ผ่านกันไปอีกหนึ่งเดือนแล้วสำหรับกรกฏาคมซึ่งถือว่าเป็นอีกหนึ่งเดือนที่ไม่เป็นมิตรกับดอลลาร์สหรัฐเอาเสียเลย แทบไม่มีวันไหนเลยที่ สามารถขึ้นมาแข็งค่าเหนือสกุลเงินหลักอื่นๆ ได้ ในแต่ละวันเรามักจจะได้ยินแต่ข่าวกราฟตัวนั้นกราฟตัวนี้ลงไปสร้างจุดต่ำสุดใหม่ในรอบหลายเดือนหรือหลายปี เฉพาะเดือนกรกฎาคมถึง 5% และเมื่อเทียบกับ และพบว่าอ่อนมูลค่ามากกว่า 4% สาเหตุอันดับหนึ่งที่ทำให้ดอลลาร์อ่อนมูลค่าได้มากขนาดนี้และทำให้ไม่มีใครอยากถือเงินดอลลาร์ก็คือยอดผู้ติดเชื้อโควิด-19 ในสหรัฐฯ ที่ยังคงเพิ่มสูงขึ้น ตามมาด้วยราคาพันธบัตรรัฐบาลตกต่ำ เงินเยียวยาคนตกงานที่หมดอายุไปแล้ว การค้าขายภายในประเทศที่ 3 วันดี 4 วันไข้และเกมการเมืองระหว่างประธานธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์กับหลายๆ ประเทศทั่วโลก
ล่าสุดนายโดนัลด์ ทรัมป์ยังได้ตอกย้ำถึงความไม่แน่นอนในอำนาจของเขาด้วยการขอเลื่อนการเลือกตั้งในช่วงต้นเดือนพฤศจิกายนออกไปซึ่งในประวัติศาสตร์อเมริกาไม่เคยมีประธานาธิบดีคนไหนออกมาพูดอะไรเช่นนี้ แน่นอนว่าย่อมไม่ได้รับความเห็นชอบจากสภาคอนเกรสและเหล่าผู้นำจากพรรคริพับลิกัน ยิ่งวันเลือกตั้งใกล้เข้ามามากเท่าไหร่เหล่านักลงทุนก็เริ่มเป็นกังวลว่าทรัมป์จะทำอะไรแปลกๆ เพื่อให้ตัวเองสามารถดำรงตำแหน่งอยู่ต่อไปได้ ถึงขั้นมีนักวิเคราะห์ตั้งประเด็นขึ้นมาว่า “หากทรัมป์แพ้การเลือกตั้งแล้วไม่ยอมรับจะทำเช่นไร” เมื่อภาพรวมทางเศราฐกิจของอเมริกานับวันยิ่งยังไม่มีความชัดเจนเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จึงเป็นเรื่องยากที่จะทำให้ใครหันมาสนใจถือสกุลเงินดอลลาร์
อย่างไรก็ตามในวันศุกร์สุดท้ายของเดือนกรกฎาคมดัชนีดอลลาร์สหรัฐสามารถดีดตัวกลับขึ้นมาได้ก่อนปิดตลาด ทำให้นักลงทุนบางส่วนสงสัยว่าในเดือนสิงหาคมนี้จะมีการฟื้นตัวที่สำคัญที่จะช่วยหนุนดอลลาร์หรือไม่ ล่าสุดข้อมูลตัวเลขทางเศรษฐกิจของสหรัฐฯ ที่ออกมาเมื่อวันศุกร์ค่อนข้างสับสน ตัวเลขการใช้จ่ายของประชาชนชาวอเมริกันเพิ่มขึ้นสวนทางกับรายได้ที่ลดลงซึ่งตรงกับความจริงอย่างหนึ่งที่ว่าในยามที่เกิดความไม่แน่นอนข่าวดีเพียงนิดเดียวก็ดีพอจะทำให้นักลงทุนบางส่วนฝากความหวังแล้วหันมาถือดอลลาร์สหรัฐฯ ดังนั้นขาขึ้นใดๆ ของดอลลาร์สหรัฐฯ ในเดือนนี้จะมาจากความหวังมากกว่ามูลค่าที่แท้จริงของดอลลาร์โดยเฉพาะอย่างยิ่งสัปดาห์ต้นเดือนแรกของทุกๆ เดือนคือสัปดาห์ที่มีข่าวทางเศรษฐกิจสำคัญประกาศออกมามากที่สุดเช่น การประกาศนโยบายทางการเงิน รายงานตัวเลขการจ้างงาน ข้อมูลดุลบัญชีการค้าของจีนและดัชนีสำคัญจาก ISM
