🥇 กฎข้อแรกของการลงทุนหรือ? รู้ว่าเมื่อใดควรประหยัด! รับส่วนลดสูงสุด 55% สำหรับ InvestingPro ก่อนโปรโมชั่น BLACK FRIDAY จะหมดเขตรับส่วนลด

ภาพรวมตลาดลงทุน: นักลงทุนรอดูการตัดสินสุดท้ายของเงินเยียวยาก่อนการเลือกตั้ง

เผยแพร่ 21/10/2563 09:55

- ตลาดลงทุนยังทรงตัวยืนได้ด้วยความหวังต่อมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ
- การเทขายพันธบัตรรัฐบาลทำให้ดอลลาร์อ่อนค่าลงและหนุนทองคำให้ปรับตัวขึ้น

ดัชนีของตลาดลงทุนในสหรัฐฯ หลักทั้งสี่ตั้งแต่ดาวโจนส์ไปจนถึง Russell 2000 ต่างปรับตัวขึ้นก่อนในช่วงก่อนเปิดตลาดลงทุนสหรัฐฯ เพราะนักลงทุนยังมีความหวังว่าขอได้เห็นข่าวดีก่อนการเลือกตั้งก็พอ อย่างไรก็ตามเมื่อคืนนี้ก็ยังไม่มีความคืบหน้าเกิดขึ้นอีกเช่นเคยจนทำให้ดัชนีดาวโจนส์ปิดตลาดด้วยการร่วงลง 400 กว่าจุดสะท้อนความผิดหวังที่มีของนักลงทุน

ธีมหลักๆ ในตลาดยังคงเดิม

ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ในยุโรปอย่าง Stoxx 600 เมื่อวานนี้ปรับตัวสูงขึ้น นำโดยหุ้นกลุ่มของบริษัทประกันและธนาคาร ในขณะเดียวกันกลุ่มหุ้นที่ทำผลงานได้ต่ำกว่ามาตรฐานคือกลุ่มพลังงานและการประกันสุขภาพ ตลาดหุ้นในทางฝั่งของเอเชียก็ปรับขึ้นเช่นกันจนสามารถขึ้นไปหาจุดสูงสุดในรอบสองปีครึ่งได้ ดัชนี MSCI ซึ่งเป็นดัชนีหลักฝั่งเอเชียเพิ่มขึ้น 0.22% ทำสถิติขาขึ้นสองวันติดต่อกัน อย่างไรก็ตามเมื่อตลาดได้ทราบว่าประเทศจีนมี GDP หดตัวลง กราฟดังกล่าวก็วิ่งกลับลงมาทันที

โดยสรุปก็คือในช่วง 10 วันล่าสุดดัชนีหลักโดยรวม 8 จาก 10 ตัวอยู่ในแนวโน้มขาขึ้นเนื่องจากตลาดยังเชื่อว่าจะได้เห็นข่าวดีเกี่ยวกับมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจอยู่ ก่อนหน้านี้นางแนนซี่ เปโลซี่ ประธานสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐฯ ได้ออกมาขีดเส้นตายแล้วว่าโอกาสสุดท้ายที่จะได้เห็นมาตรการเยียวยากระตุ้นเศรษฐกิจก่อนการเลือกตั้งคือภายในวันนี้ตามเวลาท้องถิ่นสหรัฐฯ หากไม่แล้ว ค่อยมาหารือกันใหม่หลังการเลือกตั้งประธานาธิบดี นั่นคือสาเหตุว่าทำไมดัชนีดาวโจนส์ถึงร่วงมากกว่า 400 จุดเมื่อคืนนี้เพราะตลาดทราบดีว่าเวลาของข่าวดีใกล้จะหมดลงแล้ว

ธีมหลักที่เป็นตัวขับเคลื่อนข่าวในตลาดเมื่อสัปดาห์ที่แล้วคือ มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ ความคืบหน้าเกี่ยวกับการพัฒนาวัคซีนต้านโควิดและข้อมูลตัวเลขทางเศรษฐกิจ บริษัทผู้ผลิตยาวัคซีน Pfizer (NYSE:PFE) ออกมาบอกว่าจะยื่นคำร้องขอให้องค์การอาหารและยา (FDA) รองรับยาต้านโควิด-19 ของบริษัทเอาไว้เป็นยาฉุกเฉินในช่วงเวลาประมาณปลายเดือนพฤศจิกายน นี่ถือเป็นข่าวดีเพราะหมายความว่าเราอาจจะได้เห็นยาต้านโควิดจริงๆ แล้วภายในเดือนหน้า

