ในสัปดาห์นี้มีบริษัทที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 ต้องรายงานผลประกอบการในไตรมาสที่สามซึ่งนักลงทุนที่กำลังรอจังหวะจะใช้ข้อมูลนี้พิจารณาว่าช่วงเวลาที่เลวร้ายที่สุดของบริษัทนั้นๆ ได้ผ่านพ้นไปแล้วจริงหรือ ดังนั้นในบทความนี้เราจึงได้วิเคราะห์รายงานตัวเลขผลประกอบการของธนาคารรายใหญ่บางแห่งในประเทศสหรัฐอเมริกาเพื่อทำความเข้าใจว่านี่คือช่วงเวลาที่ได้เปรียบของนักลงทุนในการทำกำไรจากการที่หุ้นกลุ่มธนาคารร่วงลงไปสู่จุดต่ำสุดในรอบ 10 ปี
กราฟการกันสำรองค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญเริ่มแบนลง
หนึ่งในตัวเลขสำคัญที่นักวิเคราะห์ใช้เพื่อพิจารณาผลประกอบการธนาคารคือการดูตัวเลขการกันสำรองค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญเพราะตัวเลขนี้สามารถบอกกับนักวิเคราะห์ได้ว่าการกู้ยืมประเภทไหนที่มีโอกาสเข้าสู่ระดับการเงินที่ไม่ปกติ เพราะยิ่งธนาคารเพิ่มการกันเงินสำรองมากเท่าไหร่ย่อมหมายความว่ามีความเสี่ยงที่แนวโน้มเศรษฐกิจจะแย่ลง
จากการรายงานผลประกอบการล่าสุดธนาคารชื่อดังใหญ่ๆ ของสหรัฐฯ เราได้ข้อสรุปว่าตัวเลขการกันเงินสำรองฯ เริ่มนิ่งแล้วซึ่งหมายความว่าหุ้นกลุ่มธนาคารได้ผ่านจุดที่แย่ที่สุดมาแล้วนั่นเอง ธนาคารเจพีมอร์แกน (NYSE:JPM) ซึ่งเป็นธนาคารแห่งชาติที่ใหญ่ที่สุดได้ตั้งตัวเลขของการกันเงินสำรองฯ เอาไว้ที่ $611 ล้านเหรียญสหรัฐซึ่งเป็นตัวเลขที่น้อยกว่าตัวเลขคาดการณ์ในไตรมาสที่สองที่ $10,470 ล้านเหรียญสหรัฐ จากรายงานผลประกอบการที่ออกมาพบว่าเจพีมอร์แกนได้กำไรเพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่สองถึงสองเท่า
ธนาคารที่ใหญ่ที่สุดเป็นอันดับสองของอเมริกาอย่าง “แบงก์ ออฟ อเมริกา” (NYSE:BAC) ก็ได้ใช้เงินกันสำรองประมาณ $1,390 ล้านเหรียญสหรัฐน้อยกว่าวงเงินเดิมที่ตั้งไว้ที่ $5,120 ล้านเหรียญสหรัฐ นาย Brian Moynihan ผู้เป็น CEO ของแบงก์ ออฟ อเมริกาให้สัมภาษณ์กับนักวิเคราะห์ในช่วงเช้าของวันพุธว่า
“เราเริ่มเห็นสัญญาณการฟื้นตัวของปัจจัยพื้นฐานในภาพรวมทางเศรษฐกิจแล้ว แต่เรายังไม่สามารถประเมินตัวเลขออกมาได้อย่างแม่นยำตราบใดที่การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ยังไม่จบ”
เราไม่ได้พิจารณาตัวเลขการกันเงินสำรองกับเฉพาะธนาคารที่อยู่แนวหน้าเท่านั้น แม้แต่ธนาคารที่ทำกำไรได้แย่ที่สุดในกลุ่มธนาคารด้วยกันเองอย่างเวลล์ ฟาร์โก (NYSE:WFC) ซึ่งกำไรขาดทุนไป 56% ยังมีตัวเลขการกันเงินสำรองฯ ที่อยู่ในระดับน้อยกว่าที่คาดการณ์มากถึงครึ่งหนึ่ง