สิ่งที่นักลงทุนจะให้ความสำคัญในการดูข้อมูลตัวเลขทางเศรษฐกิจในสัปดาห์นี้คือการฟื้นตัวในภาคการผลิตและบริการในเดือนกรกฎาคมของสหรัฐฯ และแน่นอนว่าพระเอกคนสำคัญที่มาในทุกๆ ศุกร์แรกของต้นเดือนคือรายงานตัวเลขการจ้างงานนอกภาคการเกษตร (NFP) ที่จะชี้ให้เห็นถึงอัตราการเติบโตของการจ้างงาน ข้อมูลล่าสุดของเดือนมิถุนายนแสดงให้เห็นว่าการฟื้นตัวของอัตราการจ้างงานดีขึ้นจากเดือนเมษายนและนักเศรษฐศาสตร์หวังว่าตัวเลขของเดือนกรกฎาคมจะสามารถรักษายอดการจ้างงานให้เพิ่มขึ้นกว่าเดิมได้ ที่น่าเป็นห่วงก็คือ 2 สัปดาห์ล่าสุดของเดือนกรกฎาคมพบว่าจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานกลับมาเพิ่มขึ้นจาก 1.3 ล้านคนในช่วงกลางเดือนเป็น 1.4 ล้านคนในช่วงก่อนสิ้นเดือน ดังนั้นจึงน่าสนใจว่าอัตราการเติบโตและการกลับมาจ้างงานในสหรัฐฯ จะกลับมาได้มากน้อยแค่ไหน หากว่าตัวเลข NFP ออกมามากกว่าที่คาดการณ์ดอลลาร์สหรัฐฯ จะสามารถดีดกลับขึ้นมาได้ แต่ถ้าน้อยกว่าที่คาดการณ์และแย่กว่าที่คิดก็คงไม่ต้องพูดว่าจะเกิดอะไรขึ้นกับดอลลาร์ต่อจากนั้น
กราฟขึ้นยืนเหนือ 1.19 ได้ในช่วงก่อนตลาดลอนดอนเปิดแม้ว่าสุดท้ายแล้วจะปรับตัวลดลงมาก็ตาม การหดตัวของเศรษฐกิจในไตรมาสที่ 2 ของฝั่งยูโรโซนถือว่าแย่กว่าที่คาดการณ์เล็กน้อย ฝรั่งเศสและอิตาลียังอยู่ในระดับที่รับได้แต่ข้อมูลจากสเปนไม่เป็นที่ประทับใจของนักลงทุน ยูโรโซนได้รับผลกระทบทางเศรษฐกิจจากวิกฤตโควิด-19 ไม่ต่างจากสหรัฐฯ แต่ด้วยมาตรการการควบคุมโรคที่ทำได้ดีกว่าชัดเจนและการจัดตั้งกองทุนฟื้นฟูเศรษฐกิจทำให้เศรษฐกิจในฝั่งยุโรปมีความชัดเจนมากกว่าและมีโอกาสฟื้นตัวได้เร็วกว่า สำหรับยูโรโซนนอกจากข้อมูลตัวเลขดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ของยูโรโซนและรายงานข้อมูลการค้าของเยอรมันก็ไม่มีข่าวสำคัญอื่นอีกในสัปดาห์นี้ หมายความว่าทิศทางของกราฟ EUR/USD จะถูกกำหนดโดยดอลลารสหรัฐและข่าวจากฝั่งอเมริกามากกว่า
ในขณะที่กราฟ EUR/USD ย่อตัวลงมาเมื่อวันศุกร์ที่แล้วแต่กราฟ กลับสามารถสร้างขาขึ้น 11 วันติดต่อกันได้ นี่คือขาขึ้นที่ยาวนานที่สุดครั้งหนึ่งของปอนด์เทียบดอลลาร์ในรอบทศวรรษโดยที่ราคามีแนวต้านอยู่ที่ 1.32 แต่แนวต้านหลักจริงๆ ที่ต้องจับตามองคือ 1.35 ที่สำคัญสัปดาห์นี้แบงก์ชาติของอังกฤษ (BoE) จะมีการประกาศนโยบายทางการเงินด้วย ครั้งสุดท้ายที่มีการประชุมปรากฎว่า BoE เลือกที่จะผ่อนคลายนโยบายทางการเงินลงมากกว่าที่ตลาดคาดเอาไว้แต่ผลที่ได้ออกมาคือเศรษฐกิจมีการฟื้นตัวที่ดีขึ้น ดังนั้นการประชุมในสัปดาห์นี้จึงคาดว่าน่าจะไม่มีการเปลี่ยนแปลงนโยบายทางการเงินใดๆ เพิ่มเติม
ฝั่งแบงก์ชาติอังกฤษดูเหมือนว่าจะยังรับได้กับเศรษฐกิจภายในประเทศแต่แบงก์ชาติของออสเตรเลีย (RBA) อาจจะมีความเป็นกังวลต่อเศรษฐกิจโดยเฉพาะอย่างยิ่งการแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19 ที่กลับมาในรัฐวิคตอเรีย กราฟปรับตัวลดลงเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมาส่วนคาดว่าจะวิ่งแบบพักตัวในสัปดาห์นี้เพราะแถลงการณ์จาก RBA ข้อมูลตัวเลขยอดขายปลีกและดัชนี PMI ที่สำคัญอย่าลืมจับตาดูข้อมูลตัวเลขในตลาดแรงงานไตรมาสที่ 2 ของนิวซีแลนด์ที่จะประกาศออกมาด้วย ปิดตลาดเมื่อวันศุกร์ด้วยแนวโน้มขาขึ้นเนื่องจากข้อมูลตัวเลข GDP รายเดือนที่ออกมาดี