อย่างไรก็ตามความกังวลเกี่ยวกับเศรษฐกิจยังคงปกคลุมไปทั่วโลก ยอดผู้ติดเชื้อโควิดที่ยังเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ในยุโรปและสหรัฐอเมริกาทำให้เพิ่มความเป็นไปได้ที่อาจจะได้เห็นมาตรการคุมเข้มเหมือนอย่างในไตรมาสที่หนึ่งกลับมาเช่นการล็อกดาวน์อย่างเต็มรูปแบบ ความกลัวเหล่านี้แสดงให้เห็นผ่านขาขึ้นของดัชนีหลักๆ อย่าง S&P 500 ที่ก่อนหน้านี้สามารถวิ่งขึ้นได้อย่างสบายๆ แต่ตอนนี้เพียงวิ่งกลับขึ้นไปหาแนวต้านซึ่งเป็นจุดสูงสุดเดิมในวันที่ 2 พฤศจิกายนก็ถูกเทขายกลับลงมาสี่วันติดต่อกัน ขาลงครั้งนี้ยังถือเป็นขาลงที่นานที่สุดนับตั้งแต่เดือนมีนาคมและเป็นขาลงที่เร็วที่สุดในประวัติศาสตร์ของ S&P 500 อีกด้วย

ข้อมูลตัวเลขทางเศรษฐกิจของสหรัฐฯ เริ่มสะท้อนให้เห็นถึงการชะลอตัวทางเศรษฐกิจ แม้ตัวเลขยอดค้าปลีกจะออกมาดีกว่าที่คาดการณ์เอาไว้มากแต่จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานกลับเพิ่มสูงขึ้นซึ่งส่งผลกระทบต่อการจับจ่ายใช้สอยของผู้บริโภคที่คิดเป็นสองในสามของตัวเลข GDP สหรัฐฯ 

จากรูปจะเห็นว่าดัชนี S&P 500 กำลังวิ่งอยู่ในกรอบธงลู่ลง โดยธรรมชาติแล้วรูปแบบนี้ถือเป็นรูปแบบของกราฟขาลง แต่เรากลับมองว่านี่คือการย่อตัวในขาขึ้นใหญ่อีกทีด้วยเหตุผลหลายประการ

- ขาขึ้นก่อนหน้านี้เป็นขาขึ้นที่ลากมาสี่วันติดต่อกันตั้งแต่วันที่ 7 ตุลาคมจนถึงวันที่ 12 ตุลาคมคิดเป็นขาขึ้น 5%

- เมื่อราคาวิ่งมาจนเกือบถึงจุดสูงสุดเดิม การเทขายเพื่อเอากำไรไว้ก่อนเป็นเรื่องธรรมดา

- เมื่อฝั่งขาขึ้นออกไปฝั่งขายจึงได้โอกาสเข้ามาในตลาดและกดราคาให้ต่ำลง
- เพราะจนถึงตอนนี้ยังไม่มีสัญญาณว่าขาขึ้นจะกลับเข้ามาเมื่อไหร่ ดังนั้นหุ้นจึงร่วงลงเร็วมากและไม่ใช่ธรรมชาติของขาลงระยะยาว

หากจะให้พูดอีกอย่างหนึ่งก็คือตอนนี้ขาขึ้นที่เข้ามาช้อนซื้อในตลาดใหม่ยังมีไม่มากพอที่จะยันกับฝั่งซื้อที่ย้ายไปอยู่กับฝั่งขายชั่วคราว แต่เมื่อถึงจุดที่เป็นแนวรับสำคัญเช่นเส้นค่าเฉลี่ยหรือแนวรับที่เห็นตรงกันโดยจิตวิทยาการลงทุน เมื่อนั้นนักลงทุนฝั่งขายก็จะออก เปิดโอกาสให้ขาขึ้นได้กลับเข้ามา ที่พูดมาทั้งหมดไม่ใช่การพยากรณ์แต่เป็นธรรมชาติของการวิ่งในกรอบราคาธงลู่ลง

เมื่อไหร่ก็ตามที่เห็นสัญญาณการทะลุแนวต้าน (ซึ่งในที่นี้คือกรอบรูปธง) ตรงนั้นจะเป็นเหมือนสัญญาณเสียงปืนที่บอกฝั่งกระทิงว่าขาลงได้ออกจากตลาดไปอย่างเป็นทางการแล้ว ถึงตรงนั้นขาขึ้นจะมีกำลังอย่างมากมหาศาลเลยทีเดียวที่จะพากราฟขึ้นไปยังแนวต้าน 3588 (เส้นประสีดำ) ซึ่งเป็นจุดสูงสุดเดิม

การเทขายกราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ เพราะนักลงทุนมองว่าเป็นสินทรัพย์เสี่ยงทำให้ดอลลาร์อ่อนมูลค่าตามไปด้วย


แรงซื้อและแรงขายยังพยายามแย่งชิงพื้นที่ในกราฟดัชนีดอลลาร์สหรัฐอยู่ จุดต่ำสุดและเส้น neckline คือบริเวณที่มีแรงซื้อในขณะที่แรงฝั่งขายก็เกาะอยู่ตามเส้นเทรนด์ไลน์ขาลงที่ลากมาตั้งแต่จุดสูงสุดในเดือนมีนาคม 

ราคาทองคำพยายามชิงความได้เปรียบเมื่อดอลลาร์อ่อนมูลค่า

ถึงกระนั้นสถานการณ์ของทองคำก็ไม่ได้ต่างจากดอลลาร์มากนัก แรงทั้งสองฝ่ายยังคงแย่งกันคุมตลาดแต่ดูเหมือนว่าของทองคำจะค่อนไปทางซับซ้อนกว่าดอลลาร์ตรงที่สามารถวิเคราะห์ได้หลายแบบทั้งสามเหลี่ยมสมมาตร ลิ่มลู่ลง

กราฟบิทคอยน์สามารถขึ้นยืนเหนือ $11,750 ได้แล้ว

หลังจากที่ไซด์เวย์อยู่ในกรอบมานานถึงวัน ขาขึ้นครั้งใหม่ในที่สุดก็สามารถทะลุกรอบขึ้นไปยืนเหนือจุดสูงสุดล่าสุดได้ ขยับเข้าใกล้แนวต้าน $12,000 ไปอีกก้าว

ราคาน้ำมันดิบปรับฐานก่อนที่จะมีการประชุมของกลุ่มโอเปก+


จากการวิเคราะห์ทางเทคนิคจะเห้นว่าราคาน้ำมันยังติดแนวต้านที่บริเวณ $41.50 อยู่ เมื่อไหร่ก็ตามที่พยายามขึ้นไปก็มักจะถูกปฏิเสธโดยตลอด

ข่าวเศรษฐกิจสำคัญประจำสัปดาห์ (เวลาทั้งหมดคำนวณเป็น EDT)

วันจันทร์

08:00 (สหรัฐฯ) แถลงการณ์จากประธานธนาคารกลางสหรัฐฯ นายเจอโรม พาวเวลล์

08:45 (ยูโรโซน) แถลงการณ์จากประธานธนาคารกลางแห่งสหภาพยุโรปนางคริสตีน ลาการ์ด

21:30 (ประเทศจีน) รายงานดอกเบี้ยอัตราเงินกู้ (LPR)

วันอังคาร

08:30 (สหรัฐฯ) รายงานตัวเลขการอนุญาตก่อสร้าง: คาดว่าจะเพิ่มขึ้นจาก 1.476M เป็น 1.505M

วันพุธ

02:00 (สหราชอาณาจักร) ดัชนีราคาผู้บริโภค: คาดว่าจะเพิ่มขึ้นจาก 0.2% เป็น 0.5%

03:30 (ยูโรโซน) แถลงการณ์จากประธานธนาคารกลางแห่งสหภาพยุโรปนางคริสตีน ลาการ์ด

08:30 (แคนาดา) ดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐาน

08:30 (แคนาดา) ตัวเลขยอดขายปลีกพื้นฐาน: คาดว่าจะเพิ่มขึ้นจาก -0.4% เป็น 0.9%

10:30 รายงานปริมาณน้ำมันดิบคงคลัง: คาดว่าจะลดลงจาก -3.818M เหลือ -2.835M

วันพฤหัสบดี

05:25 (สหราชอาณาจักร) แถลงการณ์จากผู้ว่าการธนาคารกลางอังกฤษนายแอนดรูว์ ไบลีย์

08:30 (สหรัฐฯ) รายงานตัวเลขยอดขายที่อยู่อาศัยมือสอง: คาดว่าจะเพิ่มขึ้นจาก 6.00M เป็น 6.30M