การกระจายความเสี่ยงกำลังสร้างผลตอบแทนคืนกลับมาให้ธนาคาร
การรายงานผลประกอบการครั้งนี้แสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่าธนาคารยักษ์ใหญ่ทั้งหลายต่างก็ลงทุนอย่างหนักในการกระจายความเสี่ยงออกจากธุรกิจหลักที่ดูแล้วโดนผลกระทบจากโควิดน้อยกว่า แม้อัตราดอกเบี้ยจะถูกปรับลงมาจนใกล้เคียงกับ 0% แต่รายได้จากการลงทุนในธุรกิจอื่นๆ กลับกำลังเพิ่มขึ้น
ธนาคารชื่อดังอย่างโกลด์แมน แซคส์ (NYSE:GS) สร้างความประหลาดใจให้กับนักลงทุนเมื่อกำไรในไตรมาสที่สามเพื่อขึ้นเกือบเป็นสองเท่าตัว สาเหตุที่มีกำไรเพิ่มขึ้นมาจากการที่นักลงทุนรีบที่จะปรับพอร์ตการลงทุนของตัวเองให้กับเข้าการคงอัตราดอกเบี้ยเกือบเป็น 0% ของธนาคารกลางสหรัฐ เมื่อเทียบตัวเลขกำไรในไตรมาสที่สามของปีนี้กับปี 2019 พบว่ากำไรของโกลด์แมน แซคส์เติบโตขึ้น 29% จากค่ารับประกันการจำหน่ายหุ้นที่เพิ่มสูงขึ้น 60% นอกจากนี้กำไรจากค่าธรรมเนียมสำหรับการลงทุนของเจพีเพิ่มขึ้น 30% ในขณะที่ซิตี้กรุ๊ป (NYSE:C) มีกำไรเพิ่มขึ้น 17%
นาย David Solomon ผู้เป็น CEO ของโกลด์แมนให้สัมภาษณ์เมื่อวันพุธที่ผ่านมาว่า “ตลาดหุ้นสหรัฐฯ ยังได้ประโยชน์อยู่จากมาตรการทางการเงินของภาครัฐและธนาคารกลาง” ถึงแม้ CEO ของโกลด์แมนจะบอกว่าเป็นช่วงเวลาที่ดีแต่ความสนใจของนักลงทุนในหุ้นกลุ่มธนาคารยังถือว่าต่ำเพราะเมื่อเทียบการวิ่งตลอดทั้งปีของหุ้นเจพีมอร์แกนหรือแบงก์ ออฟ อเมริกายังพบว่าวิ่งต่ำกว่าดัชนี S&P 500 30%
แต่ในมุมมองของเรากลับคิดว่าช่วงที่ไม่มีคนสนใจแบบนี้คือโอกาสเหมาะที่จะได้ถือหุ้นของธนาคารชื่อดังของโลก
นักวิเคราะห์จาก Wall Street Journal ท่านหนึ่งวิเคราะห์ว่า
“วิกฤตโควิดครั้งนี้ไม่เหมือนปีวิกฤตการเงินปี 2008 ตรงที่ลูกค้าไม่ได้มาแห่ถอนเงินออกไปจากธนาคาร จนถึงตอนนี้ธนาคารพาณิชย์ยังสามารถไปรอดได้อยู่ แม้ว่าเศรษฐกิจโดยภาพรวมจะชะลอตัวลง ยิ่งพิจารณาจาก Capital Ratio แล้วยังอยู่ในสถานการณ์ที่ดีอยู่และธนาคารบางแห่งมีการเพิ่มขึ้นด้วย”
โดยสรุปแล้ว
หุ้นของโกลด์แมน เจพีและแบงก์ ออฟ อเมริกาคือหุ้นตัวโปรดที่เราชอบมากที่สุดในกลุ่มธนาคารเพราะมีงบการเงินที่แข็งแกร่งและกระจายความเสี่ยงได้ดี เป็นความจริงที่ว่าตอนนี้อาจจะยังไม่อาจสร้างผลตอบแทนที่ดีได้เนื่องจากกำลังผ่านช่วงเวลาวิกฤตโควิด-19 แต่เราเชื่อว่าหลังจากผ่านช่วงเวลาดังกล่าวได้แล้ว หุ้นทั้งสามจะสามารถให้ผลตอบแทนที่ดีในระยะยาวได้