได้ นอกจากนี้ยังได้การตอกย้ำมาจากอินดิเคเตอร์อย่าง MACD และ RSI อีก ในขณะที่เส้นค่าเฉลี่ยระยะสั้นใน MACD สามารถตัดขึ้นได้สองครั้ง อินดิเคเตอร์ RSI ก็สามารถทำรูปแบบหัวไหล่คว่ำ (Inverted Head & Shoulder) ที่ตัดเส้น neckline กลับขึ้นไปได้ด้วย
ราชาสกุลเงินดิจิทัลบิทคอยน์คือผู้ที่ทำผลงานโดดเด่นมากที่สุดเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว เมื่อราคาสามารถขึ้นไปสร้างจุดสูงสุดเอาไว้ที่ $15882 ซึ่งถือเป็นจุดสูงสุดล่าสุดที่ทำได้สูงขนาดนี้นับตั้งแต่ปี 2018 นักลงทุนก็กลับมาตั้งคำถามว่าหรือบิทคอยน์จะสามารถกลับขึ้นสู่จุดสูงสุดตลอดกาลได้ก่อนสิ้นปี 2020 ขาขึ้นครั้งนี้มีสาเหตุมาจากการอ่อนค่าของดอลลาร์สหรัฐฯ และการคาดการณ์ของตลาดว่าดอลลาร์จะต้องเจอการทำ QE เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจอีกรอบหลังจากการเลือกตั้ง
ราคาน้ำมันดิบแม้จะมีปัจจัยเชิงบวกหลายอย่างเช่น การกลับมาผลิตน้ำมันของลิเบียหลังจบสงครามกลางเมือง การผลิตน้ำมันของประเทศทางแอฟริกาที่สามารถผลิตได้เกินหนึ่งล้านบาร์เรลต่อวัน และนโยบายการกลับเข้ามาเจรจากับอิหร่านเพื่อหารือทางด้านพลังงานของโจ ไบเดน แต่ข่าวดีเหล่านี้ก็เทียบไม่ได้เลยกับการล็อกดาวน์ในยุโรปเป็นเวลาหนึ่งเดือนที่ทำให้ปริมาณความต้องการน้ำมันดิบลดลง
จากการวิเคราะห์ทางเทคนิค ราคาน้ำมันดิบ WTI ยังคงอยู่ในกรอบราคาขาลง ไม่มีการขยับขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ อินดิเคเตอร์ RSI ก็ไม่ได้ส่งสัญญาณขาขึ้นที่ดูแล้วเชื่อถือได้ออกมาด้วยเช่นกัน
ข่าวเศรษฐกิจสำคัญประจำสัปดาห์ (เวลาทั้งหมดคำนวณเป็น EDT)
วันจันทร์
04:25 (ยูโรโซน) - แถลงการณ์จากประธานธนาคารกลางแห่งสหภาพยุโรปโดยนางสาวคริสตีน ลาการ์ด
05:35 (สหราชอาณาจักร) - แถลงการณ์จากประธานธนาคารกลางอังกฤษนายแอนดรูว์ ไบลีย์
20:30 (ประเทศจีน) ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) และดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI): CPI คาดว่าจะคงที่ส่วน PPI คาดว่าจะปรับขึ้นเพียงเล็กน้อย
วันอังคาร
02:00 (สหราชอาณาจักร) - รายงานจำนวนคนว่างงานที่ใช้สิทธิประโยชน์จากการว่างงาน: คาดว่าจะเพิ่มขึ้นจาก 28.0K เป็น 78.8K
05:00 (ยูโรโซน) - ดัชนีวัดบรรยากาศทางเศรษฐกิจโดยศูนย์วิจัยเศรษฐกิจยุโรป (ZEW): คาดว่าจะลดลงจาก 56.1 เป็น 40.0
10:00 (สหรัฐฯ) - รายงานตัวเลขตำแหน่งงานว่างเปิดใหม่จาก JLOT: คาดว่าจะลดลงจาก 6.493M เป็น 5.590M
20:00 (นิวซีแลนด์) การประกาศอัตราดอกเบี้ยจากธนาคารกลางนิวซีแลนด์ (RBNZ): คาดว่าจะคงที่อยู่ที่ 0.25%
วันพุธ
02:00 (สหราชอาณาจักร) รายงานตัวเลขผลผลิตภาคอุตสาหกรรม: รายงานตัวเลขครั้งก่อนออกมาอยู่ที่ 0.7%
วันพฤหัสบดี
02:00 (สหราชอาณาจักร) รายงานตัวเลข GDP: คาดว่าแบบไตรมาสต่อไตรมาส
จะเพิ่มขึ้นจาก -19.8% เป็น 15.8%
08:30 (สหรัฐฯ) ดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐาน (Core CPI): คาดว่าจะคงที่อยู่ที่ 0.2%
08:30 (สหรัฐฯ) รายงานตัวเลขจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานครั้งแรก: สัปดาห์ที่แล้วออกมาลดลงอยู่ที่ 751,000 คน
11:00 (สหรัฐฯ) รายงานปริมาณน้ำมันคงคลัง: ในสัปดาห์ที่แล้วออกมาลดลง -7.998M
วันศุกร์
08:30 (สหรัฐฯ) ดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI): คาดว่าจะลดลงมาจาก 0.4% เหลือ 0.2%