เรื่องใหญ่ขนาดนี้จะไม่มีประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์เข้ามามีส่วนร่วมได้อย่างไร ในเรื่องนี้ทรัมป์ค่อนข้างไม่พอใจสภาคอนเกรสที่ดำเนินการได้ล่าช้าซึ่งเขายืนยันว่าความคืบหน้าของมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจจะต้องมีคำตอบภายในวันนี้หรือวันเสาร์ที่จะถึงและเขาจะต้องได้เซ็นกฎหมายที่อนุญาตให้มีการยืดระยะเวลาเงินเยียวยาเพิ่มเติม การละเว้นภาษีในวันหยุดและการผ่อนผันเงินกู้ยืมของนักเรียนนักศึกษา เกี่ยวกับเรื่องภาษีเราไม่แน่ใจว่าสิ่งที่ทรัมป์พูดจะสามารถปฏิบัติได้จริงหรือไม่เพราะที่ตามกฎหมายแล้วสภาคอนเกรสคือผู้ที่ดูแลเรื่องกฎหมายภาษีจึงเป็นไปได้ว่าในความหมายของทรัมป์อาจจะหมายถึงการยืดระยะเวลาการเสียภาษีออกไปเสียมากกว่า นอกจากนี้ทรัมป์อาจจะต้องการให้นำเงินจากกองทุนเยียวยาโควิดหรือที่เรียกว่า “CARES” มาใช้จ่ายให้กับผู้ที่ตกงานแทนไปก่อน จากข่าวที่รายงานมานี้ก็ยังไม่มีอะไรยืนยันได้อย่างเป็นทางการว่าท้ายที่สุดแล้วมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจในรอบที่ 2 จะออกมาเช่นไร นักลงทุนจึงยังคงเป็นกังวลและไม่เชื่อมั่นในสกุลเงินดอลลาร์
อีกสาเหตุหนึ่งที่สกุลเงินดอลลาร์ยังคงอ่อนมูลค่าเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลักอื่นๆ เพราะรายงานตัวเลขการจ้างงานนอกภาคการเกษตร (NFP) ที่กำลังจะออกในช่วงค่ำของวันนี้ยังเป็นปัจจัยเสี่ยง นักเศรษฐศาสตร์คาดการณ์ว่าตัวเลขการจ้างงานในเดือนกรกฎาคมจะเพิ่มขึ้นเป็น 1.48 ล้านตำแหน่งลดลงจากตัวเลขของเดือนมิถุนายนเล็กน้อย สิ่งที่น่ากังวลคือในเดือนที่แล้วการจ้างงานในบริษัทนั้นลดลง ไม่ใช่แค่เฉพาะในรัฐที่เป็นฐานเศรษฐกิจหลักที่เกิดการระบาดแต่ยังรวมไปถึงรัฐอื่นๆ ก็มีรายงานการชะลอตัวของตัวเลขการเติบโตในการจ้างงาน
อ้างอิงข้อมูลจากดัชนี PMI ภาคการบริการโดย ISM เปิดเผยข้อมูลว่าตัวเลขในส่วนของการจ้างงานนั้นหดตัวเร็วกว่าที่คาด รายงานจาก Challenger เกี่ยวกับการเลิกจ้างงานมีตัวเลขเพิ่มขึ้น 576% ในขณะที่รายงานตัวเลขคาดการณ์การจ้างงานนอกภาคการเกษตรจาก ADP ที่พึ่งออกมาเมื่อวันพุธระบุว่ามีการจ้างงานเพิ่มขึ้นเพียง 167,000 ตำแหน่ง ตัวเลขความเชื่อมั่นของผู้บริโภคจากองค์กรน่าเชื่อถือต่างๆ ลดลงเหมือนกันหมด
1. ตัวเลขดัชนี PMI ภาคการบริการในส่วนของการจ้างงานจาก ISM ลดลงจาก 43.1 เป็น 42.1
2. รายงานข้อมูลตัวเลขการเลิกจ้างงานจาก Challenger เพิ่มขึ้น 305.5%
3. รายงานตัวเลขคาดการณ์การจ้างงานนอกภาคการเกษตรจาก ADP เพิ่มขึ้น 167K เมื่อเทียบกับ 4.3 ล้านตำแหน่ง
4. ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคลดลงจาก 98.3 เหลือ 92.6
5. ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคจากมหาลัยมิชิแกนลดลงด้วยเช่นกัน
1. ค่าเฉลี่ยของจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานครั้งแรกในรอบ 4 สัปดาห์ล่าสุดลดลงจาก 1.435 ล้านคนเป็น 1.337 ล้านคน
2. จำนวนตัวเลขผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานครั้งแรกรวมทั้งหมดลดลงจาก 17.7 ล้านคนเหลือ 16.1 ล้านคน
3. ดัชนี PMI ภาคการผลิตในส่วนของการจ้างงานจาก ISM หดตัวเล็กน้อยจาก 44.3 เหลือ 42.1