1. การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 รอบที่สองทั่วทั้งยุโรป
มียอดผู้ติดเชื้อโควิด-19 ใหม่ถูกพบในยุโรปทุกวัน สร้างความกังวลให้กับยุโรปว่าอาจต้องเจอกับช่วงเวลาที่ยากลำบากตั้งแต่ต้นปี 2021 ยอดผู้ติดเชื้อในฝรั่งเศสรายวันพึ่งขึ้นไปสร้างสถิติใหม่ที่ 26,896 รายภายในสัปดาห์เดียวในขณะที่สเปนพบยอดผู้ติดเชื้อโดยเฉลี่ยมากกว่า 10,000 คนต่อวัน เมื่อย้อนกลับไปเปรียบเทียบกับข้อมูลในการแพร่ระบาดรอบแรกของเดือนมีนาคมพบว่าตอนนั้นฝรั่งเศสมียอดผู้ติดเชื้อสูงสุดต่อวันอยู่ที่ 7,578 คนในขณะที่สเปนมี 9,159 คน
การแพร่ระบาดรอบที่สองกำลังเกิดขึ้นไปทั่วยุโรป เยอรมันรายงานว่าพบผู้ติดเชื้อใหม่มากกว่า 4,000 ราย หลายประเทศในยุโรปออกมาตรการควบคุมเชื้อไวรัสใหม่ กรุงปารีสยกระดับเตือนภัยขึ้นถึงขั้นสูงสุด สเปนมีมาตรการจำกัดเวลาปิดร้านอาหารให้เช้าลงและจำกัดการเดินทางเข้าออกเมือง เยอรมันประกาศเคอร์ฟิว การสวมใส่หน้ากากอนามัยออกจากบ้านกลายเป็นสิ่งที่ต้องทำตามกฎหมายในอิตาลี เบลเยี่ยมสั่งปิดบาร์และร้านอาหารเป็นเวลาหนึ่งเดือน กรมสุขภาพของไอร์แลนด์แนะนำรัฐบาลให้ปรับมาตรการคุมเข้มของรัฐขึ้นเป็นระดับสูงสุด
2. การล็อกดาวน์บางส่วนยิ่งซ้ำเติมการถดถอยทางเศรษฐกิจ
จากข้อมูลยอดผู้ติดเชื้อโควิดที่เพิ่มสูงขึ้นในหัวข้อที่แล้ว นำไปสู่การปิดล็อกเมืองบางส่วนซึ่งมาตรการนี้คือการทำลายการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจของยูโรโซนอย่างจำใจ นักเศรษฐศาสตร์เคยคาดการณ์ไว้ว่าในช่วงหน้าร้อนที่ผ่านมาและช่วงครึ่งหลังของปีจะเป็นเวลาที่เศรษฐกิจในยูโรโซนได้ฟื้นตัว แต่สำหรับตอนนี้ คงต้องใช้คำว่าคงเป็นเรื่องโชคดีมากหากยุโรปสามารถรอดจากการถดถอยทางเศรษฐกิจรอบสองได้ ข้อมูลตัวเลขทางเศรษฐกิจในเดือนกันยายนทำให้เราได้เห็นตัวเลขการเติบโตที่เริ่มชะลอตัวลงแล้ว แต่เมื่อตัวเลขของเดือนนี้ประกาศในเดือนถัดไป ตลาดจะได้เห็นจริงๆ ว่ามาตรการควบคุมโรคชุดใหม่ได้ทำร้ายเศรษฐกิจยุโรปขนาดไหน
ในไตรมาสที่สองตัวเลข GDP ของยูโรโซนหดตัวลงไป 11.8% ซึ่งเชื่อว่าครั้งนี้เราจะยังไม่ได้เห็นตัวเลขกดตัวลงไปมากขนาดนั้นเพราะรัฐบาลของประเทศในยุโรปกำลังทำทุกอย่างเพื่อหลีกเลี่ยงการล็อกดาวน์อย่างเต็มรูปแบบ แต่จากสถานการณ์ที่เป็นอยู่ตอนนี้มีความเป็นไปได้สูงที่เราจะได้เห็นไตรมาสที่สี่เป็นไตรมาสแห่งการหดตัวทางเศรษฐกิจของยุโรป ผลกระทบที่มีต่อสกุลเงินยูโรจะเห็นชัดอย่างที่เคยเห็นมาแล้วในเดือนมีนาคมจนกราฟยูโรเทียบดอลลาร์ต้องลงจากจุดสูงสุด 1.15 ไปยังจุดต่ำสุด 1.0637 ภายในเวลาไม่กี่สัปดาห์ ความผันผวนในตลาดหุ้นยุโรปจะสะท้อนความเสียหายทางเศรษฐกิจที่ยุโรปต้องเผชิญได้เป็นอย่างดี
