เหลียวหลัง
• เงินบาทปิดอ่อนค่าที่ 31.36 ต่อดอลลาร์USD/THB หลังซื้อขายในกรอบ 30.95-31.41 โดยเงินบาทเป็นสกุลเงินที่ปรับตัวอ่อนค่าลง มากที่สุดในภูมิภาคในสัปดาห์ที ผ่านมาตามแรงกดดันจาก ความไม่แน่นอนทางการเมืองและนโยบายเศรษฐกิจหลัง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังประกาศลาออกจาก ตําแหน่ง ทั้งนี นักลงทุนต่างชาติขายสุทธิในตลาดหุ้น 1.12 หม่นล้านบาท แต่ซื้อสุทธิในตลาดพันธบัตร 4.0 พันล้านบาท
• เงินดอลลาร์ฟื้นตัวเมื่อเทียบกับทุกสกุลเงินหลักขณะที่เงินยูโร USD/EUR อ่อนค่าลงจากแรงขายทํากําไรหลังไม่สามารถยืนเหนือ 1.2000 ดอลลาร์ต่อยูโร ซึ่งเป็นแนวต้านสําคัญและเป็นระดับแข็งค่าสุดในรอบกว่า 2 ปี ส่วนตลาดหุ้นสหรัฐฯนําโดยกลุ่ม เทคโนโลยีปรับฐานลงแรงในช่วงท้ายสัปดาห์ อย่างไรก็ตาม ข้อมูลเดือนส.ค.บ่งชี้ว่าอัตราการว่างงานของสหรัฐฯปรับตัว ลดลงเกินคาดสู่ระดับ 8.4% จาก 10.2% ในเดือนก่อนหน้า
แลหน้า
• เงินบาทสัปดาห์นี้มีแนวโน้มซื้อขายในกรอบ 31.20-31.60 ต่อ ดอลลาร์USD/THBนักลงทุนมุ่งความสนใจไปที การประชุมธนาคาร กลางยุโรป(อีซีบี) วันที 10 ก.ย. เพื่อติดตามการสื่อสารกับ ตลาดในประเด็นการดําเนินนโยบายการเงินสําหรับระยะถัดไป โดยเราคาดว่าอีซีบีจะส่งสัญญาณผ่อนคลายนโยบาย เพิ่มเติมอย่างชัดเจนมากขึ้นท่ามกลางภาวะที เงินเฟ้ออยู่ใน ระดับต่ำมากและเงินยูโรแข็งค่าขึ้นในช่วงที่ผ่านมา โดยในภาพรวม เงินดอลลาร์มีแนวโน้มฟื้นตัวขึ้นชั่วคราว ขณะที่ตลาดกําลังหันความสนใจไปที่ ธนาคารกลางแห่งอื่นๆนอก สหรัฐฯ นอกจากนี้ การเจรจาข้อตกลง Brexit ระหว่าง สหภาพยุโรปกับสหราชอาณาจักร ทิศทางการเมืองสหรัฐฯ รวมถึงกระแสข่าวเกี่ยวกับการพัฒนาวัคซีนจะส่งผลต่อการ เคลื่อนไหวของตลาดอัตราแลกเปลี่ยนเช่นกัน
• สําหรับปัจจัยภายในประเทศ ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปเดือน ส.ค.ลดลง 0.5% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยเป็นอัตราการติดลบทีน้อยที่สุดในรอบ 6 เดือน ขณะที่ ดัชนีราคา ผู้บริโภคพื้นฐานซึ่งไม่รวมอาหารสดและพลังงานเพิ่มขึ้น 0.3% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ทางด้านกระทรวงพาณิชย์ กล่าวว่าเงินเฟ้อทีติดลบน้อยลงสะท้อนเศรษฐกิจทีมีแนวโน้มฟื้นตัว อนึ่ง แม้เราประเมินว่าคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.)จะมีแนวโน้มตรึงดอกเบี้ยไว้ที ระดับ 0.50% ในการประชุมวันที 23 ก.ย. แต่ความไม่แน่นอนที่สูงขึ้นทั้งจาก สถานการณ์โรคระบาดทั่วโลก การเมืองในและต่างประเทศ ภาวะสูญญากาศและความไม่ชัดเจนของโครงสร้างการ บริหารจัดการมาตรการกระตุ้นทางการคลังท่ามกลางวิกฤติ เพิ่มความเสี่ยงด้านต่ำต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจและอาจบั่นทอนความเชื่อมั่นในสินทรัพย์สกุลเงินบาทมากขึ้น
บทความนี้มาจากศูนย์วิจัยกรุงศรี สามารถอ่านบทวิเคราะห์ฉบับเต็มได้ที่ www.krungsri.com