- สัปดาห์ที่ผ่านมา ตลาดโดยรวมอยู่ในภาวะ Risk-Off ท่ามกลางความกังวลการระบาด COVID-19 และปัญหาความขัดแย้งระหว่างจีนกับสหรัฐฯ ที่เริ่มร้อนแรงขึ้น
- จับตาผลการประชุมธนาคารกลางหลัก อาทิ FOMC, BOE และ BOE โดยการส่งสัญญาณพร้อมใช้นโยบายการเงินที่ผ่อนคลายมากขึ้น อาจช่วยให้ตลาดกล้าเปิดรับความเสี่ยงได้
- ระวังความผันผวนในตลาดสูงขึ้น หนุนโดยปัญหาการระบาด COVID-19 ความขัดแย้งจีน-สหรัฐฯ และปัญหา Brexitซึ่งอาจช่วยให้เงินดอลลาร์ทรงตัวและไม่อ่อนค่าลงมาก ส่วนเงินบาทก็มีโอกาสเผชิญแรงเทขายได้จากความกังวลปัญหาความวุ่นวายของการเมืองในประเทศ
- กรอบเงินบาท USD/THB สัปดาห์หน้า 31.10-31.50 บาท/ดอลลาร์
- การประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงินธนาคารกลางสหรัฐฯ (FOMC) ในวันพฤหัสบดี เราคาดว่า FOMC จะ“คง”อัตราดอกเบี้ย (Fed Funds Target Rate) ไว้ที่ระดับ 0.00-0.25%และมองว่าเฟดจะเปิดเผยรายละเอียดของ Average Inflation Targeting ซึ่งจะทำให้เฟดไม่ต้องรีบขึ้นดอกเบี้ย แม้เงินเฟ้อจะเร่งตัวขึ้นอย่างรวดเร็ว ทั้งนี้เฟดอาจย้ำมุมมองดังกล่าวผ่านการคาดการณ์ว่าดอกเบี้ยนโยบายจะคงอยู่ที่ระดับ 0.00-0.25% ในปี 2023
- การประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงินธนาคารกลางอังกฤษ (BOE) ในวันพฤหัสบดี ตลาดคาดว่า BOE จะ“คง”อัตราดอกเบี้ยนโยบาย (Bank Rate) ไว้ที่ระดับ 0.10%แต่อาจส่งสัญญาณพร้อมใช้นโยบายการเงินที่ผ่อนคลายมากขึ้น เช่น เพิ่มวงเงินทำคิวอี หลังเศรษฐกิจยังคงเผชิญการระบาดของ COVID-19 และปัญหาBrexit
- การประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงินธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) ในวันพฤหัสบดี ตลาดคาดว่า BOJ จะ“คง”อัตราดอกเบี้ยนโยบาย (Policy Balance Rate) ไว้ที่ระดับ -0.10%เพื่อช่วยหนุนการฟื้นตัวเศรษฐกิจที่กำลังเริ่มฟื้นตัวจากปัญหาการระบาดของ COVID-19
- ฝั่งสหรัฐฯ –ตลาดคาดว่ายอดค้าปลีก (Retail Sales) ในเดือนสิงหาคมอาจโตเพียง 0.9% จากเดือนก่อนหน้า ชะลอลงจากที่โต 1.2% โดยผู้บริโภคอาจลดการใช้จ่ายลงหลังมาตรการช่วยเหลือตลาดแรงงานจบลงในเดือนกรกฎาคม
- ฝั่งยุโรป – ดัชนีความเชื่อมั่นภาคธุรกิจของเยอรมนี(ZEW Survey) ในเดือนกันยายนอาจลดลงแตะระดับ 69จุด จาก 71.5จุด หลังตลาดกลับมากังวลปัญหาการระบาดระลอกที่สองของ COVID-19 ในยุโรปมากขึ้น
มุมมองนโยบายการเงิน
มุมมองเศรษฐกิจทั่วโลก
ฝั่งเอเชีย – ตลาดมองว่าเศรษฐกิจจีนมีแนวโน้มฟื้นตัวดีขึ้นสะท้อนจากยอดผลผลิตอุตสาหกรรม(IndustrialProduction) ที่เพิ่มขึ้นราว 5.1% จากปีก่อนหน้า ส่วนยอดค้าปลีก (Retail Sales) จะพลิกกลับมาโต 0.1% ดีขึ้นจากที่หดตัวราว 1.1% ในเดือนก่อนหน้า ขณะที่ยอดการลงทุนในสินทรัพย์ถาวร (Fixed Asset Investment) จะหดตัวราว 0.5% ดีขึ้นจากที่หดตัวกว่า 1.6% ในเดือนก่อน หนุนโดยการลงทุนในอสังหาฯที่โตได้ 4.1% ทั้งนี้เศรษฐกิจจีนอาจเผชิญแรงกดดันมากขึ้น เพราะสหรัฐฯพร้อมใช้มาตรการกีดกันการค้าและการลงทุนกับจีนเพิ่มเติม โดยเฉพาะในช่วงใกล้เลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