-สัปดาห์ที่ผ่านมา การระบาดของ COVID-19 ในสหรัฐฯทวีความรุนแรงต่อเนื่องกดดันแนวโน้มการฟื้นตัวเศรษฐกิจ
-ติดตามรายงานข้อมูลตลาดแรงงานสหรัฐฯ และการระบาดของ COVID-19 ทั่วโลก โดยเงินดอลลาร์มีแนวโน้มอ่อนค่าลง หากการจ้างงานในสหรัฐฯซบเซากว่าคาดสะท้อนว่าการฟื้นตัวของเศรษฐกิจสหรัฐฯยังมีปัญหา
-ทั้งนี้ ต้นสัปดาห์ ดัชนีดอลลาร์ (US Dollar Index) อาจทรงตัวเหนือระดับ 93จุด หากการระบาดของ COVID-19 ระลอกที่ 2 ทั่วโลกรุนแรงมากขึ้นแต่ดอลลาร์อาจอ่อนค่าลงในช่วงท้ายสัปดาห์หากยอดการจ้างงานแย่กว่าคาด ซึ่งจะช่วยหนุนให้สกุลเงินอื่นๆแข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับเงินดอลลาร์
-กรอบเงินบาทสัปดาห์หน้า 31.10-31.60 บาท/ดอลลาร์ USD/THB
มุมมองนโยบายการเงิน
การประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงินธนาคารกลางอังกฤษ (BOE) ในวันพฤหัสฯ ตลาดคาดว่า BOE จะ“คง”อัตราดอกเบี้ยนโยบาย (Bank Rate) ไว้ที่ระดับ 0.10% เพื่อช่วยหนุนการฟื้นตัวเศรษฐกิจที่ยังมีปัจจัยเสี่ยง
การประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงินธนาคารกลางออสเตรเลีย (RBA) ในวันอังคาร ตลาดมองว่า RBA จะ“คง”อัตราดอกเบี้ยนโยบาย (Cash Rate) ไว้ที่ระดับ0.25% และคงเป้าบอนด์ยีลด์ 3ปี ไว้ที่ระดับ 0.25% หลังการระบาดของ COVID ระลอก 2 กดดันการฟื้นตัวเศรษฐกิจ
การประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงินธนาคารกลางอินเดีย (RBI) ในวันพฤหัสฯ ตลาดคาดว่า RBI จะ“ลด”อัตราดอกเบี้ยนโยบาย (Repo Rate) 0.25% สู่ระดับ 3.75% จากภาพเศรษฐกิจที่ยังมีความเสี่ยงอยู่มากโดยเฉพาะการระบาดของ COVID ที่ทวีความรุนแรงมากขึ้น
การประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (MPC) ในวันพุธเราคาดว่า MPC จะ“คง”อัตราดอกเบี้ยนโยบาย (Repo Rate) ไว้ที่ระดับ 0.50% หลังเศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มฟื้นตัวดีขึ้น ทั้งนี้ กนง.จะยังคงส่งสัญญาณพร้อมใช้เครื่องมือการเงินเพิ่มเติมหากเศรษฐกิจซบเซาหนัก
มุมมองเศรษฐกิจทั่วโลก
ฝั่งสหรัฐฯ –ตลาดประเมินว่าตลาดแรงงานสหรัฐฯจะฟื้นตัวอย่างช้าๆ หลังCOVID ระบาดหนักหลายพื้นที่ทำให้ยอดการจ้างงานนอกภาคเกษตรกรรม (Nonfarm Payrolls)
เดือนกรกฎาคมจะเพิ่มขึ้นเพียง 1.5 ล้านตำแหน่งลดลงจากที่เพิ่มขึ้นกว่า 4.8ล้านตำแหน่งในเดือนก่อนซึ่งการจ้างงานอาจแย่ลงหนักหากสหรัฐฯยังไม่สามารถคุมการระบาดได้
ฝั่งยุโรป
–เศรษฐกิจยูโรโซนมีแนวโน้มฟื้นตัวต่อเนื่องสะท้อนจากยอดค้าปลีก(Retail Sales) เดือนมิถุนายนที่จะเพิ่มขึ้น 6.3%จากเดือนก่อนหน้า
ฝั่งเอเชีย – ตลาดคาดว่าเศรษฐกิจเอเชียจะฟื้นตัวต่อเนื่องโดยเฉพาะจีนซึ่งกิจกรรมในภาคการผลิตและการบริกาจะขยายตัวต่อเนื่องชี้จากดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคการผลิตและการบริการ (Caixin Mfg. & Serv. PMIs) ในเดือนกรกฎาคมที่ระดับ 51.1จุด และ 57.9จุด ตามลำดับ
ฝั่งไทย – เราประเมินว่าอัตราเงินเฟ้อ (CPI) ในเดือนกรกฎาคมจะอยู่ที่ระดับ -1.5%หลังราคาน้ำมันดิบเฉลี่ยลดลงจากปีก่อนหน้าถึง 30%ขณะเดียวกันก็มีมาตรการช่วยเหลือค่าใช้จ่ายจากภาครัฐและการบริโภคในประเทศที่ฟื้นตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไปกดดันการฟื้นตัวของเงินเฟ้อ