บริษัทสื่อโซเชียลยักษ์ใหญ่ของโลกอัลฟาเบต (NASDAQ:GOOGL) เจ้าของเสิร์ชเอนจินชื่อดัง “กูเกิล” และเฟซบุ๊ก (NASDAQ:FB) จะรายงานผลประกอบการไตรมาสที่ 3 ปี 2020 ในวันพฤหัสบดีที่ 29 ตุลาคมหลังตลาดหลักทรัพย์สหรัฐฯ ปิด สิ่งที่นักลงทุนอยากเห็นที่สุดในการรายงานผลประกอบการครั้งนี้คือตัวเลขที่แสดงถึงผลกระทบจากโควิด-19 ที่มีต่อการฝากโฆษณาบนแพลตฟอร์มทั้งสองเพราะหากตัวเลขดังกล่าวดีขึ้น นั่นย่อมหมายถึงช่วงเวลาที่เลวร้ายที่สุดได้ผ่านพ้นไปแล้ว
ในไตรมาสที่สองปี 2020 การรายงานผลประกอบการของกูเกิลค่อนข้างสร้างความตกใจให้กับนักลงทุนเพราะกำไรของบริษัทลดลงเป็นครั้งแรกในรอบ 22 ปี ดังนั้นในไตรมาสล่าสุดที่สิ้นสุดลงเมื่อวันที่ 30 กันยายน นักวิเคราะห์จึงประเมินว่าตัวเลขกำไรจะออกมาที่ $42,760 ล้านเหรียญสหรัฐและตัวเลขการปันผลกำไรต่อหุ้นจะออกมาอยู่ที่ $11.3
นักวิเคราะห์เห็นตรงกันอีกว่าปีนี้คือปีที่หนักที่สุดของกูเกิลในแง่ของกำไรเพราะกำไรของบริษัทมาจากการฝากโฆษณา และส่วนใหญ่บริษัทที่ฝากโฆษณาเหล่านั้นอยู่ในกลุ่มธุรกิจประเภทท่องเที่ยวและโรงพยาบาลซึ่งได้รับผลกระทบจากโควิด-19 แม้ว่า CEO ของบริษัทนายซันดาร์ พิชัยจะกล่าวในเดือนกรกฎาคมว่าเขาเห็น “สัญญาณความมีเสถียรภาพ” ซึ่งเราตีความว่าสัญญาณที่คุณซันดาร์กล่าวถึงคือการเติบโตของธุรกิจบนเทคโนโลยีคลาวด์เพราะในไตรมาสที่ 2 การใช้งานคลาวด์ของกูเกิลเพิ่มขึ้น 43%
นอกจากเรื่องการรายงานผลประกอบการแล้ว นักลงทุนต้องการทราบข่าวความคืบหน้าเกี่ยวกับที่กูเกิลถูกกระทรวงยุติธรรมสหรัฐฯ ยื่นเรื่องต่อสภาเพื่อตรวจสอบเกี่ยวกับการผูกขาดทางการค้าซึ่งข้อสงสัยนี้นอกจากกูเกิลแล้วยังมี แอมาซอน แอปเปิล (NASDAQ:AAPL) และเฟซบุ๊กที่ถูกตั้งคำถามด้วยเช่นกัน อ้างอิงจากนิตยสาร Wall Street Journal การเผชิญหน้ากับกระทรวงยุติธรรมถือเป็นด่านที่หินที่สุดด่านหนึ่งที่เคยเผชิญหน้ากับบริษัทยักษ์ในอดีตของประเทศมาแล้ว
แม้จะมีอุปสรรครออยู่ แต่นักวิเคราะห์เชื่อว่ายอดผู้ใช้งานผ่านคลาวด์และ YouTube จะยังคอยช่วยหนุนกูเกิลให้สามารถก้าวผ่านวิกฤตโรคระบาดและปัญหาทางกฎหมายไปได้ ตลอดปี 2020 หุ้นของกูเกิลปรับตัวขึ้นมาแล้ว 20% มีราคาปิดล่าสุดอยู่ที่ $1600.75
ธุรกิจขนาดเล็กคือผู้ที่ช่วยให้เฟซบุ๊กรอด
สำหรับเฟซบุ๊ก นักวิเคราะห์คาดการณ์กันว่าจะสามารถรายงานผลกำไรออกมาอยู่ที่ $19,750 ล้านเหรียญสหรัฐและมีตัวเลขการปันผลกำไรต่อหุ้นอยู่ที่ $1.89 แม้จะโดนโควิดเล่นงานไม่ต่างจากกูเกิลแต่เฟซบุ๊กก็ยังรักษากำไรและเสถียรภาพได้เป็นอย่างดี
สิ่งหนึ่งที่ทำให้เฟซบุ๊กแข็งแกร่งต่างจากโซเชียลมีเดียอื่นๆ คือกลยุทธ์การกระจายความเสี่ยงและรายได้ เพราะเฟซบุ๊กยังมีผู้ใช้งานอยู่ใน Instagram, Messenger และ WhatsApp ดังนั้นการที่บริษัทซึ่งได้รับผลกระทบจากโควิดไม่สามารถจ่ายเงินค่าโฆษณาบนเฟซบุ๊กได้จึงไม่ได้ทำให้เฟซบุ๊กถึงกับสะดุดได้
นอกจากนี้ผู้ฝากโฆษณาบนเฟซบุ๊กมากกว่า 8 ล้านคนเป็นผู้ทำธุรกิจรายย่อย แม้จะพึ่งพาการโฆษณาจากเฟซบุ๊กเป็นอย่างมากแต่พวกเขาเหล่านั้นก็มีธุรกิจที่แตกต่างกันไป ดังนั้นเฟซบุ๊กจึงยังสามารถรักษากำไรโดยรวมในแต่ละไตรมาสเอาไว้ได้ นอกจากนี้การเข้ามาของโควิดส่งผลกระทบให้ธุรกิจต้องเปลี่ยนเข้าสู่โลกดิจิทัลมากขึ้นซึ่งยิ่งทำให้เฟซบุ๊กได้เปรียบจากการเป็นยักษ์ใหญ่ในโลกโซเชียลอยู่แล้ว หลักฐานยืนยันที่ดีคือกำไรที่ได้จากแอปอินสตาแกรมที่สามารถทำกำไรในไตรมาสที่สองให้กับบริษัทเพิ่มเป็นสองเท่า
ตลอดทั้งปี 2020 หุ้นเฟซบุ๊กปรับตัวขึ้นมาทั้งสิ้นประมาณ 33% มีราคาปิดล่าสุดอยู่ที่ $283.29