3. การผ่อนคลายนโยบายทางการเงินจาก ECB
นักเศรษฐศาสตร์หลายคนมีความเห็นตรงกันว่าธนาคารกลางแห่งสหภาพยุโรป (ECB) มีความเป็นไปได้ที่จะอัดฉีดเงินเพิ่มเข้าไปในโครงการซื้อสินทรัพย์ฉุกเฉินเพื่อรับมือกับโรคระบาด (PEPP) อีกภายในสิ้นปีนี้ หากรัฐบาลของประเทศในยูโรโซนไม่สามารถควบคุมโรคระบาดได้ แม้จะมีความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นกับอัตราเงินเฟ้อแต่การผ่อนคลายการเงินนโยบายตอนนี้ก็เป็นสิ่งจำเป็น
ตอนนี้การฟื้นตัวทางเศรษฐกิจในช่วงครึ่งปีหลังกำลังเผชิญหน้ากับความเสี่ยงที่สูงขึ้นทุกวัน ECB จึงไม่มีทางเลือกมากนอกจากต้องเพิ่มเงินเข้ามากระตุ้นเศรษฐกิจอีก ความเป็นไปได้ที่จะลดอัตราดอกเบี้ยเพิ่มสูงขึ้นแต่หากต้องเลือกระหว่างลดอัตราดอกเบี้ยกับเพิ่มเงินให้กับ PEPP ดูเหมือนว่าทางเลือกอย่างหลังจะมีประโยชน์มากกว่า ล่าสุดสัปดาห์นี้นางคริสตีน ลาการ์ด ประธาน ECB ได้แถลงออกมาแล้วว่าพร้อมที่จะอัดฉีดเงินกระตุ้นรอบใหม่พร้อมทั้งบอกอีกว่า ECB กำลังเตรียมตัวที่จะใช้เครื่องมือทางการเงินทุกอย่างให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดและให้ได้มาซึ่งผลลัพธ์ที่ดีที่สุด
4. ความไม่แน่นอนทั้งก่อนและหลังการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ
ความไม่แน่นอนของการเลือกตั้งสหรัฐฯ อาจทำให้นักลงทุนในตลาดฟอเร็กซ์ตัดสินใจออกจากตลาดไปก่อน ความเสี่ยงที่นักลงทุนยังสามารถยอมรับได้และขาขึ้นในตลาดหุ้นสหรัฐฯ คือสิ่งเดียวที่ทำให้สกุลเงินดอลลาร์แข็งค่าขึ้น ข่าวดีทุกอย่างที่เกี่ยวกับมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของสหรัฐฯ จะมีแต่ทำให้ดอลลาร์แข็งแกร่งขึ้นแม้ว่าการเลือกตั้งสหรัฐฯ จะใกล้เข้ามาทุกทีแต่ตอนนี้จำนวนเงินกลับกลายเป็นเป็นปัญหาอีกครั้งเมื่อนางแนนซี่ เปโลซี่ ประธานสภาผู้แทนราษฏรยังไม่พอใจกับจำนวนเงินที่ฝั่งรัฐบาลยื่นมา ในช่วงสุดท้ายก่อนการเลือกตั้งทรัมป์อาจไม่ได้วัคซีนต้านโควิดตามที่เคยพูดไว้เมื่อมีข่าวบริษัทชื่อดังจอห์นสันและจอห์นสันต้องหยุดการพัฒนาเนื่องจากพบผู้ป่วยไม่ทราบสาเหตุ นักลงทุนอาจเลือกที่จะถอนเงินออกจากตลาดก่อนซึ่งนั่นจะเป็นสาเหตุที่ทำให้กราฟยูโรเทียบดอลลาร์ปรับตัวลดลง