วันศุกร์

02:00 (สหราชอาณาจักร) รายงานตัวเลขยอดขายปลีก: คาดว่าจะลดลงจาก 0.8% เป็น 0.4%

03:30 (เยอรมัน) ดัชนี PMI ภาคการผลิต: คาดว่าจะลดลงจาก 56.4 เหลือ 55.1

04:30 (สหราชอาณาจักร) ดัชนี PMI ภาคการผลิต: คาดว่าจะเพิ่มขึ้นจาก 54.1 เป็น 54.3

04:30 (สหราชอาณาจักร) ดัชนี PMI ภาคบริการ: คาดว่าจะลดลงจาก 56.1 เหลือ 55.0

06:30 (รัสเซีย) การประกาศอัตราดอกเบี้ยจากธนาคารกลางรัสเซีย: คาดว่าจะคงที่ 4.25%




ความคิดเห็นล่าสุด

กำลังโหลดบทความถัดไป...
การเปิดเผยความเสี่ยง: การซื้อขายตราสารทางการเงินและ/หรือเงินดิจิตอลจะมีความเสี่ยงสูงที่รวมถึงความเสี่ยงต่อการสูญเสียจำนวนเงินลงทุนของคุณบางส่วนหรือทั้งหมดและอาจไม่เหมาะสมกับนักลงทุนทั้งหมด ราคาของเงินดิจิตอลแปรปรวนอย่างมากและอาจได้รับผลกระทบจากปัจจัยภายนอกต่าง ๆ เช่น เหตุการณ์ทางการเงิน กฎหมายกำกับดูแล หรือ เหตุการณ์ทางการเมือง การซื้อขายด้วยมาร์จินทำให้ความเสี่ยงทางการเงินเพิ่มขึ้น
ก่อนการตัดสินใจซื้อขายตราสารทางการเงินหรือเงินดิจิตอล คุณควรตระหนักดีถึงความเสี่ยงและต้นทุนที่เกี่ยวข้องกับการซื้อขายในตลาดการเงิน ควรพิจารณาศึกษาอย่างรอบคอบในด้านวัตถุประสงค์การลงทุน ระดับประสบการณ์ และ การยอมรับความเสี่ยงและแสวงหาคำแนะนำทางวิชาชีพหากจำเป็น
Fusion Media อยากเตือนความจำคุณว่าข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้ไม่ใช่แบบเรียลไทม์หรือเที่ยงตรงแม่นยำเสมอไป ข้อมูลและราคาที่แสดงไว้บนเว็บไซต์ไม่ใช่ข้อมูลที่ได้รับจากตลาดหรือตลาดหลักทรัพย์เสมอไปแต่อาจได้รับจากผู้ดูแลสภาพคล่องและดังนั้นราคาจึงอาจไม่เที่ยงตรงแม่นยำและอาจแตกต่างจากราคาจริงในตลาดซึ่งหมายความว่าราคานี้เป็นเพียงราคาชี้นำและไม่เหมาะสมสำหรับวัตถุประสงค์เพื่อการซื้อขาย Fusion Media และผู้ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้จะไม่รับผิดชอบใด ๆ สำหรับความเสียหายหรือการสูญเสียที่เป็นผลมาจากการซื้อขายของคุณหรือการพึ่งพาของคุณในข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้
ห้ามใช้ จัดเก็บ ทำซ้ำ แสดงผล ดัดแปลง ส่งผ่าน หรือ แจกจ่ายข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้โดยไม่ได้รับการอนุญาตล่วงหน้าอย่างชัดแจ้งแบบเป็นลายลักษณ์อักษรจาก Fusion Media และ/หรือจากผู้ให้ข้อมูล ผู้ให้ข้อมูลขอสงวนสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาและ/หรือการแลกเปลี่ยนข้อมูลที่ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้
Fusion Media อาจได้รับผลตอบแทนจากผู้โฆษณาที่ปรากฎบนเว็บไซต์โดยอิงจากปฏิสัมพันธ์ของคุณที่มีกับโฆษณาหรือผู้โฆษณา
เวอร์ชั่นภาษาอังกฤษของเอกสารฉบับนี้เป็นเวอร์ชั่นหลักซึ่งจะเป็นเวอร์ชั่นที่เหนือกว่าเมื่อใดก็ตามที่มีข้อขัดแย้งไม่สอดคล้องตรงกันระหว่างเอกสารเวอร์ชั่นภาษาอังกฤษกับเอกสารเวอร์ชั่นภาษาไทย